การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน

ป6 การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน (Imperative sentence in daily life)กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด

ประเภทของประโยค ” Imperative sentence “

 

ป6 การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน

 

  • Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base form (V.1) ขึ้นต้นประโยคแล้วตามด้วยสิ่งที่จะสั่งให้ทำ หรืออาจใช้ Verb แค่คำเดียวก็ได้ เช่น

Stay strong. แปลว่า เข้มแข็งหน่อยสิ
Go for it. แปลว่า ลุยเลย

อธิบายเพิ่มเติม: ถ้าต้องการให้ประโยค Imperative สุภาพยิ่งขึ้น ควรเติม ‘do’ ไว้ข้างหน้า ตัวอย่างเช่น

 Do go to school.
แปล ต้องไปโรงเรียนนะ

Do have breakfast every morning.
แปล ต้องทานอาหารเช้าทุกๆ เช้านะ

 

  • ใช้ Verb ‘be’ ขึ้นต้นประโยค เช่น

Be kind.
จงมีเมตตา

Be careful.
ระวังตัวด้วย

Be yourself.
จงเป็นตัวของตัวเอง

 

  • Imperative sentence ในรูปแบบประโยคปฏิเสธ หากต้องการทำให้เป็นรูปแบบประโยคปฏิเสธ เพียงแค่วาง do not (don’t) หน้าคำกริยา จะได้โครงสร้าง
    Don’t + V. infinitive เช่น

Don’t eat late.
= อย่าทานข้าวสาย

Dont’ be nosiy!
= อย่าเสียงดังสิ

Don’t be the loser!
= อย่าเป็นไอ้ขี้แพ้

Don’t be lonely.
= อย่าเหงาเลย

 

  • Imperative sentence ที่ขึ้นต้นด้วยกริยา ‘be’ ก็เช่นเดียวกัน เพียงวาง don’t หน้ากริยา be เช่น

Don’t be silly.
= อย่างี่เง่า

Don’t be noisy here.
= อย่าเสียงดังที่นี่

Don’t be grumpy.
= อย่าวีน (อย่าอารมณ์เสียเลย)

 

Imperative sentence ในเชิงขอร้อง

 

ป6 การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน (2)

 

เราสามารถใช้ Imperative sentence ในเชิงขอร้องได้ โดยเพียงเติม Please (กรุณา)
เข้าไปวางไว้หน้าหรือท้ายประโยคก็ได้ เพื่อให้ดูสุภาพขึ้น เช่น

  • Please give me some money.
    = ขอตังค์หน่อยค่ะ
  • Please call back later.
    = กรุณาโทรกลับทีหลังด้วยนะคะ
  • Please hang up.
    = กรุณาตัดสายด้วยนะคะ
  • Could I have some water, please?
    = ขอน้ำเปล่าด้วยนะคะ
  • Could you open the window, please?
    =กรุณาเปิดหน้าต่างให้ด้วยนะคะ

 

ประโยคImperative sentence (แบบชักชวน)

 

ป6 การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน (4)

 

ประโยคคำสั่งที่ใช้ไนความหมายแบบชักชวนนี้ มีอยู่รูปเดียวคือ Let’s (Let us) เป็นการชักชวน แบบเป็นกันเอง เช่น เพื่อนชวนเพื่อนออกไปกินข้าว พี่ชวนน้องไปเที่ยว เป็นต้น โดยที่ผู้ถามอาจจะไม่ต้องการคำตอบแต่เป็นเพียงการชวนไปทำอะไรบางอย่าง อย่างมีจุดมุ่งหมาย จะเรียกว่าสั่งแบบชวนแบบนั้นก็ได้ค่ะ ซึ่ง มีโครงสร้าง ดังนี้นะคะ

 โครงสร้างประโยคคำสั่ง (แบบชักชวน)

 

” Let’s + V. infinitive…”


Ex. Let’s go to the library, shall we?
ไปห้องสมุดกันเถอะ

 

 

ตัวอย่าง

Let’s watch the movie tongiht, shall we?
คืนนี้ดูหนังกันเถอะ ป้ะ

เพิ่มเติม: บางประโยคอาจจะมีคำว่า Shall we? ต่อท้ายด้วยเพื่อเป็นการชักชวน
แปลว่า ไปกันเถอะ (ป้ะ) เข้ามาด้วย ซึ่งใช้กับเพื่อนหรือการชวนคนสนิท

 

ประโยคแนะนำที่เจอในชีวิตประจำวัน

ป6 การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน (5)

 

ประโยคคำแนะนำส่วนใหญ่แล้วจะเจอในรูปแบบของประโยคบอกเล่าซึ่งจะมีความหมายในทางเสนอแนะมากกว่า บางครั้งก็เป็นการให้ความคิดเห็นและแนะว่าควรทำหรือไม่ควรทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถือเป็นการเสนอแนะโดยตรงมีโครงสร้างดังนี้ค่ะ

 ตัวอย่าง

I suggest (that) you should take a bus to school.

ฉันขอเสนอแนะว่า เธอควรขึ้นรถบัสไปโรงเรียน

 

I advise we should go jogging everyday.
ฉันขอแนะนำว่า เราควรไปวิ่งทุกวัน

 

I propose (that) we should not miss the flight.
ฉันขอเสนอว่า ว่าเราไม่ควรตกเที่ยวบิน

 

I ought to help my mom wash the dishes.
ฉันควรจะ ช่วยคุณแม่ล้างจาน

 

I advise you should water your plants every day.
ฉันแนะนำให้คุณรดน้ำต้นไม้ทุกวัน

 

ในชีวิตประจำวันเราจะเจอกลุ่มประโยคคำถามเกี่ยวกับการ“ชักชวน

ป6 การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน (6)

ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็น การเสนอแนะชักชวนทางอ้อม เพื่อแสดงถึงการเกรงใจซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ต้องการคำตอบหรือการตกลงไม่ตกลงจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้

  • ถามแบบรูปประโยค Yes/No Question :

Shall we…………?

เรา………กันดีมั้ย

  • ถามแบบรูปประโยค Wh- Questions :

Why don’t we………..?

เรา .. … กันมั้ย

How about……….?

…………….ดีมั้ย

  • ถามแบบรูปประโยค  Indirect Questions :

I wonder if we
ฉันไม่ทราบว่า
เรา………….มั้ย

ตัวอย่าง:

ป6 การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน (7)

Why don’t we order some food?

สั่งอาหารกันดีกว่า

How about playing a computer game?

เล่นเกมคอมพิวเตอร์กันเถอะ

I wondered if we should hang out togheter?

เราออกไปเที่ยวกันดีหรือเปล่า

Shall we book a flight ticket?

เราจองตั๋วเครื่องบินกันดีมั้ย

Shall we go to the wedding?
เราควรไปงานแต่งกันหรือเปล่า

How about going to swim together?
ไปว่ายน้ำด้วยกันเถอะ 

 

 

การตอบรับ (Accepting)

 

ป6 การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน (8)

 

Yes!
ได้เลย

Sure!
แน่นอน

Of course!

แน่นอน

That’s a good/ great idea/ What a good idea.
เป็นความคิดที่ดีมากๆ

That’s interesting.
น่าสนใจดี

 Certainly/Absolutely/ Surely
อย่างแน่นอน

 การตอบปฏิเสธ (Refusing)

 

ป6 การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน (9)

 

 

Sorry, I can’t go.
ขอโทษด้วยนะ ฉันไปไม่ได้

Maybe next time.
ครั้งหน้าแล้วกัน

Sorry, I already had a plan.
ขอโทษนะพอดีว่ามีแผนแล้ว

 I’m afraid I won’t be able to come.
ดิฉันเกรงว่าคงจะไปไม่ได้นะคะ

Sorry, I’d love to but I already had an appointment.
ขอโทษที ฉันก็อยากไปนะ แต่บังเอิญว่าดันฉันมีนัดแล้วอะ

 I really don’t think I can go, and I must say sorry.
ฉันคิดว่าฉันคงจะไปไม่ได้จริงๆค่ะ
ต้องขอโทษนะคะ

 

ครูหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนที่น่ารักทุกคนจะได้รับประโยชน์และความรู้จากการอ่านบทความนี้นะคะ ขอให้สนุกและมีความสุขกับการเรียนนะคะทุกคน
เลิฟๆ

อย่าลืมกดปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนกันให้สนุกนะจ้ะ

Take care. ดูแลตัวเองดีๆด้วยน๊า

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

บทพากย์เอราวัณ

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องบทพากย์เอราวัณ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับเข้าสู่เนื้อหาภาษาไทยสนุก ๆ อีกแล้ว สำหรับเรื่องที่เราจะมาเรียนรู้กันวันนี้ เป็นบทเรียนที่ต่อจากครั้งที่แล้วเรื่องความเป็นมาของวรรณคดีอย่างบทพากย์เอราวัณ ซึ่งครั้งนี้เราจะมาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องนี้กัน ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจ คำศัพท์ กายิน         หมายถึง    กาย, ร่างกาย อมรินทร์   

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ การแยกตัวประกอบ ของจำนวนนับใด หมายถึง การเขียนจำนวนนับนั้นในรูปการคูณของ ตัวประกอบเฉพาะ  ซึ่งในบทความนี้ได้นำเสนอวิธีการ รวมถึง โจทย์การแยกตัวประกอบ ไว้มากมาย น้องๆสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ดวยตนเองโดยที่มีวิธีการแยกตัวประกอบ 2 วิธี ดังนี้ การแยกตัวประกอบ  โดยการคูณ  การแยกตัวประกอบ  โดยการหาร (หารสั้น)         ก่อนอื่นน้องๆมาทบทวน ความหมายของตัวประกอบและจำนวนเฉพาะ

ตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณและค่าความจริงของตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณ ตัวบ่งปริมาณ คือ สัญลักษณ์หรือข้อความที่เมื่อเราเอาไปเติมใน “ประโยคเปิด” แล้วจะทำให้ประโยคนั้นกลายเป็นประพจน์ ประโยคเปิด คือประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่ติดค่าตัวแปรที่ยัง “ไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ” โดยตัวแปรนั้นเป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ (Universe : U) ประโยคเปิด ยังไม่ใช่ประพจน์ (แต่เกือบเป็นแล้ว) เพราะเรายังไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ เช่น  “x มากกว่า 3” จะเห็นว่าตัวแปร คือ x ซึ่งเราไม่รู้ว่า x

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้ได้แนะนำการเขียน กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  ซึ่งจะเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ของอสมการทั้ง 5 สัญลักษณ์ คือ มากกว่า (>), น้อยกว่า (<), มากกว่าหรือเท่ากับ (≥), น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) และ ไม่ท่ากับ(≠) โดยเขียนแสดงบนเส้นจำนวน จุดทึบและจุดโปร่ง เราจะเลือกใช้จุดทึบ (•) และจุดโปร่ง (°) แทนสัญลักษณ์อสมการ ดังนี้ มากกว่า

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ อ่านอย่างไรให้ถูกต้อง

ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะชมสื่อต่าง ๆ หรือพูดคุยในชีวิตประจำวัน เราก็มักจะเจอคนที่อ่านออกเสียงคำควบกล้ำไม่ชัดอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะคำที่เป็น ร หรือ ล ทำให้การสื่อสารอาจผิดพลาดไปเลยก็ได้ ดังนั้น การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ให้ถูกต้องจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก บทเรียนในวันนี้ นอกจากน้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำว่ามีอะไรบ้างแล้ว ก็ยังจะได้รู้วิธีอ่านออกเสียงอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำควบกล้ำ คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์และใช้สระเดียวกัน

ส่วน 10 หรือ ส่วน 1000 แปลงเป็นทศนิยมกันได้หมดถ้าสดชื่น!

จากบทความที่แล้วเราได้ทราบความสัมพันธ์ของเศษส่วนและทศนิยมไปแล้ว เชื่อว่าน้อง ๆหลายคนคงเกิดคำถามในใจว่า แล้วถ้าเจอเศษส่วนที่ตัวส่วนไม่ใช่ 10, 100 หรือ 1000 ต้องทำอย่างไร บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยพร้อมกับแสดงวิธีคิดที่ทำให้น้อง ๆต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ง๊ายง่าย!

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1