Modals in the Past

NokAcademy_ ม.5 Modlas in the Past

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modals in the Past “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า

 

ทบทวน Modal Verbs

 

NokAcademy_ ม.5 Modlas in the Past (8)

 

 Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ  Modals ซึ่งจะมีความหมายพิเศษในตัวของมันเอง และ ไม่ควรจะแปลตรงๆ ตามความหมายใน Dictionary เหมือนกริยาช่วยตระกูล V. to be, V. to do, และ V. to have เราจะต้องดูที่บริบทการใช้งานของผู้พูด

กลุ่มของ Modal verbs ที่ควรรู้จักคือ shall, should, will, would,  may, might can, could, must, ought to,
used to
ที่เราจะได้รู้และทบทวนในบทความนี้นั่นเองค่า

แต่ในบทเรียนนี้เราจะไปโฟกัสที่ Modals in the Past หรือ ในบางครั้งเราอาจจะเคยได้ยินชื่อ Past Modals กันเด้อ

Sit back, relax, and enjoy your lesson! ขอให้สนุกกับการเรียนน๊า

 

 

 

 

ตาราง Modal Auxiliaries 9 คำ พร้อมความหมาย

 

NokAcademy_ ม.5 Modlas in the Past (9)

การใช้ Modal Auxiliaries แสดง “ความเป็นไปได้”

สำหรับความเป็นไปได้ แบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้ คือ เป็นไปได้มาก เป็นไปได้ปานกลาง เป็นไปได้น้อย

can can + V. infinitive แปลว่า สามารถ…
could could + V. infinitive แปลว่า สามารถ
may may + V. infinitive แปลว่า อาจจะ
might might + V. infinitive แปลว่า อาจจะ
shall shall + V. infinitive แปลว่า จะ/ ควรจะ
should should + V. infinitive แปลว่า จะ/ ควรจะ
will will + V. infinitive แปลว่า จะ
would would + V. infinitive แปลว่า จะ
must must + V. infinitive แปลว่า ต้อง

 

ข้อควรรู้: would จะใช้เพื่อแสดงการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต
ส่วนการใช้ Modal verbs พวก  must, can, will จะแสดงความเป็นไปได้มาก

 

  • Can

Can แปลเป็นไทยได้ว่า สามารถ หรือ มีโอกาสที่จะ ดังนี้

บอกเล่า: I can edit the video.

แปล ฉันสามารถตัดต่อวีดีโอได้

คำถาม: Can you edit the video?

แปล คุณสามารถตัดต่อวีดีโอได้มั้ย

ปฏิเสธ: I cannot (can’t) edit the video.

แปล ฉันไม่สามารถตัดต่อวีดีโอได้

 

 

 เมื่อต้องแสดงความเป็นไปได้  “ระดับปานกลาง”

NokAcademy_ ม.5 Modlas in the Past (10)

กริยาช่วยกลุ่มนี้ ได้แก่ may, might, could, should

คำเหล่านี้เมื่ออยู่ในประโยคจะมีน้ำหนักของคำระดับปานกลาง และจะมีความหมายเหมือนกันซึ่งแปลว่า อาจจะ เช่น

I might like him a bit.

ฉันอาจจะชอบเขานิดหน่อย

  • Could แสดงความเป็นไปได้น้อยมาก

Could นอกจากจะใช้เพื่อแสดงแนวโน้มของความเป็นไปได้ปานกลาง และ การเปรียบเทียบที่เกินจริง บางครั้งเป็นการประชดประชัน
เช่น

I’m hungry. I could eat a horse.

ฉันหิวมาก ฉันสามารถกินม้าได้ทั้งตัวเลย (เกินจริง)

She could win the beauty pageant.

หล่อนคงจะชนะการประกวดนางงามนะ (ประชด) ***ลองนึกถึงสถานการณ์แฟนนางงามขี้อิจฉาพูดประโยคนี้แล้วยิ้มที่มุมปากแบบร้ายๆ

 

How could I be without him?

ฉันจะอยู่ด้วยตัวเองยังไงโดยไม่มีเขา (ไม่มั่นใจ)

 

สรุปการใช้  Modals in the past

 

NokAcademy_ ม.5 Modlas in the Past (2)

ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ด้านล่างเลยจร้า

 

ใช้แสดงความไม่มั่นใจว่าบางอย่างได้เกิดขึ้นในอดีตหรือไม่

 

NokAcademy_ ม.5 Modlas in the Past (3)

ตามโครงสร้าง

“may (might) + have + Past participle (V.3)
หมายถึง การคาดคะเนเหตุการณ์ที่ค่อนข้างจะ ไม่มั่นใจว่าได้เกิดขึ้นในอดีตหรือไม่ ตัวอย่างเช่น

 

John may have his car washed last week.
จอนอาจจะล้างรถเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว (อาทิตย์ที่แล้วหรือเปล่านะ ไม่แน่ใจ)

Jenny might have her hair cut with Jennifer.
เจนนี่อาจจะไปตัดผมมากับช่างที่ชื่อเจนนิเฟอร์มั้งนะ ***ผู้พูดไม่แน่ใจ

 

Danny may not have seen his best friend after graduation.
แดนนี่อาจจะไม่ได้เจอเพื่อนๆเลยหลังจากเขาเรียนจบแล้ว

 

Sunisa might not have eaten fat. That’s why she looks so “skinny.”
สุนิสาอาจจะไม่กินอาหารที่มีไขมันเลย เธอเลยดูผมมาก

 

 

มีแต่ไม่ได้ใช้ หรือ ไม่ทำ…

 

NokAcademy_ ม.5 Modlas in the Past (4)

ตามโครงสร้าง “could + have + Past participle”

ใช้แสดงความสามารถที่ไม่ได้ถูกนำออกมาใช้ คือ ไม่ได้กระทำนั่นเองตัวอย่างเช่น

 

She could have started working three hours ago. 
แปล หล่อนควรจะเริ่มทำงานตั้งแต่สามชั่วโมงที่แล้ว

Timothy could have graduated his Master Degree last year.
ทีโมธีควรจะเรียนจบปริญญาโทตั้งแต่ปีที่แล้วๆ

 

 

ค่อนข้างจะมั่นใจว่าได้มีบางอย่างเกิดขึ้นในอดีต

 

NokAcademy_ ม.5 Modlas in the Past (5)

โครงสร้าง

must + have + Past participle (V.3) ใช้แสดงการคาดคะเนเหตุการณ์ที่ ค่อนข้างจะมั่นใจว่าได้
เกิดขึ้นในอดีต
ตัวอย่างเช่น

Your English is really good. You must have studied aboard.
ภาษาอังกฤษของคุณดีมากเลย คุณต้องเคยไปเรียนที่ต่างประเทศมาแล้วแน่ๆ

I can’t find my money. It must have fallen while I was on the flight.
หาตังค์ไม่เจอเลยมันต้องหล่นตอนอยู่บนเครื่องแน่ๆ

เหตุการณ์ตรงกันข้ามกับสิ่งที่พูด

NokAcademy_ ม.5 Modlas in the Past (6)

โครงสร้าง

should + have + Past participle(V.3) ใช้แสดงว่าเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ได้เกิดขึ้นจริงเหตุการณ์เกิดขึ้น ตรงกันข้ามกับข้อความที่พูด ตัวอย่างเช่น

Steve should have come to school yesterday. (But he didn’t.)
สตีฟควรจะมาโรงเรียนนะเมื่อวาน แต่เขาก็ไม่มา

The stealers should not have broken into the police’s home last night. (But they did.)
พวกหัวขโมยไม่ควรจะบุกรุกเข้าไปบ้านตำรวจเลยเมื่อคืน แต่พวกเขาก็กระตุกหนวดเสือซะแล้ว

***สำนวน “broken into มากจาก break into แปลว่า บุกรุก” ออกข้อสอบบ่อยมากเวอร์

 

โครงสร้าง V. to be + supposed to+…

NokAcademy_ ม.5 Modlas in the Past (7)

การใช้ V. to be + supposed to+… แปลว่า “ควรต้อง” สมควรที่จะต้องทำอะไรบางอย่าง หากเป็นอดีต was, were จะหมายถึงสิ่งที่ควรทำแต่อาจจะไม่ได้ทำ แต่หาก ใช้ is, am, are จะถูกใช้ในการ แนะนำ ซึ่งหมายถึง  “สมควร, ควรจะ” ตามบริบทที่แตกต่างกันออกไป ดังตัวอย่างด้านล่างเลยนะคะ

 

You are supposed to work from home.
แปลว่า คุณสมควรที่จะทำงานจากบ้าน

 

Jenny is supposed to be with Jim. Why is she with another guy?
แปลว่า เจนนี่ควรจะอยู่กับจิม แล้วทำไมหล่อนอยู่กับผู้ชายคนอื่น

 

Daniel’s new secretary was supposed to call him at 10 a.m.
Why didn’t she call him?
แปลว่า เลขาคนใหม่ของเดเนียลสมควรจะโทรหาเขาตอน 10 โมงเช้า (แต่หล่อนอาจจะลืม)
ทำไมหล่อนไม่โทรกันนะ

 

The students were supposed to submit the project guideline today.
Where were they?

แปลว่า ที่จริงนักเรียนควรต้องส่งไกด์ไลน์โครงงานวันนี้ แล้วพวกเขาอยู่ไหนกันเนี่ย (ความจริงคือ นักเรียนไม่ได้ส่ง)

 

 

ตารางสรุปกริยาช่วยเพิ่มเติม

 

 

กริยาช่วยรูปปกติ

 

รูปปฎิเสธ (แบบเต็ม)

 

รูปปฎิเสธ (แบบย่อ)

1 is  (เป็น, อยู่, คือ) is not isn’t
2 am  (เป็น, อยู่, คือ) am not ไม่มีรูปย่อ
3 are  (เป็น, อยู่, คือ) are not aren’t
4 was  (เป็น, อยู่, คือ) was not wasn’t
5 were  (เป็น, อยู่, คือ) were not weren’t
6 do  (ทำ) do not don’t
7 does  (ทำ) does not doesn’t
8 did (ทำ) did not didn’t
9 has  (มี) has not hasn’t
10 Have  (มี) have not haven’t
11 Had (มี) had not hadn’t
12 Can (สามารถ) cannot can’t
13 Could  (สามารถ) could not couldn’t
14 May  (อาจจะ) may not mayn’t
15 Might  (อาจจะ) might not mightn’t
16 Will (จะ) will not won’t
17 Would จะ) would not wouldn’t
18 Shall (จะ) shall not shan’t
19 should (ควรจะ) should not shouldn’t
20 Must (จะ,จะต้อง) must not mustn’t
21 Need (จำเป็น) need not needn’t
22 Dare  (กล้า) dare not daren’t
23 ought to  (ควรจะ) ought not oughtn’t
24 used to  (เคย) used not to usedn’t to

 

เมื่อจะต้องใช้ Modals in the past สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ บริบทการใช้งาน ว่าเราต้องการจะสื่ออะไร เพื่อให้เราสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง และคล่องมากๆแบบเจ้าของภาษากันจร้า อย่าลืมดูวีดีโอทบทวนบทเรียนในหัวข้อ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ม.5 เรื่อง Modals in the past กันด้วยเด้อ เลิฟๆ

คลิกที่ปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนให้สนุกกันจร้า

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โจทย์ปัญหาเลขยกกำลัง

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง          เราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังที่เรียนมาไม่ว่าจะเป็น การคูณ การหาร เลขยกกำลัง และการเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง รวมทั้งไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากมาย  ในบทความนี้จะกล่าวถึงการนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังไปใช้แก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ตัวอย่างที่ 1 – 3 ตัวอย่างที่ 1  เด็กชายศิระนำแท่งลูกบาศก์ไม้ขนาด 5³ ลูกบาศก์เซนติเมตร  มาจัดวางในลูกบาศก์ใหญ่ที่มีความยาวของแต่ละด้านเป็น

NokAcademy_ม6 Relative Clause

ทบทวนเรื่อง Relative clause + เทคนิค Error Identification

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 6 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อมากขึ้น พร้อมข้อสอบ Error

ทศนิยมกับการวัด

ความสัมพันธ์ของทศนิยมกับการวัด

บทความนี้จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ของทศนิยมกับการวัด ที่จะทำให้น้อง ๆสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถาณการณ์ที่ต้องเจอในชีวิตประจำวัน จะทำให้เข้าใจหลักการและสามารถบอกค่าของการวัดที่เป็นทศนิยมได้ถูกต้อง

คุณศัพท์บอกความรู้สึก

การใช้คำคุณศัพท์และการบอกความรู้สึก

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ Descriptive Adjective การใช้คำคุณศัพท์บอกลักษณะและความรู้สึก กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า    ความหมายของคำคุณศัพท์     คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (1)

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (1) ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับวิชาคณิตศาสตร์ เป็นเพราะว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยสัญลักษณ์ เหตุผล เเละการคำนวณ ซึ่งคณิตศาสตร์เเบ่งเป็น 2 ประเภท คือ คณิตศาสตร์บริสุทธิ์ คือ คณิตศาสตร์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาโดยไม่ได้นำไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์ใด ๆ คณิตศาสตร์ประยุกต์ คือ คณิตศาสตร์ที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์ต่าง ๆ หรือนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรม คณิตศาสตร์การคลัง โดยทักษะเเละกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่บทความนี้จะนำเสนอคือ การบวกกันของตัวเลขที่น่าสนใจ น้อง

การดำเนินการของฟังก์ชัน

การดำเนินการของฟังก์ชัน

การดำเนินการของฟังก์ชัน การดำเนินการของฟังก์ชัน ประกอบไปด้วย การบวก การลบ การคูณ และการหารของฟังก์ชัน ซึ่งเมื่อเราดำเนินการที่กล่าวมาข้างต้นกับฟังก์ชันแล้วจะทำให้เกิดฟังก์ชันใหม่ขึ้นมา เขียนแทนด้วย f + g, f – g, fg ,   ตามลำดับ โดยที่ (f + g)(x) = f(x)

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1