วิธีการพูดเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

การชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

วิธีการพูดเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

 

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูวิธีการพูดให้ข้อเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำกันค่ะซึ่งในการเสนอแนะ
หรือชักชวนนั้น ผู้พูดจะแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ เพื่อให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยกัน มีการใช้ภาษาหลายระดับ
และใช้รูปประโยคหลายชนิด เช่นเดียวกับการพูดในความหมายต่างๆ ที่ผ่านมาเราจึงต้องใช้รูปประโยคต่างๆ
เช่นประโยคบอกเล่า คำสั่ง ชักชวน เพื่อให้ผู้ฟังทำตาม รวมถึงเทคนิคการตอบรับและปฏิเสธ ดังในตัวอย่างรูปแบบประโยคด้านล่างนะคะ

 

1. ประโยคบอกเล่า (Statement)

 

บอกเล่า

ประโยคบอกเล่าจะมีความหมายในทางเสนอแนะมากกว่าเป็นการให้ความคิดเห็นและแนะว่าควรทำหรือไม่ควรทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถือเป็นการเสนอแนะโดยตรงมีโครงสร้างดังนี้ค่ะ

ตัวอย่าง

I suggest that you should study more.

ฉันขอเสนอแนะว่า เธอควรเรียนให้มากกว่านี้นะ

 

I advise we should exercise more.

ฉันขอแนะนำว่า เราควรออกกำลังกายให้มากกว่านี้

 

I propose that we should not go trekking while it’s raining.
ฉันขอเสนอว่า เราไม่ควรเดินป่าตอนที่ฝนกำลังตก

 

I ought to be out there with her.
ฉันควรจะไปกับเธอ

2. ประโยคคำสั่ง (Command)

 

คำสั่ง

ประโยคคำสั่งที่ใช้ไนความหมายนี้ มีอยู่รูปเดียวคือ Let’s (Let us) เป็นการชักชวนแบบเป็นกันเอง เช่น เพื่อนชวนเพื่อนออกไปกินข้าว พี่ชวนน้องไปเที่ยว เป็นต้น โดยที่อาจจะไม่ต้องการคำตอบแต่เป็นเพียงความประสงค์ของผู้พูดที่ต้องการ ชวนไปทำอะไรบางอย่างอย่างมีจุดมุ่งหมาย จะเรียกว่าสั่งแบบชวนแบบนั้นก็ได้ค่ะ มีโครงสร้าง ดังนี้นะคะ

 

 

โครงสร้างประโยคคำสั่ง(แบบชักชวน)

 

” Let’s + V. infinitive…”


Ex. Let’s go shopping.
/เลทซฺ  โก  ‘ช้อพปิ่ง/
ไปเที่ยวกันเถอะ 

 

ตัวอย่าง

Let’s do homework now.

มาทำการบ้านกันเถอะเดี๋ยวนี้เลย

Let’s have a cup of tea.

ไปดื่มชากันเถอะ

ปล. บางประโยคอาจจะมีคำว่า Shall we? ต่อท้ายด้วยเพื่อเป็นการชักชวน แปลว่า ไปกันเถอะ (ป้ะ)
เข้ามาด้วย ซึ่งใช้กับเพื่อนหรือการชวนคนที่เราสนิทสนม

เช่น
Let’s have a cup of tea. Shall we?

ไปดื่มชากันเถอะ ป้ะ

 

3. ประโยคคำถาม (Questions)

 

Question

 

การชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อมเพื่อแสดงถึงการเกรงใจซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ต้องการคำตอบหรือการตกลงไม่ตกลงจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้

 

 

3.1    ถามแบบรูปประโยค Yes/No Question :

Shall we…………?

เรา………กันดีมั้ย

3.2    ถามแบบรูปประโยค  Wh- Questions :

Why don’t we………..?

เรา .. กันมั้ย

How about……….?

…………….ดีมั้ย

3.3  ถามแบบรูปประโยค   Indirect Questions :

I wonder if we…
ฉันไม่ทราบว่า เรา………….มั้ย

 

ตัวอย่าง:

Shall we watch Netflix right now?

ตอนนี้เราดู Netflix กันดีมั้ย

Shall we eat outside today?

วันนี้กินข้าวนอกบ้านกันดีมั้ย

Why don’t we cook today?

เราทำอาหารด้วยกันดีกว่าว่ามั้ย

How about playing tennis this evening?

เย็นนี้ เล่นเทนนิสกันมั้ย

I wondered if we should talk to her like that.

ฉันคิดว่าเราควรพูดกับหล่อนไปแบบนั้นมั้ย

การตอบรับ (Accepting)

 

accepting

That’s very kind of you.
คุณใจดีจัง

I’d love to (come).
ฉันยินดีที่จะมาร่วมด้วย

I’d be delighted to (go).
ฉันเต็มใจที่จะไปมาก

That’s a good/ great idea/ What a good idea.
เป็นความคิดที่ดีมากๆ

That’s interesting.
น่าสนใจดี
Yes
/ Of course/ Certainly/Absolutely/ Surely
ไปแน่นอน

That sounds good/great/fun.
ฟังดูดี ฟังดูสุดยอดมาก ฟังดูน่าสนุกนะ

 

การตอบปฏิเสธ (Refusing)

 

Refusing

I  must say sorry, but I really cannot go.
ต้องขอโทษด้วยนะ ไปไม่ได้จริงๆ

Thank you for your invitation but I’ve been very busy recently.
ขอบคุณที่ชวนนะ แต่ตอนนี้ฉันยุ่งอยู่ช่วงนี้

 I’m afraid I won’t be able to come.
ดิฉันเกรงว่าคงจะไปไม่ได้นะคะ

Sorry, I’d love to but I already had an appointment.
ขอโทษที ฉันก็อยากไปนะ แต่บังเอิญว่าดันฉันมีนัดแล้วอะ

 I really don’t think I can go, and I must say sorry.
ฉันคิดว่าฉันคงจะไปไม่ได้จริงๆค่ะ ต้องขอโทษนะคะ

 

5 ข้อสรุปหลักการใช้ประโยคชักชวนแนะนำ

 

5 Conclusions

  1. Let me ใช้สำหรับขออนุญาตและเสนอตัวส่วน Let’s (Let us) ใช้สำหรับการชักชวน
  2. ในประโยคที่ตามหลังกริยา เกี่ยวกับการเสนอแนะ หรือแนะนำ ไม่จำเป็นต้องใส่ should นะจ้ะ
    แต่ต้องมี Verb infinitive ตามหลังด้วย เช่น

 

I suggest we (should) eat on time.
ฉันขอแนะนำว่าเราควรจะกินข้าวตรงเวลานะ

I advise that we (should) not eat too much.

ฉันขอแนะนำว่า เราไม่ควรรับประทานมากเกินไป

 

  1. การที่เราจะใช้ Shall I +V. Infinitiveนั้นส่วนใหญ่จะใช้กับการเสนอตัวแต่ส่วนของการใช้ Shall we+ V. Infinitive…
    ใช้สำหรับการเสนอแนะชักชวน
  2. การใช้ Why don’t we + V. Infinitive… มีความหมายเป็นได้ทั้งถามธรรมดาและการชักชวนก็ได้ขึ้นอยู่กับ บริบท ที่ใช้งานนะคะ
    เช่นตัวอย่างด้านล่าง

 

Why don’t we like him?

ทำไมพวกเราถึงไม่ชอบเขากันนะ

 

  1. How about ตามด้วยกริยาเติม …ing (Gerund) มีความหมายเป็นการชักชวนแบบเป็นกันเอง ใช้กับคนที่เราสนิทด้วย
    เช่น

How about having a dinner at the new restaurant?
ไปกินข้าวเย็นที่ร้านอาหารที่เปิดใหม่กันดีกว่า

 

ครูหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนที่น่ารักทุกคนจะได้รับประโยชน์และความรู้จากการอ่านบทความนี้นะคะ ขอให้สนุกและมีความสุขกับการเรียนนะคะทุกคน
เลิฟๆ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรียนรู้และประเมินคุณค่าบทประพันธ์ อิศรญาณภาษิต

หลังจากครั้งที่แล้ว ที่เราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ และตัวบทที่สำคัญในเรื่องกันแล้ว ครั้งนี้เรื่องที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ต่อไปก็คือคุณค่าที่อยู่ใน อิศรญาณภาษิต นั่นเองค่ะ อย่างที่รู้กันว่าวรรณคดีเรื่องนี้อัดแน่นไปด้วยคำสอนและข้อคิดเตือนใจต่าง ๆ มากมาย เพราะงั้นเราไปเรียนรู้กันให้ลึกขึ้นดีกว่านะคะว่าคุณค่าในเรื่องนี้จะมีด้านใดบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ   คุณค่าในเรื่องอิศรญาณภาษิต     คุณค่าด้านเนื้อหา   อิศรญาณภาษิต มีเนื้อหาที่เป็นคำสอน ข้อคิดเตือนใจ เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงการกระทำของตน ว่าทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นปกติสุขได้

ป.6 Possessive pronoun โดยใช้ Whose_ Which ร่วมด้วย

การใช้ Possessive pronoun โดยใช้ Whose/ Which ร่วมด้วย

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคนค่ะ วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ Possessive pronoun โดยใช้ Whose/ Which ร่วมด้วย Let’s go! ไปลุยกันเลยจ้า   Possessive pronoun คืออะไร     What’s mine is yours, my dear.

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า  

ราชาศัพท์

ราชาศัพท์ คำใดบ้างที่เราควรรู้?

น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินคำราชาศัพท์มาบ้างเวลาที่เปิดโทรทัศน์ดูข่าวช่วงหัวค่ำ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่า ราชาศัพท์ ที่นักข่าวในโทรทัศน์พูดกันบ่อย ๆ มีความหมายว่าอะไรบ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับคำราชาศัพท์ เพื่อที่เวลาน้อง ๆ ฟังข่าว จะได้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ราชาศัพท์     การแบ่งลำดับขั้นของบุคคลในการใช้คำราชาศัพท์ แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

Life is Simple: ทำความรู้จัก Present Simple Tense

เรื่อง Tense (กาล) ในภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ อีกเรื่องหนึ่ง และ Tense ที่เป็นพื้นฐานสุดๆ และน้องๆ จะพบเจอบ่อยที่สุดก็คือ Present Simple นั่นเอง วันนี้เราจะมาปูพื้นฐานและทบทวนความรู้เรื่องนี้กันครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1