การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน + การใช้ Can/ Could/ Should

Picture of Krumaiyha
Krumaiyha
การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่เจอบ่อยและการใช้ Can, Could, Should กันนะคะ
ไปลุยกันเลย

 

มารู้จักกับประโยคคำสั่ง (Imperative sentence)

 

มารู้จักกับประโยคคำสั่ง

 

รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence

การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน

  • Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base form (V.1) ขึ้นต้นประโยคแล้วตามด้วยสิ่งที่จะสั่งให้ทำ หรืออาจใช้ Verb แค่คำเดียวก็ได้ เช่น

Speak English.

แปลว่า พูดภาษาอังกฤษสิ

Watch out!
แปลว่า ระวัง

Listen up.
แปล ฟังนะ

Sit here.
แปลว่า นั่งตรงนี้

  • ใช้ Verb ‘be’ ขึ้นต้นประโยค เช่น

Be on time.
แปลว่า ตรงเวลาด้วย

Be a good boy.
แปลว่า จงเป็นเด็กดี

  • Imperative sentence ในรูปแบบประโยคปฏิเสธ หากต้องการทำให้เป็นรูปแบบประโยคปฏิเสธ เพียงแค่วาง do not (don’t) หน้าคำกริยา จะได้โครงสร้าง Don’t + V.1 เช่น Don’t eat. = อย่ากิน
  • Imperative sentence ที่ขึ้นต้นด้วยกริยา ‘be’ ก็เช่นเดียวกัน เพียงวาง don’t หน้ากริยา be เช่น Don’t be silly. = อย่างี่เง่า

Imperative sentence
ในเชิงขอร้อง

Imperative Sentence ในเชิงขอร้อง

 

เราสามารถใช้ Imperative sentence ในเชิงขอร้องได้ โดยเพียงเติม Please (กรุณา)
เข้าไปวางไว้หน้าหรือท้ายประโยคก็ได้ เพื่อให้ดูสุภาพขึ้น เช่น

Please give me a chance.
= กรุณาให้โอกาสฉันด้วย

 

Walk faster, please.
= กรุณาเดินเร็วขึ้นด้วย

 

 ประโยคคำสั่ง(แบบชักชวน)

ประโยคคำสั่งแบบชักชวน

 

ประโยคคำสั่งที่ใช้ไนความหมายแบบชักชวนนี้ มีอยู่รูปเดียวคือ Let’s (Let us) เป็นการชักชวน แบบเป็นกันเอง เช่น เพื่อนชวนเพื่อนออกไปกินข้าว พี่ชวนน้องไปเที่ยว เป็นต้น โดยที่ผู้ถามอาจจะไม่ต้องการคำตอบแต่เป็นเพียงการชวนไปทำอะไรบางอย่าง อย่างมีจุดมุ่งหมาย จะเรียกว่าสั่งแบบชวนแบบนั้นก็ได้ค่ะ ซึ่ง มีโครงสร้าง ดังนี้นะคะ

 โครงสร้างประโยคคำสั่ง (แบบชักชวน)

 

” Let’s + V. infinitive…”


Ex. Let’s go to school, shall we?
ไปโรงเรียนกันเถอะ ป้ะ 

 

 

ตัวอย่าง

Let’s go to the canteen.
ไปโรงอาหารกันเถอะ

เพิ่มเติม: บางประโยคอาจจะมีคำว่า Shall we? ต่อท้ายด้วยเพื่อเป็นการชักชวน
แปลว่า ไปกันเถอะ(ป้ะ) เข้ามาด้วย ซึ่งใช้กับเพื่อนหรือการชวนคนสนิท

ประโยคแนะนำ

 

ประโยคแนะนำ

ประโยคคำแนะนำส่วนใหญ่แล้วจะเจอในรูปแบบของประโยคบอกเล่าซึ่งจะมีความหมายในทางเสนอแนะมากกว่า บางครั้งก็เป็นการให้ความคิดเห็นและแนะว่าควรทำหรือไม่ควรทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถือเป็นการเสนอแนะโดยตรงมีโครงสร้างดังนี้ค่ะ

ตัวอย่าง

I suggest that you should study more.

ฉันขอเสนอแนะว่า เธอควรเรียนให้มากกว่านี้นะ

 

I advise we should go to school more early.
ฉันขอแนะนำว่า เราควรไปโรงเรียนเช้ากว่านี้

 

I propose that we should not skip school.
ฉันขอเสนอว่า เราไม่ควรโดเรียนนะคะ

 

I ought to help my friend’s homework.
ฉันควรจะ ช่วยเพื่อนของฉันทำการบ้าน


ประโยคคำถามที่ใช้บ่อยในการชักชวน

ประโยคคำถามที่ใช้บ่อยในการชักชวน (2)

การชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อมเพื่อแสดงถึงการเกรงใจซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ต้องการคำตอบหรือการตกลงไม่ตกลงจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้

  • ถามแบบรูปประโยค Yes/No Question :

Shall we…………?

เรา………กันดีมั้ย

  • ถามแบบรูปประโยค Wh- Questions :

Why don’t we………..?

เรา .. … กันมั้ย

How about……….?

…………….ดีมั้ย

  • ถามแบบรูปประโยค  Indirect Questions :

I wonder if we
ฉันไม่ทราบว่า
เรา………….มั้ย

ตัวอย่าง:

Shall we catch a bus to school now?

เราไปขึ้นรถบัสไปโรงเรียนกันเถอะ

Shall we read books at the library?

เราไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดกันเถอะ

Why don’t we walk to school?

ทำไมเราไม่เดินไปโรงเรียนกันนะ (หรือ เดินไปโรงเรียนกันดีกว่า)

How about playing a football after school?

เย็นนี้ เล่นฟุตบอลกันเถอะ

I wondered if we should sit with them?

ฉันว่าเราควรไปนั่งกับพวกเขากันเถอะ

 

การตอบรับ (Accepting)

 

การตอบรับ (Accepting)

I’d be delighted to (go).
ฉันเต็มใจที่จะไปมาก

That’s a good/ great idea/ What a good idea.
เป็นความคิดที่ดีมากๆ

That’s interesting.
น่าสนใจดี

Yes/ Of course/ Certainly/Absolutely/ Surely
ไปแน่นอน

 การตอบปฏิเสธ (Refusing):

การตอบปฏิเสธ (Refusing)

 I’m afraid I won’t be able to come.
ดิฉันเกรงว่าคงจะไปไม่ได้นะคะ

Sorry, I’d love to but I already had an appointment.
ขอโทษที
ฉันก็อยากไปนะ แต่บังเอิญว่าดันฉันมีนัดแล้วอะ

 I really don’t think I can go, and I must say sorry.
ฉันคิดว่าฉันคงจะไปไม่ได้จริงๆค่ะ
ต้องขอโทษนะคะ

 

การใช้ Can VS Could และ  Shall VS Should

 

การใช้ Can VS Could และ Shall VS Should

 

Can VS Could

  • can (V.1) บอกความสามารถในปัจจุบัน ส่วน could บอกความสามารถในอดีต (V.2)

Daniel can fix a bike.
= แดเนียลสามารถซ่อมจักรยานได้

Nanny could eat like a horse when she was younger.
= แนนนี่สามารถกินจุได้ตอนที่เธอยังเล็ก

 

  • ใช้ถามเพื่อขออนุญาต ร้องขอบางสิ่งบางอย่าง หรือ เสนอการช่วยเหลือ
    แต่ว่า could จะมีความสุภาพมากกว่า can

Can you open the door please?
กรุณาเปิดประตูให้ด้วย

Could you please fill in this information?
รบกวนช่วยกรอกข้อมูลนี้ได้ไหมคะ/ครับ?

  •  ใช้บอกสิ่งที่เป็นไปได้หรือเกิดขึ้น โดย could บอกสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต
    มีโครงสร้าง คือ could +   have + past participle (V.3)

 

It can be very easy for him.
= มันง่ายมากสำหรับเขา

I could have studied better.
= ฉันสามารถเรียนให้เก่งกว่านี้ได้

Shall/Should

การใช้: ใช้ในการ เสนอแนะ ชี้แนะ เสนอความช่วยเหลือ

  • Excuse me teacher, shall I carry your bags for you?
    = ขอโทษนะคะครู ให้หนูถือกระเป๋าช่วยมั้ยคะ

อธิบายเพิ่มเติม: ในปัจจุบันไม่ค่อยมีการใช้ shall แล้ว ส่วนใหญ่จะเจอ Shall I …หรือ Shall we…ในประโยคแบบสุภาพ หรือ ในประโยคชักชวน

 

Should แปลว่า ควรจะ… ใช้ในการแนะนำ

  • Should we take a taxi to school?
    พวกเราควรจะไปโรงเรียนด้วยแท็กซี่ดีมั้ย

 

ครูหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนที่น่ารักทุกคนจะได้รับประโยชน์และความรู้จากการอ่านบทความนี้นะคะ ขอให้สนุกและมีความสุขกับการเรียนนะคะทุกคน
อย่าลืมทบทวนบทเรียนจากวีดีโอด้านล่างนี้กับทีชเชอร์กรีซด้วยนะคะ
เลิฟๆ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โจทย์ปัญหาเลขยกกำลัง

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง          เราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังที่เรียนมาไม่ว่าจะเป็น การคูณ การหาร เลขยกกำลัง และการเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเลขยกกำลัง รวมทั้งไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากมาย  ในบทความนี้จะกล่าวถึงการนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังไปใช้แก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ตัวอย่างที่ 1 – 3 ตัวอย่างที่ 1  เด็กชายศิระนำแท่งลูกบาศก์ไม้ขนาด 5³ ลูกบาศก์เซนติเมตร  มาจัดวางในลูกบาศก์ใหญ่ที่มีความยาวของแต่ละด้านเป็น

ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย ความเป็นมาของลิลิตชั้นยอดของเมืองไทย

ลิลิตตะเลงพ่าย ขึ้นชื่อว่าเป็นยอดของลิลิต ที่แต่งดีที่สุด โดยบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนTรรมของโลก เกริ่นมาเพียงเท่านี้น้อง ๆ ก็คงจะอยากรู้ที่มาและเรื่องของลิลิตตะเลงพ่ายมากขึ้นกว่าเดิมใช่ไหมคะ ถ้าอย่างนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องสำคัญของไทยเรื่องนี้กันเลยค่ะ   ลิลิตตะเลงพ่าย ความเป็นมา   ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส รัตนกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามเดิมของพระองค์คือ พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช     สมเด็จพระมหาสมณเจ้า

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ สำหรับบางเหตุการณ์ความรู้เรื่องความน่าจะเป็นเพียงอย่างเดียว  อาจไม่เพียงพอที่จะช่วยตัดสินใจได้  จำเป็นจะต้องหาองค์ประกอบอื่นมาช่วยในการตัดสินใจด้วย  นั่นคือผลตอบแทนของการเกิดเหตุการณ์นั้น ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ⇐⇐ ผลตอบแทนของเหตุการณ์อาจหมายถึง ผลตอบแทนที่ได้หรือผลตอบแทนที่เสีย  เช่น  ในการเล่นแทงหัวก้อย  ถ้าออกหัว พีชจะได้เงิน 2 บาท และถ้าออกก้อย พอลจะต้องเสียเงิน 3 บาท เงิน 2 บาทที่พอลจะได้รับเป็นผลตอบแทนที่ได้ 

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be เกริ่นนำ เกริ่นใจ เรื่องอดีตนั้นไม่ง่ายที่จะลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวชีวิตของใครคนหนึ่งที่เราเอาใจใส่ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรที่จะให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจเรื่องง่าย ๆ อย่าง Past simple tense ซึ่งเป็นโครงสร้างประโยคที่เราใช้ในการเล่าเรื่องราวในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เมื่อกี้ ไปจนถึงเรื่องของเมื่อวาน  ภาษาไทยของเราเองก็ใช้โครงสร้างประโยคนี้บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เราอยากจะเล่าเรื่องของเรา ของใครคนอื่นที่เราอยากจะเม้ามอยกับคนรอบข้างอ่ะ

การตั้งคําถามทางสถิติ

การตั้งคําถามทางสถิติ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ไว้อย่างละเอียด ก่อนอื่นน้องมาทำความเข้าใจกับความหมายของ “คำถามทางสถิติ” คำถามทางสถิติ  หมายถึง คำถามที่มีคำตอบหรือคาดว่าจะได้รับคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ รวมถึงคำถามที่ต้องการคำตอบซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างแล้วนำมาจำแนก  คำนวณ หรือวิเคราะห์เพื่อใช้ตอบคำถามนั้น คำถามทางสถิติจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาได้ มีกลุ่มบุคคลหรือสิ่งที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย สามารถคาดการณ์ได้ว่าคำตอบที่จะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ตัวอย่างคำถามทางสถิติ คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติ อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมสีทาบ้าน แต่ยี่ห้อควรเป็นอย่างไร

เรียนรู้เรื่องกาพย์ยานี 11 พร้อมเคล็ดลับการแต่งกาพย์แบบง่ายดาย

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทเรียนภาษาไทยที่ได้ทั้งสาระความรู้ และความสนุกไปพร้อม ๆ กัน เชื่อว่า น้อง ๆ หลายคนคงเคยได้อ่านหรือได้เรียนเกี่ยวกับการแต่งกาพย์กลอนกันมาบ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘กาพย์ยานี 11’ และต้องบอกว่ากาพย์ชนิดนี้มีวรรณคดีหลาย ๆ เรื่องที่ใช้ในการแต่งบทประพันธ์ หรือเราเองก็มักจะได้เริ่มการแต่งกาพย์ชนิดนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ด้วยรูปแบบของฉันทลักษณ์ที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ได้กำหนดสระหรือคำเป็นคำตายแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการทบทวน และเพิ่มเติมความรู้ให้กับน้อง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1