เมื่อฉันโดนงูรัด!: เรียนรู้การใช้ Passive Voice แบบผ่อน ‘คลายย’

น้องๆ ทราบกันมั้ยว่าในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษจะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘Voice’ ถ้ายังไม่ทราบหรือเคยได้ยินแต่ยังไม่แน่ใจว่าคืออะไรวันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Voice ในภาษาอังกฤษแบบเข้าใจง่ายๆ กันครับ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Passive Voice in English

Voice (ในที่นี้พี่ขอเรียกทับศัพท์ว่า Voice /วอยซ์/ ไปเลยนะครับ) ในภาษาอังกฤษจะมีทั้งหมด 2 ประเภทด้วยกัน คือ

1) Active Voice และ

2) Passive Voice

ซึ่ง Active Voice จะใช้ในประโยคที่ ประธาน (Subject) เป็นผู้ทำกริยา (Verb) นั้นๆ ด้วยตัวเอง เช่น

The snake strangles me.

งูรัดคอฉัน

ให้น้องๆ สังเกตที่ประธาน คือ งู (snake) ซึ่งทำกริยารัดคอ (strangle) ด้วยตัวมันเองนั่นเองครับ ถ้าเราลองเปลี่ยนประโยคให้เป็น Passive Voice หรือการที่เราถูกกระทำ (ตัวอย่างในที่นี้คือโดนงูรัด) เราจะสามารถเปลี่ยนได้เป็น

I am strangled by the snake.

แปลตามตัวจะแปลได้ว่า ฉันถูกรัดคอโดยงู

เราสามารถกล่าวได้ว่า Passive Voice คือประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำนั่นเองครับ ซึ่ง Voice ทั้งสองแบบนี้ จะปรากฎอยู่ใน Tense ทุกประเภท ซึ่งวันนี้เราจะมาโฟกัสกันที่ Passive Voice ใน Present Simple Tense กันครับ

พื้นฐานที่ควรมีมาก่อน: Present Simple, กริยา 3 ช่อง

 

โครงสร้าง Present Simple แบบ Passive Voice

โครงสร้างของ Present Simple ในรูปแบบ Passive Voice คือ

 

Subject + is/am/are + Past Participle

 

ข้อควรจำ!

1) Past Participle เป็นชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของ “กริยาช่องที่ 3”

2) ในประโยคแบบ passive voice กริยาช่อง 3 จะคงรูปแบบนั้นเสมอ จะมีเฉพาะ Verb to be ที่เปลี่ยนตามประธานของประโยค

พี่จะลองแบ่งโครงสร้างให้ดูเข้าในง่ายๆ ตามตารางนี้ครับ

ประโยคบอกเล่า

ประโยคปฎิเสธและคำถาม

สำหรับน้องๆ ที่มีพื้นฐานการสร้างประโยคมาบ้างแล้ว ประโยคปฏิเสธและคำถามแบบ Active Voice จะใช้ Verb to do มาช่วยตามที่ได้เรียนกันมา แต่แบบ Passive Voice จะแตกต่างกันนิดหน่อยครับ ซึ่งจากตัวอย่างด้านบนสามารถทำเป็นประโยคแบบปฎิเสธและคำถามได้ดังนี้

 

 

ข้อควรจำ!

1) ประโยค Passive Voice สามารถมี “by” หรือไม่มีก็ได้ ซึ่งหากสิ่งที่กระทำกับประธานนั้นไม่สำคัญต่อความหมาย หรือไม่ทราบว่าผู้กระทำคือใคร เราจะสามารถตัด “by” ทิ้งได้ เช่น

Rice is grown in Thailand.

ข้าวถูกปลูกในประเทศไทย (จะโดยใครก็ได้ ไม่ได้สำคัญกับประโยค)

 

การใช้ในชีวิตประจำวัน

เราใช้ Passive Voice เมื่อเราต้องการเน้นสิ่งที่ถูกกระทำว่าสำคัญกว่าผู้กระทำครับ ซึ่งโดยส่วนมากแล้วเราจะพบและใช้ Passive Voice ในการเขียนหรืองานเขียนที่ต้องการความเป็นทางการ ซึ่งสามารถยกตัวอย่างคร่าวๆ ได้ดังนี้

1) เมื่อพูดถึงวิทยาศาสตร์ ศิลปะ หรือวรรณกรรม เช่น

Glass is classified as a solid.

แก้วถูกจัดให้อยู่ในประเภทของแข็ง

This scientific method is used for chemical experiments.

วิธีการทางวิทยาศาสตร์นี้ถูกใช้สำหรับการทดลองทางเคมี

E.T. is directed by Steven Spielberg

ภาพยนตร์เรื่อง E.T. (ถูก)กำกับโดย สตีเฟ่น สปิลเบิร์ก

2) เพื่อบอกขั้นตอนหรือกฎกติกา เช่น

Keep stirring until the meat is cooked.

คนต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าเนื้อจะ(ถูกทำให้)สุก

Do not move until you are told to do so.

ห้ามขยับจนกว่าคุณจะถูกบอกให้ทำเช่นนั้น

3) ใช้ในการรายงานข่าว หรือการเขียนเชิงวิชาการ เช่น

Many people are killed in the war.

ผู้คนมากมายถูกสังหารในสงคราม

The president is assassinated this morning.

ประธานาธิบดีถูกสังหารเมื่อเช้านี้

These activities are designed for young children.

กิจกรรมเหล่านี้ถูกออกแบบมาสำหรับเด็กๆ

ข้อควรระวัง!

กริยา Intransitive Verbs (อกรรมกริยา) หรือ กริยาที่ไม่ต้องการกรรม ไม่สามารถทำให้เป็น Passive Voice ได้ (เพราะมันไม่ต้องการกรรมตั้งแต่แรกนั่นเอง) เช่น

come     die     go     happen     occur     rain     walk

          Jane comes to the meeting.           Jane is come to the meeting.

          แจนมาประชุม                                     แจนถูกมาประชุม (ไม่มีความหมาย)

 

          The cat dies in the street.               The cat is died in the street.

          แมวตายอยู่ที่ถนน                               แมวถูกตายอยู่ที่ถนน (ไม่มีความหมาย)

 

          Kate walks to the school.               Kate is walked to the school.

          เคทเดินมาโรงเรียน                            เคทถูกเดินมาโรงเรียน (ไม่มีความหมาย)

 

เห็นมั้ยครับว่าเรื่อง Passive Voice นั้นไม่ยากเลย สิ่งที่น้องๆ ต้องจำให้แม่นก็คือกริยาที่อยู่ในรูป Past Participle (กริยาช่อง 3) และการผัน Verb to be ให้ตรงกับประธานนั่นเองครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

วัฒนธรรมกับภาษา

วัฒนธรรมกับภาษา ความสัมพันธ์ของสองสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

มนุษย์ก่อให้เกิดภาษา และภาษาก็ก่อให้เกิดวัฒนธรรม น้อง ๆ สงสัยกันหรือไม่คะว่ามนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงเรื่องราวที่ว่านี่กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ   มนุษย์ วัฒนธรรมกับภาษา   วัฒนธรรม คืออะไร วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น รากศัพท์ในภาษาละตินมีความหมายว่าการเพาะปลูก แต่ไม่ได้ใช้แค่ในเชิงเกษตรกรรม แต่จะรวมไปถึงการปลูกฝังในด้านต่าง ๆ ทั้งให้การศึกษา ความเคารพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง

จำนวนตรรกยะ

จำนวนตรรกยะ

ในบทความนี้เราจะได้รู้จักความหมายของจำนวนตรรกยะ และการเปลี่ยนเศษส่วนเป็นทศนิยมหรือทศนิยมเป็นเศษส่วน

พื้นที่ผิวทรงกรวยและลูกบาศก์

พื้นที่ผิวทรงกรวยและลูกบาศก์ การหาพื้นที่ผิวทรงกรวยเเละลูกบาศก์นั้นมักเป็นสิ่งที่เราอาจได้ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องการออกเเบบทางวิศวกรรม หรือสถาปัตยกรรม ที่ต้องนำพื้นที่ผิวมาประเมินค่าใช้จ่ายในการทาสี, การปูกระเบื้อง, หรือเเม้กระทั่งปริมาณการใช้วัสดุในการสร้างชิ้นงานต่าง ๆ รูปร่างทรงกรวยเเละลูกบาศก์สามารถเห็นได้บ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน เช่น โคนไอติม, กรวยจราจร, หมวกปาร์ตี้ ที่มีลักษณะเป็นทรงกรวย เเละลูกเต๋า, ก้อนน้ำเเข็ง ที่มีลักษณะเป็นลูกบาศก์ ซึ่งการหาพื้นที่ผิวทั้งหมดของทรงกรวยเเละลูกบาศก์นั้น มีวิธีง่ายๆ คือ ให้เรามองรูปสามมิติกลายเป็นรูปประกอบของเรขาสองมิติ พื้นที่ผิวทรงกรวย ทรงกรวย คือ รูปทรงเรขาคณิต

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม

การแยกตัวประกอบพหุนาม การแยกตัวประกอบพหุนาม เป็นการแยกตัวประกอบของสมการเพื่อให้ง่ายต่อการหาคำตอบของสมการที่จะต้องเรียนในเนื้อหาถัดไป ในบทความนี้จะพูดถึงพหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว พหุนามดีกรี 2 คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุด คือ 2 พหุนามดีกรี 2 ตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่มีเลขยกกำลังสูงสุดคือ 2 และ มีตัวแปร 1 ตัว เขียนอยู่ในรูป ax² +

โจทย์ปัญหาบวก ลบ ทศนิยม

บทความนี้จะยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาการบวกลบทศนิยม เพื่อให้น้องๆได้ทำความเข้าใจและศึกษาการแสดงวิธีคิด หากต้องไปเจอการแก้โจทย์ปัญหาในห้องเรียนจะสามารถนำความรู้จากบทความนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1