การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์

คำคุณศัพท์ (Adjective) คืออะไร?

ก่อนเราจะเริ่มเข้าเนื้อหา ทางผู้เขียนก็อยากจะพูดถึงความหมายและความสำคัญของคำคุณศัพท์ (Adjective) กันก่อน

คำคุณศัพท์ (Adjectives) มักจะุถูกใช้ในการอธิบายลักษณะรูปร่างทางกายภาพของทั้งสิ่งของและสิ่งมีชีวิตที่รวมถึงตัวของมนุษย์เอง โดยที่เราจะมาเรียนกันวันนี้คือการที่บางครั้ง คำคุณศัพท์ (Adjective) นั้นจะมีลักษณะที่ถูกใช้อธิบายลักษณะทางกายภาพที่มากกว่าหนึ่งอย่าง ในภาษาไทยของเรา ก็มีการเรียกคำคุณศัพท์ หรือที่เรียกว่า order of adjective ด้วยเหมือนกัน

จากศึกษาและพูดคุยกับนักศึกษาศาสตร์ พบว่า การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันไม่ได้มีการกำหนดการเรียงลำดับคำคุณศัพท์แบบภาษาอังกฤษที่ชัดเจน แต่หากสังเกตโดยคร่าว ๆ จะพบว่า ภาษาไทยของเราจะมีการเรียงจากซ้ายไปขวา(right branching) คือคำหลักจะอยู่คำแรกแล้วคำขยายจะต่อออกไปทาง เช่น จะใช้ “เสื้อตัวใหญ่สีแดง” หรือ “เสื้อสีแดงตัวใหญ่” ก็ได้

ปัญหาที่เจอสำหรับคนไทยคือ การที่เราจะต้องเข้าใจการเรียงคำคุณศัพท์ที่ตรงกับเจ้าของภาษา เพราะถ้าเราเรียงเองมั่ว ๆ อาจจะส่งผลต่อการสื่อสารของเราได้ ในภาษาอังกฤษเองจำเป็นต้องเรียงคำคุณศัพท์ไว้หน้าคำนามให้ถูกต้องตามหลักทางภาษา

หลักการเรียงคำคุณศัพท์ (Order of Adjective)

เรามาดูหลักการเรียงคำคุณศัพท์ (Order of Adjectives) ในภาษาอังกฤษกันด้วยทริคง่าย ๆ คือ มี 10  ลำดับที่ต้องเรียงตามนี้เท่านั้น ห้ามสลับลำดับเด็ดขาดเพื่อความปังปุริเย่ คือ

Opinion > Size > Physical > Shape > Age > Color > Origin > Material > Type > Purpose ตบท้ายด้วยคำนามที่เราต้องการอธิบาย มีเทคนิควิธีการจำแบบง่ายๆ คือ OSPSACOMTP “โอซาซคอมมมมมมมมมมมมม”

No Adjective order Vocabularies
1 Opinion (ความคิดเห็น) Beautiful, Ugly, Cute, Kind, Friendly
2 Size (ขนาด) Big, Small, Tall
3 Physical quality Thin, rough, tidy, Fat
4 Shape (รูปร่าง) Round, Square, Penta, Rectangular
5 Age (อายุ) Old, New, Young
6 Color (สี) อย่างสีเหลือง Yellow!!
7 Origin (เชื้อชาติ ที่มา) Thai, Singaporean, Indonesian, Western, Asian, Ancient
8 Material (วัสดุ) Metal, Wood, Plastic, Silver
9 Type (ชนิด) Four-sided, General-purpose, U-shaped
10 Purpose (วัถุตประสงค์) Cleaning, Hammering, Cooking

คำเตือน ไม่ใช่ทุกอย่างที่เราจะต้องเรียงให้หมดทีเดียวทั้ง 8 ลำดับขั้น เพราะจากที่เจอมา มีนักเรียนหลายคนพยายามใช้ทุกคนทีเดียวซึ่งดีที่จะได้ฝึก แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครมานั่งอธิบายเรียงทั้ง 8 ลำดับหรอก สิ่งที่เราทำได้คือรู้ว่าหากจะพูดอธิบายลักษณ์ทางกายภาพหรือนิสัยของคนเราก็ควรที่จะมีหลักการเรียงที่ถูกต้อง ปล. เรียงข้ามหน้าข้ามตากันก็ได้ แต่ขอให้เรียงตามเลขนาจาาาา

ตัวอย่างการใช้

ด้วยความที่เรากำลังอยู่ในหัวข้อเพื่อนฉัน ( My friend) มันดี ผู้เขียนจึงจะยกตัวอย่างการอธิบายเจ้าเพื่อนรักของเราแบบปัง ๆ ปั้ว ๆ ไปเลย

Example 1: My friend is a cute (1), tall (2), skinny (3), young (5), Thai (7)girl.

แปล: เพื่อนของชั้นเป็นผู้หญิงที่น่ารักคนไทยที่ยังเด็กผอมสูง

Example 2: Her school bag is made of a strange (1), yellow (6), and wool material (8).

แปล: กระเป๋านักเรียนของเธอทำมาจากผ้าวูลสีเหลืองแปลกตา

Example 3: I have an amazing (1), big (2), new (5), Italian (7) cup.

แปล: ฉันมีแก้วอิตาลี่ถ้วยใหม่อันใหญ่

ด้วยความที่ภาษาอังกฤษมีหลักการเรียงคำศัพท์และประโยคที่ไม่เหมือนกับภาษาไทยของเรา ทำให้การแปล การเขียน และการพูดเพื่อการสื่อสารนั้นจะต้องอาศัยเวลาในการปรับตัวเพื่อทำความเข้าใจ แต่โดยรวมแล้ว จากการพูดคุยกับนักแปล และเจ้าของภาษาเมื่อเทียบกับภาษาที่มีการเรียงของไทยแล้วก็ได้รับคำแนะนำมาว่า หากเจอกันเรียงตัวของคำคุณศัพท์ก็ให้เรียงตามที่แนะนำตามลำดับตาราง และหากต้องการจะแปลก็แนะให้แปลจากหลังมาหน้าเพื่อความเข้าใจที่คุ้นเคยตามภาษาของเรามากขึ้น

คำคุณศัพท์กับคำว่า And

การที่เราจะใช้ AND ระหว่างคุณศัพท์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเรามีคำคุณศัพท์มากกว่าหนึ่งคำเกิดขึ้นหลังคำกริยาเช่น be (กริยาเชื่อมโยง) คำคุณศัพท์สุดท้ายที่สองมักจะเชื่อมต่อกับคำคุณศัพท์สุดท้ายโดยคำว่า AND

  • Our school is always a warm, welcoming place.

อย่างไรก็ดี คำว่า AND มักพบได้น้อยเมื่อมีคำคุณศัพท์มากกว่าหนึ่งคำนำหน้าคำนาม (เช่น a warm, welcoming place) อย่างไรก็ตาม เราสามารถใช้คำว่า AND เมื่อมีคำคุณศัพท์ประเภทเดียวกันตั้งแต่สองคำขึ้นไป หรือเมื่อคำคุณศัพท์อ้างอิงถึงส่วนต่างๆของสิ่งเดียวกัน:

  • She has a pink and purple cotton bag.
  • My house is a sad, dark and cold place.

Adjective หลัง Linking Verbs

อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ มันก็ไม่ใช่ว่าทุก Adjective จะสามารถใช้แบบเพื่ออธิบายคน สัตว์ สิ่งของ ได้เลยในทันที มันยังมีข้อยกเว้นในบางกรณี หรือบางคำที่ต้องใช้หลังคำกริยาเชื่อมโยง (Link verb)

คำศัพท์ที่เราต้องจำให้ขึ้นใจว่าจะต้องใช้ตามหลังเหล่า Link verbs เท่านั้น มีดังต่อไปนี้

Vocabulary Sentence example
Afraid She was very afraid of a ghost when she heard something weird at night แต่เราจะไม่พูดว่า When she heads something weird at night she is a very afraid person.
Glad My uncle was very glad when he saw his grandchildren แต่เราจะไม่พูดว่า When he saw his grandchildren he was a very glad uncle.
Ill My friend is ill แต่เราจะไม่พูดว่า I have an ill friend

คำศัพท์อื่น ๆ อาทิ Alive, Alone, Asleep, Content, Ready, Sorry, Sure, Unable, Well.

นอกจากนี้ การเรียงคำคุณสมบัติยังมีเรื่องของการใช้คำศัพท์ว่าด้วยเรื่องของทิศทางด้วยที่ต้องใช้ให้ถูก

โดยคำศัพท์เหล่านั้นก็จะมี North, Northern, South, Southern, East, Eastern, West, Western

ตัวอย่างการใช้ง่าย ๆ ก็เช่น

My friend lives in the northern village แต่เราจะไม่พูดว่า The village she lives in is northern.

He lives in the eastern district. เป็นต้น

แล้วเราก็มาถึงช่วงท้ายของเนื้อหา Adjective order กันแล้ว เป็นไงกันบ้างละจะทุกคน ปังมั้ย? ต้องปังแล้วละถ้าสามารถอ่านมาถึงตรงนี้ได้ เอาเข้าจริงเรื่องนี้ไม่ยากถ้าเราใช้เวลาไปกับมันมากพอ คงเหมือนกับที่ฝรั่งเจ้าของภาษาที่จะต้องมาเรียนภาษาไทย และรู้วิธีการเรียงคำในภาษาไทย ขอแค่เราตั้งใจ ยังไงก็ทำได้ พี่เองก็ขอเป็นกำลังใจให้นาจาาาา แล้วพบกันใหม่เด้อ ขอบคุณและสวัสดีครับบบบ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สำนวนนี้มีที่มา เรียนรู้ความหมายและที่มาของ สำนวนไทย

สำนวนไทย เป็นสิ่งที่คนรุ่นก่อนใช้ความคิดและประสบการณ์สั่งสอนลูกหลาน เกิดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านคติธรรมที่แสดงถึงความรุ่งเรืองทางภาษาของประเทศไทย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้สำนวนไทยที่เห็นกันบ่อย ๆ แต่หลายคนอาจจะใช้ไม่ถูกต้อง ไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งเรียนรู้ที่มาของสำนวนด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ   สำนวนไทย   สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำที่คมคายซึ่งเป็นถ้อยคำที่ใช้พูดสื่อสารกันโดยมีความหมายที่กว้างและลึกซึ้ง เป็นความหมายโดยนัย ไม่ได้แปลตรงตัวเพื่อใช้เป็นคำพูดในเชิงสั่งสอน เตือนสติ มุ่งสอนใจหรือชี้แนะให้ประพฤติปฏิบัติตาม   ที่มาของสำนวนไทย   สำนวนไทยมีมูลเหตุและที่มาของการเกิดหลายประการ

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากทางสถิติ เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยข้อมูลที่ได้มีหลากหลายรูปแบบ อาจจะเป็นตัวเลข ข้อความ หรือรูปภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หรือเป็นเรื่องที่เราสนใจ โดยสามารถจำแนกข้อมูลได้ตามลักษณะและแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่ จำแนกตามลักษณะของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่วัดค่าได้ แสดงเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรง เช่น จำนวนบุตรในครอบครัว,

มงคลสูตร

รอบรู้เรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ วรรณคดีพระพุทธศาสนาที่มาของหลักมงคล 38

บทนำ   สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจอีกเช่นเคย สำหรับเนื้อหาวันนี้เราจะขอหยิบยกวรรณคดีพระพุทธศาสนามาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันบ้าง ซึ่งวรรณคดีที่เราได้เลือกมานั่นก็คือเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ เชื่อว่าน้อง ๆ มัธยมปลายหลายคนคงจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้กันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นวรรณคดี ที่สอนบรรทัดฐานของการกระทำความดีตามวิถีของชาวพุทธ และเป็นที่มาของหลักมงคล 38 ประการด้วย ดีงนั้น เดี๋ยววันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย     ประวัติความเป็นมา เรื่อง

เรียนรู้ความเหมือนที่แตกต่างของคำพ้อง

  น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยเห็นฝาแฝดกันมาบ้างใช่ไหมคะ แล้วรู้หรือเปล่าคะว่าในภาษาไทยเรานั้นก็มีฝาแฝดเหมือนกัน แต่ฝาแฝดนั้นถูกเรียกว่า คำพ้อง นั่นเองค่ะ หลายคำในภาษาไทยมีจุดที่เหมือนกันแต่ก็มีส่วนที่ต่างกันออกไปด้วย เพื่อไม่ให้สับสนว่าคำไหนคือคำไหน อ่านอย่างไร หมายความว่าอะไรกันแน่ วันนี้เราไปเรียนรู้เรื่องคำพ้องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำพ้อง   ความหมายของคำพ้อง     ประเภทของคำพ้อง     คำพ้องเสียง

ใช้ภาษาพูดอย่างไรให้ถูกต้อง และเหมาะสม

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งในบทเรียนวิชาภาษาไทย วันนี้จะเป็นการเรียนเรื่องระดับภาษา โดยจะมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นภาษาพูด และภาษาเขียน ซึ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับระดับของภาษาพูดที่เราควรจะเลือกใช้ให้ถูกต้องตามบุคคล โอกาส และสถานที่ด้วย เป็นอีกหนึ่งบทเรียนในระดับชั้นมัธยมต้นที่น่าสนใจ   ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนไปพร้อม ๆ กันเลย     ภาษาพูด คืออะไร   ภาษา เป็นตัวกลางในการสื่อความหมาย บนโลกนี้นอกจากจะมีหลากหลายภาษาแล้ว ในหนึ่งภาษานั้นก็ยังแบ่งการพูดออกเป็นหลายระดับให้เราได้เลือกใช้แตกต่างกันไป ภาษาพูด

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1