การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ
some any

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Some และ Any คือ?

สำหรับคำว่า Some และ Any นั้นมีความหมายว่า “บางอันหรือบางสิ่ง” ซึ่งเรามักจะใช้นำหน้าคำนาม ทั้งคำนามที่นับได้และคำนามที่นับไม่ได้ โดยวันนี้พี่จะแบ่งประเภทของการใช้ Some/Any ดังนี้ครับ

 

รูปแบบของการใช้ some

1) some + คำนามนับได้พหูพจน์

เราสามารถใช้ some ตามด้วยคำนามนับได้ที่เป็นพหูพจน์ (plural countable nouns) จะให้ความหมายว่า “มีอยู่บ้าง” “บางอัน” เช่น

There are some apples in the basket.

(มีแอปเปิ้ลอยู่บ้างในตระกร้า)

There are some children in the playground.

(มีเด็กๆ บางคนอยู่ในสนามเด็กเล่น)

some apples

some children

 

2) some + คำนามนับไม่ได้ทั่วๆ ไป

เราสามารถใช้ some ตามด้วยคำนามนับไม่ได้ทั่วไปได้ด้วยเช่นกัน มีความหมายเหมือนกับข้อที่แล้ว เช่น

There is some milk in the fridge.
(มีนมในตู้เย็นอยู่บ้าง)

some milk

 

3) some ในคำถามยื่นข้อเสนอ

หากน้องๆ ต้องการถามให้สักคนว่า ต้องการ…บ้างไหม? น้องๆ สามารถใช้ some นำหน้าคำนามนั้นๆ ได้ เช่น

Would you like some coffee?
(คุณต้องการรับกาแฟไหม?)

some coffee

 

รูปแบบของการใช้ any

โดยส่วนใหญ่น้องจะเจอคำว่า any ในประโยคคำถาม (แปลว่า บ้างไหม) หรือปฏิเสธ (แปลว่า ไม่มี…เลย) ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้

1) any + คำนามนับไม่ได้

เราสามารถใช้ any ตามด้วยคำนามนับไม่ได้ เช่น

Is there any sugar in the kitchen?
(มีน้ำตาลอยู่ในครัวบ้างไหม?)

I don’t have any money.
(ฉันไม่มีเงินเลย)

any sugar

any money

 

2) any + คำนามนับได้พหูพจน์

เราสามารถใช้ any ตามด้วยคำนามนับได้ที่เป็นพหูพจน์ (plural countable nouns) ซึ่งหากอยู่ในรูปประโยคบอกเล่าจะแปลว่า “ใดๆ ก็ได้” เช่น

You can travel to any places.
(คุณสามารถไปเที่ยวที่ไหนก็ได้)

We can wear any shoes.
(เราสามารถใส่รองเท้าคู่ใดก็ได้)

any places

any shoes

 

นี่ก็เป็นกฎพื้นฐาน 5 ข้อ ของการใช้ Some และ Any พื้นฐานที่น้องๆ ควรจะต้องรู้ก็คือเรื่องคำนามนับได้/นับไม่ได้ซึ่งจะช่วยให้น้องๆ ใช้ Some และ Any ได้แม่นยำ และน้องๆ สามารถดูวิดีโอเรื่องนี้จากช่องของ NockAcademy ได้ด้านล่างเลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การดำเนินการของเซต

การดำเนินการของเซตประกอบไปด้วย ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน คอมพลีเมนต์ของเซต และผลต่าง เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราจะได้ใช้ในบทต่อๆไป เรื่องนี้จึงค่อนข้างมีประโยชน์ในเรื่องของการเรียนเนื้อหาบทต่อไปง่ายขึ้น

เรียนรู้ความเหมือนที่แตกต่างของคำพ้อง

  น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยเห็นฝาแฝดกันมาบ้างใช่ไหมคะ แล้วรู้หรือเปล่าคะว่าในภาษาไทยเรานั้นก็มีฝาแฝดเหมือนกัน แต่ฝาแฝดนั้นถูกเรียกว่า คำพ้อง นั่นเองค่ะ หลายคำในภาษาไทยมีจุดที่เหมือนกันแต่ก็มีส่วนที่ต่างกันออกไปด้วย เพื่อไม่ให้สับสนว่าคำไหนคือคำไหน อ่านอย่างไร หมายความว่าอะไรกันแน่ วันนี้เราไปเรียนรู้เรื่องคำพ้องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำพ้อง   ความหมายของคำพ้อง     ประเภทของคำพ้อง     คำพ้องเสียง

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

บทความนี้จะพาน้อง ๆมารู้จักกับการคูณเศษส่วนและจำนวนคละ รวมถึงเทคนิคการคูณเศษส่วนและจำนวนคละที่ถูกต้องและรวดเร็ว หลังจากอ่านบทความนี้จบสิ่งที่จะได้รับก็คือหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละประเภทต่าง ๆ การตัดทอนเศษส่วนจำนวนคละและตัวอย่างการคูณเศษส่วนจำนวนคละที่เข้าใจง่ายและเห็นภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริงในห้องเรียน

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ

เรียนรู้เกี่ยวกับการบอกเวลา

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไป เรียนรู้เกี่ยวกับการบอกเวลา กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย Let’s go! การแบ่งประเภท     ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษา นะคะ  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้  

เทคนิคอ่านจับใจความ Skim and Scan

เทคนิคอ่านเร็วจับใจความในภาษาอังกฤษ (Skimming and Scanning)

เคยเป็นมั้ยว่าเจอบทความภาษาอังกฤษทีไร ปวดหัวทุกที ทั้งเยอะและยาว เมื่อไหร่จะอ่านจบกว่าจะตอบได้หมดเวลากันพอดี สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า อ่านแบบเร็ว (จ๊วด …) หรือ Speed Reading (ภาษาอีสาน จ๊วด แปลว่า เร็วเหมือนเสียงปล่อยจรวด) ถ้าเราสามารถอ่านได้เร็วเหมือนจรวดคงเป็นสิ่งที่ดีมาก ไปจ๊วดกันเลยกับเทคนิคอ่านเร็วทุกคน ก่อนอื่นจะต้องรู้จักกับประเภทของ Speed Reading กันก่อนค่ะ การอ่านแบบจับใจความสำคัญส่วนใหญ่แล้วเราจะเจอ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1