Direct and Indirect Objects

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง Direct และ Indirect Objects กันครับว่าคืออะไร ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
Direct Object

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Object คืออะไร?

ก่อนที่จะไปถึง Direct กับ Indirect Objects เรามาทำความเข้าใจกับ “Object” กันก่อนครับว่าคือ “กรรม” ในภาษาอังกฤษนั้นก็คือคน สัตว์ หรือวัตถุที่ “ถูกกระทำ” จากกริยา (Verb) นั่นเอง ตัวอย่างเช่น

Example: I write a letter.

Subject

Verb

Object

I

write

a letter

“I” คือ Subject หรือประธานของประโยค

“write” คือ Verb หรือกริยา โดยที่ Subject เป็นผู้กระทำ (ฉันเขียน)

“a letter” คือ Object หรือกรรม ที่ถูกกระทำนั่นเองครับ (จดหมายถูกเขียน)

 

Direct Object (D.O.)

จากประโยคตัวอย่างข้างต้น a letter จะถึงว่าเป็น “Direct Object” (กรรมตรง) เพราะเป็นกรรมที่ถูกกระทำโดยตรงจากกริยา ลองดูตัวอย่างอีกสักประโยค

Hugo repairs his car.

Hugo = ประธาน

กระทำกริยา repair (ซ่อม)

รถของเขา (his car) เป็นกรรมที่ถูกกระทำ (ซ่อม) โดยตรงนั่นเอง

 

He invites Luna to the party.

He = ประธาน

กระทำกริยา invite (เชิญ)

Luna เป็น Object ที่ถูกเชิญมางานปาร์ตี้นั่นเอง

 

Indirect Object (I.O.)

สำหรับ “Indirect Object” (กรรมรอง) นั่นคือกรรมที่เป็น “ผู้รับ” ผลจากกรรมตรงอีกทอดหนึ่ง โดยที่ I.O. นั้นจะมาเดี่ยวๆ ไม่ได้ จะต้องมี D.O. ก่อนเสมอ

ตัวอย่างเช่น

I write a letter.
สามารถเพิ่ม Indirect Object เข้าไปได้ 2 รูปแบบคือ

I write a letter to you.
หรือ
I write you a letter.
(ทั้ง 2 ประโยคแปลว่า ฉันเขียนจดหมายถึงคุณ)

เราทราบอยู่แล้วว่า “letter” นั้นเป็น D.O. และเราต้องการเพิ่ม “ผู้รับ” คือ “you” เข้าไปด้วย

ฉะนั้น you จะถือว่าเป็น I.O. เพราะเป็น “ผู้รับ” จดหมายมานั่นเอง

 

หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง

My mom bought a bike.
(แม่ของฉันซื้อจักรยาน)
bike = D.O. เพราะถูกซื้อมา

เมื่อเพิ่มผู้รับ (Indirect Object) เข้าไปจะได้ว่า

My mom bought a bike for me.
หรือ
My mom bought me a bike.

(ทั้ง 2 ประโยคแปลว่า แม่ซื้อจักรยานให้ฉัน)

bike = D.O. เหมือนเดิม
me = I.O. เพราะฉัน “ได้รับ” จักรยานมาอีกที

 

โครงสร้างประโยค

จากตัวอย่างข้างต้นเราจึงสามารถเขียนโครงสร้างได้ดังนี้

Direct Object

Indirect Object

 

ข้อควรจำ

  1. ไม่ใช่กริยาทุกตัวจะต้องการกรรม กริยาที่สามารถมีกรรมได้เรียกว่า สกรรมกริยา (Transitive Verbs) เช่น send, play, fix ส่วนกริยาที่ไม่ต้องการกรรมเรียกว่า อกรรมกริยา (Intransitive Verbs) เช่น lie, sleep, walk
  2. ดังนั้น Direct and Indirect Objects จะตามหลังกริยาที่ต้องการกรรม (Transitive Verbs) เท่านั้น
  3. Direct Object นั้นสามารถมี Indirect Object ตามมาด้วยหรือไม่ก็ได้ ต่างจาก I.O. ที่ต้องมี D.O. มาก่อนเสมอ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ สำหรับเรื่อง Direct และ Indirect Objects หวังว่าน้องๆ จะเข้าใจและนำไปใช้ได้ในการเรียนภาษาอังกฤษนะครับ สำหรับน้องๆ คนไหนที่อยากทบทวยเพิ่มเติมก็สามารถคลิกดูวิดีโอจากช่อง NockAcademy ด้านล่างได้เลยครับ

ทบทวนเนื้อหาม. 6 เรื่องอื่นๆ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้หลักการเขียนอัตราส่วนแทนการเปรียบเทียบปริมาณของสิ่งต่างๆที่มากกว่า 2 สิ่งขึ้นไปได้ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนของจํานวนหลายๆจํานวนในการแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆได้

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์ การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์ เราจะนำสมาชิกของเมทริกซ์แต่ละเมทริกซ์มาบวก ลบ คูณกัน ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้มีสมบัติและข้อยกเว้นต่างกันไป เช่น การบวกต้องเอาสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน เป็นต้น ต่อไปเราจะมาดูวิธีการบวก ลบ และคูณเมทริกซ์กันค่ะ การบวกเมทริกซ์ เมทริกซ์ที่จะนำมาบวกกันได้นั้น ต้องมีมิติเท่ากัน และการบวกจะนำสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน เช่น 1.)  2.)    การลบเมทริกซ์ การลบเมทริกซ์จะคล้ายๆกับการบวกเมทริกซ์เลย

Modal Auxiliaries ที่สำคัญ

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modal Auxiliaries หรือ Modal verbs “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Modal Auxiliaries Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ  บางครั้งเรียกว่า

โจทย์ปัญหา ห.ร.ม. และค.ร.น.

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น.

บทความนี้เป็นเรื่องการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น ซึ่งโจทย์ที่ได้นำมาเป็นตัวอย่างจะประกอบด้วยการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การเลือกใช้วิธีการแก้โจทย์ปัญหา รวมไปถึงการแสดงวิธีทำอย่างละเอียด หวังว่าน้องๆจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้จริงกับโจทย์ปัญหาในห้องเรียน ซึงเป็นเเรื่องย่อยของ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ป.6

แผนภูมิแท่ง และการเปรียบเทียบข้อมูล

บทความนี้จะพูดถึงการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิแท่งไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูล 2 จำนวน และ 3 จำนวน น้องๆจะสามารถนำข้อมูลที่สำรวจมาเขียนเป็นแผนภูมิแท่งได้และจะง่ายต่อการนำเสนอมากยิ่งขึ้น

who what where

Who What Where กับ Verb to be

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกๆ คนนะครับ วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ Who/What/Where ร่วมกับ Verb to be กันครับ ไปดูกันเลย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1