หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง” หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tenseพร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และเทคนิคการจำและนำ Tense ไปใช้กันจร้า ซึ่ง Simple Present Tenseและ Present Continuous Tense นั้นมีสิ่งที่เหมือนกันคือ อยู่ในรูปปัจจุบัน (Present) เหมือนกัน แต่ก็มีบางกรณีที่ใช้บอกอนาคตได้ จะเป็น Tense อะไรนั้น ต้องไปดูกันอีกทีน๊า หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ

ความหมายของ Present Simple Tense 

 

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (2)

Present แปลว่า ปัจจุบัน  ส่วน Simple แปลว่า ธรรมดา ดังนั้น Present Simple Tense จึงเป็นประโยคที่มี โครงสร้างแบบง่าย ๆ ธรรมดา ที่พูดถึงเหตุการณ์ในปัจจุบัน (Present), ลักษณะนิสัย Habits, ความจริง (Truth) อื่นๆ นั่นเองจร้า

 

 ใช้เพื่อพูดถึงเหตุการณ์ ลักษณะนิสัย (Habits) เช่น

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (3)

I always get up at 6 o’clock.
ผม/ฉันตื่นนอน เวลา 6 โมง เสมอ

We watch a movie every weekend.
พวกเราดูหนังทุกๆวันหยุดสุดสัปดาห์

Jimmy likes walking to school everyday.

แปล จิมมี่ชอบการเดินไปโรงเรียนทุกวัน
***ระวังด้วยนะ แม้จะมี walking ในประโยค แต่ประโยคนี้ มีโครงสร้างของ Present simple tense นะจ้ะ ไม่ใช่ Present continuous tense ดูได้จากหน้า walking มีกริยาหลัก (like)อยู่  จุดนี้ผิดบ่อยมากๆ

ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็น ความจริง เป็นนิรันดร ข้อเท็จจริง (Truth) เช่น


The sun rises in the east.
แปล ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิตย์ตะวันออก

Bangkok is the capital city of Thailand.
แปล  กรุงเทพ เป็นเมืองหลวง ของประเทศไทย

หรือ ในคำคมต่างๆ ที่มักใช้บ่อยๆ เช่น

Time waits for no man.
เวลาไม่เคยคอยใคร

Time flies.
เวลาผ่านแล้วผ่านไป

รูปประโยคของ Present Simple Tense

 

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (4)

 

  1. ประโยคบอกเล่า

โครงสร้างของประโยคบอกเล่า :  Subject + Verb.1 + Object + (คำบอกเวลา)

ทั้งนี้คำกริยาช่องที่ 1 นั้นจะมีการเติม s หรือ es ถ้าหากประธานของประโยคเป็นเอกพจน์ (He, She, It) แต่ถ้าประธานเป็น I, You หรือประธานพหูพจน์ (You (หลายคน), We, They) ให้คงรูปคำกริยานั้น ๆ ไว้เช่นเดิม เช่น

 

My auntie gives a red envelope to me every Chinese New Year.

แปล คุณป้าของฉันให้ซองอั่งเปาในทุกๆเทศกาลตรุษจีน

 

They sit in the front of the row often.
แปล พวกเขานั่งแถวหน้าบ่อยๆ

**ประโยคนี้ประธานคือ They เป็นพหูพจน์ กริยาคือ enjoy จึงไม่ต้องเติม -s หรือ -es ที่ท้ายกริยา

ข้อสังเกต :

หลักการเติม s,es นั้นง่ายนิดเดียว คือ คำกริยาที่ลงท้ายด้วย sh, ch, o, s, ss, x, z ให้เติม es เมื่อประธานของประโยคเป็นเอกพจน์ (He, She, It, A dog, John) เช่น

ตัวอย่าง:

Johnny fixes a printer at work.
จอนนี่ซ่อมเครื่องปริ้นในที่ทำงาน

 

  1. ประโยคคำถาม

โครงสร้างของประโยคคำถามใน Present Simple Tense มีสองรูปแบบคือ

 

  • แบบที่ 1 : Verb to be + Subject + Object/Complement + (คำบอกเวลา) ?  เช่น

 

ประโยคบอกเล่า: Tina is Danniel’s twin sister.
แปล ตีน่าเป็นน้องสาวฝาแฝดของแดนเนียล

ประโยคคำถาม: Is Tina Danniel’s twin sister?
แปล ตีน่าเป็นน้องสาวฝาแฝดของแดนเนียลเหรอ

  • แบบที่2: การใช้ Wh-question กับ do/does เช่น
    What do you like? หรือ What do you dislike? คุณชอบ หรือ ไม่ชอบอะไร
    What does he/she like ? จะแปลว่า เขา หรือ เธอชอบอะไร 


    นักเรียนสามารถแต่งประโยคตามโครงสร้างง่ายๆได้ดังนี้ค่ะ Subject + like or dislike + V.ing. จะแปลว่า ฉัน หรือ ผม ชอบ หรือ ไม่ชอบ การ… อาจจะมีคนสงสัยว่า “V.ing” นี้หมายถึงอะไร ขอตอบเลยละกันว่า มันก็คือ Gerund นั่นเองค่ะ

    เช่น

     

    Baifern likes drawing a picture.
    แปล ใบเฟิร์นชอบการวาดรูป

การใช้ Present Continuous Tense

 

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (5)

 

โครงสร้างประโยค Present Continuous Tense:

 

Subject + is, am, are + V.ing

 

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (6)

 

ตัวอย่างการแต่งประโยค Present Continuous Tense:

  • อธิบายสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น เช่น

    My brother is playing a football right now.
    น้องชายของผมกำลังเล่นฟุตบอลอยู่ตอนนี้

  • บอกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในระหว่างช่วงเวลานี้ ความฮิตของเหตุการณ์ปัจจุบัน บนโลกโซเซียลต่างๆ
    เช่น


    Is she having a Tiktok account?
    หล่อนมีบัญชี Tiktok มั้ยนะ

  • อธิบายสิ่งหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่มีการวางแผน ล่วงหน้าไว้แล้ว
    เช่น

    They are leaving for a shift soon.
    พวกเขาจะไปเข้ากะเร็วๆนี้

คำบอกเวลาของ Present Continuous Tense เช่น

 

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (7)


right now = ตอนนี้
now= ตอนนี้
at the moment =ขณะนี้
at this moment = ขณะนี้

 

หลักการเติม ” –ing”

 

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (8)

 

  1. คำกริยานั้นมีสระเสียงสั้น a, e, i, o, u อยู่หน้าพยัญชนะท้าย หรือคำกริยานั้น ๆ มีตัวสะกดเพียงตัวเดียว ก่อนเติม -ing ให้เพิ่มตัวสะกด แล้วจึงเติม –ing นะจ้ะ เช่น

cut   จะได้  cutting

shop  จะได้  shopping

 

 

  1. หากคำกริยานั้นลงท้ายด้วย -e ให้ตัด -e ทิ้งแล้วเติม -ing เช่น

 

make   จะได้    making

smoke  จะได้  smoking

 

 

  1. ถ้าเจอคำกริยาที่มีสระ 2 ตัว (a, e, i, o, u) ให้เติม -ing ได้เลยเด้อ เช่น

 

cook   จะได้     cooking

read   จะได้     reading

 

  1. หากว่าคำกริยาที่ลงท้ายด้วย -ie ให้เปลี่ยน -ie เป็น y แล้วจึงเติม –ing ได้เลยจร้า เช่น

lie   จะได้     lying

die   จะได้     dying

 

 กริยาที่ไม่ใช้ใน Continuous Tenses

 

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (9)

ได้แก่ กริยาที่แสดงการรับรู้ (verbs of perception) แสดงภาวะของจิตใจ (state of mind) ความรู้สึก (feeling) หรือความสัมพันธ์ (relationship)

ได้แก่

matter = มีความสำคัญ

fit = เหมาะ

taste =ได้รส, รู้รส

belive = เชื่อ

feel = รู้สึก

know =รู้

contain =บรรจุ

smell= ได้กลิ่น

กริยาบางตัวไม่สามารถนำมาใช้ใน Present Continuous Tense ได้ ต้องใช้ในรูปของ Present Simple Tense เท่านั้น กริยาพวกนี้ ส่วนใหญ่เป็นกริยาที่เป็นนามธรรม แสดงความเป็นเจ้าของ หรือ กริยาที่เกี่ยวกับความรู้สึก นอกจากนั้นก็จะมี “คำกริยาที่เป็นนามธรรม” ด้านล่างเลยจร้า

 

  • คำกริยาที่เป็นนามธรรม (Abstract Verbs)
    to be, to want, to cost, to seem, to need, to care, to contain, to owe, to exist…

 

ผิด: I am seeming worried.
แปลว่า ฉันกำลังดูรู้สึกกังวล ซึ่งผิดแกรมม่าน๊า

ถูกต้อง: I seem worried.

แปลว่า ฉันดูกังวล  ( ต้องเปลี่ยนเป็น Present Simple Tense ทันทีเลย จร้า)

 

สรุป

Present SimpleTense+ Present Continuous Tense (10)

สรุปคือ ในบางกรณีของ Present Continuous Tense นั้นสามารถบอกอนาคตได้ เน้นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น แต่ Present Simple Tense นั้นจะเน้นเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน เป็นลักษณะนิสัยทั่วไป เป็นความจริง ทั้ง Simple Present Tense และ Present Continuous Tense อยู่ในตระกูล Present Tense หรือ Tense ที่ใช้ในปัจจุบัน แต่ก็มีข้อแตกต่างคือ ในบางกรณีของ Present Continuous Tense นั้นสามารถบอกอนาคตได้ เช่น

ตัวอย่างสรุป:

John goes to Europe often.
(จอห์นไปเที่ยวยุโรปบ่อยๆ)

John is going to Europe next week.
(จอห์นจะไปยุโรปบ่สับดาห์หน้า)
***แม้ว่ารูปประโยคนี้จะอยู่ในปัจจุบันกำลังทำ แต่ความหมายนั้นเป็นอนาคต ขอให้นักเรียนทุกคนอย่าลืมดูที่บริบทการใช้ด้วยน๊า

อย่าลืมดูวีดีโอทบทวนบทเรียนในหัวข้อ หลักการใช้  Simple Present Tense+ Present Continuous Tense กันด้วยเด้อ เลิฟๆ

คลิกที่ปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนให้สนุกกันจร้า 

Sit back, relax, and enjoy your lesson!

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คติธรรมในสำนวนไทย

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง   สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม   สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย

ประมาณค่าทศนิยมด้วยการปัดทิ้งและปัดทด

บทความนี้จะพูดถึงเรื่องพื้นฐานของทศนิยมอีก 1 เรื่องก็คือการประมาณค่าใกล้เคียงของทศนิยม น้อง ๆคงอาจจะเคยเรียนการประมาณค่าใกล้เคียงของจำนวนเต็มมาแล้ว การประมาณค่าทศนิยมหลักการคล้ายกับการประมาณค่าจำนวนเต็มแต่อาจจะแตกต่างกันที่คำพูดที่ใช้ เช่นจำนวนเต็มจะใช้คำว่าหลักส่วนทศนิยมจะใช้คำว่าตำแหน่ง บทความนี้จึงจะมาแนะนำหลักการประมาณค่าทศนิยมให้น้อง ๆเข้าใจ และสามารถประมาณค่าทศนิยมได้อย่างถูกต้อง

รอบรู้เรื่องคำไทย คำศัพท์คำไหนภาษาไทยยืมมาจากต่างประเทศ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยสนุก ๆ พร้อมสาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันก็เช่นเคยเราจะมาเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะภาษาไทยที่เราใช้กันในปัจจุบันก็มีที่มาจากการยืมคำจากภาษาต่างประเทศมา และไม่ได้มีการยืมแค่ในภาษาบาลีหรือสันสกฤษเท่านั้น แต่ยัลมีภาษาอื่น ๆ อีก เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนมาทำความรู้จักกับคำจากภาษาต่างประเทศที่เราใช่ในภาษาไทยกันให้ลึกขึ้นอีกระดับหนึ่ง ถ้าพร้อมแล้วก็ไปเริ่มเรียนกันได้เลย     สาเหตุการยืมของภาษาไทย มาเริ่มกันที่จุดเริ่มต้น หรือสาเหตุที่ทำไมคนไทยจึงต้องหยิบยืมคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้

โจทย์ปัญหาการคูณทศนิยม

จากบทความที่แล้วเราได้วิเคราะห์โจทย์ปัญหาการบวกและการลบทศนิยมไปแล้ว บทความนี้จึงจะเป็นการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับการคูณ รวมไปถึงการแสดงวิธีทำที่จะทำให้น้อง ๆ เข้าใจ และสามารถนำไปใช้ได้จริง

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น ระบบสมการเชิงเส้น คือระบบสมการที่มีดีกรีเป็นหนึ่ง ซึ่งก็คือเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็นหนึ่งนั่นเอง ซึ่งในตอนมัธยมต้นน้องๆได้เรียนระบบสมการเชิงเส้น 2 ตัวแปรไปแล้ว ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เช่น แล้วเราก็แก้สมการหาค่า x, y  (ซึ่งอาจจะมีคำตอบหรือไม่มีก็ได้) แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น n ตัวแปร นั่นก็คือน้องๆจะต้องหาคำตอบของตัวแปร n ตัวตัว ซึ่งการหาคำตอบนั้นมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้เมทริกซ์ (ซึ่งน้องๆจะได้เรียนในบทความถัดๆไป) หรือการแก้สมการธรรมดาและในข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้นให้น้องๆหาคำตอบในระบบสมการเชิงเส้นที่ไม่เกิน 3 ตัวแปร เพราะถ้าเกินกว่านั้นอาจจะใช้เวลาในการหาคำตอบมาก

ความสัมพันธ์ที่ “รู้จักฉัน รู้จักเธอ” ของเศษส่วนและทศนิยม

เศษส่วนและทศนิยมมีความสัมพันธ์กันคือสามารถเขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปของทศนิยมหรือเขียนทศนิยมให้อยู่ในรูปของเศษส่วนได้โดยค่าของเศษส่วน และทศนิยมนั้นจะมีค่าเท่ากัน บทความนี้จะอธิบายหลักการความสัมพันธ์ของเศษส่วนและทศนิยมพร้อมวิธีคิดที่เห็นภาพ ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆจะได้รับจากบทความนี้ คือการเปลี่ยนเศษส่วนให้เป็นทศนิยมและการเปลี่ยนทศนิยมให้เป็นเศษส่วนแล้วยังมีเทคนิคการสังเกตง่ายๆที่จะสามารถทำให้เราทำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1