Short question and Short answer

ปก short answer questions

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างและวิธีการแต่งประโยคคำถาม ของเรื่อง Short question and Short answer การถามตอบคำถามแบบสั้น หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า

 

ความหมาย

Short ans questions

Short question and Sho

rt answer คือการถามตอบแบบสั้นหรือส่วนใหญ่แล้วมักขึ้นต้นคำถามด้วยกริยาช่วย และได้คำตอบขนาดสั้น เช่น Yes, I do. No, I don’t. Yes, they are. เป็นต้น

 

ตัวอย่าง รูปแบบโครงสร้างคำถามที่ข้นต้นด้วย Verb to be และ Verb to do กันจร้า

Example:

Are you hungry?
หิวมั้ย
Answer: Yes, I’m hungry. หรือ No, I’m not hungry.
ใช่แล้ว ฉันหิว หรือ ไม่เลย ฉันไม่หิว

Do you like me?
คุณชอบฉันมั้ย

Answer: Yes, I do. หรือ No, I don’t.
ใช่ ฉันชอบคุณ หรือ ไม่ ฉันไมชอบคุณ

Short Questions and Short Answers ขึ้นต้นด้วย “Verb to be”

 

NokAcademy_ม3 การใช้ Yes_No Questions  และ Wh-Questions (3)

 

กริยาช่วยกลุ่มนี้ที่สามารถขึ้นต้นประโยคคำถามได้ ได้แก่ is, am, are, was, were

โครงสร้างประโยคคำถามที่เราต้องรู้ คือ

Verb to be + Subject + Object/ Complement….?

ตัวอย่างประโยค

ประโยคบอกเล่า: Emily is going to the zoo. แปล เอมมิลี่กำลังจะไปสวนสัตว์
ประโยคคำถาม: Is Emily going to the zoo?
แปลว่า เอมมิลี่จะไปสวนสัตว์มั้ย
อธิบายเพิ่มเติม: เอมมิลี่เป็นประธาน, is เป็น V. to be, going มาจาก go + .ing แปลว่า กำลังไป

 ทบทวน:  Helping verb หรือ Auxiliary verb กริยาช่วย หรือ ภาษาทางการเรียกว่า กริยานุเคราะห์  คือกริยาที่วางอยู่หน้ากริยาหลัก (Main verb) ในประโยค  ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้มีความหมายตาม Tenses กาลเวลา (Present, Past, Future) เพื่อให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ขึ้น

 

 Verb to Do ขึ้นต้น Short Questions and Short Answers

 

NokAcademy_ม3 การใช้ Yes_No Questions  และ Wh-Questions (4)

 

หน้าที่เป็นกริยาช่วย (Auxiliary Verb) โดยจะใช้ร่วมกับกริยาหลัก (Main Verb) เพื่อสร้างประโยคคำถาม
ประโยคปฏิเสธ หรือเพื่อเน้นย้ำความสำคัญ

 

โครงสร้างประโยคคำถาม:
Do/Does/Did + Subject + V .infinitive + Object/Complement?

 

  •  Simple Present Tense ใช้ Do / Does

Do you like going to the zoo?
= คุณชอบไปสวนสัตว์มั้ย

Does the tiger eat meat?
= เสือกินเนื้อเป็นอาหารมั้ย

 

  • Past Tense ใช้ Did กับเหตุการณ์ที่เป็นอดีต

Did you feed monkeys at the zoo?
แปล คุณได้ให้อาหารลิงที่สวนสัตว์มั้ย

ทบทวนกริยาช่วยและการสร้างประโยค

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (2)

Helping verb หรือ Auxiliary verb กริยาช่วย หรือ ภาษาทางการเรียกว่า กริยานุเคราะห์  คือกริยาที่วางอยู่หน้ากริยาหลัก (Main verb) ในประโยค  ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้มีความหมายตาม Tenses กาลเวลา (Present, Past, Future) เพื่อให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ขึ้น

ประเภทของ Helping Verbs

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (3)

 

Helping หรือ Auxiliary verbs กริยาช่วยในภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. Modal auxiliary verbs คือ กริยาช่วยที่มาช่วยขยายความหมายของกริยาแท้ เช่น will, shall, should, can, may, must กริยาช่วยกลุ่มนี้จะช่วยบอกความเป็นไปได้ ความจำเป็น และเปลี่ยนแปลงความหมายของกริยาแท้ไปในเชิงนั้นๆ 

ประโยคบอกเล่า: Jenny can play a piano.  (เจนนี่สามารถเล่นเปียโนได้)

ประโยคคำถาม: Can Jenny play a piano?
ตามโครงสร้าง: Modal auxiliary verbs + Subject + V. Infinitive + Object/Compliment?

 

  1. Primary auxiliary verbs คือ กริยาช่วยที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาแท้ให้เป็นไปตามโครงสร้างทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
    V. to be, V. to have, และ V. todo

Primary auxiliary verbs กริยาช่วยในกลุ่มนี้ ไม่มีความหมายในตัวเอง และไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ จะต้องใช้คู่กับกริยาหลัก (Main verb) เท่านั้น ทำให้เราสามารถสร้างโครงสร้างประโยคคำถามได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ค่ะ

 

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (4)

 

กริยาช่วยกลุ่มนี้ได้แก่ is, am, are, was, were

โครงสร้างประโยคคำถามคือ V. to be + Subject + Object/ Complement….?

ตัวอย่างประโยค

ประโยคบอกเล่า: Jen is hit by a car. แปล เจนโดนรถชน
ประโยคคำถาม: Is Jen hit by a car?
แปลว่า เจนถูกรถชนใช่มั้ย
เพิ่มเติม: เจนเป็นประธาน, is เป็น V. to be, hit เป็น กริยาช่อง 3 ของ hit (hit, hit, hit) แปลว่า โดนชน

ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

 

 

V. to have ขึ้นต้นประโยคคำถาม

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (5)

 

กริยาช่วยกลุ่มนี้ได้แก่ has, have, had

โครงสร้าง: Have/Has/Had + Subject + V.3+ Object/ Complement….?

ประโยคบอกเล่า:  Daniel has eaten a piece of cake.แปลว่า เดเนียลได้กินเค้กไปแล้ว 1 ชิ้น
ประโยคคำถาม: Has Daniel eaten a piece of cake?
แปล: เดเนียลได้กินเค้กชิ้นนั้นไปใช่มั้ย
ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

Modal auxiliaries ขึ้นต้นประโยคคำถาม

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (6)

 

กริยาช่วยเหล่านี้เป็นกริยาช่วยที่มีความหมายในตัวมันเอง ได้แก่

will, would = จะ

shall, should = จะ, น่าจะ, ควรจะ

can, could = สามารถ

may, might = อาจจะ

must = ควรจะ

ought to = ควรจะ (ปัจจุบันไม่ค่อยถูกนำมาใช้)

โครงสร้างประโยคคำถามคือ: modal auxiliaries + subject + V. Infinitive
(กริยาช่องที่ 1 ไม่ผัน) + Object/ Complement….?

 

ตัวอย่างประโยคคำถาม

Would you like to come with me?
แปลว่า คุณต้องการที่จะมากับผมมั้ยครับ

อธิบายเพิ่มเติม

would เป็น modal auxiliaries ส่วน you เป็นสรรพนามบุรุษที่2 ใช้กับคนที่เราพูดด้วย และวลีส่วน to come with me ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มเรียกว่า วลีบุพบท

ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

สรุป Short Answer Questions

 

ปก short answer questions สรุป

 

คำถามที่ขึ้นต้นด้วย กริยาช่วยมักจะได้คำตอบที่เป็น yes หรือ no แบบตายตัว และอาจจะมีส่วนขยายพ่วงมาด้านหลังโดยขึ้นต้นด้วยคอมม่า (,) ซึ่งคำตอบจะเป็น Short Questions หรือ คำตอบสั้นๆนั่นเองค่า ส่วนคำถามที่ขึ้นต้นด้วย Wh- questions นั้นต้องการคำตอบที่เจาะจง เช่นถามว่าชื่ออะไร ผู้ตอบก็ต้องตอบชื่อไปตามตรง แบบนี้นั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะขอให้สนุกกับการอ่านบทเรียนเรื่อง Short Questions and Short Answers  กันนะคะ นักเรียนที่รักทุกคนอย่าลืมทบทวนบทเรียนที่วีดีโอ เรื่อง Short Questions and Short Answers กับทีชเชอร์กรีซกันน๊า เผื่อจะร้องอ๋อ ยิ่งๆขึ้นไป เลิฟๆ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้ Why and because + want + infinitive

การใช้ Why and because + want + infinitive เกริ่นนำเกริ่นใจ กลับมาอีกครั้ง กับนักเขียนเจ้าเก่าคนเดิม คนที่พร้อมจะพาทุกคนเข้าสู่โลกของการเรียนรู้และความหัวปวดด้วยภาษาที่สองอย่างภาษาอังกฤษ เช้าที่สดใสแบบนี้จะมีอะไรดีไปกว่าการได้มานั่งเขียนเรื่องราวดี ๆ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่นอีกละ จริงมั้ย? คำถามคือ ทำไมต้องมาเขียนอะไรแบบนี้ทุกเช้าด้วยละ? สงสัยใช่มั้ยละ? นั่นก็เพราะว่า คนเขียนนั้นรักในการเขียนและอยากจะแบ่งปันความรู้ให้กับคนอ่านทุกคนยังไงละ Easy เลย แค่นั้นเลย คนบนโลกจะเข้าใจกันมากหากเรามีเหตุผลในสิ่งที่ทำ

ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนไทยมาอย่างยาวนาน น้อง ๆ หลายคนก็คงจะรู้จักและเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ แต่ทราบไหมคะว่าวรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาอย่างไร และทำไมถึงมาเป็นบทละคร มีความสำคัญอย่างไรจึงมาอยู่ในบทเรียนวิชาภาษาไทย เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์     รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลและมีเค้าโครงเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดียเป็นคนแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต แม้จะไม่ปรากฏปีที่วรรณคดีเรื่องดังกล่าวเข้ามาเผยแผ่ในไทยอย่างแน่ชัด แต่ด้วยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ทำให้นักวิชาการคาดการณ์ว่าเป็นช่วงสมัยอยุธยา และในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินได้ทรงประพันธ์เพื่อให้ละครหลวงเล่น ก่อนที่ต่อมาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด สามารถตรวจสอบได้จากกราฟและนิยาม สมการหนึ่งสมการอาจจะเป็นทั้งฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลดขึ้นอยู่กับรูปแบบของกราฟและสมการ บทนิยาม ให้ f เป็นฟังก์ชันที่ส่งจากโดเมนของฟังก์ชันไปยังจำนวนจริง โดยที่ A เป็นสับเซตของจำนวนจริง และ A เป็นสับเซตของโดเมน จะบอกว่า  f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนเซตเซต A ก็ต่อเมื่อ สำหรับ และ ใดๆใน A ถ้า  < 

เพลงพื้นบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนในอดีตผ่านบทเพลง

ในอดีตประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประชาชนมีชีวิตที่สุขสบาย เมื่อมีเวลาว่างก็มักรวมตัวกันในชุมชนเพื่อร้องรำทำเพลง เล่นกันสนุกสนาน หรือในงานเทศกาลต่าง ๆ บทเพลงที่ใช้ร้องเล่นกันนั้นเรียกว่า เพลงพื้นบ้าน ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บทเรียนในวันนี้เราจะไปพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของเพลงพื้นบ้านในแต่ละถิ่นของประเทศไทยกันว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   เพลงพื้นบ้าน   เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีการร้องเล่นที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ นิยามเล่นกันในเทศกาลต่าง ๆ หรืองานที่มาร่วมรื่นเริงกัน

กาพย์พระไชยสุริยา เรียนรู้ความเป็นมาของแบบเรียนภาษาไทยอันทรงคุณค่า

กาพย์พระไชยสุริยา   กาพย์พระไชยสุริยาเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่น้อง ๆ ทุกคนจะได้ศึกษากัน แต่รู้ไหมคะว่าคำกาพย์ที่แต่งโดยสุนทรภู่นี้เป็นกาพย์แบบไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เหตุใดถึงมาอยู่ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยได้ วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา รวมถึงเรื่องลักษณะคำประพันธ์และสรุปเนื้อเรื่องโดยย่อ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา     กาพย์พระไชยสุริยา เป็นวรรณคดีคำกาพย์ที่สุนทรภู่แต่ง มีความยาว 1 เล่มสมุดไทย นักวรรณคดีและนักวิชาการสันนิษฐานว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นขณะบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาระหว่าง

โจทย์ปัญหาเลขยกกำลัง

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง          เราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังที่เรียนมาไม่ว่าจะเป็น การคูณ การหาร เลขยกกำลัง และการเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง รวมทั้งไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากมาย  ในบทความนี้จะกล่าวถึงการนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังไปใช้แก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ตัวอย่างที่ 1 – 3 ตัวอย่างที่ 1  เด็กชายศิระนำแท่งลูกบาศก์ไม้ขนาด 5³ ลูกบาศก์เซนติเมตร  มาจัดวางในลูกบาศก์ใหญ่ที่มีความยาวของแต่ละด้านเป็น

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1