การใช้ The

การใช้ the

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.2 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูได้สรุปเรื่อง “การใช้ The” ซึ่งเป็น 1 ใน Articles ที่สำคัญมากๆ
พร้อมเทคนิคการนำไปใช้ มาฝากกันค่ะ หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า Let’s go!

 

Articles คืออะไร

 

NokAcademy_Definite & Indefinite Articles M1 (2)

Articles เป็นคำคุณศัพท์อย่างหนึ่ง การเรียน เรื่อง Articles นี้ที่มีหน้าที่หลักคือ ใช้นำหน้าคำนาม เราต้องทำความเข้าใจควบคู่ไปกับเรื่องนามนับได้ ( Countable Nouns ) และนามนับไม่ได้ ( Uncountable Nouns ) ในบทนี้เราจะไปทำความรู้จักกับ Articles ทั้งสามรูปแบบ อันได้แก่ a, an, the กันจร้า

 

ชนิดของ Articles

 

NokAcademy_Definite & Indefinite Articles M1 (3)

Articles แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

 

  1. Definite Article ได้แก่ the  ซึ่งใช้นำหน้าคำนามนับได้ ( Countable Nouns ) และนามนับไม่ได้ ( Uncountable Nouns ) ทั้งรูปเอกพจน์ (Singular) และพหูพจน์ ( Plural ) เพื่อให้นามนั้นมีความหมายเฉพาะเจาะจง
  2. Indefinite Article ได้แก่ a  และ an ใช้นำหน้านามนับได้ ( Countable Nouns ) เอกพจน์ทั่วๆไป ( Singular )

Definite Article:”The”

 

_NokAcademy_Definite & Indefinite Articles M1


The นำหน้าคำนามได้ทั้งทั้งสระ พยัญชนะ และ
“นำหน้าคำนามเฉพาะเจาะจง”

เช่น สิ่งที่มีหนึ่งเดียวในโลก

  • moon พระจันทร์ ไม่ว่าจะเป็นพระจันทร์ดวงไหน ก็ให้เรียกว่า The moon
  • Pyramids ที่อยู่อียิปต์ ให้เรียกว่า The Pyramids

นอกจากนี้ The ยังใช้กับการพูดคำนามคำนั้นๆซ้ำอีก เพื่อย้ำความหมาย และเน้นที่คำนั้นเช่น a wall (กำแพง)
แล้วกำแพงไหนล่ะ…ก็กำแพงนั่นไง The wall (หากมีการกล่าวถึงนามนั้นซ้ำอีกหนึ่งรอบจะใช้ The wall)

 

  • การใช้ article a an ใช้กับนามทั่วๆไป กล่าวแบบลอยๆทั่วไป
  • การ ใช้ article the ใช้กับนามเฉพาะเจาะจง หรือ คำนามที่กล่าวซ้ำ

 

ข้อยกเว้น:

  • ถ้ามีคำขยาย ( modifier ) อยู่ระหว่าง article และคำนาม article นั้นจะยังคงรูปไม่เฉพาะเจาะจง เช่น

“I want a beautiful dress for a party.” ( มี beautiful อยู่ระหว่าง a ( article ) และ dress
( นาม ) แปลว่า ฉันอยากได้ชุดสวยๆ สำหรับงานปาร์ตี้จัง

“I want a nice pair of jeans. ยังคงใช้ a ซึ่งเป็นรูปไม่เฉพาะเจาะจง แปลว่า ฉันอยากจะได้กางเกงยีนส์ดีๆซักตัวนึงจังเลย เป็นการพูดขึ้นมาลอยๆไม่ได้เจาะจงว่าเป็นยีนส์ตัวไหน

 

  • ใช้ The เมื่อเป็นการพูดถึงในครั้งต่อมา เป็นการต่อเนื่อง ปรกติจะเป็นการกล่าวถึงคำนามนั้นซ้ำอีกรอบ (The + Noun) เช่น

I ate noodle at lunch. The noodle was very delish.
แปล ฉันทานก๋วยเตี๋ยวมาเมื่อช่วงเที่ยง ก๋วยเตี๋ยว แซ่บมาก

 

 

  • ใช้ The กับนามเอกพจน์นับได้ที่มีความหมายลักษณะเป็นนามธรรม ( abstract ) หรือ กลุ่มๆ คำนามกลุ่มนี้ได้แก่ animal (สัตว์ เช่น หมู สุนัข เป็ด แมว เป็นต้น)

ตัวอย่างประโยค:

The dog is a generous animal.
แปล
สุนัขเป็นสัตว์ที่ซื่อสัตย์ ( สุนัขโดยความหมายทั่วๆไป ซึ่งเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่ซื่อสัตย์)

 

A dog is a generous animal.
แปล สุนัขไม่ว่าตัวไหนก็ตามเป็นสัตว์ซื่อสัตย์ (ไม่เจาะจงเท่าการใช้ The นำหน้า)

 

 

The กับหลักการใช้ง่ายๆ 7 ข้อ

 

NokAcademy_Definite & Indefinite Articles M1 (6)

  1. ใช้กับคำนามนับได้เอกพจน์และพหูพจน์ที่เป็นการชี้เฉพาะเจาะจงลงไปว่าคนไหน อันไหน สิ่งไหน
  2. ใช้ the นำหน้าคำนามที่มีสิ่งเดียว หรืออันเดียว the world, the sun, the moon, the universe
  3. ใช้ the นำหน้าชื่อ-สกุล (และเป็นพหูพจน์เสมอ) หมายถึง ครอบครัว เช่น The Beckhams
  4. The + ชื่อเฉพาะ สังเกตว่าหลัง The จะตามด้วยตัวพิพม์ใหญ่ The Future Park Rangsit
  5. ใช้the นำหน้าชื่อเครื่องดนตรี the guitar, the violin, the piano
  6. ใช้the + คำคุณศัพท์เมื่อกล่าวถึงกลุ่มบุคคล เชื้อชาติ สีผิว เช่น the rich, the Japanese, the African-American

 


ทบทวนคำนามนับได้/นามนับไม่ได้กันสักนิด

NokAcademy_Definite & Indefinite Articles M1 (7)

 

  • Countable Nouns นามนับได้ มีทั้งรูปเอกพจน์และพหูพจน์

เอกพจน์:  เช่น  Covid-19, pandemic, dog, country, day, year

พหูพจน์:   เช่น  Viruses, dogs, countries, days, years

  • Uncountable Nouns นับนับไม่ได้มีรูปเดียวคือ รูปเอกพจน์   และเมื่อกล่าวถึงเป็นการทั่วๆไป หรือ ไม่ได้กล่าวถึงมาก่อน ไม่ต้องนำด้วย articles  เช่น
    water, salt, hair, rice, and etc.

 

ข้อควรรู้:

คำนามขึ้นต้นด้วยสระให้ใช้ an   เช่น เราไม่ใช้ a apple แต่จะใช้ an apple
ยกเว้น: คำที่ข้นต้นด้วยตัว “h” ในคำว่า hour (เอาร์รฺ), hair (แอร์รฺ)
เราจะใช้ an hour แปลว่า ชั่วโมงหนึ่ง และ an heir ที่แปลว่า รัชทายาท เนื่องจากเวลาออกเสียง เราจะออกเสียงเหมือนไม่มี h อยู่ เสียงเลยตกอยู่ที่ตัวอักษรที่สอง ซึ่งเป็นสระ “ou” สระ เ-า กับ  “ei” สระแอ แทน ดังนั้น เวลาใช้คำนำหน้า เราจึงใช้ an

***An hour นะคะ ไม่ใช้ a hour อย่าลืมเด้อ

…………………………………………………………

ส่วนคำนามขึ้นต้นด้วยพยัญชนะให้ใช้ a เช่น a Covid-19 ,
a horse เป็นต้น แต่ The นั้นจะสามารถนำหน้าคำนามได้ทุกอย่าง 

 Indefinite Article: “a, an”

 

NokAcademy_Definite & Indefinite Articles M1 (4)

 

 Indefinite Article ได้แก่  a, an มีหลักการใช้ดังนี้

1) a และ an ใช้นำหน้านามทั่วทั่วไป  แปลว่า หนึ่งคน หนึ่งตัว หนึ่งอัน หนึ่งแห่ง หรือบางทีไม่ต้องแปลก็ได้ เป็นการกล่าวถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งแบบลอยๆ ไม่รู้ว่าอันไหนกันแน่ โดยมีหลักการใช้ดังนี้

 

  • an นำหน้าคำนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ (a e i o u) และเสียงสระผสมอื่นๆ เช่น ea, ae, ei, ou เป็นต้น เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้

an aisle ทางเดิน
an ice-cream ไอศกรีมหนึ่งแท่ง
an orange ส้มหนึ่งผล
an umbrella ร่มหนึ่งคัน
an apple แอปเปิลหนึ่งลูก

 

2) a นำหน้าคำนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะที่เหลือทุกตัว เช่น

a teacher ครูหนึ่งคน

a bird นกหนึ่งตัว

a car รถหนึ่งคัน
a house  บ้านหลังหนึ่ง

 สรุปข้อสังเกต: 2 กลุ่มคำที่เราจะไม่ใช้กับ a/an

 

NokAcademy_Definite & Indefinite Articles M1 (8)

  1. ไม่ใช้ a /an กับคำนามที่นับไม่ได้ (uncountable nouns) เช่น water, salt, rice, and etc.
  2. ไม่ใช้ a/ an นำหน้าชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อวิชา ชื่อประเทศ ชื่อเมือง ชื่อจังหวัด อำเภอ ชื่อมหาวิทยาลัย
    ชื่อมื้ออาหาร ชื่อดาราดังๆ ชื่อนักร้องเกาหลี เป็นต้น (เพราะว่าส่วนใหญ่เราจะใช้กับ The)

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะนักเรียนที่รักทุกคน ครูหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักเรียนจะได้รับความรู้ และประโยชน์จากการอ่านบทความนี้นะคะ อย่าลืมทบทวนเนื้อหาเรื่อง Article “The” ได้ที่วีดีโอด้านล่างเลยนะคะ

กดปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนกันเลยจร้า
Have a good day guys! Take care!

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์ ตัวผกผันของความสัมพันธ์ r คือความสัมพันธ์ใหม่ที่เกิดจากการสลับตำแหน่งของสมาชิกตัวหน้ากับสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับทุกคู่ในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   ซึ่ง = {(y, x) : (x, y ) ∈ r} เช่น r = {(1, 2), (3, 4), (5,

การพูดรายงานหน้าชั้น พูดอย่างไรให้ได้ใจผู้ฟัง

การพูดรายงานหน้าชั้น เป็นการแสดงผลงานศึกษาค้นคว้าโดยนำมาบอกเล่า ชี้แจง นำเสนอให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย การพูดรายงานจึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้กันว่าหลักในการพูดรายงานหน้าชั้นนั้นมีอะไรบ้าง พูดอย่างไรจึงจะดึงดูดผู้ฟัง รวมไปถึงมารยาทขณะที่ออกไปพูดด้วย จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ   หลักการพูดรายงานหน้าชั้น     1. กล่าวทักทายผู้ฟัง แนะนำผู้ร่วมงาน หัวข้อ จุดประสงค์ การทักทายถือเป็นการสร้างความประทับใจแรกให้แก่ผู้ฟัง ไม่ว่าหัวข้อที่เราจะนำมาพูดหน้าชั้นคืออะไร แต่หากเราพูดเนื้อหาขึ้นมาเลยแบบไม่มีปี่ไม่ขลุ่ย ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟัง หรือคิดว่าการพูดหน้าชั้นของเราเป็นเรื่องน่าเบื่อ

สมมูลและนิเสธ

สมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ

“สมมูลและนิเสธ” ของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สมมูลและนิเสธ เราเคยเรียนกันไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่เป็นของประพจน์ p, q, r แต่ในบทความนี้จะเป็นสมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ซึ่งก็จะเอาเนื้อหาก่อนหน้ามาปรับใช้กับประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สิ่งที่เราจะต้องรู้และจำให้ได้ก็คือ การสมมูลกันของประพจน์ เพราะจะได้ใช้ในบทนี้แน่นอนน ใครที่ยังไม่แม่นสามารถไปอ่านได้ที่ บทความรูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน  นิเสธของตัวบ่งปริมาณ เมื่อเราเติมนิเสธลงไปในประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ข้อความต่อไปนี้จะสมมูลกัน กรณี 1 ตัวแปร ∼∀x[P(x)] ≡ ∃x[∼P(x)] ∼∃x[P(x)]

มนุสสภูมิ ตอนที่ว่าด้วยกำเนิดของมนุษย์ในไตรภูมิพระร่วง

ไตรภูมิพระร่วงมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่แน่นอน เพื่อที่จะให้มนุษย์ตระหนักถึงกรรมดีและกรรมชั่วและพบกับความสุขไม่ว่าจะอยู่ในโลกไหน โดยในตอน มนุสสภูมิ นี้ก็ได้กล่าวถึงการกำเนิดมนุษย์ที่อธิบายโดยใช้หลักความเชื่อทางพุทธศาสนามาอธิบายจึงทำให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่มีความสนใจเป็นอย่างมากเลยล่ะค่ะ จากที่ครั้งก่อนเราได้เรียนเรื่องนี้กันไปแล้วในส่วนของที่มาและความสำคัญและเนื้อเรื่องย่อ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เพิ่มเติมแต่เป็นเรื่องของตัวบทเพื่อถอดคำประพันธ์ รวมไปถึงศึกษาคุณค่าที่ปรากฏในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย ตัวบทเด่น ๆ ในไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ     ถอดความ เป็นการอธิบายถึงวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ตั้งแต่เริ่มเป็นเซลล์ โดยอธิบายว่าไม่ว่าจะเกิดเป็นชายหรือหญิง ก็จะเริ่มจากการเป็นกลละ แล้วโตขึ้นทีละน้อย เมื่อถึง 7

NokAcademy_Profile ม2 มารู้จักกับ (Connective Words)

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words)

Getting Started! มาเริ่มกันเลย   สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไป ทบทวนงานเรื่อง  การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) ที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อมในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1