Definite & Indefinite Articles ในภาษาอังกฤษ คืออะไรกันนะ?

สวัสดีน้องๆ ม.1 ทุกคนนะครับ วันนี้พี่มีเรื่องพื้นฐานอย่างเรื่อง Article มาให้น้องๆ ได้ลองศึกษากันดูครับ ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย
articles

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Articles คืออะไร?

ในภาษาอังกฤษนั้น Articles คือคำที่เอาไว้ใช้ “นำหน้าคำนาม” ครับ เพื่อบอกว่าคำนามที่เราพูดถึงนั้นมีลักษณะที่เจาะจงหรือไม่ หรือเป็นแค่การพูดรวมๆ อะไรประมาณนี้ครับ ซึ่งในภาษาอังกฤษเราจะแบ่งคำเหล่านี้ออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • Definite Article
  • Indefinite Articles

Articles

 

Indefinite Articles

เป็นคำนำหน้านามที่ “ไม่เฉพาะเจาะจง” ใช้นำหน้าคำนามที่เรากล่าวถึงแบบลอย ๆ ซึ่งจะต้องอยู่ในรูปเอกพจน์เท่านั้น เช่น เวลาที่เราพูดถึง โรงเรียน มหาวิทยาลัย ในบริบททั่วๆ ไป ที่ไม่เจาะจงว่าที่โรงเรียนอะไร หรือมหาวิทยาลัยไหน โดย indefinite articles จะมีทั้งหมด 2  ตัว คือ a และ an

  • การใช้ a
    เราจะใช้ a นำหน้าคำนามทั่วไป ที่อยู่ในรูปเอกพจน์ และขึ้นต้นด้วยพยัญชนะหรือออกเสียงพยัญชนะ เช่น

A cat
แมว 1 ตัว

A house
บ้าน 1 หลัง

A university [ออกเสียง ยู เป็นเสียงตัว y]
มหาวิทยาลัย 1 แห่ง

         ตัวอย่างดังกล่าวพูดถึง “แมว” “บ้าน” และ “มหาวิทยาลัย” โดยที่ไม่เจาะจงว่าเป็นอันไหน

 

  • การใช้ an
    เราใช้ an นำหน้าคำนามทั่วไป ที่อยู่ในรูปเอกพจน์เช่นกัน แต่เป็นคำที่ขึ้นต้นด้วยสระหรือออกเสียงสระ เช่น

An apple
แอปเปิล 1 ลูก

An elephant
ช้าง 1 ตัว

An hour [ออกเสียง แอ]
เวลา 1 ชั่วโมง

         เช่นเดียวกันกับ a ครับ ตัวอย่างดังกล่าวพูดถึงคำนามทั่วไป ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นอันไหน

 

Definite Article

หรือคำนำหน้านามที่ “เฉพาะเจาะจง” เป็นคำที่ผู้พูดหรือผู้ฟังทราบว่าคืออันไหน ซึ่งเราจะใช้ article “the” นำหน้าคำนามเหล่านั้นครับ ซึ่งจะใช้นำหน้าทั้งคำนามที่นับได้และนับไม่ได้ และใช้ได้กับทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ครับ

  • การใช้ the
    เราใช้ the นำหน้าคำนามที่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น

The clever boy
เด็กชายผู้ฉลาด (คนนั้น ก็คือรู้ว่าพูดถึงคนไหน)

 

ใช้กับสิ่งที่มีอย่างเดียวในโลก เช่น

The sun
พระอาทิตย์ (มีดวงเดียว)

The Prime Minister of Japan
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (พูดถึงคนคนเดียวที่ดำรงตำแหน่ง ณ ตอนนี้)

 

ใช้กับคำนามที่กล่าวซ้ำ เช่น

Once there was a woman. The woman lived in a big house.
มีผู้หญิงอยู่คนหนึ่ง ผู้หญิงคนนั้นอาศัยอยู่ในบ้านหลังใหญ่

เราใช้ the นำหน้า woman ในประโยคที่สอง เพราะเรารู้แล้วว่ากำลังพูดถึง woman คนเดิมในประโยคก่อนหน้านั่นเองครับ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ สำหรับพื้นฐานเรื่อง Article ในวันนี้ จริงๆ แล้วเรื่องนี้ยังมีรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมาย ไว้เราจะมาลงรายละเอียดกันในคราวหน้านะครับ สำหรับวันนี้น้องๆ ก็อย่าลืมทบทวนและดูวิดีโอจากช่อง Nock Academy กันด้วยนะครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โคลนติดล้อ บทความปลุกใจในรัชกาลที่ 6

เป็นที่รู้กันดีกว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ของเรานั้น ทรงโปรดงานด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่ยังเยาว์ และเริ่มงานวรรณกรรมตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ทำให้มีผลงานในพระราชนิพนธ์มากมายหลายเรื่อง และแตกต่างกันออกไป ที่ผ่านมาน้อง ๆ คงจะได้เรียนมาหลายเรื่องแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับผลงานของพระองค์อีกเรื่องหนึ่ง แตกต่างจากเรื่องก่อน ๆ ที่เคยเรียนมาอย่างแน่นอน เพราะเรากำลังพูดถึงโคลนติดล้อ ผลงานในพระราชนิพนธ์ที่อยู่ในรูปแบบของบทความ จะมีที่มา มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น เราไปติดตามกันเลยค่ะ   ที่มาของ โคลนติดล้อ

เรียนรู้และประเมินคุณค่าบทประพันธ์ อิศรญาณภาษิต

หลังจากครั้งที่แล้ว ที่เราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ และตัวบทที่สำคัญในเรื่องกันแล้ว ครั้งนี้เรื่องที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ต่อไปก็คือคุณค่าที่อยู่ใน อิศรญาณภาษิต นั่นเองค่ะ อย่างที่รู้กันว่าวรรณคดีเรื่องนี้อัดแน่นไปด้วยคำสอนและข้อคิดเตือนใจต่าง ๆ มากมาย เพราะงั้นเราไปเรียนรู้กันให้ลึกขึ้นดีกว่านะคะว่าคุณค่าในเรื่องนี้จะมีด้านใดบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ   คุณค่าในเรื่องอิศรญาณภาษิต     คุณค่าด้านเนื้อหา   อิศรญาณภาษิต มีเนื้อหาที่เป็นคำสอน ข้อคิดเตือนใจ เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงการกระทำของตน ว่าทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นปกติสุขได้

ตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณและค่าความจริงของตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณ ตัวบ่งปริมาณ คือ สัญลักษณ์หรือข้อความที่เมื่อเราเอาไปเติมใน “ประโยคเปิด” แล้วจะทำให้ประโยคนั้นกลายเป็นประพจน์ ประโยคเปิด คือประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่ติดค่าตัวแปรที่ยัง “ไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ” โดยตัวแปรนั้นเป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ (Universe : U) ประโยคเปิด ยังไม่ใช่ประพจน์ (แต่เกือบเป็นแล้ว) เพราะเรายังไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ เช่น  “x มากกว่า 3” จะเห็นว่าตัวแปร คือ x ซึ่งเราไม่รู้ว่า x

โจทย์ปัญหาการคูณทศนิยม

จากบทความที่แล้วเราได้วิเคราะห์โจทย์ปัญหาการบวกและการลบทศนิยมไปแล้ว บทความนี้จึงจะเป็นการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับการคูณ รวมไปถึงการแสดงวิธีทำที่จะทำให้น้อง ๆ เข้าใจ และสามารถนำไปใช้ได้จริง

การใช้ going to / will ในการสร้างประโยค

การใช้ going to / will ในการสร้างประโยค เกริ่นนำเกริ่นใจ   ภาพใหญ่ของ Will และ Be going to การจะเข้าใจอะไรได้อย่างมั่นใจและคล่องตามากขึ้น เราในฐานะผู้เรียนรู้ควรที่จะต้องเห็นภาพรวมทั้งหมดก่อน โดย Will เนี่ย อยู่ในตระกูล Auxiliary verb หรือ Helping verb

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1