การออกเสียงสระในภาษาอังกฤษ: English Vowel Sounds

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ อาทิตย์ที่แล้วพี่ได้อธิบายเรื่องการออกเสียงพยัญชนะในภาษาอังกฤษกันไปแล้ว คราวนี้เราจะมาลองดูเสียงสระในภาษาอังกฤษกันครับว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!
vowel sounds

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

English Vowels

น้องๆ คงทราบกันดีอยู่แล้วใช่มั้ยครับว่าสระในภาษาอังกฤษนั้นมีทั้งหมด 5 ตัวด้วยกัน คือ a, e, i, o และ u โดยที่พยัญชนะ y ก็จะใช้เป็นเสียงสระได้เช่นกันครับ

ที่นี่พี่จะแบ่งประเภทของเสียงสระออกเป็น 3 ประเภทง่ายๆ คือ

1) Long vowels (สระเสียงยาว)

2) Short vowels (สระเสียงสั้น)

3) Other vowels (สระเสียงอื่นๆ) *โดยส่วนใหญ่จะเป็นสระเสียงผสมครับ

โดยพี่จะให้สระแต่ละตัวมีทั้งเสียงยาว (Long vowels) และเสียงสั้น (Short vowels) และเสียงอื่นๆ อีก 5 เสียง ดังนั้นเราจะได้เสียงสระทั้งหมด 15 เสียงที่จะมาเรียนรู้กันในวันนี้ครับ

 

Vowel Sounds of ‘A’

สระตัวแรกนั่นก็คือตัว ‘a’ นั่นเองครับ

เสียง long a /eɪ/ จะเหมือนเสียงตัว a เลย ออกเสียงว่า “เอ” เช่น

long a /eɪ/

 

เสียง short a /æ/ จะออกเสียงว่า “แอะ” เช่น

short a /æ/

Vowel Sounds of ‘E’

ตัวต่อมาก็คือตัว ‘e’ ครับ

เสียง long e /i/ จะออกเสียงเหมือนตัว e เลย ออกเสียงว่า “อี” เช่น

long e /i/

 

เสียง short e /ɛ/ จะออกเสียงว่า “เอะ” เช่น

short e /ɛ/

 

Vowel Sounds of ‘I’

ต่อมาคือตัว ‘i’ ครับ

เสียง long i /ɑɪ/ จะออกเสียงเหมือนตัว i เลย ออกเสียงว่า “ไอ” เช่น

long i /ɑɪ/

 

เสียง short i /ɪ/ จะออกเสียงว่า “อิ” เช่น

short i /ɪ/

 

Vowel Sounds of ‘O’

สระตัวต่อมาคือ ‘o’ ครับ

เสียง long o /oʊ/ จะออกเสียงว่า “โอว” (ห่อปากตอนท้าย) เช่น

long o /oʊ/

 

เสียง short o /ɑ/ จะออกเสียงว่า “เอาะ” เช่น

short o /ɑ/

 

Vowel Sounds of ‘U’

ตัวสุดท้ายคือตัว ‘u’ ครับ

เสียง long u /yu/ จะออกเสียงเหมือนตัวมันเลยครับ ออกเสียงว่า “ยู” เช่น

long u /yu/

 

เสียง short u /ʌ/ จะออกเสียงว่า “อะ” เช่น

short u /ʌ/

 

Vowel Sounds of ‘Y’

เราลองมาดูเสียงตัว ‘y’ กันครับ ซึ่งมีความพิเศษที่มันสามารถเป็นได้ทั้งสระและพยัญชนะ โดยถ้าเป็นเสียงสระจะออกเสียงเหมือนเสียง long e /i/ “อี” และเสียง long i /ɑɪ/ “ไอ” ครับ เช่น

y long e /i/

 

y long i /ɑɪ/

Other Vowels

สำหรับเสียงอื่นๆ จะมีทั้งหมด 5 เสียงดังนี้ครับ

เสียง other u /ʊ/ จะออกเสียงว่า “อุ” เช่น

other u /ʊ/

 

เสียง oo sound /u/ จะออกเสียงว่า “อู” เช่น

oo sound /u/

 

เสียง aw sound /ɔ/ จะออกเสียงว่า “ออ” เช่น

aw sound /ɔ/

 

เสียง oi sound /ɔɪ/ จะออกเสียงว่า “ออย” เช่น

oi sound /ɔɪ/

 

เสียง ow sound /aʊ/ จะออกเสียงว่า “อาว” (ห่อปากตอนท้าย) เช่น

ow sound /aʊ/

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ Vowel Sounds หรือเสียงสระในภาษาอังกฤษ เรื่องนี้เป็นพื้นฐานแต่ก็จำเป็นมากๆ ในทักษะการฟังและการพูดในชีวิตประจำวัน สำหรับน้องๆ ป. 6 สามารถฝึกได้โดยเริ่มจากดูการ์ตูนภาษาอังกฤษง่ายๆ ก่อนก็ได้ครับ เรื่องที่พี่ชอบมากก็คือ Peppa Pig ครับ พี่ขอแนะนำ 🙂 แล้วถ้าอยากรู้ว่าคำไหนออกเสียงอย่างไร อย่าลืมใช้ Dictionary หรือ Google ช่วยด้วยนะครับ

อย่าลืมทบทวนเสียงพยัญชนะได้ที่ เสียงพยัญชนะภาษาอังกฤษ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และยกตัวอย่างประกอบ อธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์น้องๆสามารถทบทวน การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ได้ที่  ⇒⇒ การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ⇐⇐ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (probability) คือ  อัตราส่วนระหว่างจำนวนเหตุการณ์ที่สนใจ (n(E)) กับจำนวนแซมเปิลสเปซ (n(S)) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน ใช้สัญลักษณ์ “P(E)”  แทนความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ โดยที่ 

ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนไทยมาอย่างยาวนาน น้อง ๆ หลายคนก็คงจะรู้จักและเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ แต่ทราบไหมคะว่าวรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาอย่างไร และทำไมถึงมาเป็นบทละคร มีความสำคัญอย่างไรจึงมาอยู่ในบทเรียนวิชาภาษาไทย เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์     รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลและมีเค้าโครงเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดียเป็นคนแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต แม้จะไม่ปรากฏปีที่วรรณคดีเรื่องดังกล่าวเข้ามาเผยแผ่ในไทยอย่างแน่ชัด แต่ด้วยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ทำให้นักวิชาการคาดการณ์ว่าเป็นช่วงสมัยอยุธยา และในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินได้ทรงประพันธ์เพื่อให้ละครหลวงเล่น ก่อนที่ต่อมาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่

ศึกษา นิทานเวตาล เรื่องที่10 และคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง

​ นิทานเวตาล เป็นนิทานเรื่องเล่าที่แฝงไปด้วยคุณค่าและคติธรรมมากมาย หากแต่เต็มไปด้วยคุณค่า สำหรับฉบับแปลไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์มีด้วยกัน 10 เรื่อง เรื่องที่อยู่ในแบบเรียนภาษาไทย คือเรื่องสุดท้าย ดังนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในนิทานเรื่องนี้เพื่อถอดความหมายและศึกษาคุณค่าทั้งด้านวรรณศิลป์ ด้านเนื้อหา และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยเลยค่ะ   ตัวบทเด่นใน นิทานเวตาล เรื่องที่10   บทที่ 1  

ภาษาชวา มลายู ในภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร?

น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าในภาษาที่เราใช้พูดและใช้เขียนกันอยู่นี้ มีคำไหนบ้างที่ถูกหยิบยืมมาจากต่างประเทศ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและศึกษาลงลึกถึงภาษาชวาและมลายู เป็นอีกหนึ่งภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของการยืมคำจากภาษาชวา มลายู     ทางตอนใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงทำให้มีการติดต่อค้าขายสานสัมพันธ์ไมตรีกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเดิมทีชาวชวาและชาวมลายูเคยใช้ภาษามลายูร่วมกัน ต่อว่าชาวชวามีภาษาเป็นของชนชาติตัวเอง แต่ก็ยังมีบางคำที่คล้ายคลึงกับภาษามลายูอยู่ 1. คำยืมภาษาชวา เพราะอิทธิพลของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องดาหลังและอิเหนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมถูกนำมาปรับปรุงและประพันธ์เป็นบทละคร โดยในเรื่องมีภาษาชวาอยู่เยอะมาก ทำให้เป็นที่รู้จักและถูกหยิบยืมมาใช้ในการประพันธ์เรื่อยมา

+ – × ÷ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความนี้จะพูดถึงขั้นตอนการหาคำตอบของการ + – × ÷ เศษส่วนและจำนวนคละระคน ซึ่งน้อง ๆ จะสามารถหาคำตอบ แสดงวิธีทำและหาคำตอบออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล

เสภาขุนช้างขุนแผน

เสภาขุนช้างขุนแผน จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนัก

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนเสภาและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวรรณคดีว่าเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อเรื่องและการประพันธ์ มีมากมายหลายตอน หลายสำนวนและหลายผู้แต่ง แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้ศึกษากันในวันนี้เป็น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ เสภาขุนช้างขุนแผน   ขุนช้างขุนแผนสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากพงศาวดารทำให้ทราบว่าขุนแผนรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระพันวษา หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2034-พ.ศ 2072 ต่อมามีการนำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนสุภาพและบทเสภาโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1