Contrast Words : คำที่ใช้แสดงความขัดแย้งในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคำเชื่อมที่ใช้บอกสิ่งที่ตรงข้ามกัน (Contrast Words) กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Contrast Words

คำที่แสดงความตรงกันข้าม (Contrast words) นั้นเป็นคำสันธาน หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำเชื่อม ซึ่งเป็นคำประเภทหนึ่งที่เอาไว้ใช้แสดงให้เห็นถึงความหมายที่ขัดแย้งกันในประโยคนั่นเองครับ ซึ่งคำเชื่อมที่น้องๆ มักจะเจอบ่อยๆ ได้แก่

contrast words

 

การใช้ “but”

คำว่า ‘but’ นั้นจัดอยู่ในกลุ่ม Coordinating Conjunctions (กลุ่มเดียวกันกับ for, and, nor, or, yet, so) ซึ่งคำว่า ‘but’ นี้มีไว้เชื่อมคำหรือประโยคที่มีความหมายตรงข้ามกันเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า ‘แต่’ เช่น

 

Pizza is delicious but unhealthy.
(พิซซ่าอร่อยแต่แพง)
‘but’ ในประโยคนี้เชื่อมคำคุณศัพท์ 2 คำเข้าด้วยกันนั่นคือ ‘delicious’ และ ‘unhealthy’

 

My mom wants to travel abroad but she doesn’t have a passport.
(แม่ของฉันต้องการไปเที่ยวต่างประเทศ แต่เธอไม่มีพาสปอร์ต)
‘but’ ในประโยคนี้เชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกันคือ
My mom wants to travel abroad. และ She doesn’t have a passport.

example

 

การใช้ “although” และ “though”

คำว่า ‘although’ และ ‘though’ นั้นจัดอยู่ในกลุ่ม Subordinating Conjunctions (กลุ่มเดียวกันกับ since, because, while, whereas, after, etc.) ซึ่งคำว่า ‘although’ นี้มีไว้เชื่อมประโยคที่มีความหมายตรงข้ามกัน มีความหมายว่า ‘แม้ว่า’ เช่น

 

I don’t want to sleep although I’m tired.
(ฉันไม่ต้องการนอนแม้ว่าฉันจะเหนื่อย)

Though people say France is dangerous, I still want to visit this country.
(แม้ว่าผู้คนบอกว่าฝรั่งเศสนั้นอันตราย ฉันก็ยังอยากไปเยี่ยมประเทศนี้)

Although he is very rich, he doesn’t have a girlfriend.
(แม้ว่าเขาจะรวยมาก เขาก็ไม่มีแฟน)

 

ข้อสังเกตและข้อควรระวัง

  • ‘although’ และ ‘though’ นั้นสามารถใช้ตรงกลาง หรือขึ้นต้นประโยคก็ได้ หากขึ้นต้นประโยคจะต้องใส่คอมม่า (,) คั่นระหว่างประโยคด้วย
  • ‘although’ และ ‘though’ ใช้เชื่อมประโยคเท่านั้น ไม่สามารถใช้เชื่อมคำเหมือนกับ ‘but’ ได้
    1. She is beautiful although lazy. ประโยคนี้ต้องใช้ ‘but’ แทน
  • หากใช้ ‘although’ และ ‘though’ ขึ้นต้นประโยคแล้ว ไม่ต้องเชื่อมประโยคด้วย ‘but’ อีก
    1. Although Sara studies very hard, but she failed the English exam.

example 2

 

การใช้ “even though” และ “even if”

คำว่า ‘even though’ และ ‘even if’ นั้นจัดอยู่ในกลุ่ม Subordinating Conjunctions เช่นเดียวกับ ‘although’ และ ‘though’ และมีความหมายคล้ายกัน จึงมีหลักการใช้เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น

 

Even though I regularly exercise, I still always get sick.
(แม้ว่าฉันออกกำลังกายเป็นประจำ ฉันก็ยังป่วยอยู่บ่อยๆ)

I feel very tired even if I go to bed early.
(ฉันรู้สึกเหนื่อยมาก แม้ว่าฉันจะเข้านอนเร็ว)

 

การใช้ “however”, “nevertheless” และ “nonetheless”

คำว่า ‘however’, ‘nevertheless’ และ ‘nonetheless’ นั้นมีความหมายว่า “อย่างไรก็ตาม” จัดอยู่ในประเภทคำวิเศษณ์ (Adverb) มักใช้ในการเชื่อมใจความ ความคิด หรือไอเดีย ที่ตรงข้ามกัน เช่น

 

I understand that you really need financial support. However, I cannot lend you my money.
(ผมเข้าใจว่าคุณต้องการความช่วยเหลือด้านการเงินจริงๆ อย่างไรก็ตามผมไม่สามารถให้คุณยืมเงินได้)

Patrick has lived in Thailand for ten years. Nevertheless, he cannot speak Thai at all.
(แพทริกอาศัยอยู่ที่ประเทศไทยมาเป็นเวลาสิบปีแล้ว อย่างไรก็ตามเขาพูดภาษาไทยไม่ได้เลย)

Our company is facing a big economic crisis. I, however, insist on opening our new branches nationwide.
(บริษัทของเรากำลังประสบวิกฤตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามผมก็ยังยืนยันการเปิดสาขาใหม่ทั่วประเทศ)

example 3

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ สำหรับการใช้ Contrast Words เพื่อแสดงถึงเหตุผลที่ขัดแย้งกัน เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากๆ ทั้งในการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษ ฉะนั้นอย่าลืมทบทวนกันด้วยนะครับ และหากน้องๆ ต้องการศึกษาเพิ่มเติมก็สามารถรับชมวิดีโอจากช่อง Nock Academy ด้านล่างนี้ได้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Imperative Sentence: เรียนรู้การใช้ประโยคคำสั่ง ขอร้องในชีวิตประจำวัน

เชื่อว่าชีวิตประจำวันของน้องๆ ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือเวลาออกไปเที่ยว น้องๆ อาจจะเคยได้ยินประโยคประมาณนี้กันมาบ้าง

Turn off the computer! (จงปิดคอมพิวเตอร์!)

Please pass me the sugar (ช่วยส่งน้ำตาลมาให้ที)

Drink a lot of water (ดื่มน้ำเยอะๆ)

ประโยคเหล่านี้ภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกว่า Imperative Sentence วันนี้เราจะมาดูกันว่า Imperative Sentence คืออะไร และสามารถใช้ในสถานการณ์ไหนได้บ้าง

เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค

​ประโยค คือถ้อยคำต่าง ๆ ที่นำมาเรียงกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ว่าใครกำลังทำอะไร ที่ไหน และเมื่อไหร่ บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าประโยคที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ส่วนประกอบของประโยค   โดยทั่วไปประโยคจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ภาค คือ ภาคประธานและภาคแสดง     ภาคประธาน คือ

โคลงโลกนิติ ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงโลกนิติ เป็นคำโคลงที่ถูกแต่งไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดูจากช่วงเวลาแล้ว น้อง ๆ หลายคนคงจะสงสัยว่าเหตุใดบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนโน้น ยังถูกนำมาเป็นบทเรียนให้คนรุ่นหลังสมัยนี้ศึกษาอยู่ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์แบบใด ถึงได้รับการอนุรักษ์ไว้มาอย่างยาวนาน วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของโคลงโลกนิติกันค่ะ โคลงโลกนิติ ประวัติและความเป็นมา โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้แต่งที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นสุภาษิตเก่าที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นคำโคลง ต่อมา เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธ์) และประสงค์ให้มีการนำโคลงโลกนิติมาจารึกลงแผ่นศิลาติดไว้เป็นธรรมทาน เพื่อที่ประชาชนจะได้ศึกษาคติธรรมจากบทประพันธ์   ผู้แต่งโคลงโลกนิติ เดิมทีไม่มีปรากฏชื่อผู้แต่งที่ชัดเจนและไม่มีหลักฐานยืนว่าโคลงโลกนิติถูกแต่งขึ้นเมื่อไหร่ แต่นักวรรณคดีศึกษาคาดว่าโคลงโลกนิติแพร่หลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีคำสอน เรื่องสุภาษิตพระร่วง

สุภาษิตพระร่วง   คนไทยนิยมใช้สุภาษิตสั่งสอนลูกหลานกันมาตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงจะเคยได้ยินสุภาษิตกันมาไม่มากก็น้อย ดังนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วง วรรณคดีอันทรงคุณค่าและเป็นวรรณคดีเล่มแรกที่แต่งคำประพันธ์เป็นร่ายโบราณแบบร่ายสุภาพ ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วง     สุภาษิตพระร่วง เป็นวรรณคดีคำสอนที่ทรงคุณค่าที่มีมาอย่างยาวนาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สุภาษิตบัณฑิตพระร่วง คำว่า พระร่วง ทำให้คนเข้าใจว่าอาจจะเป็นคำสอนของกษัตริย์สักคนที่มีนามว่า พระร่วง

Profile-even if-only if- unless grammartical techniques

Even if, Only If, Unless ใช้ยังไงในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.  6 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคการใช้ Even if, Only if, Unless มาฝากกันค่ะ หลายคนที่อาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างแล้ว แต่อาจะจะลืมไปหรือบางคนอาจจะยังไม่เคยเรียนเลย ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้เราจะเริ่มกันใหม่ ไปลุยกันเลย ความหมายโดยรวมของ Even if, Only if, Unless คือ คำสันธานที่ใช้เชื่อมความขัดแย้งของประโยคเงื่อนไข ย้ำนะคะว่า

Comparison of Adjectives

การใช้ประโยค Comparative Adjectives

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่บทเรียนเรื่องคำคุณศัพท์กันนะคะ วันนี้ครูได้ สรุปเรื่อง การใช้ ประโยค ประโยค Comparative Adjectives หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ Comparison of Adjectives: การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ มาฝาก ไปลุยกันเลยจร้า   คำศัพท์สำคัญ: Comparative VS Comparison comparative (Adj.)

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1