การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.

Picture of Krumaiyha
Krumaiyha
คำเชื่อม Conjunction

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc. กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด

คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร

 

ม.2การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and but or before after and etc.

คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc. ดังตัวอย่างด้านล่างเลยจ้า

ประเภทของ Conjunctions

ก่อนที่จะไปดูการใช้ and/ but/ or/ before/ after นั้น เราจะต้องรู้จัก ประเภทของ Conjunction กันก่อน ซึ่งเราสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ด้านล่างจ้า

คำเชื่อม Conjunction (3)

Coordinating conjunctions

 

Coordinating conjunction มีหลายตัวอยู่เหมือนกันนะคะ แต่ทั้งหมดก็ทำหน้าที่เป็นคำสันธานเชื่อมประโยค 2 ประโยค ที่มีความสำคัญไปในทิศทางเหมือนกัน(and) หรือขัดแย้ง (but, yet)สรุป (so) ครูขอยกตัวอย่างบางตัวที่สำคัญๆ เช่น

คำเชื่อม Conjunction (4)

And (และ) ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายไปในทางเดียวกัน (คล้อยตามกัน)

เช่น
I like raining, and he likes snowing.
ฉันชอบฝนและเขาชอบหิมะ

I like listening to a K-pop music, and he likes to dance.
ฉันชอบฟังเพลงเคป็อป และเขาชอบเต้น

yet / but  (แต่) ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายขัดแย้งกัน

เช่น

Fon loves swiming, but she dislikes getting wet.
ฝนชอบว่ายน้ำ แต่เธอไม่ชอบเปียก

 

or  (หรือ) ใช้กับประโยค ให้เลือก อย่างใดอย่างหนึ่ง

เช่น

Please call me Tom or Timothy.
แปลโปรดเรียกผมว่าทอมหรือทิโมธี

Would you like a dessert or an ice cream?
แปล คุณต้องการของหวานหรือไอศกรีมดีคะ

เทคนิคการจำ:ให้ท่องว่า FANBOYS

F for เพราะว่า
A and และ
N nor ไม่ทั้งสอง
B but แต่
O or หรือ
Y yet แต่
S so ดังนั้น

 

Subordinating conjunctions

คำเชื่อม Conjunction (5)

หากเราจะใช้ before และ after ให้ถูกต้องนั้น เราจะต้องรู้ก่อนว่า มันอยู่ในกลุ่มของ Subordinating conjunction  ซึ่งก็คือคำสันธานใช้เชื่อมประโยคใจความรองเข้ากับประโยคใจความหลัก 

ดังตัวอย่าง เช่น

คำเชื่อม Conjunction (8)

  • Before: “ก่อน” ดังตัวอย่างการใช้ เช่น

I used to work in a hotel before I went to England.
ฉันเคยทำงานในโรงแรมก่อนที่จะไปอังกฤษ
เพิ่มเติม: การใช้ before จะตามด้วยเหตุการณ์ที่เกิดทีหลัง

  • After: “หลัง” ดังตัวอย่างการใช้ เช่น

คำเชื่อม Conjunction (9)

After I graduated, I moved to  Australia.
หลังจากที่ฉันเรียนจบ ฉันก็ย้ายไปออสเตรเลีย

เพิ่มเติม: After จะตามด้วยเหตุการณ์ที่เกิดก่อน

 


ตัวอย่างอื่นๆ เช่น

After I had moved to Canada, I suddenly got married. หลังจากที่ฉันย้ายไปแคนาดา ฉันก็แต่งงานทันที

 

***จะเห็นได้ว่า ย้ายไปก่อน จึงแต่งงาน ตามโครงสร้างประโยค
Past Perfect ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดก่อน (After I had moved to Canada,) และมี Past Simple แทรกเข้ามาทีหลัง (I suddenly got married.)

 

  • Because : เพราะ + S. +V.

เช่น

I moved to Canada because I wanted to do my MA.
ฉันย้ายไปแคนาดาเพราะฉันต้องการเรียนปริญญาโท

 

  • Although/Though/Even though : ถึงแม้ว่า + S. +V.

ตัวอย่างเช่น

แบบมี (,): Although I want to move to another country, I am still working in Thailand because of my students.

แปล แม้ว่าฉันจะอยากย้ายไปต่างประเทศ แต่ฉันก็ยังทำงานที่ประเทศไทยเพราะนักเรียนของฉัน

แบบไม่มี (,): My brother is still working outside even though it is snowing.
แปล พี่ชายของฉันยังคงทำงานอยู่ข้างนอกแม้ว่าหิมะจะตก

 

  • Since :เพราะว่า/เหตุเพราะว่า/ในเมื่อ
    ตัวอย่างเช่น

I broke up with John since he has an affair.
ฉันเลิกกับจอห์นเพราะว่าเขามีชู้

***since ณ ที่นี้เมื่อเชื่อมประโยคกับประโยคจะมีความหมายเหมือนกับ because (เพราะว่า)

นอกจากนี้ยังมี Subordinating conjunctions ที่น่าสนใจอีก เช่น as if, in a way that, where, wherever,  when, so that, so, although, whereas, etc.

Correlative conjunctions

คำเชื่อม Conjunction (6)

Correlative conjunction คือ คำสันธานที่ต้องใช้คู่กันเสมอ เช่น

  • Not only…but also : ไม่เท่านั้น…แต่อีกด้วยการใช้ not only but also เชื่อมประธานนั้น มันจะมีประธานสองตัว และกริยาแค่ตัวเดียว  ให้อิงประธานตัวที่อยู่หลัง but also เสมอนะคะ

เช่น

Not only my mother but also my father wants to have a new house.
ไม่เพียงแต่แม่เท่านั้นแต่พ่อของฉันต้องการบ้านใหม่ด้วย

  • Both…and… : ทั้ง… และ…

เช่น

We are on both Facebook and Instagram.
พวกเราเล่นทั้ง เฟสบุค และ อินสตาแกรม

 

สรุปการใช้ Conjunctions ง่ายๆ

 

  • ใช้เชื่อมนามกับนาม หรือ Gerund กับ Gerund
    (V.ing ที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม)
    ตัวอย่างเช่น
    คำเชื่อม Conjunction (11)

Noun VS Noun:

I like eating avocados and oranges.
ฉันชอบกินอะโวคาโดและส้ม

Gerund VS Gerund:

Jogging, swimming, and hiking are my hobbies.
จ็อกกิ้ง ว่ายน้ำ และเดินป่าเป็นงานอดิเรกของฉัน

 

 

  • ใช้เชื่อมคำกริยากับคำกริยาตัวอย่างเช่น
    คำเชื่อม Conjunction (10)

They eat and sleep  here every day.
พวกเขากินและนอนที่นี่ทุกวัน

They dance and jump at the same time.
พวกเขาเต้นและกระโดดพร้อมกัน

  • ใช้เชื่อมนามกับสรรพนามตัวอย่างเช่น
    คำเชื่อม Conjunction (12)

Mark and she will get married next week.
มาร์คกับเธอจะแต่งงานกันในสัปดาห์หน้า

  • ใช้เชื่อมสรรพนามกับสรรพนามตัวอย่างเช่น
    คำเชื่อม Conjunction (13)

He and she are very smart.
เขาและเธอฉลาดมาก

  • ใช้เชื่อมคุณศัพท์กับคุณศัพท์ตัวอย่างเช่น
    คำเชื่อม Conjunction (14)

I am cute and beautiful.
ฉันน่ารักและสวย

He is smart and witty.
เขาเป็นคนฉลาดและมีไหวพริบ

 

  • ใช้เชื่อมกริยาวิเศษณ์กับกริยาวิเศษณ์ตัวอย่างเช่น
    คำเชื่อม Conjunction (15)

They are walking slowly and quietly.
พวกเขากำลังเดินช้าๆและเงียบๆ

He sings peacefully, and beautifully.
เขาร้องเพลงอย่างสงบและไพเราะ

 

  • ใช้เชื่อมประโยคกับประโยคตัวอย่างเช่น
    คำเชื่อม Conjunction (16)

They want to book a ticket, and I want to book a flight.
พวกเขาต้องการจองตั๋ว และฉันต้องการจองเที่ยวบิน

He likes going out, but I like staying at home.
เขาชอบออกไปข้างนอก แต่ฉันชอบอยู่บ้าน

 

เป็นยังไงกันบ้างคะนักเรียน พอจะเข้าใจการใช้คำเชื่อมในรูปแบบต่างๆกันมากขึ้นหรือยังเอ่ย
ขอให้นักเรียนสู้ๆนะคะ ครูเป็นกำลังใจให้น๊า นักเรียนสามารถทบทวนบทเรียนได้ที่วีดีโอด้านล่างนะคะ

กดปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนให้สนุกกันจ้า
Have fun! ขอให้สนุกน๊า

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่

จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่ เขียนอย่างไรให้ถูกกาลเทศะ

​จดหมายเป็นการสื่อสารที่มีรูปแบบเฉพาะ โดยผู้เขียนจะต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้ถูกต้อง เหมาะสมแก่ผู้รับ การเขียนจดหมายนั้นมีหลายแบบ แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือ จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่ เราจะมีวิธีเขียนจดหมายอย่างให้ถูกต้องและถูกกาลเทศะมากที่สุด เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนจดหมายถึงญาติผู้ใหญ่   การเขียนจดหมาย   1. ผู้ส่งจดหมาย 2. จดหมาย 3. ผู้รับจดหมาย   ตัวอย่างการเขียนจดหมาย   ​

เสภาขุนช้างขุนแผน

เสภาขุนช้างขุนแผน จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนัก

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนเสภาและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวรรณคดีว่าเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อเรื่องและการประพันธ์ มีมากมายหลายตอน หลายสำนวนและหลายผู้แต่ง แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้ศึกษากันในวันนี้เป็น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ เสภาขุนช้างขุนแผน   ขุนช้างขุนแผนสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากพงศาวดารทำให้ทราบว่าขุนแผนรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระพันวษา หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2034-พ.ศ 2072 ต่อมามีการนำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนสุภาพและบทเสภาโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ประพันธ์ โดยมุ่งหวังให้ละครเป็นตัวช่วยกล่อมเกลาจิตใจประชาชน แต่นอกจากตัวบทจะมีความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างมากแล้ว ยังแฝงแนวคิดมากมายไว้ในเรื่อง จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้เรื่องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก     ตัวบทที่ 1    พระยาภักดี : ใครวะ อ้ายคำ : อ้างว่าเป็นเกลอเก่าของใต้เท้า

เรียนออนไลน์ คณิตศาสตร์

การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์

การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์ การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์ คือการตรวจสอบคู่อันดับว่าคู่ไหนเป็นความสัมพันธ์ที่ตรงกับเงื่อนไขที่กำหนด จากที่เรารู้กันในบทความเรื่อง ความสัมพันธ์ว่า r จะเป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r เป็นสับเซตของ A × B แต่ถ้าเราใส่เงื่อนไขบางอย่างเข้าไป ความสัมพันธ์ r ที่ได้ก็อาจจะจะเปลี่ยนไปด้วย แต่ยังคงเป็นสับเซตของ A × B เหมือนเดิม

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ในบทความนี้จะกล่าวถึงฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ และฟังก์ชันที่เกิดจากการดำเนินการของค่า cosθ sinθ ซึ่งก็คือ tanθ และ cotθ นอกจากนี้ยังจะกล่าวถึงโคฟังก์ชันของฟังก์ชันตรีโกณมิติอีกด้วย ในบทความนี้สิ่งที่น้องๆต้องรู้ก็คือ วิธีการหาค่า cosθ และ sinθ จตุภาคของพิกัดจุดปลายส่วนโค้ง ซึ่งสามารถอ่านได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยค่ะ การวัดความยาวส่วนโค้ง ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ หลังจากที่น้องๆมีพื้นฐาน 2 เรื่องที่กล่าวมาแล้วเราจะเริ่มทำความรู้จักกับฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆกันค่ะ   ฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

M5 การใช้ Phrasal Verbs

การใช้ Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง ” การใช้ Phrasal Verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Phrasal Verbs คืออะไร   Phrasal Verbs คือ คำกริยา โดยเป็นกริยาที่มีคำอื่นๆ อย่างเช่น คำบุพบท (Preposition) ร่วมกันส่วนใหญ่แล้ว Phrasal Verbs จะบอกถึงการกระทำ มักจะเจอในชีวิตประจำวันในสถานการณ์ทั่วไป

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1