ประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่รักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูตัวอย่างประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions กันค่ะ ไปลุยกันเลย

ตารางเปรียบเทียบประโยคก่อนเข้าสู่บทเรียน: คำถาม Wh-questions VS Yes-no Questions

ตารางเปรียบเทียบ Wh questions VS Yes No questions

ประโยคคำถามแบบ Wh-question

“what”

ประโยคคำถามที่ใช้

would + Subject +like…

ประโยคคำถามแบบปรกติ
ด้วยการใช้ Yes-no Questions “Do…”
ประโยคคำถามที่ใช้
would +
Subject +like…
What cookie do you like? Would you like some cookie? Do you like dancing? Would you like to dance?
ถามตอบเกี่ยวกับความชอบทั่วๆไป เสนอ/ชวนให้ทำ…

มีความสุภาพมากกว่า

ถามเกี่ยวกับความชอบและไม่ชอบทั่วไป ชวนให้ทำอะไรบางอย่าง

ความหมายของ “would like”

 

would like ถูกใช้ในสองความหมายหลักๆด้านล่าง ตรงนี้เราจะใช้ รูปย่อ ของ  would ว่า (‘d) ในประโยคบอกเล่านะคะ
หรือ ชื่อเล่นของ  “would like ก็คือ ‘d like ” นั่นเอง


ความหมายแรก would like แปลเหมือนกับ wish หรือ want (ต้องการ, ปรารถนา) จะตามด้วย  to + verb infinitive (V. 1 ไม่ผัน)

เช่น I would like to study in the UK next month.

แปลว่า ฉันปราถนาที่จะไปเรียนต่อในประเทศอังกฤษ (UK = United Kingdom)

 

ความหมายที่สอง would like จะถูกใช้ กล่าวถึงสิ่งที่เราปรารถนาหรืออยากจะทำ แต่ไม่ได้ทำ
ในโครงสร้าง ” would like to +have + past participle  (V.3)

เช่น (A):  I would like to have been to the concert.
แปลว่า ฉันหวังว่าจะได้ไปคอนเสิร์ตบ้างจัง(แต่ความจริงแล้วไม่ได้ไป)
หรือสามารถเขียนอีกในรูปแบบที่คุ้นหูกันมากกว่า

ในรูปประโยค (B): I wish I’d have been to the concert.


***ประโยค (A)และประโยค (B)มีความหมายเหมือนกัน แต่ประโยคหลังจะสั้น และกระชับมากกว่าเด้อ
ตรงนี้เราจะเห็นว่า การใช้ would like to +…อาจจะสุภาพ แต่ในบางกรณีอาจเป็นการพูดที่เวิ่นเว้อมากเกินไป

 

ตำแหน่งและการใช้งาน

ตำแหน่งการใช้ would like

 

  1. would like ถูกใช้แบบเดิมกับทุกสรรพนามในประโยคบอกเล่า

Ex.  I would like some tea.

สำหรับประโยคปฏิเสธ มีโครงสร้างคือ ” Subject+ would not (wouldn’t)+ like+…”

 

Ex. I wouldn’t like to be here. = ฉันไม่อยากอยู่ที่นี่

 

***ข้อแตกต่างระหว่าง would like กับ  like

ข้อแตกต่างของ would like VS like

like ใช้บอกเล่าถึงสิ่งที่เราชอบมาตลอด เช่น

Ex. I like Lisa. She is always my favorite super star.
= ฉัน/ผม ชอบลิซ่า เธอเป็นดาราคนโปรดของฉัน/ผมมาโดยตลอด

คำศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับ “like” เมื่อ Parts of Speech เปลี่ยนไป

like (V.)
= ชอบ

คำเหมือน :favour, love, prefer

คำตรงข้าม : dislike = ไม่ชอบ

 

like (Adj.)
= น่าจะเป็นไปได้, เป็นไปได้, เหมือนว่าจะ

คำเหมือน :likely, equal, equivalent, same

คำตรงข้าม : unlike, unequal

= เหมือนกัน, คล้ายกัน, อย่างเดียวกัน

 

likely as not

as likely as not..
(Idm.)
แปล บางที, อาจเป็นไปได้

 

 

ส่วน would like นั้นจะใช้บอกเล่าถึงสิ่งที่คุณต้องการในขณะนั้น  ดังตัวอย่างด้านล่าง

Situation: Ordering a Thai menu from the waitress.

Robert: I’d like a Thai menu please. = ขอเมนูอาหารไทยด้วยครับ
Waitress: Here you are. = นี่ค่ะเมนู

 

2. would like สามารถตามด้วย noun หรือ to + verb

Ex. Would you like some tea or coffee?= คุณต้องการชาหรือกาแฟดีคะ/ครับ
Ex. Would you like to hang out with me? = คุณต้องการออกไปเที่ยวกับฉัน/ผม มั้ยคะ/ครับ

 3. would like to + V. infinitive (ต้องการที่จะ…แบบสุภาพ)

Ex. I would like to have a dinner with you.
= ฉันต้องการจะทานอาหารเย็นกับคุณ

4. would like ในรูปปฏิเสธ ตามโครงสร้างด้านล่าง

Subject + would + not + like + [to + verb]/noun + …

would not ย่อเป็น wouldn’t ได้

ตัวอย่างประโยค :

I wouldn’t like to have some sugar on my tea. = ฉันไม่ต้องการใส่น้ำตาลในชาของฉัน (เป็นวิธีปฏิเสธแบบสุภาพมากๆอีกวิธีหนึ่ง)

 

 

ประเภทของ Wh-Questions ที่ใช้กับ would like

ประเภทของ Question words using with would like

 

 When = เมื่อไร

เมื่อใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามเกี่ยวกับเวลา เช่น

Ex. When would you like to come? = คุณต้องการจะมาช่วงไหนคะ

 

Where = ที่ไหน

ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับสถานที่ เช่น

 ถาม: Where would you like to study?  = คุณอยากไปเรียนที่ไหนคะ/ครับ

ตอบ: I would like to study in the USA. = ฉันอยากไปเรียนที่อเมริกาค่ะ

Whom = ใคร (ใช้เป็นกรรม)

ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับบุคคล  เช่น

Ex.  Whom would you like to travel with? = เธอต้องการจะไปเที่ยวกับใครคะ/ครับ

How = อย่างไร/เท่าไร

How เป็นคำเดียวที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วย wh แต่เราสามารถใช้ how ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น

 Ex. How long would you like me to drive? = คุณต้องการใช้ฉันขับไกลแค่ไหนคะ/ครับ

Ex.  How deep would you like me to swim? = คุณต้องการให้ฉันว่ายน้ำลึกแค่ไหนคะ/ครับ

 

Which = อันไหน/สิ่งไหน

ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามเพื่อให้เลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ ทำว่าสิ่งไหน อันไหน ดังประโยคด้านล่างนะคะ

 Ex. Which one would you choose? = คุณต้องการอันไหนคะ/ครับ

 

 

ตารางสรุปโครงสร้าง Wh-Questions VS would like …

 

table of would like replacing "would like "

 

Wh-Questions กริยา (Verb) ประธาน( Subject) + like To VS For

To +V.inf.

= เพื่อที่จะ…

 

 

For + V. ing/ N.
= สำหรับ…

 

+ Noun/ Noun phrase

 

 

 

When (เมื่อไร)
Why (ทำไม)
Who (ใคร)
What (noun) ( อะไร )
Where (ที่ไหน)
would

 

 

Singular Nouns:

He, She, It, Danny,+like

 

Plural Nouns:

I, You, We, They, The members + like

 

 

How ( อย่างไร เท่าไร)
How many + N. (พหูพจน์) = มากเท่าไร
How much + N. (นับไม่ได้) = มากเท่าไร
How long ( ยาวนานเท่าไร)

 

 ตัวอย่างเพิ่มเติม:

What would you like to have for breakfast? 

มีความหมายเหมือนกันกับประโยคด้านล่าง ใช้อันไหนก็ได้ค่ะ แต่ประโยคด้านล่างจะสั้นและกระชับกว่านะคะ

What would you like for breakfast?

แปล คุณต้องการรับประทานอาหารเช้าอะไรดีคะ/ครับ

 

สรุปแล้วการใช้ would like ก็เหมือนกับการบอกความต้องการแบบสุภาพที่มักเจอในสถาณการณ์ที่เป็นทางการ และมักเจอร่วมกับกลุ่มคำที่สุภาพอื่นๆ เช่นกัน เช่น คำถามกลุ่ม Would you mind +…

รูปประโยค “Would you mind…” จะใช้ขออนุญาตในรูปแบบที่เป็นทางการ หรือขอร้องแบบสุภาพ โดยเราจะใช้กับรูปประโยคดังนี้

would you mind...

 

โครงสร้าง1: Would you mind + if + Subject + V. Infinitive…?

Would you mind if I go with you?

= คุณจะว่าอะไรไหมถ้าฉันจะไปกับคุณด้วย

 

โครงสร้าง2:  Would you mind + V. ing…?

Would you mind opening the door for me please?

= รบกวนคุณช่วยเปิดประตูให้หน่อยได้ไหม

 

ตัวอย่างประโยคและวลีในการตอบรับและปฏิเสธ:

 

Accepting and refusing ways in english

ตอบรับ (Accepting)

Sure! = แน่นอน
Of course. = ได้เลย
Not at all. = ยินดีค่ะ/ครับ
I don’t mind. = ไม่รังเกียจครับ/ค่ะ
My pleasure. = ด้วยความยินดี

 

ปฏิเสธ (Refusing)

Sorry, I’m busy.
= ขอโทษด้วย ไม่ว่าง


I’m afraid that I cannot do it.
= เกรงว่าจะไม่สามารถทำได้


I’m afraid that I cannot do it at the moment.
= เกรงว่าจะไม่สามารถทำได้ ณ ตอนนี้


I would like to apologize for it. I cannot go. (สุภาพมากๆ)

= ฉันอยากจะขอโทษ ฉันไปไม่ได้ 

 

เป็นยังไงกันบ้างคะทุกคนพอจะเข้าใจวิธีการใช้ would like to กับ ประโยคคำถามกลุ่ม Wh-questions กันมั้ยคะ อย่าลืมทบทวนวีดีโอบทเรียนเรื่อง

การใช้ Would like + Wh-questions ด้านล่างนะคะ แล้วเจอกันในบทความต่อไป See you!

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธี การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งสามารถทำได้โดยการจัดรูปของตัวแปรให้อยู่ด้านเดียวกันและตัวเลขอยู่อีกด้าน เพื่อหาค่าของตัวแปรนั้นๆ แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้การแก้อสมการนั้น น้องๆสามารถทบทวน อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ⇐⇐ หลักการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ในการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะทำคล้ายๆกับการแก้สมการ โดยมีหลักการ ดังนี้ จัดตัวแปรให้อยู่ข้างเดียวกัน และจัดตัวเลขไว้อีกฝั่ง (นิยมจัดตัวแปรไว้ด้านซ้ายของสัญลักษณ์อสมการ และจัดตัวเลขไว้ด้านขวาของสัญลักษณ์อสมการ) ถ้านำจำนวนลบ มาคูณ หรือ หาร สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ตรงกันข้าม ดังนี้

การคูณเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

บทความนี้ ได้รวบรวมตัวอย่าง การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ซึ่งทำได้โดยการใช้สมบัติการคูณของเลขยกกำลัง ทั้งสามสมบัติ ก่อนจะเรียนเรื่องการคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ให้น้องๆ ไปศึกษาเรื่อง การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก สมบัติของการคูณเลขยกกำลัง  ถ้า a เป็นจำนวนใดๆ m และ n เป็นจำนวนเต็มบวก แล้ว  1)   am x an

การใช้ประโยคเกี่ยวกับอาชีพ สัญชาติ ข้อมูลส่วนบุคคล และอาชีพที่อยากทำในอนาคต

สวัสดีนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการบอกข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวเราในภาษาอังกฤษกันค่ะ ได้แก่ ประโยคเกี่ยวกับอาชีพ สัญชาติ ข้อมูลส่วนบุคคล และอาชีพที่อยากทำในอนาคต พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัวกันค่ะ ไปลุยกันเลย   อาชีพ (Occupation)     ตารางคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอาชีพ คำศัพท์ แปล engineer วิศวกร actor นักแสดง YouTuber นักยูทูบเบอร์ Gamer

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ พูดอย่างไรให้ถูกต้อง

  คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่น้อง ๆ หลายคนอาจจะต้องพบเจอถ้าหากว่านับถือศาสนาพุทธ เพราะว่าเราอาจมีโอกาสได้สนทนากับพระระหว่างทำบุญก็ได้ วันนี้เราจะมาเรียนรู้คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์กันนะคะว่าแตกต่างจากคำราชาศัพท์สำหรับราชวงศ์และสุภาพชนทั่วไปอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ใช้อย่างไร     แม้คำว่าราชาศัพท์ จะสามารถแปลตรงตัวได้ว่าเป็นถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ แต่ในปัจจุบันนี้คำราชาศัพท์ยังครอบคลุมไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ และสุภาพชน หรือเรียกอีกนัยว่าคำสุภาพ สำหรับคำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์จะต่างกับราชวงศ์และสุภาพชน และยังขึ้นอยู่กับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์อีกด้วย โดยสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้

นิราศภูเขาทอง ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีที่แต่งโดยสุนทรภู่

นิราศภูเขาทอง   เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่องนิราศภูเขาทองผ่านหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่น้อง ๆ ทราบหรือเปล่าคะว่านิราศภูเขาทองคืออะไร และมีที่มาอย่างไร ก่อนอื่นมาดูความหมายของนิราศกันก่อนนะคะ นิราศ คือวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อเล่าถึงการเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยระหว่างการเดินทาง กวีก็จะนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ วิวทิวทัศน์หรือความเป็นอยู่ของผู้คนมาพรรณนา   หลังจากเข้าใจความหมายของนิราศแล้วก็ไปเริ่มเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของนิราศภูเขาทอง หนึ่งในกลอนนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีที่สุดของสุนทรภู่กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา   สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองขึ้นมาในสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่เจ้าหัว

ฟังก์ชันผกผัน

ฟังก์ชันผกผัน ฟังก์ชันผกผัน หรืออินเวอร์สฟังก์ชัน เขียนแทนด้วย เมื่อ เป็นฟังก์ชัน จากที่เรารู้กันว่า ฟังก์ชันนั้นเป็นความสัมพันธ์ ดังนั้นฟังก์ชันก็สามารถหาตัวผกผันได้เช่นกัน แต่ตัวผกผันนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นฟังก์ชันเสมอไป เพราะอะไรถึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นฟังก์ชัน เราลองมาดูตัวอย่างกันค่ะ ให้ f = {(1, 2), (3, 2), (4, 5),(6, 5)}  จะเห็นว่า f เป็นฟังก์ชัน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1