Auxiliary Verbs in a Nutshell
Auxiliary Verbs หรือน้องๆ อาจจะคุ้นในชื่อ Helping Verbs ในภาษาอังกฤษ คือกริยาที่ใช้คู่กับกริยาแท้ (Main Verb) ในประโยคเพื่อช่วยบอก Tense และช่วยในประโยคปฎิเสธและประโยคคำถามอีกด้วยครับ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) Verb “To Do” ได้แก่ do, does, did, done
2) Verb “To Be” ได้แก่ be, is, am, are, was, were, being, been,
3) Verb “To Have” ได้แก่ have, has, had, having
หน้าที่ของ Auxiliary Verbs
หลักๆ แล้วกริยาช่วยจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) ช่วยบอก Tense ของประโยค
เช่น
She has been waiting for an hour.
(เธอรอมาเป็นชั่วโมงแล้ว)
“has been” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “wait” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Present Perfect Continuous
He was talking to someone on the phone when I arrived.
(เขากำลังพูดกับใครบางคนผ่านโทรศัพท์ตอนที่ฉันมาถึง)
“was” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “talk” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Past Continuous Tense
At 10 O’clock tomorrow, I will be studying at the library.
(ตอนสิบโมงพรุ่งนี้ ฉันจะกำลังเรียนหนังสืออยู่ในห้องสมุด)
“will be” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “study” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Future Continuous Tense
2) ช่วยบอก Voice ของประโยคว่าเป็น Active หรือ Passive
เช่น
Hit by the car, the boy was hospitalised.
(เด็กผู้ชายที่โดนรถชนถูกนำส่งโรงพยาบาล)
“was” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “hospitalise” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Passive Voice (เด็กถูกนำส่งโรงพยาบาล)
This ticket is used to enter the concert hall.
(ตั๋วใบนี้ใช้เพื่อเข้าชมคอนเสิร์ต)
“is” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “use” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Passive Voice (ตั๋วถูกใช้)
The internet connection will be disconnected tomorrow.
(สัญญาณอินเทอร์เน็ตจะถูกตัดวันพรุ่งนี้)
“will be” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “disconnect” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Passive Voice (สัญญานจะถูกตัด)
*ดูเพิ่มเติมเรื่อง Passive Voice ได้ที่นี่
3) ช่วยในประโยคคำถามและปฏิเสธ
เช่น
Did you submit your homework yesterday?
(คุณส่งการบ้านเมื่อวานหรือยัง?)
“did” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “submit” เพื่อทำให้ประโยคนี้เป็นประโยคคำถาม
I don’t know who stole your wallet.
(ผมไม่รู้ว่าใครขโมยกระเป๋าสตางค์ของคุณไป)
“do not” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “know” เพื่อทำให้ประโยคนี้เป็นประโยคปฏิเสธ
He didn’t want to leave that happy moment.
(เขาไม่อยากออกไปจากช่วงเวลาที่มีความสุขนั้น)
“did not” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “want” เพื่อทำให้ประโยคนี้เป็นประโยคปฏิเสธ
เคล็ดลับของกริยาช่วย
1) โดยทั่วไปแล้วกริยาช่วยจะไม่มีความหมายในตัว เป็นเพียงแค่กริยาที่นำมาช่วยเสริมกริยาแท้เพื่อจุดประสงค์ที่บอกไปแล้วข้างต้น แต่กริยา “have” จะเป็นกริยาแท้หากแปลว่า “มี” หรือ “รับประทาน” และ “do” ที่แปลว่า “ทำ” ก็เป็นกริยาแท้เช่นกัน ลองดูความแตกต่างระหว่าง 2 ประโยคนี้
I have 2 dogs and 1 cat.
(ฉันมีสุนัข 2 ตัวและแมว 1 ตัว)
“have” ในประโยคนี้แปลว่า “มี” ทำหน้าที่เป็นกริยาแท้
I have finished my assignment.
(ฉันทำแบบฝึกหัดเสร็จแล้ว)
“have” ในประโยคนี้ไม่มีความหมาย แต่มาช่วยขยายกริยาคือ “finish” บ่งบอกว่าประโยคนี้เป็น Present Perfect
2) Verb to be ที่ตามหลังด้วย Adjective หรือ Noun เพื่อบอกลักษณะ อาการ อาชีพ หรือคุณสมบัติอื่นๆ จะทำหน้าที่เป็นกริยาแท้เช่นกัน (แปลว่า เป็น/อยู่/คือ) เช่น
I am an engineer.
(ฉันเป็นวิศวะกร)
“is” เป็นกริยาแท้ แปลว่า “เป็น” เพราะอยู่หน้าคำนาม บ่งบอกอาชีพ
He is running in the park.
(เขากำลังวิ่งอยู่ในสวนสาธารณะ)
“is” ในประโยคนี้ไม่มีความหมาย แต่ขยายกริยา “run” เพื่อบ่งบอกว่าเป็น Present Continuous
เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับเรื่อง Auxiliary Verbs เรื่องนี้อาจจะดูสับซ้อนนิดหน่อย แต่หากน้องๆ เข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้วก็จะสามารถแยกประเภทและใช้มันได้อย่างถูกต้องนั่นเองครับ โดยน้องๆ สามารถดูวิดีโอเพิ่มความเข้าใจให้มากขึ้นด้านล่างได้เลย