Direct and Indirect Objects

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง Direct และ Indirect Objects กันครับว่าคืออะไร ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
Direct Object

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Object คืออะไร?

ก่อนที่จะไปถึง Direct กับ Indirect Objects เรามาทำความเข้าใจกับ “Object” กันก่อนครับว่าคือ “กรรม” ในภาษาอังกฤษนั้นก็คือคน สัตว์ หรือวัตถุที่ “ถูกกระทำ” จากกริยา (Verb) นั่นเอง ตัวอย่างเช่น

Example: I write a letter.

Subject

Verb

Object

I

write

a letter

“I” คือ Subject หรือประธานของประโยค

“write” คือ Verb หรือกริยา โดยที่ Subject เป็นผู้กระทำ (ฉันเขียน)

“a letter” คือ Object หรือกรรม ที่ถูกกระทำนั่นเองครับ (จดหมายถูกเขียน)

 

Direct Object (D.O.)

จากประโยคตัวอย่างข้างต้น a letter จะถึงว่าเป็น “Direct Object” (กรรมตรง) เพราะเป็นกรรมที่ถูกกระทำโดยตรงจากกริยา ลองดูตัวอย่างอีกสักประโยค

Hugo repairs his car.

Hugo = ประธาน

กระทำกริยา repair (ซ่อม)

รถของเขา (his car) เป็นกรรมที่ถูกกระทำ (ซ่อม) โดยตรงนั่นเอง

 

He invites Luna to the party.

He = ประธาน

กระทำกริยา invite (เชิญ)

Luna เป็น Object ที่ถูกเชิญมางานปาร์ตี้นั่นเอง

 

Indirect Object (I.O.)

สำหรับ “Indirect Object” (กรรมรอง) นั่นคือกรรมที่เป็น “ผู้รับ” ผลจากกรรมตรงอีกทอดหนึ่ง โดยที่ I.O. นั้นจะมาเดี่ยวๆ ไม่ได้ จะต้องมี D.O. ก่อนเสมอ

ตัวอย่างเช่น

I write a letter.
สามารถเพิ่ม Indirect Object เข้าไปได้ 2 รูปแบบคือ

I write a letter to you.
หรือ
I write you a letter.
(ทั้ง 2 ประโยคแปลว่า ฉันเขียนจดหมายถึงคุณ)

เราทราบอยู่แล้วว่า “letter” นั้นเป็น D.O. และเราต้องการเพิ่ม “ผู้รับ” คือ “you” เข้าไปด้วย

ฉะนั้น you จะถือว่าเป็น I.O. เพราะเป็น “ผู้รับ” จดหมายมานั่นเอง

 

หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง

My mom bought a bike.
(แม่ของฉันซื้อจักรยาน)
bike = D.O. เพราะถูกซื้อมา

เมื่อเพิ่มผู้รับ (Indirect Object) เข้าไปจะได้ว่า

My mom bought a bike for me.
หรือ
My mom bought me a bike.

(ทั้ง 2 ประโยคแปลว่า แม่ซื้อจักรยานให้ฉัน)

bike = D.O. เหมือนเดิม
me = I.O. เพราะฉัน “ได้รับ” จักรยานมาอีกที

 

โครงสร้างประโยค

จากตัวอย่างข้างต้นเราจึงสามารถเขียนโครงสร้างได้ดังนี้

Direct Object

Indirect Object

 

ข้อควรจำ

  1. ไม่ใช่กริยาทุกตัวจะต้องการกรรม กริยาที่สามารถมีกรรมได้เรียกว่า สกรรมกริยา (Transitive Verbs) เช่น send, play, fix ส่วนกริยาที่ไม่ต้องการกรรมเรียกว่า อกรรมกริยา (Intransitive Verbs) เช่น lie, sleep, walk
  2. ดังนั้น Direct and Indirect Objects จะตามหลังกริยาที่ต้องการกรรม (Transitive Verbs) เท่านั้น
  3. Direct Object นั้นสามารถมี Indirect Object ตามมาด้วยหรือไม่ก็ได้ ต่างจาก I.O. ที่ต้องมี D.O. มาก่อนเสมอ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ สำหรับเรื่อง Direct และ Indirect Objects หวังว่าน้องๆ จะเข้าใจและนำไปใช้ได้ในการเรียนภาษาอังกฤษนะครับ สำหรับน้องๆ คนไหนที่อยากทบทวยเพิ่มเติมก็สามารถคลิกดูวิดีโอจากช่อง NockAcademy ด้านล่างได้เลยครับ

ทบทวนเนื้อหาม. 6 เรื่องอื่นๆ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โคลงโสฬสไตรยางค์

โคลงโสฬสไตรยางค์ โคลงสุภาษิตผลงานพระราชนิพนธ์ในร.5

  โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิต ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับวรรณคดีที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและข้อคิดสอนใจมากมาย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีเนื้อหาอะไรและมีข้อคิดอย่างไรบ้าง เราก็ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     โคลงโสฬสไตรยางค์ (พ.ศ. 2423) เป็นโคลงสุภาษิต บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมเป็นภาษาอังกฤษ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์โคลงเป็นภาษาไทย โดยพระองค์ได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ การแยกตัวประกอบ ของจำนวนนับใด หมายถึง การเขียนจำนวนนับนั้นในรูปการคูณของ ตัวประกอบเฉพาะ  ซึ่งในบทความนี้ได้นำเสนอวิธีการ รวมถึง โจทย์การแยกตัวประกอบ ไว้มากมาย น้องๆสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ดวยตนเองโดยที่มีวิธีการแยกตัวประกอบ 2 วิธี ดังนี้ การแยกตัวประกอบ  โดยการคูณ  การแยกตัวประกอบ  โดยการหาร (หารสั้น)         ก่อนอื่นน้องๆมาทบทวน ความหมายของตัวประกอบและจำนวนเฉพาะ

อิศรญาณภาษิต

อิศรญาณภาษิต ศึกษาวรรณคดีคำสอนของไทย

อิศรญาณภาษิต เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสอนให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะของกลอนเพลงยาวและยังสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงประวัติความความเป็นมา ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ของกลอนเพลงยาว และตัวบทที่น่าสนใจ ๆ ในเรื่อง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าวรรณคดีเรื่องนีมีความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยในเราได้ศึกษากันอยู่ตอนนี้ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     ความเป็นมาของ   อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า

Relative Clause Profile II

Relative Clause

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 3 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อ   Relative

โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ขั้นตอนของการแก้โจทย์ปัญหา บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย แต่ก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้อย่าลืมทบทวน การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กันก่อนนะคะ ถ้าน้องๆพร้อมแล้วเรามาศึกษาขั้นตอนของการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการ ดังนี้               ขั้นที่ 1 วิเคราะห์โจทย์ว่ากำหนดอะไรให้บ้าง และให้หาอะไร               ขั้นที่ 2 กำหนดตัวแปรแทนสิ่งที่โจทย์ให้หาหรือแทนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่โจทย์ให้หา               ขั้นที่ 3 เขียนสมการตามเงื่อนไขของโจทย์               ขั้นที่

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1