เรียนรู้เกี่ยวกับการบอกเวลา

Picture of Krumaiyha
Krumaiyha
NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไป เรียนรู้เกี่ยวกับการบอกเวลา กันค่ะ
ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย Let’s go!

การแบ่งประเภท

 

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (2)

 

ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษา นะคะ  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

 

  • British English (ภาษาอังกฤษแบบบริติช )
  • American English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน)

 

 

บอกเวลาแบบ British English

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (3)

ใน British English จะใช้ระบบเวลาแบบ 12 ชั่วโมง โดยจะใช้เลข 1 -12 ตามด้วยคำบอกเวลา a.m. และ p.m. ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปในภาษาอังกฤษนั่นเองค่า

 

  • การใช้ a.m. และ p.m.

a.m. = ante meridiem ใช้กับเวลา หลังเที่ยงคืน จนถึง ก่อนเที่ยงวัน
(00.01 a.m. – 11.59 a.m.)

p.m. = post meridiem ใช้กับเวลาหลังเที่ยงวัน จนถึง ก่อนเที่ยงคืน
(12.00 p.m. – 11.59 p.m.)

 

หากว่าต้องการบอกเวลาเต็มชั่วโมง ให้เติมคำว่า “o’clock” ท้ายเวลา หรือพูด a.m. และ p.m.
ตามด้วยเวลาต่างๆ ก็ได้ เช่นกันค่ะ

ดังตัวอย่างต่อไปนี้

11.00 a.m. = eleven o’clock in the morning

แปลว่า ตอนนี้เป็นเวลาสิบเอ็ดโมงเช้า

05.00 p.m. = five o’clock in the afternoon

แปลว่า ตอนนี้เป็นเวลาห้าโมงเย็น

 

บอกเวลาในอนาคต

 

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (4)

เราจะใช้ to นี้จะใช้กับการบอกเวลาที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้  เช่น

 

10.40 p.m. =  twenty to eleven

แปลว่า อีกยี่สิบนาทีจะถึงสิบเอ็ดโมง

 สำหรับ การบอกเวลาแบบ British English หากนาฬิกาเป็นเวลา 15 นาทีหรือ 45 นาที ให้ใช้คำว่า a quarter และหากเป็น 30 นาที ให้ใช้ half
ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้

 

06.15 a.m. = a quarter past six

07.30 a.m. = a half past thirty

 

บอกเวลาในอดีต

 

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (5)

 

เราจะใช้ past เพื่อบอกเวลาที่ผ่านมาแล้ว ซึ่ง past เป็นคำคุณศัพท์ เมื่อใช้กับการบอกเวลา จะแปลว่า ผ่าน….มา……แล้ว โดยส่วนมากจะใช้กับเวลาที่ผ่านล่วงเลยมาไม่ถึง 30 นาที เช่น

 

10.20 a.m. = twenty past ten
แปลว่า  ผ่านสิบนาฬิกามามายี่สิบนาทีแล้ว

 

ทริคดีๆ:

การบอกเวลาแบบนี้ ถือว่าเป็นการบอกเวลาทางอ้อม  (ก็ใช่สินะ เพราะว่าไม่ได้บอกมาตรงๆ ) นักเรียนมักจะเจอรูปแบบประโยคนี้ในสถานการณ์ปกติ ที่ไม่เร่งรีบ เพราะจะต้องคิดก่อน เช่น ในชั้นเรียน แต่อาจจะไม่ใช่การถามเวลาก่อนเที่ยงที่นักเรียนหิวข้าวนะคะ แบบนั้นคงจะรีบน่าดู 

 

บอกเวลาแบบ American English

 

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (6)

การอ่านเวลาแบบชาวอเมริกันนั้นได้กำหนดวิธีการบอกเวลาในภาษาอังกฤษสไตล์ชิวๆ ไม่ซับซ้อนเท่ากับวิธีการของ ชาวบริติช ซึ่ง American English จะมีการใช้ระบบเวลาแบบ 24 ชั่วโมง โดยจะใช้ตั้งแต่ตัวเลข 0 ไปจนถึง ตัวเลข 24 และส่วนใหญ่จะไม่มี a.m. และ p.m. ให้ยุ่งยาก 

การใช้

วิธีการบอกเวลาของชาวอเมริกันคือ ให้บอกเลขชั่วโมงก่อนตามด้วยเลขนาที โดยทั่วมักจะในกรณีที่เป็นทางการมากๆ
ตัวอย่าง เช่น

เวลา 21.15 น. = twenty-one fifteen

เวลา 08.09* น. = eight O nine 

 บอกเวลาตอนเที่ยง

 

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (7)

 

ในเวลาเที่ยงคืนหรือเที่ยงวัน สามารถใช้คำว่า “midnight” หรือ “midday / noon” แทนเลข 12 ได้ เช่น  เวลา 00:00 น. แทนช่วงเวลานี้ ว่า midnight หรือ เวลา 12:00 น. แทนช่วงเวลานี้ว่า midday or noon

ส่วนในการพูดอย่างเป็นทางการ สามารถใช้ “a.m.” หรือ “p.m.” ประกอบได้อยู่เหมือนเดิม
เช่น  เวลา 05:15 น. บอกได้ว่า 

It is five fifteen a.m.

= เป็นเวลา ตีห้า  สิบห้านาที

แต่ถ้าไม่เป็นทางการมาก เช่นบอกเวลาเพื่อนที่อยู่ใกล้ๆกัน
ก็สามารถพูดได้ว่า It is ten fifteen.
(ไม่ต้องบอก a.m. ก็ได้ แต่หากช่วงเวลาที่คุยเป็นกลางวัน เพื่อนก็จะเข้าใจไปโดยปริยายว่า มันคือเวลา สิบโมง สิบนาที )

ในกรณีที่ลืมว่า ควรจะใช้ a.m. หรือ p.m. ดี ให้ใช้วลีบอกเวลา เพ่อให้ผู้ที่เราพูดด้วยรู้ว่าเรากำลังบอกเวลาช่วงไหน โดยใช้ in/at แล้วตามด้วยช่วงเวลา เช่น

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (8)

in the morning = ช่วงเช้า
at midday = เที่ยงวัน
at midnight = เที่ยงคืน
in the afternoon = ตอนบ่าย
in the evening = ตอนเย็น
at night = ตอนกลางคืน

 

แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันอยู่ แต่คนที่เลือกใช้ก็คือตัวเราเอง ครูแนะนำให้ดูบริบทการใช้ให้มากนะคะ เช่น ตัวอย่างประโยคด้านล่างนี้นะคะ

 

Situation : On the elevator(สถานการณ์เกิดบนลิฟต์)

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (9)

Lisa: Excuse me, what time is it now?

= ขอโทษนะคะ ตอนนี้เป็นเวลากี่โมงแล้ว

Jennie: It’s a half past ten.
= ตอนนี้ผ่านสิบนาฬิกามาครึ่งชั่วโมงแล้วค่ะ

Lisa: OMG! I am late already!
= มายกอด ฉันสายแล้ว

 

Situation: On the pathway (เหตุเกิดตรงทางเดิน)

 

Jackson: Bella, what time is it now?

= ตอนนี้กี่โมงแล้ว เบลล่า

Bella: It’s  5 p.m. Why did you ask?
= ตอนนี้ห้าโมงเย็น ถามทำไมอะ

Jackson: Hurry up! We are going to be late for the concert.
= เร็วเข้าสิ เราไปคอนเสิร์ตสายแน่ๆ

โครงสร้างประโยคคำถาม

 

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ (10)

 

นักเรียนสามารถใช้ประโยคคำถามเหล่านี้ เพื่อถามถึงเวลา ว่ากี่โมงแล้วได้
ยกตัวอย่าง เช่น

  • ถามตรงไปตรงมา

What time is it right now?

= ตอนนี้เป็นเวลากี่โมงแล้ว

เราเรียกการถามแบบนี้ว่า  Direct question ตามโครงสร้างประโยค เรามักจะเจอคำถามในลักษณะนี้ในสถานการณ์แบบเป็นกันเอง ภาษาที่ใช้จะดูใกล้ชิดสนิทสนมมากกว่า ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนเราที่ถามทาง หรือ คนใกล้ตัว คุณพ่อ คุณแม่ เป็นต้น

  • ถามแบบสุภาพ

Can you tell me what time it is?
= ขอถามหน่อยว่ากี่โมงแล้ว

Excuse me, can I know what time it is?
= ขอโทษนะ ขอทราบหน่อยว่าเป็นเวลากี่โมงแล้ว

เราเรียกลักษณะการถามเวลาแบบนี้ว่า  Indirect question
มักขึ้นต้นด้วย Can I know…= ขอทราบ/ถาม หน่อย…

***การถามเวลาในรูปแบบประโยคลักษณะ Indirect questions นี้ ประโยคของเราจะดูเป็น ทางการและสุภาพมากยิ่งข้น

 

อย่าลืมทบทวนบทเรียน  เรื่อง การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ ได้ที่วิดีโอด้านล่างนี้เลยนะคะ
แล้วเจอกันใหม่ค่า

คลิกปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนให้สนุกนะคะ

Have fun!

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ ม5 Passive Modals

Passive Modals

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals“ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยเด้อ   Passive Modals คืออะไร   Passive Modals หรือ Modal Verbs in the Passive Voice คือ 

โคลงสี่สุภาพ เจาะลึกคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด

  โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงสี่สุภาพคืออะไร     โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม

การใช้ Quantity words

การใช้ Quantity words เช่น many/ much/ a lot of/ lots of and etc.

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ “การใช้ Quantity words เช่น many/ much/ a lot of/ lots of and etc. ” ในภาษาอังกฤษกันค่ะ Let’s go! ไปลุยกันโลด Quantity words คืออะไร

ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พร้อมศึกษาคุณค่าในเรื่อง

  ในบทเรียนก่อนหน้าเราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่อกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะต่อเนื่องกับครั้งก่อนโดยการพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องตัวบทเด่น ๆ ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พร้อมทั้งศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เนื้อหา หรือด้านวรรณศิลป์ ถ้าน้อง ๆ พร้อมจะเรียนวรรณคดีเรื่องนี้ต่อไปแล้ว ก็ไปลุยพร้อมกันเลยค่ะ     ถอดคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า   สกุลเอ๋ยสกุลสูง ชักจูงจิตชูศักดิ์ศรี อำนาจนำความสง่าอ่าอินทรีย์

ศึกษาตัวบทในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีเค้าจากเรื่องจริงในสมัยอยุธยา จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนักตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ในตอน ขุนข้างถวายฎีกา เป็นหนึ่งในตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดีที่สุด จากที่เราได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่อยู่ในเรื่องนี้เพื่อถอดความกันค่ะ รวมไปถึงคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจ   ตัวบทที่ 1     ถอดความ มาจากตอนที่จมื่นไวยบุกมาหานางวันทองผู้เป็นแม่ที่เรือนขุนช้างแล้วพยายามจะพานางกลับไปอยู่ด้วยกัน

การเปลี่ยนแปลงคำ เรียนรู้วิวัฒนาการทางภาษาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน แต่ในเมื่อสังคมมนุษย์ไม่สามารถหยุดนิ่งได้ และมีความเจริญทางวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาอยู่เสมอ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษามากมาย การเปลี่ยนแปลงคำ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติของมนุษย์ จากครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของประโยคกันไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ เจาะลึกอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงคำว่ามีอะไรกันบ้าง และมีคำใดที่เคยใช้ในสมัยโบราณแต่ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงคำ   เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดและเขียนเมื่อถูกใช้ต่อกันมาเรื่อย ๆ ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงคำต่าง ๆ สามารถแบ่งได้ดังนี้     1.

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1