การใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน 

Passive voice + Active Voice

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูการใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ

 

ความแตกต่างของ Passive Voice VS Active Voice

 

Passive voice + Active Voice (2)

 

 

Passive Voice คือประโยคที่เน้นกรรม เน้นว่าใครถูกทำ 

Active Voice คือประโยคที่เน้นประธาน เน้นว่าใครทำอะไร

Active voice

 

Passive voice + Active Voice(1)

 

ความหมาย

คือ ประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำกริยา  เช่น

Dr. James vaccinates a boy.
หมอเจมส์ฉีดวัคซีนให้เด็กหนุ่ม

Daniel and Jonathan often bike to school.
แดเนียลกับโจนาธานมักขี่จักรยานไปโรงเรียน


Jessica and Jennifer buy second-handed shoes.
เจสสิกาและเจนนิเฟอร์ซื้อรองเท้ามือสอง

การสร้างประโยค Passive Voice

 

  1. เปลี่ยนกรรม ของประโยค Active ไปเป็นประธานของประโยค Passive
  2. ผัน V. to be ตามประธาน ในบทนี้เราจะเน้นที่ เวลาในรูปปัจจุบัน  ตามโครงสร้าง S + V. to be  (is, am, are) S. = I, you, we, they ใช้ “are”/
    S. = He, She, It ใช้ “is”/ S. = I ใช้กับ “am”
  3.  เปลี่ยน คำกริยาแท้ ให้เป็น Past Participle (V.3) อันนี้ต้องไปท่องกริยา3 ช่อง เพิ่มเติมจร้า
  4. นำประธานของ Active ไปเป็นกรรมของ Passive โดยวางไว้หลัง by เพื่อเน้นผู้กระทำ แต่เราสามารถละไว้ได้

ตัวอย่าง
Active: A chef slashes salmons into pieces.
แปล เชฟแล่ปลาแซลมอนเป็นชิ้นๆ

Passive: Salmons are slashed into pieces.
แปล แซลมอนถูกแล่เป็นชิ้นๆ

 

ถ้าในประโยคมีกรรมสองตัวคือ กรรมตรง (Direct Object) เป็นสิ่งของ และ กรรมรอง (Indirect Object) เป็นคน เมื่อเปลี่ยนเป็นประโยค Passive มักนำกรรมรอง (คน) มาเป็นประธาน แต่ถ้าจะนำกรรมตรง (สิ่งของ) มาเป็นประธานจะต้องใส่ to ที่หน้ากรรมรอง (คน) ท่องว่า
กรรมตรงของ ต้อง (กรรม)รองคน”

ตาราง: Active Voice VS Passive Voice

 

Passive voice + Active Voice (4)

 

Passive voice เป็นเรื่องที่เจอบ่อยมากทั้งในชีวิตประจำวันและในข้อสอบในส่วนของ Error และเติมคำก็มักนำมาออกเยอะมากๆ ถ้าเราจำโครงสร้างประโยค Passive Voice ได้ และนำมาใช้อย่างถูกต้องก็จะทำให้ภาษาอังกฤษของเราปังมากๆจร้า

Tense and Voice

Structure

 Present simple   Active   S + V1 (-s, -es)
  Passive   S +  is/am/are + V.3
 Present continuous   Active   S + V. to be + V.ing
  Passive   S + is/am/are + being + V.3
  Present perfect   Active   S + have/has + V.3
  Passive   S + have/has+ been + V.3
  Present perfect continuous   Active   S + have/has + been + V.ing
  Passive   S + have/has + been + being + V.3
  Past simple   Active   S + V.2
  Passive   S + was/were + V.3
  Past continuous   Active   S + was/were + V.ing
  Passive   S + was/were + being + V.3
  Past perfect   Active   S + had + V.3
  Passive   S + had + been + V.3
  Past perfect continuous   Active   S + had + been + V.ing
  Passive   S + had + been + being + V.3
  Future simple   Active   S + will +V. Infinitive
  Passive   S + will + be + V.3
  Future continuous   Active   S + will + be + V.ing
  Passive   S + will + be + being + V.3
  Future perfect   Active   S + will + have + V.3
  Passive   S + will + have been + V.3
  Future perfect continuous   Active   S + will have + been + V.ing
  Passive   S + will have + been + being + V.3

Passive Voice

 

Passive voice + Active Voice (6)

 

Passive Voice (แพ็ซซิฝ ว็อยซ) หมายถึงประโยคที่เน้นกรรม โดยการนำโครงสร้างผู้ถูกกระทำขึ้นต้นประโยค และหากว่าต้องการเน้นผู้กระทำให้เติม  “by + ผู้กระทำ” ท้ายประโยค แต่ว่าเราสามารถละ by ไว้ได้น๊า

หลักการใช้ Passive Voice

 

  1. เน้นไปที่ผู้รับผลของการกระทำนั้นๆ ก็คือประธานของประโยคนั่นเอง เช่น

Active: Joey washes the dishes.
โจอี้ล้างจาน

VS 

Passivce: The dishes are washed by Joey.

จานถูกล้างโดยโจอี้

 

  1. ไม่เน้นผู้กระทำเพราะไม่รู้ว่าผู้กระทำคือใคร

Active: Someone delivers a Papaya Salad to the customers.

ใครบางคนส่งส้มตำให้ลูกค้า

VS

Passive: A Papaya Salad is delivered to the customers.

ส้มตำถูกส่งลูกค้า
***จะเห็นได้ว่า ไม่รู้ว่าใครเป็นคนส่งเพราะว่าประธานเดิมของประโยค คือ  “Someone”

3. เน้นผู้กระทำด้วยการเติม by + ชื่อผู้กระทำ เช่น

Active: Tommy cooks a homemade pizza.
ทอมมี่ทำพิซซ่าโฮมเมด

VS

Passive: A homemade pizza is cooked by Tommy.
พิซซ่าโฮมเมดถูกทำโดยทอมมี่

 

ทริคดีๆ:

นอกจากนี้เราสามารถใช้  “Passive voice” ในการเขียนแบบวิชาการทางการหรืองานเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์
ซึ่งพบได้ในบทความ หนังสือพิมพ์ วิจัย และผลงานทางด้านวิชาการเป็นส่วนใหญ่ ครูขอยกตัวอย่างเช่น

There have been more confirmed cases of COVID-19 with 68,219 deaths, are reported to WHO.

แปล: WHO ได้รับรายงานผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น เสียชีวิต 68,219 ราย
***ประธาน “cases” กริยา “are” กริยาช่อง3 “reported”

 

Passive Modals

Passive voice + Active Voice (7)

 

ตัวอย่างการใช้ Passive voice กับ โครงสร้าง “Modal verb + be +V.3”

Daniel wants to be massaged.
แดเนียลอยากนวด

Tom may be called for a shift.
ทอมอาจถูกเรียกให้เข้ากะ

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ พอจะเข้าใจ เรื่อง การใช้ Passive voice และ Active voice” มากขึ้นมามั้ยเอ่ย ถ้าเกิดว่านักเรียนยังมีข้อสงสัยสามารถทบทวนบทเรียนเพิ่มเติมได้ที่วีดีโอด้านล่างเลยนะคะ  และที่สำคัญเมื่อเราใช้รูปแบบปัจจุบัน V. to be จะต้องเป็น is, am, are เท่านั้นน๊า

กดปุ่มเพลย์เพื่อทบทวนบทเรียนกันโลดจร้า

Take care guys!

ดูแลตัวเองด้วยน๊า

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในเรื่อง

จากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนากันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้เราจะยังอยู่กับอิเหนากันนะคะ เพราะนอกจากที่มาและเรื่องย่อแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นให้น่าสนใจและน่าศึกษาเช่นกัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง   บทที่ 1    ถอดความ เป็นตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้ราชทูตนำสาส์นไปมอบให้ท้าวดาหาเพื่อสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ โดยบทนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ท้าวกะหมังกุหนิงเขียนถึงท้าวดาหา โดยเปรียบว่าตนเป็นเหมือนรองเท้าที่จะอยู่เคียงกับท้าวดาหา ดังนั้นจึงจะขอสู่ขอพระธิดาให้กับวิหยาสะกำ  

ร้อยละ

การคำนวณร้อยละในชีวิตประจำวัน

บทความนี้เราจะได้เรียนรู้ความหมายของคำว่าร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ รวมทั้งความสัมพันธ์ของอัตราส่วนที่คิดคำนวณเป็นร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ ที่จะทำให้เราสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

Past Time

Past Time หรือ เวลาในอดีต

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ Past Time หรือ เวลาในอดีต ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past Time ในกลุ่ม Past

ระดับภาษา เรียนรู้วิธีใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม

ระดับภาษา มีความสำคัญอย่างมากในภาษาไทย น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าภาษาที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ก็มีระดับของมันที่จะเป็นตัวบ่งบอกความเหมาะสม ให้เราได้เลือกใช้กันอย่างถูกกาลเทศะ อยากรู้ไหมคะว่ามีกี่ระดับ แต่ละระดับเป็นอย่างไร ต้องใช้แบบไหน ใช้กับใครจึงจะถูก ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้บทเรียนภาษาไทยในวันนี้กันเลยค่ะ   ความหมายของ ระดับภาษา     ระดับภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำและการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้โดยพิจารณาตามโอกาสหรือกาลเทศะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้สื่อสาร ผู้รับสาร และเนื้อหาที่สื่อสาร  

เสภาขุนช้างขุนแผน

เสภาขุนช้างขุนแผน จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนัก

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนเสภาและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวรรณคดีว่าเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อเรื่องและการประพันธ์ มีมากมายหลายตอน หลายสำนวนและหลายผู้แต่ง แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้ศึกษากันในวันนี้เป็น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ เสภาขุนช้างขุนแผน   ขุนช้างขุนแผนสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากพงศาวดารทำให้ทราบว่าขุนแผนรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระพันวษา หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2034-พ.ศ 2072 ต่อมามีการนำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนสุภาพและบทเสภาโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

การเขียนประกาศ เขียนเชิงกิจธุระได้อย่างไรบ้าง?

การเขียนเชิงกิจธุระหมายถึงหน้าที่ที่พึงกระทำ การเขียนเชิงกิจธุระมีมากมายหลายแบบ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ การเขียนประกาศ ซึ่งเป็นการเขียนเชิงกิจธุระรูปแบบหนึ่ง เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่าการเขียนประเภทนี้จะมีวิธีการอย่างไรบ้าง   การเขียนเชิงกิจธุระ   การเขียนประกาศ   ประกาศ เป็นการสื่อสารที่ใช้เผยแพร่โดยกว้าง ให้บุคคลทุกระดับในหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกได้อ่านและมีความเข้าใจที่ตรงกัน โดยอาศัยสื่อสาธารณะชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นการแจ้งให้ทราบและปฏิบัติตาม อย่างเช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ป้ายประกาศต่าง ๆ การใช้ภาษาในการประกาศนั้นจะไม่ใช้ข้อความยาว ๆ

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1