การเรียงคำคุณศัพท์ (Adjective Order)

น้องๆ น่าจะรู้จักหรือเคยได้ยิน “คำคุณศัพท์” หรือ Adjective ในภาษาอังกฤษกันมาบ้างแล้วใช่มั้ยครับ? ซึ่งหน้าที่ของคำเหล่านี้คือเพิ่มความหมายและบอกลักษณะของคำนามนั่นเอง วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่าหากมี Adjective มากกว่า 1 คำมาขยายคำนาม เราจะเรียงลำดับมันอย่างไรดี ไปดูกันเลย!

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Adjective Order เพื่อขยายคำนาม

น้องๆ ที่มีพื้นฐานเรื่อง Parts of Speech น่าจะคุ้นเคยกับการใช้ Adjective ขยาย Noun กันมาบ้างแล้วใช่มั้ยครับ เช่น

He is a young man.

(เขาคือชายหนุ่ม)

She is an outstanding student.

(เธอเป็นนักเรียนที่โดดเด่น)

That girl wears a pink skirt.

(เด็กผู้หญิงคนนั้นใส่ผ้าพันคอสีแดง)

 

ลำดับของ Adjective

แต่ถ้าหากว่ามี Adjective ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาขยายคำนาม เราจะเรียงลำดับพวกมันยังไงดีครับ? ลองดู 2 ประโยคนี้ครับ

1) I am sitting in a big white room.

2) I am sitting in a white big room.

น้องๆ จะเห็นว่ามี Adjective 2 คำ คือ “big” และ “white” มาขยายคำนามคือ “room” น้องๆ คิดว่าประโยคไหนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์กันนะ?

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ 1) ครับ “a big white room”

ตอบถูกกันมั้ยเอ่ย?

โดยปกติแล้วการเรียงลำดับของ Adjective จะเป็นไปตามตารางนี้ครับ

 

ในบางครั้งก็จะมีการใช้ Adjective 3 ตัวในการขยายคำนาม (แต่ว่าไม่ค่อยนิยมกันนะครับ)

ตัวอย่าง

This chair is made of an enormous ancient European tree.

(เก้าอี้นี้ทำมาจากต้นไม้ยุโรปเก่าแก่ขนาดใหญ่)

He is a handsome young British actor.

(เขาคือนักแสดงหนุ่มชาวอังกฤษสุดหล่อ)

Milo is a horrible big fierce dog.

(ไมโลเป็นหมาร้ายๆ ตัวใหญ่นิสัยแย่)

หรือในบางครั้งก็จะใช้มากกว่า 3 ตัว (กรณีนี้ค่อนข้างหายากครับ)

ตัวอย่าง

Taylor is a beautiful tall slim young blonde-haired American artist.

(เทย์เลอร์คือศิลปินสาวสวย สูง ผอม ผมบลอนด์ชาวอเมริกา)

My mom bought me a lovely little white Japanese sweater from Tokyo.

(แม่ซื้อเสื้อกันหนาวญี่ปุ่นตัวเล็กๆ น่ารักสีขาวจากโตเกียวมาให้ฉัน)

 

การเชื่อม Adjective ด้วย and

เมื่อมี Adjective มากกว่า 1 คำในประโยคที่ตามหลัง Linking Verbs หรือ Verb to be เรามักจะใช้ and เพื่อเชื่อม Adjective ตัวสุดท้ายกับตัวก่อนหน้าครับ เช่น

This place is dark and scary.

(สถานที่นี้มืดและน่ากลัว)

I feel so fresh, lively, and energetic.

(ฉันรู้สึกสดชื่น ร่าเริง และมีพลัง)

Your cat is so adorable, fluffy, and kind.

(แมวของคุณน่ารัก นุ่มนิ่ม และใจดีมาก)

แต่ถ้าหาก Adjective มีคำนามตามหลัง (อย่างที่ได้เห็นมาแล้วมากมายด้านบน) เรามักจะไม่ใส่ and ครับ เช่น

I am afraid of that old wooden house.

(ฉันกลัวบ้านไม้เก่าๆ หลังนั้น)

Daniel is a nice handsome middle-aged husband.

(ดาเนียลเป็นสามีวัยกลางคนที่หล่อและนิสัยดี)

Patrick is a genius Thai student.

(แพทริกเป็นนักเรียนอัจฉริยะชาวไทย)

 

เรื่องลำดับของ Adjective เป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ยาก น้องๆ สามารถฝึกฝนได้โดยการอ่านหนังสือ หรือสื่อภาษาอังกฤษบ่อยๆ เรื่องนี้มีประโยชน์มากในการเขียนภาษาอังกฤษและข้อสอบประเภท Error Analysis ครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้ Why and because + want + infinitive

การใช้ Why and because + want + infinitive เกริ่นนำเกริ่นใจ กลับมาอีกครั้ง กับนักเขียนเจ้าเก่าคนเดิม คนที่พร้อมจะพาทุกคนเข้าสู่โลกของการเรียนรู้และความหัวปวดด้วยภาษาที่สองอย่างภาษาอังกฤษ เช้าที่สดใสแบบนี้จะมีอะไรดีไปกว่าการได้มานั่งเขียนเรื่องราวดี ๆ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่นอีกละ จริงมั้ย? คำถามคือ ทำไมต้องมาเขียนอะไรแบบนี้ทุกเช้าด้วยละ? สงสัยใช่มั้ยละ? นั่นก็เพราะว่า คนเขียนนั้นรักในการเขียนและอยากจะแบ่งปันความรู้ให้กับคนอ่านทุกคนยังไงละ Easy เลย แค่นั้นเลย คนบนโลกจะเข้าใจกันมากหากเรามีเหตุผลในสิ่งที่ทำ

เทคนิคอ่านจับใจความ Skim and Scan

เทคนิคอ่านเร็วจับใจความในภาษาอังกฤษ (Skimming and Scanning)

เคยเป็นมั้ยว่าเจอบทความภาษาอังกฤษทีไร ปวดหัวทุกที ทั้งเยอะและยาว เมื่อไหร่จะอ่านจบกว่าจะตอบได้หมดเวลากันพอดี สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า อ่านแบบเร็ว (จ๊วด …) หรือ Speed Reading (ภาษาอีสาน จ๊วด แปลว่า เร็วเหมือนเสียงปล่อยจรวด) ถ้าเราสามารถอ่านได้เร็วเหมือนจรวดคงเป็นสิ่งที่ดีมาก ไปจ๊วดกันเลยกับเทคนิคอ่านเร็วทุกคน ก่อนอื่นจะต้องรู้จักกับประเภทของ Speed Reading กันก่อนค่ะ การอ่านแบบจับใจความสำคัญส่วนใหญ่แล้วเราจะเจอ

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_

Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were” ไปลุยกันโลดเด้อ   ทำไมต้องเรียนเรื่อง Did, Was, Were Did, Was, Were ใช้ถามคำถามใน Past Simple Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต หรือ ถามเพื่อให้แน่ใจว่าได้ทำสิ่งนั้นๆไปแล้ว

เรียนรู้เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่�

เรียนรู้เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่างๆ

สวัสดีนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการบอกข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ  “เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่างๆ” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัวกันค่ะ ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go!   ทบทวน Present Simple Tense     Present แปลว่า ปัจจุบัน ดังนั้น Present Simple

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

การดำเนินการของฟังก์ชัน

การดำเนินการของฟังก์ชัน

การดำเนินการของฟังก์ชัน การดำเนินการของฟังก์ชัน ประกอบไปด้วย การบวก การลบ การคูณ และการหารของฟังก์ชัน ซึ่งเมื่อเราดำเนินการที่กล่าวมาข้างต้นกับฟังก์ชันแล้วจะทำให้เกิดฟังก์ชันใหม่ขึ้นมา เขียนแทนด้วย f + g, f – g, fg ,   ตามลำดับ โดยที่ (f + g)(x) = f(x)

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1