เรียนรู้การใช้คำสันธาน (Conjunctions) ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Conjuctions หรือคำสันธานในภาษาอังกฤษ พร้อมวิธีการใช้คำสันธานในประโยคแบบเข้าใจง่ายๆ กันครับ
conjunctions

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Conjunctions คืออะไร?

ในภาษาอังกฤษจะมีคำประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Conjunctions หรือแปลเป็นไทยว่าคำสันธานครับ ซึ่งคำเหล่านี้จะมีหน้าที่เชื่อมไอเดียของคำหรือประโยคเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เราเข้าใจสิ่งที่กำลังอ่านหรือฟังได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

หากไม่มีคำเชื่อมแล้ว เราก็จะเหมือนถูกบังคับให้สื่อสารผ่านประโยคที่เป็นประโยคความเดียวเท่านั้น เช่น หากเราต้องการบอกว่าผู้ชายคนนี้สูงและขยันมาก เราอาจพูดได้ว่า

He is tall. He is diligent.

แต่ถ้าเราใช้คำเชื่อมมาช่วยจะช่วยให้ประโยคกระชับ และไม่ฟุ่มเฟือยซึ่งจะสื่อความได้เข้าใจมากขึ้น

He is tall and diligent.

“and” คือตัวอย่างของ Conjunctions

 

Coordinating Conjunctions

คำสันธานประเภทแรกเรียกว่า Coordinating Conjuntions ครับ เป็นคำเดี่ยวๆ ทีมีหน้าที่เชื่อมคำ วลี และอนุประโยค (clause) เข้ากับประโยค ซึ่งกลุ่มคำสันธายเหล่านี้ได้แก่ for (เพราะ), and (และ), nor (ไม่ทั้ง…), but (แต่), or (หรือ), yet (แต่,ยัง), so (เพื่อที่) หรือจำง่ายๆ ว่า FANBOYS นั่นเอง

fanboys

 

ตัวอย่าง

I love reading fantasy novels for they take me to a different world.

(ฉันชอบอ่านนิยายแฟนตาซีเพราะเหมือนว่าได้ไปอยู่อีกโลกหนึ่ง)

Peter is an exceptional and intelligent student.

(ปีเตอร์เป็นนักเรียนที่โดดเด่นและฉลาด)

I don’t like talking with your mom nor your dad.

(ฉันไม่ชอบการพูดคุยกับแม่ของคุณไม่แม้กระทั่งพ่อของคุณ)

His essay is acceptable but there are still some grammatical mistakes.

(เรียงความของเราพอใช้ได้แต่ก็ยังมีข้อผิดพลาดเรื่องไวยากรณ์อยู่บ้าง)

You must choose between going out or staying home.

(คุณต้องเลือกระหว่างการออกไปข้างนอกหรือการอยู่ที่บ้าน)

He has been practised really hard, yet his performance is still not satisfying.

(เขาฝึกฝนหนักมากแต่การแสดงของเขาก็ยังไม่ค่อยน่าพอใจ)

Could you give me a hand so I can finish this in time?

(คุณพอจะช่วยฉันหน่อยได้มั้ยเพื่อที่ฉันจะได้เสร็จทันเวลา?)

 

*ข้อควรระวัง คำ วลี หรืออนุประโยคที่ถูกเชื่อมด้วยคำสันธานต้องมีลักษณะทางไวยากรณ์เหมือนกัน (parallel) เช่น

She works quickly and neat.

ประโยคนี้ผิดหลักไวยากรณ์เพราะว่าคำที่อยู่หน้าและหลัง “and” จะต้องเป็น Part of Speech เดียวกัน

She works quickly and neatly.

แบบนี้จึงจะเป็นประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

 

Correlative Conjunctions

ประเภทต่อมาเป็นคำสันธานที่อยู่กันเป็นคู่และใช้คู่กันเสมอ ได้แก่ either…or (ไม่…ก็…), neither…or (ไม่ทั้ง…และ…), not only…but also (ไม่เพียงแต่…แต่ยัง…)

correlative conjunctions

 

ตัวอย่าง

It was either John or Peter who received the email.

(ไม่จอห์นก็ปีเตอร์ที่ได้รับอีเมล)

Margaret likes neither London nor Paris. She prefers Asian countries.

(มาร์กาเร็ตไม่ชอบทั้งลอนดอนและปารีส เธอชอบประเทศแถบเอเชียมากกว่า)

Bangkok is not only a capital city of Thailand but also a popular travel destination.

(กรุงเทพไม่เพียงแต่เป็นเมืองหลวงของไทยแต่ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอีกด้วย)

 

Subordinating Conjunctions

คำสันธานกลุ่มสุดท้ายมีหน้าจะเชื่อมประโยคเข้าด้วยกันเพื่อบอกลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผล หรือการเปรียบเทียบ คำสันธานที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ because (เพราะ), since (ตั้งแต่,เพราะ), as(เพราะ,เนื่องจาก), as though (ราวกับว่า), although(แม้ว่า), though(แม้ว่า), while(ขณะที่), whereas(ในขณะที่) เป็นต้น

subordinating conjunctions

 

ตัวอย่าง

They are angry because the football match has been cancelled.

(พวกเขาโกรธเพราะว่าการแข่งขันฟุตบอลถูกยกเลิก)

I’m going to buy him a present since today is his birthday.

(ฉันจะซื้อของขวัญให้เขาเพราะวันนี้เป็นวันเกิดของเขา)

As she failed the final exam, she needs to study harder.

(เพราะเธอสอบตก เธอจึงต้องเรียนหนักขึ้น)

He spends a month travelling in Japan as though he has no job to do.

(เขาใช้เวลาหนึ่งเดือนท่องเที่ยวในญี่ปุ่นราวกับว่าเขาไม่มีงานต้องทำ)

He keeps reading for the exam though it is 3 a.m.

(เขายังคงอ่านหนังสือสอบต่อไปแม้ว่าจะตีสามแล้ว)

Dogs are considered loyal whereas cats are considered lazy.

(สุนัขถูกจัดว่าซื่อสัตย์ในขณะที่แมวถูกจัดว่าขี้เกียจ)

 

นี่ก็เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับ Conjunctions ที่น้องๆ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในการเขียนและการสนทนาในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะทำให้เราสามารถเชื่อมโยงหรือบอกเหตุและผลความคิดที่เราต้องการได้นั่นเองครับ น้องสามารถดูวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

รอบรู้เรื่องคำไทย คำศัพท์คำไหนภาษาไทยยืมมาจากต่างประเทศ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยสนุก ๆ พร้อมสาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันก็เช่นเคยเราจะมาเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะภาษาไทยที่เราใช้กันในปัจจุบันก็มีที่มาจากการยืมคำจากภาษาต่างประเทศมา และไม่ได้มีการยืมแค่ในภาษาบาลีหรือสันสกฤษเท่านั้น แต่ยัลมีภาษาอื่น ๆ อีก เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนมาทำความรู้จักกับคำจากภาษาต่างประเทศที่เราใช่ในภาษาไทยกันให้ลึกขึ้นอีกระดับหนึ่ง ถ้าพร้อมแล้วก็ไปเริ่มเรียนกันได้เลย     สาเหตุการยืมของภาษาไทย มาเริ่มกันที่จุดเริ่มต้น หรือสาเหตุที่ทำไมคนไทยจึงต้องหยิบยืมคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้

NokAcademy_ ม.6 Modlas in the Past

Modals in the Past

  สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modals in the Past “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า   ทบทวน Modal Verbs  Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ 

ศึกษาตัวบทและข้อคิดที่แฝงอยู่ในสามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีคือพลัง เป็นคำกล่าวคุ้นหูที่หลายคนคงจะเคยได้ยินคนพูดให้ฟังอยู่บ่อย ๆ เพราะไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดร่วมกับใคร เพื่อให้งานนั้นสำเร็จและเป็นไปอย่างราบรื่น เราก็ต้องอาศัยความสามัคคีของคนในกลุ่มช่วยกันขับเคลื่อนให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้าได้ แต่บางครั้งคนเราก็อาจปล่อยให้อารมณ์มาบดบังจนทำให้แตกความสามัคคีกันอยู่บ่อย ๆ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ว่าด้วยผลของการแตกความสามัคคี บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทเด่น ๆ ที่สำคัญ ถอดบทเรียนจากตัวละครและศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลย   ตัวบทเด่น ๆ ใน สามัคคีเภทคำฉันท์     ถอดความ

หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง” หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และเทคนิคการจำและนำ Tense ไปใช้กันจร้า ซึ่ง Simple Present Tenseและ Present Continuous Tense นั้นมีสิ่งที่เหมือนกันคือ อยู่ในรูปปัจจุบัน (Present) เหมือนกัน

เสภาขุนช้างขุนแผน

เสภาขุนช้างขุนแผน จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนัก

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนเสภาและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวรรณคดีว่าเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อเรื่องและการประพันธ์ มีมากมายหลายตอน หลายสำนวนและหลายผู้แต่ง แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้ศึกษากันในวันนี้เป็น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ เสภาขุนช้างขุนแผน   ขุนช้างขุนแผนสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากพงศาวดารทำให้ทราบว่าขุนแผนรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระพันวษา หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2034-พ.ศ 2072 ต่อมามีการนำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนสุภาพและบทเสภาโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1