Comparison of Adjectives : การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์

สวัสดีน้องๆ ม. 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง Comparison of Adjectives กันครับ ถ้าน้องๆ พร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย
Comparison of Adjectives

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Comparison of Adjectives (การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์)

เรื่องการเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ หรือ Comparison of Adjectives นั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่เข้าใจได้ไม่ยากเลยครับ ก่อนอื่นนั้นเราลองมาดูความหมายของคำว่า คำคุณศัพท์ (Adjective) กันก่อนนะครับ

 

คำคุณศัพท์ (Adjective) หรือตัวย่อว่า adj. ในภาษาอังกฤษนั้นคือคำที่ใช้ในการอธิบาย รูปร่าง ลักษณะนิสัย หรือคุณสมบัติต่างๆ ของคำนาม (Noun) ที่ต้องการนั่นเองครับ ตัวอย่างเช่น

tall (adj.) = สูง
a tall man = ผู้ชายตัวสูง
จากตัวอย่างนี้ tall ที่เป็น adjective ใช้ขยายคำนามคือ man เพื่อบอกรูปร่างของผู้ชายคนนี้นั่นเองครับ

 

ซึ่งการเปรียบเทียบคำคุณศัพท์นั้นก็คือการที่เรานำ “คำนาม 2 คำ มาเปรียบเทียบกันโดยใช้คำคุณศัพท์” ครับ จะขอยกตัวอย่างประโยคนี้นะครับ

Mike is taller than Laura.
= ไมค์ตัวสูงกว่าลอร่า
จากประโยคดังกล่าวน้องๆ จะสังเกตเห็นว่ามีการเปรียบเทียบความสูง ระหว่างคนสองคนคือไมค์และลอร่านั่นเองครับ

Comparative and Superlative (การเปรียบเทียบขั้นกว่าและขั้นสุด)

ซึ่งในภาษาอังกฤษจะมีหลักการเปรียบเทียบอยู่ 2 ข้อด้วยกันครับนั่นคือ

  • Comparative (การเปรียบเทียบขั้นกว่า) และ
  • Superlative (การเปรียบเทียบขั้นสุด)

เรามาเริ่มจากการเปรียบขั้นกว่าก่อนนะครับ

การเปรียบเทียบขั้นกว่านั้นจะใช้เวลาที่เราต้องการบอกว่า “A … กว่า B” อย่างประโยคที่ยกตัวอย่างไปข้างบนคือ Mike is taller than Laura ก็เป็นการเปรียบเทียบขั้นกว่าครับ ซึ่งจะมีโครงสร้างและหลักการดังนี้

Comparison Comparative

 

หลักการเปลี่ยนรูป Adjective ใน Comparative

  • หากเป็นกริยา 1-2 พยางค์ ให้เติม -er ตามด้วย than เช่น tall = taller than, deep = deeper than, high = higher than
  • หากเป็นคำสั้นที่มีโครงสร้าง พยัญชนะ-สระ-พยัญชนะ ให้เพิ่มพยัญชนะท้ายเข้าไปอีกหนึ่งตัวก่อนเติม -er เช่น big = bigger
  • หากเป็นคำที่ลงท้ายด้วย Y ให้เปลี่ยน Y เป็น I ก่อน จึงเติม -er เช่น pretty = prettier, heavy = heavier
  • หากเป็นคำที่มี 3 พยางค์ขึ้นไป ให้ใช้โครงสร้าง more … than เช่น beautiful = more beautiful than, luxurious = more luxurious than

I am younger than your brother.
ฉันเด็กกว่าพี่ชายของคุณ

A steel is heavier than a feather.
เหล็กหนักกว่าขนนก

Monkeys are more intelligent than rabbits.
ลิงฉลาดกว่ากระต่าย

 

การเปรียบเทียบขั้นสุดคือการที่เราต้องการบอกว่าสิ่งนั้นคือที่สุด เช่น A หนักกว่า B แต่ C หนักที่สุด ซึ่งเราสามารถเขียนโครงสร้างได้ดังนี้ครับ

Comparison Superlative

 

หลักการเปลี่ยนรูป Adjective ใน Superlative

  • ก่อน adjective ทุกครั้งจะต้องมี the นำหน้าเสมอ
  • ไม่ต้องมี than ตามหลัง adjective
  • หากเป็นคำ 1-2 พยางค์ ให้เติม -est เช่น tall = the tallest , deep = the deepest, high = the highest
  • หากเป็นคำสั้นที่มีโครงสร้าง พยัญชนะ-สระ-พยัญชนะ ให้เพิ่มพยัญชนะท้ายเข้าไปอีกหนึ่งตัวก่อนเติม -est เช่น big = the biggest
  • หากเป็นคำที่ลงท้ายด้วย Y ให้เปลี่ยน Y เป็น I ก่อน จึงเติม -est เช่น pretty = the prettiest, heavy = the heaviest
  • หากเป็นคำที่มี 3 พยางค์ขึ้นไป ให้ใช้โครงสร้าง the most … เช่น beautiful = the most beautiful than, luxurious = the most luxurious

High

Tall

Expensive

Mt. Fuji 3,776 m. Daniel 185 cm. Sushi 195 baht.
Mt. Everest 8,848 m. Sara 165 cm. Pizza 299 baht.
Mt. Kilimanjaro 5,895 m. Emily 170 cm. Pad Thai 60 baht.

จากตารางด้านบนเราสามารถเขียนประโยคเปรียบเทียบรูปแบบต่างๆ ได้ดังนี้ครับ

Mt. Kilimanjaro is higher than Mt. Fuji.                     Mt. Everest is the highest.
เทือกเขาคิรีมันจาโคสูงกว่าภูเขาไฟฟูจิ                                 เทือกเขาเอเวอเรสต์สูงที่สุด

Emily is taller than Sara.                                             Daniel is the tallest.
เอมิลี่สูงกว่าซาร่า                                                             ดาเนียลสูงที่สุด

Sushi is more expensive than Pad Thai.                   Pizza is the most expensive.
ซูชิแพงกว่าผัดไทย                                                           พิซซ่าแพงที่สุด

Example

Example 2

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ สำหรับเรื่อง Comparison of Adjectives ไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากๆ ทั้งในชีวิตประจำวันและในการสอบครับ น้องๆ อย่าลืมทบทวนบ่อยๆ ด้วยนะครับ ไว้เจอกันใหม่ในเรื่องต่อๆ ไปนะครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง ระยะห่างของเส้นตรง มีทั้งระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรง และระหว่างเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกัน ซึ่งจากบทความเรื่องเส้นตรง น้องๆพอจะทราบแล้วว่าเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกันความชันจะเท่ากัน ในบทความนี้น้องๆจะทราบวิธีการหาระยะห่างของเส้นตรงที่ขนานกันด้วยซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการหาสมการเส้นตรงได้ด้วย ระยะห่างระหว่างเส้นตรงกับจุด จากรูปจะได้ว่า  โดยที่ A, B และ C เป็นค่าคงที่ และ A, B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน ตัวอย่าง1  หาระยะห่างระหว่างจุด (1, 5) และเส้นตรง 2x

ศึกษาตัวบทในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีเค้าจากเรื่องจริงในสมัยอยุธยา จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนักตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ในตอน ขุนข้างถวายฎีกา เป็นหนึ่งในตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดีที่สุด จากที่เราได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่อยู่ในเรื่องนี้เพื่อถอดความกันค่ะ รวมไปถึงคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจ   ตัวบทที่ 1     ถอดความ มาจากตอนที่จมื่นไวยบุกมาหานางวันทองผู้เป็นแม่ที่เรือนขุนช้างแล้วพยายามจะพานางกลับไปอยู่ด้วยกัน

ศึกษาตัวบทและคุณค่า คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

จากบทเรียนครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวความเป็นมาและเนื้อหาโดยสังเขปของ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ กันไปแล้ว เราได้รู้ถึงที่มาความเป็นไปของวรรณคดีที่เป็นตำราแพทย์ในอดีตรวมถึงเนื้อหา ฉะนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกเกี่ยวกับตัวบทเพื่อให้รู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้กันมากขึ้น ว่าเหตุใดจึงเป็นตำราแพทย์ที่ได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์     ถอดความ เปรียบร่างกายของหญิงและชายเป็นกายนคร จิตใจเปรียบเหมือนกษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองสมบัติอันยิ่งใหญ่หรือก็คือร่างกาย ข้าศึกเปรียบได้กับโรคที่ทำลายร่างกายเรา พทย์เปรียบได้กับทหาร มีความชำนาญ เวลาที่ข้าศึกมาหรือเกิดโรคภัยขึ้นก็อย่างวางใจ แผ่ลามไปทุกแห่ง

รอบรู้เรื่องคำไทย คำศัพท์คำไหนภาษาไทยยืมมาจากต่างประเทศ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยสนุก ๆ พร้อมสาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันก็เช่นเคยเราจะมาเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะภาษาไทยที่เราใช้กันในปัจจุบันก็มีที่มาจากการยืมคำจากภาษาต่างประเทศมา และไม่ได้มีการยืมแค่ในภาษาบาลีหรือสันสกฤษเท่านั้น แต่ยัลมีภาษาอื่น ๆ อีก เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนมาทำความรู้จักกับคำจากภาษาต่างประเทศที่เราใช่ในภาษาไทยกันให้ลึกขึ้นอีกระดับหนึ่ง ถ้าพร้อมแล้วก็ไปเริ่มเรียนกันได้เลย     สาเหตุการยืมของภาษาไทย มาเริ่มกันที่จุดเริ่มต้น หรือสาเหตุที่ทำไมคนไทยจึงต้องหยิบยืมคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้

หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง” หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และเทคนิคการจำและนำ Tense ไปใช้กันจร้า ซึ่ง Simple Present Tenseและ Present Continuous Tense นั้นมีสิ่งที่เหมือนกันคือ อยู่ในรูปปัจจุบัน (Present) เหมือนกัน

ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของเรื่อง   ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1