Comparison of Adjectives

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเรื่องของ Comparison of Adjectives ซึ่งจะคืออะไรและเอาไปใช้อะไรได้บ้าง เราลองไปดูกันเลยครับ
comparison of adjectives

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Comparison of Adjectives

ในภาษาอังกฤษนั้นไวยากรณ์เรื่อง Comparison of Adjectives หรือ “การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์” นั้นเป็นสิ่งที่น้องๆ มักจะได้เจอบ่อย น้องๆ ลองดูประโยคเหล่านี้ครับ

My dog is as lovely as your cat.

(สุนัขของฉันน่ารักเท่ากันกับแมวของเธอ)

Peter is taller than Jim.

(ปีเตอร์สูงกว่าจิม)

She is the most beautiful person for me.

(เธอคือคนที่สวยที่สุดสำหรับฉัน)

จากประโยคเหล่านี้น้องๆ จะเห็นได้ว่ามีการเปรียบเทียบคน สัตว์ หรือสิ่งของ 2 สิ่ง โดยใช้คำคุณศัพท์ (น่ารักเท่ากันกับ สูงกว่า หรือสวยที่สุด) โดยหากสังเกตดีๆ แล้วเราสามารถแบ่งประเภทของการเปรียบเทียบได้ดังนี้ครับ

  1. Positive (เปรียบเทียบแบบเท่ากัน)
  2. Comparative (เปรียบเทียบขั้นกว่า)
  3. Superlative (เปรียบเทียบขั้นสุด)

 

Positive

เป็นการใช้คำคุณศัพท์ร่วมกันกับ as … as เพื่อแสดงถึงความเท่ากันของสองสิ่งนั่นเองครับ โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปของคำคุณศัพท์นั้นๆ เช่น

My dad is as kind as yours.

(พ่อของฉันใจดีเหมือนกันกับพ่อของเธอ)

The weather this year is as bad as last year.

(อากาศปีนี้แย่เท่ากันกับปีที่แล้ว)

Living in Chiang Mai is as convenient as living in Bangkok.

(การอยู่ในเชียงใหม่นั้นสะดวกสบายเหมือนกันกับการอยู่ที่กรุงเทพ)

comparison positive

 

Comparative

เป็นการเปรียบเทียบขั้นกว่า คือการบอกว่าสิ่งหนึ่งนั้น ใหญ่กว่า สูงกว่า ดีกว่า ฯลฯ อีกสิ่งหนึ่ง โดยจะมีหลักการเปลี่ยนรูปคำคุณศัพท์ดังนี้

คำคุณศัพท์ที่มี 1-2 พยางค์ ให้เติม -er เข้าไป เช่น

Positive

Comparative

clean

cleaner

new

newer

cheap

cheaper

small

smaller

easy

easier

คำคุณศัพท์ที่มี 2 พยางค์ขึ้นไป ให้ใช้ more มาวางไว้ด้านหน้า เช่น

Positive

Comparative

difficult

more difficult

beautiful

more beautiful

important

more important

intelligent

more intelligent

generous

more generous 

คำคุณศัพท์ที่เป็นข้อยกเว้น จะเปลี่ยนรูปไปเลย เช่น

Positive

Comparative

good

better

bad

worse

much/many

more

little

less

ตัวอย่าง

My bag is cheaper than your bag.

(กระเป๋าของฉันถูกกว่าของเธอ)

The exam of this semester is more difficult than the last semester.

(ข้อสอบเทอมนี้ยากกว่าของเทอมที่แล้ว)

Getting at night is worse than getting up in the morning.

(การตื่นนอนกลางดึกแย่กว่ากว่าการตื่นในตอนเช้า)

comparison comparative

 

Superlative

เป็นการพูดถึงสิ่งหนึ่งว่า “ดีที่สุด” ดีกว่าสิ่งที่เหมือนกันอื่นๆ ทั้งหมด โดยจะต้องมี the นำหน้าเสมอเพื่อแสดงถึงความเฉพาะเจาะจง โดยจะมีหลักการดังนี้

คำคุณศัพท์ที่มี 1-2 พยางค์ เติม -est ต่อท้าย เช่น

Positive

Superlative

clean

the cleanest

new

 the newest

cheap

 the cheapest 

small

the smallest

easy

the easiest

คำคุณศัพท์ที่มี 2 พยางค์ขึ้นไป ให้ใช้ the most มาวางไว้ด้านหน้า เช่น

Positive

Superlative

difficult

the most difficult

beautiful

the most beautiful

important

the most important

intelligent

the most intelligent

generous

the most generous 

คำคุณศัพท์ที่เป็นข้อยกเว้น จะเปลี่ยนรูปไปเลย เช่น

Positive

Superlative

good

the best

bad

the worst

much/many

 the most

little

 the least

ตัวอย่าง

He is the smallest student in this class.

(เขาเป็นนักเรียนที่ตัวเล็กที่สุดในชั้นนี้)

Mr. Darcy is the most generous man. He always pays for my tuition.

(คุณดาร์ซี่เป็นคนที่ใจกว้างที่สุด เขาจ่ายค่าเทอมให้ฉันตลอด)

Japanese ramen is the best ramen in the world.

(ราเมนญี่ปุ่นคือราเมนที่ดีที่สุดในโลก)

comparison superlative

 

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับเรื่อง Comparison of Adjectives? พี่เชื่อว่าน้องๆ ต้องสนุกกับมันแน่ๆ เลย และเป็นเรื่องที่น้องๆ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้บ่อยมากๆ อีกด้วยครับ สำหรับน้องๆ ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมสามารถคลิกเข้าไปดูวิดีโอจากช่อง NockAcademy ด้านล่างได้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

ฟังอย่างไรให้ได้สาระประโยชน์ดี ๆ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟัง

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้อนรับเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยกันอีกครั้ง สำหรับบทเรียนในวันนี้ต้องบอกว่ามีประโยชน์มาก ๆ และเราควรจะต้องศึกษาไว้เพื่อนำไปใช้ในการฟัง หรือคัดกรองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เรารับฟังมาให้มากขึ้น ซึ่งเราจะพาน้อง ๆ มาฝึกฝนการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟังกัน เพราะในปัจจุบันเราสามารถรับสารได้หลากหลายรูปแบบมีทั้งประโยชน์ และโทษ ดังนั้น เราจึงต้องมีทักษะนี้ติดตัวไว้แยกแยะว่าสื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนกันเลย   ความหมายของความน่าเชื่อถือ และสื่อ ความน่าเชื่อถือ หมายถึง

like_dislike + การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

การเขียนบรรยายความรู้สึกของตนเอง like/dislike + การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การเขียนบรรยายความรู้สึกของตนเอง like/dislike + การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go! ถาม-ตอบก่อนเรียน หากมีคนถามว่า What do you like doing? หรือ What do you dislike doing? (คุณชอบหรือไม่ชอบทำอะไร) นักเรียนสามารถแต่งประโยคเพื่อตอบคำถาม

อสมการ

อสมการ

จากบทความที่ผ่านมาได้พูดถึงเรื่องช่วงของจำนวนจริงไปแล้ว บทความนี้เราจะนำความรู้เกี่ยวกับช่วงของจำนวนจริงมาใช้ในการแก้อสมการเพื่อหาคำตอบกันนะคะ ถ้าน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้วรับรองว่าพร้อมทำข้อสอบแน่นอนค่ะ

เมทริกซ์

เมทริกซ์ และเมทริกซ์สลับเปลี่ยน

เมทริกซ์ เมทริกซ์ (Matrix) คือตารางสี่เหลี่ยมที่บรรจุตัวเลขหรือตัวแปร สามารถนำมาบวก ลบ คูณกันได้ เราสามารถใช้เมทริกซ์ในการการแก้ระบบสมการเชิงเส้นได้ซึ่งจะสะดวกกว่าการแก้แบบกำจัดตัวแปรสำหรับสมการที่มากกว่า 2 ตัวแปร ตัวอย่างการเขียนเมทริกซ์ เรียกว่าเมทริกซ์มิติ 3×3 ซึ่ง 3 ตัวหน้าคือ จำนวนแถว 3 ตัวหลังคือ จำนวนหลัก ซึ่งเราจะเรียกแถวในแนวนอนว่า แถว และเรียกแถวในแนวตั้งว่า หลัก และจากเมทริกซ์ข้างต้นจะได้ว่า

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จัก จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ  น้องๆหลายคนคุ้นเคยกับจำนวนเฉพาะมาบ้างแล้ว แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่า ตัวประกอบเฉพาะคืออะไร ซึ่งน้องๆจะได้เรียนรู้จากตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ในบทความนี้ โดยได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับความหมายของ ตัวประกอบ  ตัวประกอบของจำนวนเต็มใด ๆ  คือ จำนวนที่หารจำนวนนั้นได้ลงตัว  ถ้าจำนวนที่ 2 หารได้ลงตัว เรียกว่า จำนวนคู่  ส่วนจำนวนที่

การวัด

การวัดและความเป็นมาของการวัด

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ความเป็นมาของการวัดในหลายๆมิติ จนกระทั่งวิวัฒนาการที่ทำให้ได้ความแม่นยำในการวัดอย่างเป็นมาตรฐานมากขึ้นเรื่อยๆ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1