การใช้ตัวเชื่อม (Connective words)

NokAcademy_Profile ม2 มารู้จักกับ (Connective Words)

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Getting Started! มาเริ่มกันเลย

 

NokAcademy_ ม2 มารู้จักกับ (Connective Words) (3)

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไป ทบทวนงานเรื่อง  การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) ที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อมในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay คือเรียงความเพราะฉะนั้นจะยาวกว่า Paragraph ที่เป็นเพียงย่อหน้าหนึ่งเท่านั้นนั่นเองค่ะ  และที่สำคัญถ้าเกิดว่างานเขียนภาษอังกฤษเราดี เราสามารถใช้ยื่นขอทุนไปเรียนต่างประเทศได้ด้วยนะคะ

โครงสร้างของการเขียนในภาษาอังกฤษต้องรู้

 

NokAcademy_ ม2 มารู้จักกับ (Connective Words)

โครงสร้างของการเขียนในภาษาอังกฤษประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
1. Introduction หรือบทนำ หรือส่วนแรกเพื่อเกริ่นให้ผู้อ่านรู้ว่าเรากำลังจะเล่าถึงสิ่งใดบ้าง
2. Body หรือเนื้อความ เป็นส่วนที่รวมเนื้อหา ทั้งนี้ Body อาจจะแยกย่อยเป็นหลายย่อหน้าก็ได้ค่ะ หน้าที่ของ Body คือการให้ข้อมูลเพิ่มเติม
โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนย่อยคือ

  •  Topic Sentence ซึ่งจะอยู่ส่วนแรกของของแต่ละ Body ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านทราบว่าเนื้อความย่อหน้านี้จะกล่าวถึงเรื่องอะไร
  •  Supporting sentences ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือขยายความจาก Topic sentence รวมถึงการยกตัวอย่าง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น
  • Concluding sentences เป็นการสรุปย้ำใจความสำคัญของย่อหน้าให้ผู้อ่านทราบอีกครั้งนั่นค่ะ

3.Conclusion หรือบทสรุป เป็นการทบทวนและย้ำให้ผู้อ่านทราบว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารอะไรให้ผู้อ่านรู้ โดยเนื้อหาเน้นรวบรวมใจความสำคัญจาก Introduction และ Body นั่นเองค่ะ

 

 ประเภทของการจัดระบบย่อหน้างานเขียน

NokAcademy_ ม2 มารู้จักกับ (Connective Words) (2)

มารู้จักกับประเภทและโครงสร้างงานเขียนในภาษาอังกฤษกันก่อนนะคะว่าเราควรจัดระบบย่อหน้ายังไงดี

  1. จัดตามลำดับเวลาที่เกิดขึ้น Chronological order
  2. เรียงลำดับตามความสำคัญ Spatial order เช่น การบรรยายลักษณะทางกายภาพ ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ การเดินทาง เป็นต้น
  3. เรียงลำดับตามความสำคัญของบริบทในเนื้อเรื่อง Climactic order
  4. เรียงลำดับตามหัวข้อสำคัญ Topical order

การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) Or Signal Words

NokAcademy_ ม2 มารู้จักกับ (Connective Words) (3)

 

ในภาษาอังกฤษนั้น signal แปลว่า สัญญาณ words แปลว่าคำ เมื่อนำมารวมกันแล้วจะแปลได้ว่า “คำลำดับความสำคัญ” เราจะเจอคำเหล่านี้บ่อยมากเมื่ออ่านงานเขียนในภาษาอังกฤษที่มีการลำดับความสำคัญในเนื้อเรื่อง ทำให้ผู้อ่านสามารถตามเนื้อความที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อได้มากขึ้น
ปรกติจะเจอ Signal words ในสถานการณ์ดังต่อไปนี้

 

ตัวอย่างของการแต่งประโยคด้วย การใช้ตัวเชื่อม (Connective words)

NokAcademy_ ม2 มารู้จักกับ (Connective Words) (2)

 

  1. เมื่อเราต้องการที่จะเล่าเรื่องราวที่มีลำดับขั้นตอน Chronological order สำหรับวิธีนั้นก็นับเป็นวิธีพื้นฐานที่ทุกๆ คนควรจะต้องรู้ทุกงานเขียนนั้นจะอ่านง่ายได้ก็ต่อเมื่อเรามีการเรียงลำดับเรื่องราวได้ชัดเจน เห็นภาพ และเรียงลำดับความสำคัญว่าอะไรมาก่อนมาหลังเพื่อที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการถึงเรื่องราวที่เรากำลังถ่ายทอดได้อย่างเป็นลำดับขั้น ซึ่งเราสามารถใช้คำได้ดังนี้ค่ะ

NokAcademy_ ม2 มารู้จักกับ (Connective Words) (4)

 

Firstly  อย่างแรกเลย
The first one อันดับแรก
First and foremost สิ่งแรกและสำคัญที่สุด
To start with มาเริ่มกับ
Secondly อย่างที่สอง
The second one ประการที่สอง
Thirdly  อย่างที่สาม
The third one ประการที่สาม

 

 

ดังตัวอย่างต่อไปนี้ค่า

In this world, there are three things that  I love the most.
Firstly, I love my cat because he is my beloved friend.
Secondly, I love my parents because they have unconditional love for me
since I was born.
Thirdly, I love studying as I can become smarter every day.

  1. เมื่อเราต้องการบรรยาย Spatial order วิธีนี้นั้นคล้ายๆ กับวิธีแรกนะคะ แต่เราจะไม่ใช้ตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้อง เปลี่ยนเป็นการบรรยายแทน และผู้อ่านจะเข้าใจทุกอย่างเอง เพราะบางครั้งนั้นการเล่าเรื่องโดยใช้ตัวเลขอาจจะทำให้ดูเป็นทางการเกินไปและไม่ลื่นไหลไปกับเนื้อเรื่อง เช่นถ้าเราอยากจะถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ที่เราเคยทำมา เราก็ควรจะเลือกใช้คำจำพวกนี้ค่ะ
    NokAcademy_ ม2 มารู้จักกับ (Connective Words) (5)

Begin with (เริ่มต้นที่)

After (หลังจาก)

Before (ก่อนที่จะ)

By the time (ในขณะเดียวกัน)

Then (หลังจากนั้น)

Next (ต่อไป)

มาลองอ่านดูเรื่องเล่าตัวอย่างกันเลยค่ะ

Today, I am going to begin with telling you my personal experience travelling to Bangkok the first time.
I took a taxi to the bus station. Then I called my friends to meet me. After that I took Grab from BTS to my apartment.
By the time I was in the car, I felt so tired. What a long day! Next, it would be a nice and comfortable bed to hit the hay.

 

  1. การใช้คำเชื่อมประโยคขัดแย้ง  Contrast Words ซึ่งใน ประโยคความรวมที่มีลักษณะใจความประโยคที่นำมารวมกันมีลักษณะขัดแย้งกัน เนื้อความไม่คล้อยตามกันไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันมักเจอคำเชื่อมเหล่านี้NokAcademy_ ม2 มารู้จักกับ (Connective Words) (6)

However (อย่างไรก็ตาม) + Sentence
Even though (แม้ว่า) + Sentence
Although (ถึงแม้ว่า)+ Sentence
Despite (ถึงอย่างไรก็ตาม) +Noun
Inspite of+Noun

ตัวอย่างประโยคการใช้งานเวลาเขียน ด้านล่างนะคะ

I enjoyed studying English the last semester; however, in this semester I love Math.
Despite Math, I do enjoy learning Arts.
Although she is lazy, she is the smartest girl in the class.
Even though May loves Tim, he already has a girlfriend.

  1. การใช้ประโยคกล่าวถึงอย่างเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
    “Cause and Effect Connections”
    Because of (เพราะว่า + คำนาม)
    NokAcademy_ ม2 มารู้จักกับ (Connective Words) (7)

    Because, Since (เพราะว่า)
    Accordingly (ดังนั้น)
    Consequently (ดังนั้น)
    According to (เนื่องจาก)
    for (เพราะว่า)
    As (เนื่องด้วย)
    Seeing that (เพราะว่า)
    Now that (เนื่องด้วยว่า)

 

เช่นตัวอย่างในประโยคด้านล่าง

Because of the climate change, we face the first snow in the North of Laos.
The higher temperature also has caused global warming.
Moreover, the increasing of water also affected the great flood last year.

 

  1. เมื่อต้องการที่จะ “สรุปใจความสำคัญของเรื่อง Conclusion” เพื่อที่จะหาที่ลงให้ได้ ในส่วนของการเขียนเรียงความ บทความ และพารากราฟนั้นจำเป็นที่จะต้องสรุปเนื้อหาทั้งหมดให้ผู้อ่านได้เข้าใจให้ได้ว่าที่อ่านมาทั้งหมดนั้น ท้ายสุดแล้ว เขาอ่านเรื่องอะไรอยู่ หรือ Main idea ของเนื้อเรื่องนั้น แท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่ เรามักจะต้องเจอคำแหล่านี้
    NokAcademy_ ม2 มารู้จักกับ (Connective Words) (8)

To sum up (โดยสรุป)
Finally (สุดท้ายนี้)
Last (สุดท้าย)
Lastly (อย่างสุดท้าย)
In conclusion (ในส่วนสรุป)
Last but not leat (สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด)

ลองดูตัวอย่างประโยคการใช้ด้านล่างได้เลยค่ะทุกคน

In conclusion, I am so thankful for my friends, parents, and teachers who always love and support me to accomplish great things in my life.

To sum up, there are three main ideas following which are having time to read, creating a good habit, eating on time.

Lastly, there are both pros and cons of working in the city. However,  people who want to diversify more income can do online work in order to avoid working in the city.

ลองฝึกแปลกันดูน๊า นักเรียนสามารถคอมเม้นต์ถามคำถามเพิ่มเติมได้ที่ใต้วีดีโอเลยจร้า

เป็นยังไงกันบ้างคะนักเรียนที่น่ารักทุกคน ครูหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะนำเทคนิคในการเขียนนี้ไปลองปรับใช้ดูนะคะ เจอกันใหม่กับบทเรียนต่อไป
อย่าลืมทบทวนบทเรียนในวีดีโอด้านล่างเมื่อตอนม.2 นะคะ เลิฟๆ

 

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

แยกให้ออก บอกให้ถูกสำนวน สุภาษิต คำพังเพยแตกต่างกันอย่างไร?

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคนกลับมาเข้าสู่เนื้อหาการเรียนภาษาไทยกันอีกเช่นเคย สำหรับวันนี้จะเป็นบทเรียนที่ทั้งสนุก มีสาระ และเป็นเนื้อหาที่เราต้องได้เจอบ่อย ๆ ในการเรียนภาษาไทยอย่างเรื่องสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย น้อง ๆ อาจจะเคยได้ผ่านหูผ่านตากันมาบ้างเพราะเป็นบทเรียนที่ได้เริ่มเรียนตั้งแต่ช่วงประถมศึกษาแล้ว แต่วันนี้เราจะมาเรียนรู้ในเชิงลึกขึ้นไปอีกเกี่ยวกับวิธีการสังเกตระหว่างสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยนั้นมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร มีตัวอย่างประกอบให้ทุกคนได้ดูด้วย ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็ไปลุยกับเนื้อหาของวันนี้ได้เลย   สำนวน สำนวน

วิธีพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดูอย่างง่ายๆ

การพูดสรุปความสำคัญอย่างไร ? น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยประสบปัญหาเวลาที่ต้องออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียนแล้วไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรให้เพื่อนกับครูเข้าใจ เพราะเนื้อหาที่เราจำมามันก็เยอะเสียเหลือเกิน บทเรียนภาษาไทยวันนี้จะช่วยให้น้อง ๆ รับมือกับปัญหาเหล่านั้นได้ เพียงแค่น้อง ๆ มีความเข้าใจในเรื่องการพูดสรุปความ วันนี้เรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยนะคะว่าการพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังหรือดูจะมีวิธีใดบ้าง   การพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู   การพูดคืออะไร   องค์ประกอบของการพูด   ผู้พูด คือผู้ที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะนำเสนอความรู้ความคิดเห็นให้ผู้ฟังได้รับรู้และเข้าใจ เนื้อเรื่อง

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ในบทความนี้จะกล่าวถึงฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ และฟังก์ชันที่เกิดจากการดำเนินการของค่า cosθ sinθ ซึ่งก็คือ tanθ และ cotθ นอกจากนี้ยังจะกล่าวถึงโคฟังก์ชันของฟังก์ชันตรีโกณมิติอีกด้วย ในบทความนี้สิ่งที่น้องๆต้องรู้ก็คือ วิธีการหาค่า cosθ และ sinθ จตุภาคของพิกัดจุดปลายส่วนโค้ง ซึ่งสามารถอ่านได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยค่ะ การวัดความยาวส่วนโค้ง ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ หลังจากที่น้องๆมีพื้นฐาน 2 เรื่องที่กล่าวมาแล้วเราจะเริ่มทำความรู้จักกับฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆกันค่ะ   ฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต ลำดับเลขคณิต คือลำดับที่มีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างคงที่ โดยจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนี้เราเรียกว่าผลต่างร่วม แทนด้วยสัญลักษณ์ d  โดยที่ d = พจน์ขวา – พจน์ซ้าย การเขียนลำดับเราจะเขียนแทนด้วย    โดยที่ คือพจน์ทั่วไปหรือเรียกอีกอย่างว่า พจน์สุดท้ายนั่นเอง   การหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต พจน์ที่1 n = 1     

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ อ่านอย่างไรให้ถูกต้อง

ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะชมสื่อต่าง ๆ หรือพูดคุยในชีวิตประจำวัน เราก็มักจะเจอคนที่อ่านออกเสียงคำควบกล้ำไม่ชัดอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะคำที่เป็น ร หรือ ล ทำให้การสื่อสารอาจผิดพลาดไปเลยก็ได้ ดังนั้น การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ให้ถูกต้องจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก บทเรียนในวันนี้ นอกจากน้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำว่ามีอะไรบ้างแล้ว ก็ยังจะได้รู้วิธีอ่านออกเสียงอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำควบกล้ำ คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์และใช้สระเดียวกัน

NokAcademy_ม3 การใช้ Yes_No Questions  และ Wh-Questions

การใช้ Yes/No Questions  และ Wh-Questions

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างและวิธีการแต่งประโยคคำถาม 2กลุ่ม ได้แก่ “การใช้  Yes/No Questions  และ Wh-Questions” หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Yes/No Questions คืออะไร?   Yes/ No Questions ก็คือ กลุ่มคำถามที่ต้องการคำตอบแน่ชัดว่า Yes ใช่  หรือ

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1