การใช้ Tenses ในภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวข้องกับเวลา

Picture of Krumaiyha
Krumaiyha
Tense and time

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนม.  1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูจะพาไปรู้จักกับ การใช้ Tense ต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษกัน

ก่อนอื่นมารู้จักTenses กันก่อน

3Tenses M1
Tenses อ่านว่า เท้นสฺ ถ้าเป็นคำ Adjective หรือคุณศัพท์จะแปลว่าหนักหนาสาหัส แต่ถ้าเป็นคำนาม (Noun) จะแปลว่า กาลเวลาค่ะ หัวใจของการเรียนเรื่อง Tense คือ กริยา(verb) เมื่อกริยาเปลี่ยนไปเวลาและเงื่อนไขการใช้งานของ Tense ก็จะเปลี่ยนแปลงค่ะ วันนี้ครูขอเสนอ 5 Tenses หลักที่ใช้บ่อยในภาษาอังกฤษนะคะ ไปลุยกันเลยเริ่มจาก Tense ที่ใช้ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตค่า

 

Past Simple Tense (อดีตธรรมดา)

 

Past-simple-tense

รูปแบบประโยค:  ประธาน + กริยาช่อง 2

ตัวอย่าง He went back home. เขากลับบ้าน

หลักการใช้  Past Simple Tense

  1. ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และจบสิ้นลงไปแล้วในอดีตเช่นกัน มักมีคำว่า once, ago, last night, last week, last year เช่น
    I got sick yesterday. ฉันป่วยเมื่อวานนี้
    I lived in Phuket 3 years ago. ฉันอยู่ที่ภูเก็ตเมื่อ 3 ปีที่แล้ว
  1. แสดงเหตุการณ์ที่เป็นนิสัย ที่ทำประจำในอดีต (ปัจจุบันไม่ได้กระทำแล้ว) มักมี adverb ความถี่อยู่ด้วย เช่น always, every เช่น
    Bella walked every morning. เบลล่าเดินทุกๆเช้า (เป็นนิสัยในอดีต ปัจจุบันไม่ได้กระทำแล้ว)
  1. แสดงถึงการกระทำทั้งสองอย่างที่เกิดในเวลาเดียวกัน มักมีคำว่า as, while อยู่ด้วย เช่น
    Last night while she sang, I danced. เมื่อคืนขณะที่เธอร้องเพลง ฉันเต้น

 

 Present Simple Tense (ปัจจุบันธรรมดา)

Present simple tense

 

มีโครงสร้างประโยค: ประธาน + กริยาช่องที่ 1 ถ้าประธานเป็น เอกพจน์ + กริยาช่องที่ 1 จะต้องเติม s หรือ es เช่นในตาราง

 

ตัวอย่างประโยค Present Simple การเปลี่ยนแปลง
I go…

 

ไม่เปลี่ยนเพราะประธาน(I) เป็นพหูพจน์
You go…

 

ไม่เปลี่ยนเพราะประธาน(You) เป็นพหูพจน์
She go to school.

 

She goes…
They go…

 

ไม่เปลี่ยนเพราะประธาน(They) เป็นพหูพจน์
Tina draw a picture.

 

Tina draws a picture.

 

We drive a car.

 

ไม่เปลี่ยนเพราะประธาน(We) เป็นพหูพจน์

 

จากตารางนี้นักเรียนจะเห็นได้ว่าถ้าประธานเป็นเอกพจน์กริยาที่ตามมาจะต้องเปลี่ยนไป แต่ถ้าประธานพหูพจน์กริยาที่จามมาจะไม่เปลี่ยนแปลง
หลักการเติม ‘s’ ที่คำกริยา

  1. เติม s หลังคำกริยานั้นๆ เช่น Tina walks to school.
  2. ถ้ากริยาลงท้ายด้วย s, sh, ch, x, o, z, ss ให้เติม es เช่น She teaches English.
  3. ถ้ากริยาลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es เช่น

Bella tries to study English.

หมายเหตุ: ถ้าหน้า y เป็นสระ ไม่ต้องเปลี่ยน y เป็น i ให้เติม s ได้เลยค่ะ เช่น

destroy – destroys = ทำลาย

สรุปหลักการใช้ Present simple tense

  1. แสดงลักษณะความจริงอยู่เสมอ ไม่ว่า เหตุการณ์จะผ่านไปเท่าใดก็ตาม ตัวอย่างประโยคเช่น
    The sun rises in the east. ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก
    The sun sets in the west. ดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก
  1. ใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นเสมอๆ จนเป็นนิสัย หรือ ประเพณีนิยมมักจะมีคำวิเศษณ์บอกความถี่อยู่ด้วย (adverb of frequency) เช่น rarely, every day, every week, every month, usually, sometimes, seldom ตัวอย่างประโยค เช่น
    Dan wakes up at five o’clock every day.  แปล แดนตื่นนอนตอน ตีห้าทุกวันเลย
    Nok runs to school every morning. แปล นกวิ่งไปโรงเรียนในทุกๆเช้า
  2. แสดงเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่างๆที่รู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เช่น
    They go to Bangkok tonight.  พวกเขาจะไปกรุงเทพในตอนเย็น
  3. ใช้กับสุภาษิต คำพังเพย เช่น
    Health is wealth. ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
    Time waits for no man. เวลาไม่เคยรอใคร

Present Continuous Tense (ปัจจุบันกำลังกระทำ)

 

Present continuous tense-NokAcademy

 

โครงสร้างประโยค:
I + am + กริยาช่องที่ 1 เติม ing
A: ประธานเอกพจน์ + is + กริยาช่องที่ 1 เติม ing
B: ประธานพหูพจน์ + are + กริยาช่องที่ 1 เติม ing

ตัวอย่างประโยค เช่น

She is running. หล่อนกำลังวิ่งอยู่
Look! The elders are crossing the road. ดูนั่นสิ คนแก่กำลังข้ามถนน

หลักการเติม ing

1.คำกริยาที่ลงท้านด้วย e ให้ตัด e ทิ้งเสียก่อนแล้วเติม ing เช่น write > writing, take > taking

2.กริยาที่ลงท้ายด้วย ee ให้เติม ing เลย เช่น free > freeing, see > seeing

3. กริยาที่ลงท้ายด้วย ie ให้เปลี่ยน ie เป็น y แล้วเติม ing เช่น die > dying

4. กริยาพยางค์เดียว มีสระตัวเดียวและมีตัวสะกดเป็นพยัญชนะตัวเดียวให้เพิ่มตัวสะกดอีก 1 ตัวก่อนแล้วเติม ing เช่น run > running

5. กริยาหลายพยางค์ลงท้ายด้วยพยัญชนะ 1 ตัว หน้าพยัญชนะ มีสระหนึ่งตัวให้ทำการเพิ่มพยัญชนะเข้าไปอีก 1 ตัว แล้วเติม ing เช่น forget > forgetting

6. กริยามี 2 พยางค์ ซึ่งออกเสียงหนักที่พยางค์หลังมีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียวให้เพิ่มตัวสะกดเข้ามาอีกหนึ่งตัวก่อน แล้วเติม ing ที่ด้านหลัง เช่น
refer > referring

หลักการใช้  Present Continuous Tense

  1. แสดงการกระทำที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะพูด และคาดว่าจะสิ้นสุดลงในไม่ช้า มักมีคำเหล่านี้ คือ now, at the present time,at this moment
    เช่น The Dannies are having lunch  now. ครอบครัวแดนนี่กำลังทานอาหารเที่ยงอยู่
  2. แสดงการกระทำเริ่มก่อนพูดเป็นเวลานาน ขณะที่พูดนี้เหตุการณ์อาจไม่ได้กำลังเกิดขึ้นจริงๆ มักมีคำว่า this + period of time เช่น
    I am helping my parents at the garden this summer. ฉันกำลังช่วยพ่อแม่ที่สวนช่วงฤดูร้อนนี้
  3. ใช้แทนอนาคตกำลังจะมาถึงในไม่ช้า หรืออนาคตอันใกล้มักมี adverb of time (tomorrow, next week, next month ) เช่น
    I am attending the conference tomorrow.  ฉันจะเข้าร่วมประชุมพรุ่งนี้

Present Perfect Tense (ปัจจุบันสมบูรณ์)

Present Perfect Tense

รูปแบบประโยค = ประธาน + has, have + V.3 (Past Participle)
A: ประธานเอกพจน์ + has + V.3
B: ประธานพหูพจน์ + have + V.3

ตัวอย่าง
Liza has always been amazing. ลิซ่าสุดยอดเสมอมา

We haven’t eaten anything yet. พวกเรายังไม่ได้ทานอะไรเลย

หลักการใช้ Present Perfect Tense

  1. แสดงถึงการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต แล้วเหตุการณ์ยังคงดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน(ตอนพูด) และมีแนวโน้มว่าจะเนินต่อไปในอนาคตมักจะมีคำว่า since, for เช่น I haven’t finsihed my exam. ฉันยังทำข้อสอบไม่เสร็จเลย
  2. แสดงการกระทำซึ่งเกิดขึ้นในอดีต และพึ่งเสร็จสมบูรณ์ไปไม่นาน มักมี กริยาวิเศษณ์ (adverb) เช่น just, yet เช่น I have just passed the exam.
    ฉันพึ่งสอบผ่าน
  1. แสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต แต่ผลของการกระทำนั้นยังคงมาถึงปัจจุบันขณะที่พูด เช่น I haven’t read this book before. ฉันไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้เลย
  1. เหตุการณ์ที่เคยทำซ้ำๆกันหลายหนแล้วในอดีต อาจจะทำต่อไปในอนาคต แต่ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นเมื่อใดแน่อาจไม่ได้บ่งเวลาได้ มักมี adverb of time เช่น several times ในประโยคด้วย เช่น He has read English book for five times. เขาได้อ่านหนังสือภาษาอังกฤษเล่มนี้มา 5 ครั้งแล้ว

Future Simple Tense (อนาคตธรรมดา)

Future simple tense NokAcademy

รูปแบบประโยค:  ประธาน + will, shall (I, We), be going to + กริยาเติม ing

 

ตัวอย่างประโยค
I will  have a dinner with Jenny tomorrow night. ฉันจะไปทานอาหารเย็นกับเจนนี่คืนพรุ่งนี้
I shall study hader. ฉันจะขยันให้มากขึ้น

ปล. ปัจจุบันนี้คนมักไม่นิยมใช้ shall เท่า will แต่ว่าสองคำนี้มีความหมายเหมือนกันนะคะ ซึ่งปลว่า “จะ”

หลักการใช้ Future Simple Tense.

  1. ใช้แสดงเหตุการณ์หรือการกระทำในอนาคต มักมี adverb of time อยู่ด้วย เช่น to night, tomorrow เช่น
    I will have my hair cut tomorrow. ฉันจะไปตัดผมพรุ่งนี้นะ
  2. ใช้ be going to + กริยาช่อง 1 ไม่ผัน (V. Infinitive) เพื่อแสดงถึงความตั้งใจที่ได้คิดไว้ ล่วงหน้าแล้วหรือ เชื่อว่าเป็นจริงเช่นนั้นโดยไม่สงสัย เช่น
    They are going to England next month. พวกเขาจะไปประเทศอังกฤษเดือนหน้า
  3. ใช้ be going to + กริยาช่อง 1 ไม่ผัน (V. Infinitive) เพื่อแสดงการคาดคะเน เช่น
    Penny is going to go out tonight. เพนนีจะออกไปข้างนอกคืนนี้ (คาดว่าจะไปแต่อาจจะไม่ไปแล้วแต่เพนนี)

เป็นยังไงกันบ้างคะ ครูหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับพวกเรานะคะ ขอให้มีความสุขกับการทบทวนบทเรียน อย่าลืมดูวีดีโอทบทวนเรื่อง
Present Simple and Present Continuous กันนะคะ นักเรียนม. 1 ที่รักทุกคน ขอให้หนูเข้าใจแจ่มแจ้ง สอบติด สอบผ่าน ได้คะแนนเต็ม สาธุ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังเพื่อจับใจความ

วิเคราะห์ สังเคราะห์ แยกแยะ 3 วิธีที่จะช่วยให้เราฟังเพื่อจับใจความได้อย่างดี

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน สำหรับเนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยวันนี้ต้องขอบอกเลยว่าสนุก และไม่หนักจนเกินไป เพราะเป็นเรื่องของทักษะการฟังเพื่อจับใจความที่เราสามารถฝึกฝน เรียนรู้ แล้วนำไปใช้ในการเรียน หรือการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้ โดยวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่าการฟังเพื่อจับใจความมันคืออะไร แตกต่างไปจากการฟังแบบทั่วไปอย่างไร แล้วลักษณะของการฟังเพื่อจับใจความมีอะไรบ้าง ถ้าทุกคนพร้อมแล้วอย่ารอช้าเรามาเริ่มต้นเข้าสู่เนื้อหาในวันนี้กันเลยดีกว่า     กระบวนการในการฟังของมนุษย์ การฟังเป็นกระบวนการรับสารของมนุษย์อีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสาร มนุษย์ใช้กระบวนการรับรู้เสียงต่าง ๆ ผ่านหู และใช้สมองในการแปลความหมาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมนุษย์มีกระบวนการเรียนรู้อยู่หลัก ๆ  5 

Suggesting Profile

การแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิค การแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า การแสดงความต้องการ     Question: สงสัยมั้ยว่า need/want /would like to have สามคำนี้ต่างกันยังไง? ตัวอย่างการใช้ need VS want  ในประโยคบอกเล่า เช่น

ปก short answer questions

Short question and Short answer

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างและวิธีการแต่งประโยคคำถาม ของเรื่อง “Short question and Short answer“ การถามตอบคำถามแบบสั้น หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   ความหมาย Short question and Sho rt answer คือการถามตอบแบบสั้นหรือส่วนใหญ่แล้วมักขึ้นต้นคำถามด้วยกริยาช่วย และได้คำตอบขนาดสั้น เช่น Yes, I

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund พร้อมแนวข้อสอบ ม.6

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” กันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า

สามก๊ก ความเป็นมาของวรรณกรรมจีนเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนที่มีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย โดยฉบับแปลที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีคือฉบับที่แปลโดยเจ้าพระยาคลัง (หน) และด้วยเนื้อหาที่เต็มไปด้วยเล่ห์กลเพทุบาย กลศึกในการรบ การชิงรักหักเหลี่ยม ความเคียดแค้นชิงชัง ทำให้เนื้อเรื่องมีความยาวสมกับเป็นกับเป็นวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะเรียนคือตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปเรียนรู้พร้อมกันค่ะ   ความเป็นมาของ สามก๊ก   สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน (ค.ศ.

ใช้ภาษาพูดอย่างไรให้ถูกต้อง และเหมาะสม

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งในบทเรียนวิชาภาษาไทย วันนี้จะเป็นการเรียนเรื่องระดับภาษา โดยจะมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นภาษาพูด และภาษาเขียน ซึ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับระดับของภาษาพูดที่เราควรจะเลือกใช้ให้ถูกต้องตามบุคคล โอกาส และสถานที่ด้วย เป็นอีกหนึ่งบทเรียนในระดับชั้นมัธยมต้นที่น่าสนใจ   ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนไปพร้อม ๆ กันเลย     ภาษาพูด คืออะไร   ภาษา เป็นตัวกลางในการสื่อความหมาย บนโลกนี้นอกจากจะมีหลากหลายภาษาแล้ว ในหนึ่งภาษานั้นก็ยังแบ่งการพูดออกเป็นหลายระดับให้เราได้เลือกใช้แตกต่างกันไป ภาษาพูด

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1