Comparison of Adjectives : การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์

สวัสดีน้องๆ ม. 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง Comparison of Adjectives กันครับ ถ้าน้องๆ พร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย
Comparison of Adjectives

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Comparison of Adjectives (การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์)

เรื่องการเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ หรือ Comparison of Adjectives นั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่เข้าใจได้ไม่ยากเลยครับ ก่อนอื่นนั้นเราลองมาดูความหมายของคำว่า คำคุณศัพท์ (Adjective) กันก่อนนะครับ

 

คำคุณศัพท์ (Adjective) หรือตัวย่อว่า adj. ในภาษาอังกฤษนั้นคือคำที่ใช้ในการอธิบาย รูปร่าง ลักษณะนิสัย หรือคุณสมบัติต่างๆ ของคำนาม (Noun) ที่ต้องการนั่นเองครับ ตัวอย่างเช่น

tall (adj.) = สูง
a tall man = ผู้ชายตัวสูง
จากตัวอย่างนี้ tall ที่เป็น adjective ใช้ขยายคำนามคือ man เพื่อบอกรูปร่างของผู้ชายคนนี้นั่นเองครับ

 

ซึ่งการเปรียบเทียบคำคุณศัพท์นั้นก็คือการที่เรานำ “คำนาม 2 คำ มาเปรียบเทียบกันโดยใช้คำคุณศัพท์” ครับ จะขอยกตัวอย่างประโยคนี้นะครับ

Mike is taller than Laura.
= ไมค์ตัวสูงกว่าลอร่า
จากประโยคดังกล่าวน้องๆ จะสังเกตเห็นว่ามีการเปรียบเทียบความสูง ระหว่างคนสองคนคือไมค์และลอร่านั่นเองครับ

Comparative and Superlative (การเปรียบเทียบขั้นกว่าและขั้นสุด)

ซึ่งในภาษาอังกฤษจะมีหลักการเปรียบเทียบอยู่ 2 ข้อด้วยกันครับนั่นคือ

  • Comparative (การเปรียบเทียบขั้นกว่า) และ
  • Superlative (การเปรียบเทียบขั้นสุด)

เรามาเริ่มจากการเปรียบขั้นกว่าก่อนนะครับ

การเปรียบเทียบขั้นกว่านั้นจะใช้เวลาที่เราต้องการบอกว่า “A … กว่า B” อย่างประโยคที่ยกตัวอย่างไปข้างบนคือ Mike is taller than Laura ก็เป็นการเปรียบเทียบขั้นกว่าครับ ซึ่งจะมีโครงสร้างและหลักการดังนี้

Comparison Comparative

 

หลักการเปลี่ยนรูป Adjective ใน Comparative

  • หากเป็นกริยา 1-2 พยางค์ ให้เติม -er ตามด้วย than เช่น tall = taller than, deep = deeper than, high = higher than
  • หากเป็นคำสั้นที่มีโครงสร้าง พยัญชนะ-สระ-พยัญชนะ ให้เพิ่มพยัญชนะท้ายเข้าไปอีกหนึ่งตัวก่อนเติม -er เช่น big = bigger
  • หากเป็นคำที่ลงท้ายด้วย Y ให้เปลี่ยน Y เป็น I ก่อน จึงเติม -er เช่น pretty = prettier, heavy = heavier
  • หากเป็นคำที่มี 3 พยางค์ขึ้นไป ให้ใช้โครงสร้าง more … than เช่น beautiful = more beautiful than, luxurious = more luxurious than

I am younger than your brother.
ฉันเด็กกว่าพี่ชายของคุณ

A steel is heavier than a feather.
เหล็กหนักกว่าขนนก

Monkeys are more intelligent than rabbits.
ลิงฉลาดกว่ากระต่าย

 

การเปรียบเทียบขั้นสุดคือการที่เราต้องการบอกว่าสิ่งนั้นคือที่สุด เช่น A หนักกว่า B แต่ C หนักที่สุด ซึ่งเราสามารถเขียนโครงสร้างได้ดังนี้ครับ

Comparison Superlative

 

หลักการเปลี่ยนรูป Adjective ใน Superlative

  • ก่อน adjective ทุกครั้งจะต้องมี the นำหน้าเสมอ
  • ไม่ต้องมี than ตามหลัง adjective
  • หากเป็นคำ 1-2 พยางค์ ให้เติม -est เช่น tall = the tallest , deep = the deepest, high = the highest
  • หากเป็นคำสั้นที่มีโครงสร้าง พยัญชนะ-สระ-พยัญชนะ ให้เพิ่มพยัญชนะท้ายเข้าไปอีกหนึ่งตัวก่อนเติม -est เช่น big = the biggest
  • หากเป็นคำที่ลงท้ายด้วย Y ให้เปลี่ยน Y เป็น I ก่อน จึงเติม -est เช่น pretty = the prettiest, heavy = the heaviest
  • หากเป็นคำที่มี 3 พยางค์ขึ้นไป ให้ใช้โครงสร้าง the most … เช่น beautiful = the most beautiful than, luxurious = the most luxurious

High

Tall

Expensive

Mt. Fuji 3,776 m. Daniel 185 cm. Sushi 195 baht.
Mt. Everest 8,848 m. Sara 165 cm. Pizza 299 baht.
Mt. Kilimanjaro 5,895 m. Emily 170 cm. Pad Thai 60 baht.

จากตารางด้านบนเราสามารถเขียนประโยคเปรียบเทียบรูปแบบต่างๆ ได้ดังนี้ครับ

Mt. Kilimanjaro is higher than Mt. Fuji.                     Mt. Everest is the highest.
เทือกเขาคิรีมันจาโคสูงกว่าภูเขาไฟฟูจิ                                 เทือกเขาเอเวอเรสต์สูงที่สุด

Emily is taller than Sara.                                             Daniel is the tallest.
เอมิลี่สูงกว่าซาร่า                                                             ดาเนียลสูงที่สุด

Sushi is more expensive than Pad Thai.                   Pizza is the most expensive.
ซูชิแพงกว่าผัดไทย                                                           พิซซ่าแพงที่สุด

Example

Example 2

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ สำหรับเรื่อง Comparison of Adjectives ไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากๆ ทั้งในชีวิตประจำวันและในการสอบครับ น้องๆ อย่าลืมทบทวนบ่อยๆ ด้วยนะครับ ไว้เจอกันใหม่ในเรื่องต่อๆ ไปนะครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรียนรู้บทร้องกรองสุภาษิต ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

การนำสุภาษิตมาแต่งเป็นบทร้อยกรอง เรียกว่า บทประพันธ์ร้อยกรองสุภาษิต ซึ่งบทที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในวันนี้คือบทร้อยกรองสุภาษิตเรื่อง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เราไปดูกันเลยค่ะว่าที่มจากของบทร้อยกรองนี้จะเป็นอย่างไร มาจากสุภาษิตอะไร รวมไปถึงถอดความหมายตัวบท ศึกษาคำศัพท์ที่น่ารู้และศึกษาคุณค่าที่อยู่ในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลย   ความเป็นมา ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน     ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ผู้แต่งคือ นายเพิ่ม สวัสดิ์วรรณกิจ เป็นบทร้อยกรองประเภทกลอนแปด พิมพ์รวมอยู่ในหนังสือบทประพันธ์อธิบายสุภาษิตของวรรณคดีสมาคมแห่งประเทศไทย    

can could

การตั้งคำถามโดยใช้ Can และ Could

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการใช้กริยาช่วยคือ Can และ Could กันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย

ค่าสัมบูรณ์

ค่าสัมบูรณ์

ค่าสัมบูรณ์ ค่าสัมบูรณ์  หรือ Absolute คือค่าของระยะทางจากศูนย์ไปยังจุดที่เราสนใจ เช่น ระยะทางจากจุด 0 ถึง -5 มีระยะห่างเท่ากับ 5 เนื่องจากค่าสัมบูรณ์เอาไว้บอกระยะห่าง ดังนั้นค่าสัมบูรณ์จะมีค่าเป็นบวกหรือศูนย์เท่านั้น ไม่สามารถเป็นลบได้ นิยามของค่าสัมบูรณ์ ให้ a เป็นจำนวนจริงใดๆ จะได้ว่า และ   น้องๆอาจจะงงๆใช่ไหมคะ ลองมาดูตัวอย่างสักนิดนึงดีกว่าค่ะ เช่น เพราะ

การพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของการพูดอภิปราย   การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

ภาษาชวา มลายู ในภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร?

น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าในภาษาที่เราใช้พูดและใช้เขียนกันอยู่นี้ มีคำไหนบ้างที่ถูกหยิบยืมมาจากต่างประเทศ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและศึกษาลงลึกถึงภาษาชวาและมลายู เป็นอีกหนึ่งภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของการยืมคำจากภาษาชวา มลายู     ทางตอนใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงทำให้มีการติดต่อค้าขายสานสัมพันธ์ไมตรีกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเดิมทีชาวชวาและชาวมลายูเคยใช้ภาษามลายูร่วมกัน ต่อว่าชาวชวามีภาษาเป็นของชนชาติตัวเอง แต่ก็ยังมีบางคำที่คล้ายคลึงกับภาษามลายูอยู่ 1. คำยืมภาษาชวา เพราะอิทธิพลของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องดาหลังและอิเหนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมถูกนำมาปรับปรุงและประพันธ์เป็นบทละคร โดยในเรื่องมีภาษาชวาอยู่เยอะมาก ทำให้เป็นที่รู้จักและถูกหยิบยืมมาใช้ในการประพันธ์เรื่อยมา

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1