การใช้ There is และ There are ในประโยคคำถาม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.2 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “การใช้ There is There are ในประโยคคำถาม ” กันจ้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยเด้อ

 

There is/There are คืออะไร

 

M2 There is VS There are (2)

There is และ There are แปลว่า “มี”
“มีสิ่งใดดำรงอยู่” หรือ
“มีสิ่งใดเกิดขึ้น” นั่นเองจ้า
เมื่ออยู่ในประโยคคำถาม
จะแปลว่า มี…หรือเปล่า/มี…ไหม นั่นเอง

 

การสร้างประโยคคำถาม

M2 There is VS There are (3)

การทำให้ประโยคบอกเล่ากลายเป็นประโยคคำถามนั้นทำได้ ตามขั้นตอนง่ายๆ 4 ขั้น
ดังนี้เลยจ้า

1) นำ V. to be (Is/Are) ขึ้นหน้าประโยค
– Is ใช้กับประธานเอกพจน์ เช่น Tom, a cat, a person, etc.
– Are ใช้กับประธานพหูพจน์ เช่น students, members, people, etc.
2) ตามด้วย there
3) ตามด้วยคำนามที่เป็นประธานของประโยคบอกเล่า
4) แล้วใส่เครื่องหมาย Question mark (?) 

 

ตัวอย่างประโยคบอกเล่า
(รูปปัจจุบัน)
There+ is/are +N.

ประโยคคำถาม

Is/Are + there + N. ?

There is a bird on the tree.

มีนกอยู่บนต้นไม้

Is there a bird on the tree?
มีนกอยู่บนต้นไม้ไหม
There are students at the library.

มีนักเรียนอยู่ที่ห้องสมุด

Are there students at the library?
มีนักเรียน (หลายคน) อยู่ในห้องสมุดไหม
There are your family members here.

มีใครอยู่ที่นี่ไหม

Are there your family members here?
มีสมาชิกในครอบครัวของคุณอยู่ที่นี่หรือเปล่า
There are people at the park.

มีคนอยู่ที่สวนสาธารณะ

Are there people at the park?

ที่สวนสาธารณะมีคนไหม

จากตารางสามารถสรุปโครงสร้างการถามได้ดังนี้

 

  • ประโยคคำถามในความหมายว่า “มีหรือไม่”

ในการถามว่ามีสิ่งใดหรือไม่
เราจะใช้
Is there… และ Are there…
โดยโครงสร้างที่ใช้หลักๆแล้ว
จะมี 3โครงสร้าง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

Structure: “Is there + a/an + คำนามนับได้เอกพจน์”
แปลว่า มี…ไหม/มี…หรือเปล่า/มี…หรือไม่

 

Is there a car to rent?
มีรถให้เช่าไหม

Is there a dog in that house?
บ้านหลังนั้นมีสุนัขไหม

Is there a car on the road?
บนถนนมีรถไหม

Structure: “Is there + any + คำนามนับไม่ได้ ”
แปลว่า มี…ไหม/มี…หรือเปล่า/มี…หรือไม่

 

Is there any juice in the kitchen?
มีน้ำผลไม้ในครัวไหม

Is there any salt on the table?
มีเกลืออยู่บนโต๊ะไหม

Is there any water left?
มีน้ำเหลือไหม

Structure: “Are there + any + คำนามนับได้พหูพจน์”
แปลว่า มี…ไหม/มี…หรือเปล่า/มี…หรือไม่

 

Are there any gas stations nearby?
มีปั๊มน้ำมันใกล้ๆหรือเปล่า

Are there any schools for special students?
มีโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษหรือไม่

Are there any dangerous animals at the park?
มีสัตว์ที่เป็นอันตรายที่สวนสาธารณะหรือไม่

สรุปโครงสร้างการถาม-ตอบ

M2 There is VS There are (4)

Is there…?

Is there…?

Are there…?

Are there…?

Yes, there is. 

No, there isn’t.
Yes, there are.

No, there aren’t.

เทคนิคคือ  ถาม Is..ตอบ is ถาม Are…ตอบ are

การตอบคำถาม

 

M2 There is VS There are (5)

สำหรับคำนามนับไม่ได้ ซึ่งไม่มีรูปพหูพจน์ เราจะต้องใช้ there is เท่านั้น

There is/are ใช้กับ ตัวอย่างประโยคการตอบคำถาม
There is คำนามนับได้ เอกพจน์ There is one book on the cabinet.

มีหนังสือเล่มหนึ่งอยู่ในตู้

คำนามนับไม่ได้ There is some sugar on the table.

มีน้ำตาลอยู่บนโต๊ะ

There are คำนามนับได้ พหูพจน์ There are birds on the sky.

บนท้องฟ้ามีนก

 

  • ประโยคปฏิเสธ

การใช้ there is และ there are ในประโยคปฏิเสธ
หลักๆแล้วเราสามารถใช้ได้ 2 แบบ คือ

 

  • ใช้ not หลัง there is และ there are

 

เราสามารถใช้ there is not (เขียนย่อเป็น there isn’t) และ there are not
(เขียนย่อเป็น there aren’t) เพื่อสื่อว่า “ไม่ได้มีสิ่งใดอยู่”

 

โครงสร้าง:
“There isn’t/aren’t + ปริมาณ + คำนามนับได้”
เพื่อบอกว่าไม่ได้มีสิ่งนั้นในปริมาณเท่านั้น แต่มีมากหรือน้อยกว่า

ข้อควรรู้:

  • isn’t ย่อมาจาก is not + นามนับได้เอกพจน์ เช่น a rat, a cat
  • aren’t ย่อมาจาก are not + นามนับได้พหูพจน์ rats, cats
  • โครงสร้าง “There isn’t any + คำนามนับไม่ได้”
    หากต้องการบอกว่า ไม่มีสิ่งนั้นอยู่เลย ดังในตัวอย่างประโยคด้านล่าง

 

There isn’t any money left.
ไม่มีเงินเหลือแล้ว

 

  • ใช้โครงสร้าง “There aren’t any + คำนามนับได้พหูพจน์”
    เพื่อบอกว่าไม่มีสิ่งนั้นอยู่เลย
    ดังในตัวอย่างประโยคด้านล่าง

There aren’t any people here.
ไม่มีคนที่นี่เลย

 

  • นักเรียนสามารถบอกว่าไม่ได้มีสิ่งใด หรือ ใคร อยู่
    ในโครงสร้าง
    “There is no + คำนามนับได้เอกพจน์”
    ดังตัวอย่างประโยค

There is no one in the classroom.
ไม่มีใครอยู่ในห้องเรียน

 

  • ใช้โครงสร้าง “There is no + คำนามนับไม่ได้”
    แปลว่า ไม่มี…+ คำนามนั้นๆ
    ดังตัวอย่างประโยค

There is no juice in the refrigerator this week.
สัปดาห์นี้ไม่มีน้ำผลไม้ในตู้เย็น

 

  • ใช้โครงสร้าง “There are no + คำนามนับได้พหูพจน์”
    แปลว่า ไม่มี…+ คำนามนั้นๆ
    ดังตัวอย่างประโยค

There are no cows in the rice field.
ไม่มีวัวในนาข้าว

 

แบบฝึกหัด


M2 There is VS There are (7)

คำสั่ง: จงเติมคำในช่องว่างโดยเลือกใช้
There is/There are/Are there/Is there

 

  1. __________________any mistakes in this text?
  2. _________________ one question left.
  3. ___________________ no snails in my garden.
  4. ___________________ anybody here?
  5. _____________________nothing to do?
  6. ________________________seven days in a week?
  7. ____________________a lot of tea in the kitchen.

เป็นยังไงกันบ้างคะนักเรียน พอจะเข้าใจไวยากรณ์เรื่อง การใช้ There is There are ในประโยคคำถาม กันมากขึ้นมั้ยคะ
อย่าลืมดูคลิปวีดีโอเพื่อเป็นการทบทวนบทเรียนเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างเลยนะคะ สนุกมากๆเลย

คลิกปุ่มเพลย์ แล้วไปเรียนให้สนุกกับทีเชอร์กรีซได้เลยจ้า 

Have a good day!

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คุณศัพท์บอกความรู้สึก

การใช้คำคุณศัพท์และการบอกความรู้สึก

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ Descriptive Adjective การใช้คำคุณศัพท์บอกลักษณะและความรู้สึก กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า    ความหมายของคำคุณศัพท์     คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่

Profile-even if-only if- unless grammartical techniques

Even if, Only If, Unless ใช้ยังไงในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.  6 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคการใช้ Even if, Only if, Unless มาฝากกันค่ะ หลายคนที่อาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างแล้ว แต่อาจะจะลืมไปหรือบางคนอาจจะยังไม่เคยเรียนเลย ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้เราจะเริ่มกันใหม่ ไปลุยกันเลย ความหมายโดยรวมของ Even if, Only if, Unless คือ คำสันธานที่ใช้เชื่อมความขัดแย้งของประโยคเงื่อนไข ย้ำนะคะว่า

สัจนิรันดร์

ในบทความจะเขียนเกี่ยวกับวิธีการพิสูจน์การเป็นสัจนิรันดร์ของประพจน์ ซึ่งจะเน้นให้น้องๆเข้าใจหลักการของการพิสูจน์ สิ่งที่น้องจะได้จากบทความนี้คือ น้องจะสามารถพิสูจน์การเป็นสัจนิรันดร์ของประพจน์ได้และหากน้องๆขยันทำโจทย์บ่อยๆจะทำให้น้องวิเคราะห์โจทย์เกี่ยวกับสัจนิรันดร์ได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ

ศัพท์บัญญัติ

ศัพท์บัญญัติ เรียนรู้การยืมคำและบัญญัติขึ้นใหม่

น้อง ๆ หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่า ศัพท์บัญญัติ สักเท่าไหร่ บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับศัพท์บัญญัติที่ว่านั่นกันค่ะว่าคืออะไร มีที่มาและมีหลักเกณฑ์ในการสร้างอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้กันแล้ว ก็ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การบัญญัติศัพท์คืออะไร     การบัญญัติศัพท์ คือการกำหนดคำศัพท์จากภาษาต่างประเทศขึ้นมาใหม่ในภาษาไทย เพื่อใช้สื่อความหมายบางอย่างโดยเฉพาะในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่ง หรือเพื่อใช้ในการเขียนเอกสารของงานราชการ ตามเจตนาของผู้บัญญัติ ซึ่งคำศัพท์ที่เกิดจากวิธีการเช่นนี้จะเรียกว่า ศัพท์บัญญัติ โดยทั่วแล้วศัพท์บัญญัติมักจะมาจากภาษาอังกฤษ

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง

ระยะห่างของเส้นตรง ระยะห่างของเส้นตรง มีทั้งระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรง และระหว่างเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกัน ซึ่งจากบทความเรื่องเส้นตรง น้องๆพอจะทราบแล้วว่าเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกันความชันจะเท่ากัน ในบทความนี้น้องๆจะทราบวิธีการหาระยะห่างของเส้นตรงที่ขนานกันด้วยซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการหาสมการเส้นตรงได้ด้วย ระยะห่างระหว่างเส้นตรงกับจุด จากรูปจะได้ว่า  โดยที่ A, B และ C เป็นค่าคงที่ และ A, B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน ตัวอย่าง1  หาระยะห่างระหว่างจุด (1, 5) และเส้นตรง 2x

ฟังก์ชันผกผัน

ฟังก์ชันผกผัน ฟังก์ชันผกผัน หรืออินเวอร์สฟังก์ชัน เขียนแทนด้วย เมื่อ เป็นฟังก์ชัน จากที่เรารู้กันว่า ฟังก์ชันนั้นเป็นความสัมพันธ์ ดังนั้นฟังก์ชันก็สามารถหาตัวผกผันได้เช่นกัน แต่ตัวผกผันนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นฟังก์ชันเสมอไป เพราะอะไรถึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นฟังก์ชัน เราลองมาดูตัวอย่างกันค่ะ ให้ f = {(1, 2), (3, 2), (4, 5),(6, 5)}  จะเห็นว่า f เป็นฟังก์ชัน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1