การตั้งคำถามโดยใช้ Can และ Could

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการใช้กริยาช่วยคือ Can และ Could กันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย
can could

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Can และ Could คืออะไร?

ถ้าเรียกตามหลักภาษาแล้ว Can และ Could จะอยู่ในกลุ่มกริยาที่มีชื่อว่า Modals เป็นกริยาช่วยประเภทหนึ่ง ซึ่งก็จะมีกริยาอีกหลายๆ ตัวที่เป็น Modals เช่น will, would, should, เป็นต้น

Can และ Could นั้นปกติแล้วจะแปลว่า “สามารถ” โดยจะมีหลักการใช้เบื้องต้นดังนี้

1) ใช้ถามเกี่ยวกับความสามารถ (ask about ability)
2) ใช้เพื่อขออนุญาต (ask for permission)

 

การใช้ถามเกี่ยวกับความสามารถ

เราสามารถใช้ Can/Could เพื่อบอกความสามารถ (ability) ของเราได้ ตัวอย่างเช่น

I can swim.

(ฉันว่ายน้ำได้)

 

Tony can dance.

(โทนี่เต้นได้)

 

หรือถ้าเป็นความสามารถที่เราทำได้ในอดีต (ปัจจุบันทำไม่ได้แล้ว) ให้ใช้คำว่า could เช่น

She could swim.

(เธอเคยว่ายน้ำได้) *ปัจจุบันว่ายน้ำไม่ได้แล้ว

 

I could speak French.

(ฉันพูดภาษาฝรั่งเศสได้) *ปัจจุบันพูดไม่ได้แล้ว

 

ดังนั้นหากเราต้องการถามใครสักคนว่า “คุณสามารถ…ได้ไหม?” เราจะทำได้ดังนี้

can could

 

ตัวอย่าง

Can you speak Thai?

(คุณพูดภาษาไทยได้ไหม?)

ตอบ: Yes, I can./No, I can’t.

 

Can Tony dance?

(โทนี่เต้นได้ไหม?)

ตอบ: Yes, he can./No, he can’t.

 

Can she roll her tongue?

(เธอม้วนลิ้นได้ไหม?)

ตอบ: Yes, she can./No, she can’t.

can you?

 

การใช้เพื่อขออนุญาต

นอกจากจะใช้ถามเกี่ยวกับความสามารถแล้ว เรามักจะใช้ can/could ในการขออนุญาตได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น

Can I borrow your rubber?

(ฉันขอยืมยางลบของคุณได้ไหม?)

 

Can I use your computer?

(ฉันขอใช้คอมพิวเตอร์ของคุณได้ไหม?)

 

Can I bring my girlfriend with me?

(ผมสามารถพาแฟนสาวไปกับผมด้วยได้ไหม?)

can I?

 

การใช้ Could นั้นมีความหมายเหมือนกับ Can แต่จะมีความเป็นทางการและสุภาพมากกว่า เรามักใช้กับการขออนุญาตผู้ที่อาวุโสกว่า หรือคนที่เราเพิ่งรู้จัก และมักลงท้ายด้วยคำว่า please ตัวอย่างเช่น

Could you pass me some sugar, please?

(คุณช่วยส่งน้ำตาลมาให้หน่อยได้ไหม?

 

Could you give us a moment, please?

(คุณช่วยให้เวลาเราสักครู่ได้ไหม?)

 

Could you explain that topic for me, please?

(คุณช่วยอธิบายหัวข้อนั้นให้ฉันทีได้ไหม?)

could you?

 

นี่ก็เป็นหลักในการใช้ Can และ Could ในการตั้งคำถามแบบเข้าใจง่ายๆ หวังว่าน้องๆ จะเอาไปลองใช้ในชีวิตประจำวันกันนะครับ โดยน้องๆ สามารถชมวิดีโอเกี่ยวกับการใช้ Can และ Could เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นด้านล่างนี้ได้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

บทความนี้ ได้นำเสนอ การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก โดยที่น้องๆจะได้รู้จักกับ บทนิยามของเลขยกกำลัง ซึ่งจะทำให้น้องๆรู้จักเลขชี้กำลังและฐานของเลขยกกำลัง และสามารถหาค่าของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวกได้ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเลขยกกำลังผ่านนิยามของเลขยกกำลัง ดังต่อไปนี้ บทนิยามของเลขยกกำลัง บทนิยาม  ถ้า a แทนจำนวนใด ๆ และ n แทนจำนวนเต็มบวก “a ยกกำลัง n” เขียนแทนด้วย aⁿ  มีความหมายดังนี้ a

ประพจน์และการเชื่อมประพจน์

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประพจน์ การเชื่อมประพจน์ และการหาค่าความจริง ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้เป็นภาษาของคณิตศาสตร์ เราจะเห็นตัวเชื่อมประพจน์ในทฤษฎีบทต่างๆในคณิตศาสตร์ หลังจากอ่านบทความนี้ น้องๆจะสามารถบอกได้ว่าข้อความไหนเป็นหรือไม่เป็นประพจน์ และน้องๆจะสามารถทำข้อสอบเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ได้

จุด

จุด : เรขาคณิตวิเคราะห์

จุด จุด เป็นตัวบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ เช่น ตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ ในเรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์ จุดใช้บอกตำแหน่งในระนาบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น   ระยะทางระหว่างจุดสองจุด เราสามารถหาระยะทางระหว่างจุดสองจุดได้ โดยใช้สูตร โดยจะกำหนดให้  และ  เป็นจุดในระนาบ เราจะได้ว่าระยะห่างระหว่างจุดทั้งสองหาได้จาก ตัวอย่าง ระยะห่างระหว่าง A(1,1) และ

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง ระยะห่างของเส้นตรง มีทั้งระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรง และระหว่างเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกัน ซึ่งจากบทความเรื่องเส้นตรง น้องๆพอจะทราบแล้วว่าเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกันความชันจะเท่ากัน ในบทความนี้น้องๆจะทราบวิธีการหาระยะห่างของเส้นตรงที่ขนานกันด้วยซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการหาสมการเส้นตรงได้ด้วย ระยะห่างระหว่างเส้นตรงกับจุด จากรูปจะได้ว่า  โดยที่ A, B และ C เป็นค่าคงที่ และ A, B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน ตัวอย่าง1  หาระยะห่างระหว่างจุด (1, 5) และเส้นตรง 2x

เรียนออนไลน์ คณิตศาสตร์

การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์

การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์ การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์ คือการตรวจสอบคู่อันดับว่าคู่ไหนเป็นความสัมพันธ์ที่ตรงกับเงื่อนไขที่กำหนด จากที่เรารู้กันในบทความเรื่อง ความสัมพันธ์ว่า r จะเป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r เป็นสับเซตของ A × B แต่ถ้าเราใส่เงื่อนไขบางอย่างเข้าไป ความสัมพันธ์ r ที่ได้ก็อาจจะจะเปลี่ยนไปด้วย แต่ยังคงเป็นสับเซตของ A × B เหมือนเดิม

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1