สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูวิธีการพูดให้ข้อเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำกันค่ะซึ่งในการเสนอแนะ
หรือชักชวนนั้น ผู้พูดจะแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ เพื่อให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยกัน มีการใช้ภาษาหลายระดับ
และใช้รูปประโยคหลายชนิด เช่นเดียวกับการพูดในความหมายต่างๆ ที่ผ่านมาเราจึงต้องใช้รูปประโยคต่างๆ
เช่นประโยคบอกเล่า คำสั่ง ชักชวน เพื่อให้ผู้ฟังทำตาม รวมถึงเทคนิคการตอบรับและปฏิเสธ ดังในตัวอย่างรูปแบบประโยคด้านล่างนะคะ
1. ประโยคบอกเล่า (Statement)
ประโยคบอกเล่าจะมีความหมายในทางเสนอแนะมากกว่าเป็นการให้ความคิดเห็นและแนะว่าควรทำหรือไม่ควรทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถือเป็นการเสนอแนะโดยตรงมีโครงสร้างดังนี้ค่ะ
ตัวอย่าง
I suggest that you should study more.
ฉันขอเสนอแนะว่า เธอควรเรียนให้มากกว่านี้นะ
I advise we should exercise more.
ฉันขอแนะนำว่า เราควรออกกำลังกายให้มากกว่านี้
I propose that we should not go trekking while it’s raining.
ฉันขอเสนอว่า เราไม่ควรเดินป่าตอนที่ฝนกำลังตก
I ought to be out there with her.
ฉันควรจะไปกับเธอ
2. ประโยคคำสั่ง (Command)
ประโยคคำสั่งที่ใช้ไนความหมายนี้ มีอยู่รูปเดียวคือ Let’s (Let us) เป็นการชักชวนแบบเป็นกันเอง เช่น เพื่อนชวนเพื่อนออกไปกินข้าว พี่ชวนน้องไปเที่ยว เป็นต้น โดยที่อาจจะไม่ต้องการคำตอบแต่เป็นเพียงความประสงค์ของผู้พูดที่ต้องการ ชวนไปทำอะไรบางอย่างอย่างมีจุดมุ่งหมาย จะเรียกว่าสั่งแบบชวนแบบนั้นก็ได้ค่ะ มีโครงสร้าง ดังนี้นะคะ
โครงสร้างประโยคคำสั่ง(แบบชักชวน)
” Let’s + V. infinitive…”
|
ตัวอย่าง
Let’s do homework now.
มาทำการบ้านกันเถอะเดี๋ยวนี้เลย
Let’s have a cup of tea.
ไปดื่มชากันเถอะ
ปล. บางประโยคอาจจะมีคำว่า Shall we? ต่อท้ายด้วยเพื่อเป็นการชักชวน แปลว่า ไปกันเถอะ (ป้ะ)
เข้ามาด้วย ซึ่งใช้กับเพื่อนหรือการชวนคนที่เราสนิทสนมเช่น
Let’s have a cup of tea. Shall we?ไปดื่มชากันเถอะ ป้ะ
3. ประโยคคำถาม (Questions)
การชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อมเพื่อแสดงถึงการเกรงใจซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ต้องการคำตอบหรือการตกลงไม่ตกลงจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้
3.1 ถามแบบรูปประโยค Yes/No Question :
Shall we…………?
เรา………กันดีมั้ย
3.2 ถามแบบรูปประโยค Wh- Questions :
Why don’t we………..?
เรา .. … กันมั้ย
How about……….?
…………….ดีมั้ย
3.3 ถามแบบรูปประโยค Indirect Questions :
I wonder if we…
ฉันไม่ทราบว่า เรา………….มั้ย
ตัวอย่าง:
Shall we watch Netflix right now?
ตอนนี้เราดู Netflix กันดีมั้ย
Shall we eat outside today?
วันนี้กินข้าวนอกบ้านกันดีมั้ย
Why don’t we cook today?
เราทำอาหารด้วยกันดีกว่าว่ามั้ย
How about playing tennis this evening?
เย็นนี้ เล่นเทนนิสกันมั้ย
I wondered if we should talk to her like that.
ฉันคิดว่าเราควรพูดกับหล่อนไปแบบนั้นมั้ย
การตอบรับ (Accepting)
That’s very kind of you.
คุณใจดีจังI’d love to (come).
ฉันยินดีที่จะมาร่วมด้วยI’d be delighted to (go).
ฉันเต็มใจที่จะไปมากThat’s a good/ great idea/ What a good idea.
เป็นความคิดที่ดีมากๆThat’s interesting.
น่าสนใจดี
Yes/ Of course/ Certainly/Absolutely/ Surely
ไปแน่นอนThat sounds good/great/fun.
ฟังดูดี ฟังดูสุดยอดมาก ฟังดูน่าสนุกนะ
การตอบปฏิเสธ (Refusing)
I must say sorry, but I really cannot go.
ต้องขอโทษด้วยนะ ไปไม่ได้จริงๆThank you for your invitation but I’ve been very busy recently.
ขอบคุณที่ชวนนะ แต่ตอนนี้ฉันยุ่งอยู่ช่วงนี้I’m afraid I won’t be able to come.
ดิฉันเกรงว่าคงจะไปไม่ได้นะคะSorry, I’d love to but I already had an appointment.
ขอโทษที ฉันก็อยากไปนะ แต่บังเอิญว่าดันฉันมีนัดแล้วอะI really don’t think I can go, and I must say sorry.
ฉันคิดว่าฉันคงจะไปไม่ได้จริงๆค่ะ ต้องขอโทษนะคะ
5 ข้อสรุปหลักการใช้ประโยคชักชวนแนะนำ
- Let me ใช้สำหรับขออนุญาตและเสนอตัวส่วน Let’s (Let us) ใช้สำหรับการชักชวน
- ในประโยคที่ตามหลังกริยา เกี่ยวกับการเสนอแนะ หรือแนะนำ ไม่จำเป็นต้องใส่ should นะจ้ะ
แต่ต้องมี Verb infinitive ตามหลังด้วย เช่น
I suggest we (should) eat on time.
ฉันขอแนะนำว่าเราควรจะกินข้าวตรงเวลานะ
I advise that we (should) not eat too much.
ฉันขอแนะนำว่า เราไม่ควรรับประทานมากเกินไป
- การที่เราจะใช้ Shall I +V. Infinitive…นั้นส่วนใหญ่จะใช้กับการเสนอตัวแต่ส่วนของการใช้ Shall we+ V. Infinitive…
ใช้สำหรับการเสนอแนะชักชวน - การใช้ Why don’t we + V. Infinitive… มีความหมายเป็นได้ทั้งถามธรรมดาและการชักชวนก็ได้ขึ้นอยู่กับ บริบท ที่ใช้งานนะคะ
เช่นตัวอย่างด้านล่าง
Why don’t we like him?
ทำไมพวกเราถึงไม่ชอบเขากันนะ
- How about ตามด้วยกริยาเติม …ing (Gerund) มีความหมายเป็นการชักชวนแบบเป็นกันเอง ใช้กับคนที่เราสนิทด้วย
เช่น
How about having a dinner at the new restaurant?
ไปกินข้าวเย็นที่ร้านอาหารที่เปิดใหม่กันดีกว่า
ครูหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนที่น่ารักทุกคนจะได้รับประโยชน์และความรู้จากการอ่านบทความนี้นะคะ ขอให้สนุกและมีความสุขกับการเรียนนะคะทุกคน
เลิฟๆ