Comparison of Adjectives

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเรื่องของ Comparison of Adjectives ซึ่งจะคืออะไรและเอาไปใช้อะไรได้บ้าง เราลองไปดูกันเลยครับ
comparison of adjectives

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Comparison of Adjectives

ในภาษาอังกฤษนั้นไวยากรณ์เรื่อง Comparison of Adjectives หรือ “การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์” นั้นเป็นสิ่งที่น้องๆ มักจะได้เจอบ่อย น้องๆ ลองดูประโยคเหล่านี้ครับ

My dog is as lovely as your cat.

(สุนัขของฉันน่ารักเท่ากันกับแมวของเธอ)

Peter is taller than Jim.

(ปีเตอร์สูงกว่าจิม)

She is the most beautiful person for me.

(เธอคือคนที่สวยที่สุดสำหรับฉัน)

จากประโยคเหล่านี้น้องๆ จะเห็นได้ว่ามีการเปรียบเทียบคน สัตว์ หรือสิ่งของ 2 สิ่ง โดยใช้คำคุณศัพท์ (น่ารักเท่ากันกับ สูงกว่า หรือสวยที่สุด) โดยหากสังเกตดีๆ แล้วเราสามารถแบ่งประเภทของการเปรียบเทียบได้ดังนี้ครับ

  1. Positive (เปรียบเทียบแบบเท่ากัน)
  2. Comparative (เปรียบเทียบขั้นกว่า)
  3. Superlative (เปรียบเทียบขั้นสุด)

 

Positive

เป็นการใช้คำคุณศัพท์ร่วมกันกับ as … as เพื่อแสดงถึงความเท่ากันของสองสิ่งนั่นเองครับ โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปของคำคุณศัพท์นั้นๆ เช่น

My dad is as kind as yours.

(พ่อของฉันใจดีเหมือนกันกับพ่อของเธอ)

The weather this year is as bad as last year.

(อากาศปีนี้แย่เท่ากันกับปีที่แล้ว)

Living in Chiang Mai is as convenient as living in Bangkok.

(การอยู่ในเชียงใหม่นั้นสะดวกสบายเหมือนกันกับการอยู่ที่กรุงเทพ)

comparison positive

 

Comparative

เป็นการเปรียบเทียบขั้นกว่า คือการบอกว่าสิ่งหนึ่งนั้น ใหญ่กว่า สูงกว่า ดีกว่า ฯลฯ อีกสิ่งหนึ่ง โดยจะมีหลักการเปลี่ยนรูปคำคุณศัพท์ดังนี้

คำคุณศัพท์ที่มี 1-2 พยางค์ ให้เติม -er เข้าไป เช่น

Positive

Comparative

clean

cleaner

new

newer

cheap

cheaper

small

smaller

easy

easier

คำคุณศัพท์ที่มี 2 พยางค์ขึ้นไป ให้ใช้ more มาวางไว้ด้านหน้า เช่น

Positive

Comparative

difficult

more difficult

beautiful

more beautiful

important

more important

intelligent

more intelligent

generous

more generous 

คำคุณศัพท์ที่เป็นข้อยกเว้น จะเปลี่ยนรูปไปเลย เช่น

Positive

Comparative

good

better

bad

worse

much/many

more

little

less

ตัวอย่าง

My bag is cheaper than your bag.

(กระเป๋าของฉันถูกกว่าของเธอ)

The exam of this semester is more difficult than the last semester.

(ข้อสอบเทอมนี้ยากกว่าของเทอมที่แล้ว)

Getting at night is worse than getting up in the morning.

(การตื่นนอนกลางดึกแย่กว่ากว่าการตื่นในตอนเช้า)

comparison comparative

 

Superlative

เป็นการพูดถึงสิ่งหนึ่งว่า “ดีที่สุด” ดีกว่าสิ่งที่เหมือนกันอื่นๆ ทั้งหมด โดยจะต้องมี the นำหน้าเสมอเพื่อแสดงถึงความเฉพาะเจาะจง โดยจะมีหลักการดังนี้

คำคุณศัพท์ที่มี 1-2 พยางค์ เติม -est ต่อท้าย เช่น

Positive

Superlative

clean

the cleanest

new

 the newest

cheap

 the cheapest 

small

the smallest

easy

the easiest

คำคุณศัพท์ที่มี 2 พยางค์ขึ้นไป ให้ใช้ the most มาวางไว้ด้านหน้า เช่น

Positive

Superlative

difficult

the most difficult

beautiful

the most beautiful

important

the most important

intelligent

the most intelligent

generous

the most generous 

คำคุณศัพท์ที่เป็นข้อยกเว้น จะเปลี่ยนรูปไปเลย เช่น

Positive

Superlative

good

the best

bad

the worst

much/many

 the most

little

 the least

ตัวอย่าง

He is the smallest student in this class.

(เขาเป็นนักเรียนที่ตัวเล็กที่สุดในชั้นนี้)

Mr. Darcy is the most generous man. He always pays for my tuition.

(คุณดาร์ซี่เป็นคนที่ใจกว้างที่สุด เขาจ่ายค่าเทอมให้ฉันตลอด)

Japanese ramen is the best ramen in the world.

(ราเมนญี่ปุ่นคือราเมนที่ดีที่สุดในโลก)

comparison superlative

 

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับเรื่อง Comparison of Adjectives? พี่เชื่อว่าน้องๆ ต้องสนุกกับมันแน่ๆ เลย และเป็นเรื่องที่น้องๆ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้บ่อยมากๆ อีกด้วยครับ สำหรับน้องๆ ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมสามารถคลิกเข้าไปดูวิดีโอจากช่อง NockAcademy ด้านล่างได้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน

การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน + การใช้ Can/ Could/ Should

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่เจอบ่อยและการใช้ Can, Could, Should กันนะคะ ไปลุยกันเลย   มารู้จักกับประโยคคำสั่ง (Imperative sentence)     รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ

ศึกษาตัวบทและคุณค่าของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

ราชาธิราช   หลังจากได้ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่ออย่างคร่าว ๆ ของวรรณคดีเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสากันไปแล้ว บทเรียนวันนี้เราจะมาศึกษาเกี่ยวกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องนี้กันค่ะ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าวรรณคดีที่ถูกแปลมาจากพงศาวดารมอญอย่างราชาธิราชเรื่องนี้จะมีตัวบทไหนที่น่าสนใจและให้คุณค่าอะไรบ้าง   ศึกษาตัวบทราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา     บทเด่น ๆ บทที่ 1    บทดังกล่าวเกิดขึ้นในตอนที่สมิงพระรามอาสาไปขี่ม้ารำทวนสู้กับกามะนี

อสมการค่าสัมบูรณ์

จากบทความที่ผ่านมา น้องๆได้ศึกษาเรื่องค่าสัมบูรณ์และการแก้อสมการไปแล้ว บทความนี้จะเป็นการเอาเนื้อหาของอสมการและค่าสัมบูรณ์มาปรับใช้ นั่นก็คือ เราจะแก้อสมการของค่าสัมบูรณ์นั่นเองค่ะ เรื่องอสมการค่าสัมบูรณ์น้องๆจะได้เจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลค่ะ ถ้าน้องๆเข้าใจหลักการและสมบัติของค่าสัมบูรณ์และอสมการน้องๆจะสามารถทำข้อสอบได้แน่นอน

การอ่านจับใจความ

การอ่านจับใจความ เทคนิคที่จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยเวลาที่เราอ่านหนังสือเรียนจบแต่เมื่อถึงเวลาไปสอนกลับจำเนื้อหาที่อ่านมาไม่ได้เลย เพราะแท้จริงการอ่านเฉย ๆ ไม่ได้ช่วยให้เราจำเนื้อหาได้ แต่สิ่งที่จะช่วยให้เราได้เข้าใจแก่นของเรื่องที่อ่านจริง ๆ ก็คือการจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้นั่นเองค่ะ บทเรียนในวันนี้จะพาน้องไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง การอ่านจับใจความ เพื่อช่วยให้สามารถจับประเด็นของเนื้อหาได้ โดยที่ไม่ต้องท่องจำให้เสียเวลาเลยค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   การอ่านจับใจความ   เป็นการอ่านเพื่อจับใจความหรือข้อคิด ความคิดสำคัญหลักของข้อความ หรือเรื่องที่อ่าน เป็นข้อความที่คลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้าหนึ่ง ๆ ไว้ทั้งหมด  

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล   แบบฝึกหัดการให้เหตุผล ประกอบไปด้วยการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย ซึ่งแบบฝึกหัดนี้จะช่วยให้น้องๆได้ฝึกฝนการทำโจทย์จนน้องๆเชี่ยวชาญและส่งผลให้น้องๆทำข้อสอบได้แบบไม่ผิดพลาด ถ้าเรารู้เฉยๆเราอาจจะทำข้อสอบได้แต่การที่เราฝึกทำโจทย์ด้วยจะทำให้เราทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและข้อสอบ O-Net ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นข้อสอบ O-Net ของปีก่อนๆ   1.) พิจารณาการอ้างเหตุผลต่อไปนี้ ก. เหตุ 1. ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน   2. ฝนตก      ผล   

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร  โดยการเลือกกำจัดตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง(x) เมื่อเลือกกำจัด x จะได้ค่า y แล้วนำค่าของตัวแปร(y) มาแทนค่าในสมการเพื่อหาค่าของตัวแปรอีกหนึ่งตัวแปร (x) ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆสามารถศึกษาเรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ เพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ ⇐⇐ ให้ a, b, c, d, e และ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1