การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t 

บทนำแสนแซ่บ

สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องสุดปังทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องของคำกริยาช่วยที่ทำให้เรารู้ว่าคนนั้น ๆ สิ่งนั้น หรืออันนั้นมีความสามารถในการทำอะไรได้บ้างกันดีกว่า 

ในภาษาไทยเอง เวลาเราจะอธิบายว่าเรามีความสามารถอะไรเราก็มักจะพูดว่า “เรา… ทำได้” หรือ “เราสามารถ….ทำได้” โดยภาษาอังกฤษสุดที่รักของเราเองก็มีอะไรแบบนั้นเหมือนกัน โดยเค้าใช้คำว่า Can มาช่วย โดยเราจะเรียกคำกริยาช่วยเหลือนี้ว่า Auxiliary verb หรือ Helping Verb นั่นเองละครับจ้าวนายยยย

หน้าที่ของ Auxiliary verb ก็ง่ายมาก มีแต่ 3 หน้าที่หลักก็เท่านั้นเอง นั่นก็คือ มันช่วยบอกอารมณ์ เวลา และน้ำเสียงของเราได้ และเพื่อให้จำง่าย เราจึงเรียกเค้าว่า Helping verb ยังไงละ

พออ่านมาถึงตรงนี้ก็พอจะเห็นภาพแล้วใช่หรือเปล่าละครับ แต่ยังไงเรามาดูภาพใหญ่ที่มีญาติพี่น้องในตระกูล Axiliary verb กันหน่อยดีกว่า เพราะต้องยอมรับว่า คำว่า CAN/CAN’T ไม่ใช่ตัวเดียวที่เป็นกริยาช่วย แต่ยังมีพี่น้องของเค้าอีก 22 ตัวที่เราควรที่จะจำได้ (แต่เราจะไม่ไปทำความรู้จักเหล่าพี่น้องทั้งหมดหรอกนาจา… เพราะวันนี้เราจะเอาแค่ Can และ Can’t ก็น่าจะเหนื่อยแล้ว)

Verb to be  Verb to have  Verb to do
Is, am, are, was, were
(เป็น อยู่ คือ)
Have, has และ had (มี) Do, does, did (ทำ)
Will, would, shall (จะ)
Should, ought to (ควรจะ)
Can, could (สามารถ)
Have to, has to, had to
(ต้อง)
Need (จำเป็น)
Had better (ควรจะ)
I would rather (Prefer)
Used to (เคย)
Dare (ท้า/กล้า)

เยอะนะแม่…!! เอาจริงดิ? นี่ไง เราเลยต้องเรียนแค่ 2 คำไง ไม่งั้นไม่ไหว อธิบายหน้าเดียวไม่หมดแน่เลยแม่ เพราะฉะนั้น มา!!! มาดูการทำงานของ Can และ Can’t กัน

การทำงานของ CAN

กริยาช่วย CAN ใช้เพื่อแสดงความสามารถหรือเพื่อบอกว่าบางสิ่งเป็นไปได้ CAN ใช้กับประธานใดก็ได้ และตามด้วยกริยาฐาน

วิธีการเขียนก็ง่าย ๆ ด้วยสูตร

SUBJECT + CAN + BASE VERB

ตัวอย่างเช่น 

  • I can help you with your presentation (ฉันสามารถช่วยคุณเรื่องการนำเสนองานได้นะ)
  • My friend can drive a car (เพื่อนของฉันสามารถขับรถได้นะ/ เพื่อนฉันขับรถได้)
  • She can go to the hotel tomorrow (เธอสามารถไปโรงแรมได้พรุ่งนี้นะ)
  • Her dog can swim (หมาของเธอว่ายน้ำได้)

ข้อสังเกตง่าย ๆ ของการใช้ CAN คือ 

  1. มันสามารถบอกได้ว่าเรามีทักษะหรือความสามารถพิเศษอะไร
  2. มันใช้เพื่อบอกว่าเรามีแนวโน้มที่จะทำได้นะ แต่อาจจะทำหรือไม่ก็แล้วแต่ฉัน เช่น ประโยคที่ She can go to the hotel tomorrow ที่แปลว่า เธอสามารถไปโรงแรมพรุ่งนี้ได้นะ แต่จะไปหรือเปล่าก็อีกเรื่อง

การทำงานของ CAN’T

ในการสร้างเชิงลบของ CAN – เพื่อแสดงว่าไม่มีความสามารถหรือพูดว่าบางสิ่งเป็นไปไม่ได้ เราเพิ่ม “Not” กับ “Can” เพื่อสร้าง CANNOT หรือใช้ตัวสั้นอย่าง CAN’T แล้วตามด้วยกริยาฐาน (Base verb) 

สรุปแบบง่าย ๆ เลยนะแม่ คือเอางี้นะ ถ้า Can ทำอะไรได้ การใช้ Can’t หรือหมายถึงสิ่งตรงกันข้ามคือทำไม่ได้ หรือไม่สามารถทำได้นั่นเอง

วิธีการเขียนก็ง่าย ๆ ด้วยสูตร

SUBJECT + CANNOT หรือ CAN’T + BASE VERB

ตัวอย่างเช่น

  • I can’t go to your house tonight. (คืนนี้ฉันไปบ้านของเธอไม่ได้นะ)
  • They cannot speak Chinese. (พวกเขาพูดจีนไม่ได้)
  • Her dog cannot swim fast. (หมาของเธอว่ายน้ำได้ไม่เร็ว)
  • She can’t drive a car. (เธอขับรถไม่ได้)

ข้อสังเกตง่าย ๆ ของการใช้ CAN คือ 

  1. มันสามารถบอกได้ว่าเราไม่มีทักษะหรือความสามารถพิเศษอะไรบ้าง ฉันขับรถไม่ได้ ว่ายน้ำเร็วไม่เป็น อะไรทำนองนี้
  2. มันใช้เพื่อบอกว่าเรามีแนวโน้มที่จะทำอะไรไม่ได้แบบไม่ได้เลย แต่ถ้าฝึกหรือทำบ่อยก็ทำได้นะ เช่น ประโยคที่ She can’t drive a car ที่แปลว่า เธอขับรถไม่ได้ แต่ถ้าฝึกไปก็ไม่แน่นะแม่

การตั้งคำถามด้วย Can

คำถามที่ขึ้นต้นด้วย Can

ในการสร้างคำถามด้วย Can มีขึ้นก็เพื่อถามว่าคนพูดหรือตัว Subject นั้นมีความสามารถหรือมีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำได้ โดยเราวาง SUBJECT ระหว่าง CAN และ Base verb อ่านแล้วอาจจะงง ๆ งั้นเรามาทำให้เห็นภาพด้วยสูตรง่าย ๆ กันเถอะ

นี่คือสูตร: CAN + Subject + Base verb

ตัวอย่างเช่น:

  • Can she wash the dishes after lunch? (เธอล้างจานหลังข้าวเที่ยงได้มั้ยอ่ะ?)
  • Can we go to a movie this Friday night?  (เราไปดูหนังวันศุกร์ได้มั้ยอ่ะ?)
  • Can it be difficult to learn a new language? (การเรียนภาษาใหม่เป็นเรื่องยากไหม)

ป.ล. การขึ้นคำถามด้วย Can’t ไม่เป็นที่นิยม เพราะมันออกแนวเหมือนแบบมองว่าอีกฝั่งทำไม่ได้หรือเปล่า ไปแนวแบบดูถูกอีกฝั่งแบบกราย ๆ อยู่นะแม่ เพราะฉะนั้นใช้ Can ไปก่อนดีกว่าเพราะมันบอกเราได้ว่า เราคิดว่าคนที่เราถามนั้นสามารถทำได้ เพราะคงไม่มีใครอยากเป็นคนที่ไม่สามารถ… หรอกเนาะ

คำถามที่ขึ้นต้นด้วย WH question word

อันนี้อาจจะไม่ยากถ้าเราเข้าใจ WH Question ที่มีคำว่า What (อะไร), where (ที่ไหน), when เมื่อไหร่), why (ทำไม), who (ใคร), how (อย่างไร).แต่มันจะยากแน่ถ้าเราไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นไปทำความเข้าใจแปบ หรือทริคง่าย ๆ ก็แปลเป็นไทยไปก่อน แล้วก็มาเรียนเรื่องของ Can และ Can’t กันก่อนเนาะ

สูตรง่าย ๆ จำได้ไม่ยาก คือ  WH question word + CAN or CAN’T + SUBJECT+ กริยาฐาน

ตัวอย่างเช่น:

  • Where can I buy a bag? ฉันซื้อกระเป๋าได้ที่ไหนบ้างอ่ะ?
  • What can we do now? เราทำอะไรได้บ้างตอนนี้?
  • Why can’t you go with us?  ทำไมเธอถึงไปกับเราไม่ได้ละ?

ไหน ๆ ก็ไหน ๆ และ จบท้ายด้วยคำถาม เราก็ต้องรู้จักตอบสินะ 

การตอบคำถาม Can และ Can’t 

ทริคง่าย ๆ คือ ถ้าขึ้นต้นคำถามด้วย Can หรือ Can’t ก็ตอบแค่ Yes, I can หรือ No, I can’t ก็แค่นั้นเอง แต่ที่จะเป็นปัญหาหัวจะปวดก็จะเป็นคำถาม WH-Question ที่เราจะต้องฟังว่าเค้าขึ้นต้นคำถามว่า What, where, when, why, who, how หรืออะไร แล้วเราก็ต้องตอบตามนั้น

เอาจะครับพ่อแม่พี่น้องทุกท่าน เราก็มาถึงช่วงสุดท้ายของเรื่อง Can’t and Can กันแล้ว เรื่องนี้เหมือนจะง่าย แต่ก็ไม่ง่าย แต่ถ้าเราจะทำให้มันง่ายมันก็จะง่าย เอะ ยังไง? สรุปคือ ถ้าเราจำแค่จำเป็นแล้วค่อยไปเจาะลึกตามที่เราเจอจริงในชีวิตประจำวัน ผ่านการใช้งานบ่อย ๆ ก็จะช่วยได้เยอะครับ เพราะพี่ที่เขียนเองก็ใช้วิธีการพูดและเขียนบ่อย ๆ จนเริ่มชินชาไปกับความหัวจะปวด เพราะฉะนั้น ถ้าพี่ทำได้ เราก็ทำได้ ที่หนึ่งในใจคุณ แล้วพบกันใหม่… สวัสดีครับบบบบบบบ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ผู้ชนะ

ผู้ชนะ บทอาขยานที่ว่าด้วยความไม่ย่อท้อ

บทอาขยาน คือ บทท่องจำจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ หรือเป็นคำประพันธ์ที่มีความไพเราะ และมีความงดงามทางภาษา มีความหมายดี และให้ข้อคิดที่มีคุณค่า สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ และบทอาขยานที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้ก็คือบทอาขยานเรื่อง ผู้ชนะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมาของเรื่องผู้ชนะ     บุญเสริม แก้วพรหม เป็นนักแต่งกลอนชาวนครศรีธรรมราช เริ่มฝึกเขียนกลอนตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้นประถม จากการคลุกคลีกับหนังสือและเรียนรู้เกี่ยวกับบทกลอนในห้องเรียน แต่มาเริ่มเขียนอย่างจริงจังในระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้ส่งผลงานเข้าประกวดและผ่านการคัดเลือกลงหนังสือพิมพ์ ออกอากาศทางวิทยุ แนวที่เขียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักและสะท้อนสังคม

คติธรรมในสำนวนไทย

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง   สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม   สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย

ส่วนต่างๆ ของวงกลม

ส่วนต่างๆ ของวงกลม ก่อนที่เราจะมารู้จักส่วนต่างๆ ของวงกลม เรามาเริ่มรู้จักวงกลมกันก่อน จากคำนิยามของวงกลมที่กล่าวว่า “วงกลมเกิดจากชุดของจุดที่มาเรียงต่อกันบนระนาบเดียวกัน โดยทุกจุดอยู่ห่างจากจุดจุดหนึ่งซึ่งเป็นจุดคงที่ในระยะทางที่เท่ากันทุกจุด”   โดยเรียกจุดคงที่นี้ว่า จุดศูนย์กลางของวงกลม เรียกระยะทางที่เท่ากันนี้ว่า รัศมีของวงกลม       วงกลม คือ รูปทรงเรขาคณิตที่มีสองมิติเเละจะมีมุมภายในของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน เราจะเห็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอยู่รอบ ๆ ตัวเราอยู่เยอะเเยะมากมาย

การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น

ในบทคาวมนี้จะนำเสนอเนื้อของบทเรียนเรื่องกราฟเส้น นักเรียนจะสามารถเข้าในหลักการอ่านและการวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟเส้น รวมไปถึงสามารถมองความสัมพันธ์ของข้อมูลในแกนแนวตั้งและแนวนอนของกราฟเส้นได้อย่างถูกต้อง

โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ขั้นตอนของการแก้โจทย์ปัญหา บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย แต่ก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้อย่าลืมทบทวน การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กันก่อนนะคะ ถ้าน้องๆพร้อมแล้วเรามาศึกษาขั้นตอนของการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการ ดังนี้               ขั้นที่ 1 วิเคราะห์โจทย์ว่ากำหนดอะไรให้บ้าง และให้หาอะไร               ขั้นที่ 2 กำหนดตัวแปรแทนสิ่งที่โจทย์ให้หาหรือแทนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่โจทย์ให้หา               ขั้นที่ 3 เขียนสมการตามเงื่อนไขของโจทย์               ขั้นที่

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1