การใช้กริยา V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้กริยา be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ กันนะคะ
พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go!

รู้จักกับ V. to be

 

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ (2)

V. to be

แปลว่า เป็น อยู่ คือ หลัง verb to be เป็นสถานที่ จะแปลว่า อยู่ และหากหลัง verb to be เป็นคำนามทั่วไป แปลว่า เป็น/คือ และถ้าหากหลัง verb to be เป็นคำคุณศัพท์ ตรงนี้ V. to be จะไม่มีความหมายเลยจ้า

 

ชนิดของ Verb to be

 

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ (3)

เจ้า Verb to be สามารถแปลงร่างออกได้เป็น 7 คำด้วยกันนะคะ
ได้แก่

 

be, is, am, are

was, were

been

Verb to be ทั้ง 7 ตัวนี้ แปลว่า เป็นอยู่คือเหมือนกัน แต่หลักการใช้ไม่เหมือนกันนะคะ
ลองดูประโยคต่อไปนี้

 

× Lisa be an artist.

√ Lisa is an artist.

ลิซ่าเป็นศิลปิน

 

 การใช้ is/ am/ are

 

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ (4)

นักเรียนสามารถใช้ is/ am/ are ในประโยค Present simple tense และ Present continuous tense (ปัจจุบันกาล) ได้เลยค่ะ
แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องใช้ให้สอดคล้องกับประธานของประโยคด้วยนะคะ

ตัวอย่างเช่น

I am a girl.
ฉันเป็นเด็กผู้หญิง

Mike is a boy.
ไมค์เป็นเด็กผู้ชาย
They are swimming.
พวกเขากำลังว่ายน้ำ

We like her.
พวกเราชอบเธอ

การใช้ was/ were

 

นักเรียนสารมารถใช้ กริยา was และ were ในประโยค Past simple tense และ Past continuous tense (อดีตกาล)  ได้เลยค่า โดยต้องคำนึงถึงความสอดคล้องของประธานกับกริยาด้วยนะคะ เช่น

I was a fat girl before.
ฉันเป็นเด็กผู้หญิงตัวอ้วนๆมาก่อน

He was washing dishes when I called him.
เขากำลังล้างจานอยู่ตอนที่ฉันโทรหา

They were at home.
เขาอยู่ที่บ้าน (ตอนนี้ไม่อยู่แล้ว)

โครงสร้างประโยคคำถามที่เราต้องรู้ คือ

Verb to be + Subject + Object/ Complement….?

 

ตัวอย่างประโยค

ประโยคบอกเล่า: Emily is going to the zoo.
แปล เอมมิลี่กำลังจะไปสวนสัตว์
ประโยคคำถาม: Is Emily going to the zoo?
แปลว่า เอมมิลี่จะไปสวนสัตว์มั้ย
อธิบายเพิ่มเติม: เอมมิลี่เป็นประธาน, is เป็น V. to be, going มาจาก go + .ing แปลว่า กำลังไป

คำนามเอกพจน์และพหูพจน์คืออะไร

 

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ (5)

คำนามในภาษาอังกฤษจะมี 2 รูป คือเอกพจน์และพหูพจน์

คำนามเอกพจน์ (singular noun) คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนหนึ่งหน่วย ซึ่งก็คือคำนามรูปปกติทั่วไป
เช่น a book, a pencil, a girl ส่วนคำนามพหูพจน์ (plural noun) คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนมากกว่าหนึ่งหน่วย หรือพูดอีกแบบก็คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไปนั่นเองค่ะ ด้วยการเติม s หรือ es ต่อท้าย อย่างเช่น cats, tables, pens หรือบางคำก็ใช้การเปลี่ยนตัวอักษรแทน เช่น จาก foot เป็น feet

 

A child – children  เด็ก

A tooth – teeth ฟัน

A goose – geese ห่าน

A mouse – mice หนู

 

ตัวอย่างคำนามเอกพจน์และพหูพจน์

 

A cat   – แมวหนึ่งตัว
Two cats –  แมวสองตัว

A table–โต๊ะหนึ่งตัว
Four tables– โต๊ะสี่ตัว

A woman–ผู้หญิงหนึ่งคน
Many women–ผู้หญิงหลายคน
car – cars รถ

bag – bags กระเป๋า

table – tables โต๊ะ

house – houses บ้าน

dog – dogs สุนัข

 

คำนามนับได้และนับไม่ได้

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ (6)

ในภาษาอังกฤษ คำนามจะแบ่งออกเป็นคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้

คำนามนับได้ (countable noun) คือคำนามที่นับจำนวนเป็นชิ้นเป็นอันได้
ตัวอย่างเช่น

Bird (นก) – นับได้ว่ากี่ตัว

คำนามนับไม่ได้ (uncountable noun) คือคำนามที่เรามักจะมองเป็นภาพรวมหรือเป็นกลุ่มก้อนมากกว่า
ตัวอย่างเช่น

Sugar (น้ำตาล) – เราจะไม่นับน้ำว่ามีกี่เม็ดเพราะมันคงยากมากๆ

Hair (เส้นผม) – เราจะไม่นับข้าวว่ามีกี่เส้น

 

ในภาษาอังกฤษ เมื่อไม่ได้ระบุปริมาณชัดเจน ผู้ฟัง/ผู้อ่านอาจอาศัยการดูพจน์ของคำนาม เพื่อให้รู้ว่าผู้พูด/ผู้เขียนหมายถึงปริมาณหนึ่งหน่วย หรือมากกว่าหนึ่งหน่วย ยกตัวอย่างเช่น

คำนามเอกพจน์ คำนามพหูพจน์
Rat Rats
Girl Girls
Boy Boys
Book Books
Town Towns
Dream Dreams

 

นอกจากนี้คำนามที่เป็นพหูพจน์อื่นๆ เช่น คำที่ลงท้ายด้วย ves
เกิดจากการที่เราเปลี่ยน f เป็น ve แล้วเติม s

  • half – halves ครึ่ง
  • hoof – hooves เท้าสัตว์
  • calf – calves ลูกวัว
  • elf – elves เอลฟ์
  • shelf – shelves ชั้นวาง
  • leaf – leaves ใบไม้
  • thief – thieves ขโมย
  • wolf – wolves หมาป่า
  • knife – knives มีด
  • scarf – scarves ผ้าพันคอ
  • wife – wives ภรรยา

 

ถ้านักเรียนเจอคำนามที่ลงท้ายด้วย y ตามหลังสระ ให้นักเรียนเติม s ได้เลยจะทำให้คำนามนั้นเป็นพหูพจน์นะคะ

  • day – days วัน
  • holiday – holidays วันหยุด
  • toy – toys ของเล่น
  • key – keys กุญแจ
  • donkey – donkeys ลา

คำนามที่ลงท้ายด้วย y ที่ตามหลังพยางค์ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es
ได้เลยจะทำให้คำนามนั้นเป็นพหูพจน์นะคะ ตัวอย่างเช่น

  • city – cities เมือง
  • candy – candies ลูกกวาด
  • country – countries ประเทศ
  • family – families ครอบครัว
  • cherry – cherries ลูกเชอร์ลี่
  • lady – ladies สุภาพสตรี
  • puppy – puppies ลูกสุนัข
  • party – parties ปาร์ตี้

ถ้าเจอพยางค์ที่ตามด้วย o ให้นักเรียนเติม es ที่ท้ายคำได้เลยค่ะจะทำให้นามนั้นเป็นพหูพจน์
ตัวอย่างเช่น คำต่อไปนี้

  • potato – potatoes มันฝรั่ง
  • tomato – tomatoes มะเขือเทศ
  • hero – heroes ฮีโร่
  • domino – dominoes โดมิโน
  • mosquito – mosquitoes ยุง
  • volcano – volcanoes ภูเขาไฟ

ยกเว้นคำเหล่านี้นะคะ ให้นักเรียนเติม s ได้เลย:

  • piano – pianos เปียโน
  • photo – photos ภาพถ่าย
  • halo – halos  รัศมี
  • soprano – sopranos  นักร้องเสียงโซปราโน

 

เป็นยังไงกันบ้างคะทุกคน พอจะเข้าใจ การใช้กริยา V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ ขึ้นมาบ้างหรือยังเอ่ย นักเรียนสามารถย้อนดูบทเรียนย้อนหลังฟรีๆได้บนยูทูปเลยนะคะ

คลิกปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนให้สนุกกันจ้า

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ บทความนี้ ได้รวบรวม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ซึ่งการแก้โจทย์ปัญหานั้น น้องๆจะต้องอ่านทำความเข้าใจกับโจทย์ให้ละเอียด และพิจารณาอย่างรอบคอบว่าโจทย์กำหนดอะไรมาให้บ้างและโจทย์ต้องการให้หาอะไร จากนั้นจะสามารถหาค่าของสิ่งที่โจทย์ต้องการได้โดยใช้ความรู้เรื่องการคูณไขว้ สัดส่วน และร้อยละ ก่อนจะเรียนรู้เรื่องนี้ น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง สัดส่วน เพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สัดส่วน ⇐⇐ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ตัวอย่างที่ 1  อัตราส่วนของอายุของนิวต่ออายุของแนน เป็น 2

เรียนรู้เรื่อง ภาษาบาลี สันสกฤต ที่อยู่ในภาษาไทย

​  ภาษาบาลี สันสกฤต เป็นภาษาอินเดียโบราณ คำบาลี สันสกฤตที่นำมาใช้ในไทยจึงมักจะอยู่ในบทสวดเป็นส่วนใหญ่ แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้วนอกจากจะอยู่ในบทสวดมนต์ ภาษาไทยก็ยังมีอีกหลายคำเลยค่ะที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต เรียกได้ว่าถูกใช้ปนกันจนบางครั้งก็อาจทำให้เราสับสนไปได้ว่าสรุปนี่คือคำจากบาลี สันสกฤตหรือไทยแท้กันแน่ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความเข้าใจ เจาะลึกลักษณะภาษาพร้อมบอกทริคการสังเกตง่าย ๆ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของภาษาบาลี สันสกฤตในประเทศไทย     การยืมภาษา

คติธรรมในสำนวนไทย

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง   สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม   สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย

ความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ เกิดจากสิ่งสองสิ่งมาเกี่ยวข้องกันภายใต้กฎเกณฑ์บางอย่าง เช่น ความสัมพันธ์ของ a กับ b ซึ่ง a มากกว่า b เป็นต้น ก่อนที่เราจะเริ่มเนื้อหาของความสำคัญพี่อยากให้น้องๆรู้จักกับคู่อันดับ และผลคูณคาร์ทีเซียนก่อนนะคะ คู่อันดับ ในการเขียนคู่อันดับเป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญเลยทีเดียว เพราะถ้าน้องๆเขียนคู่อันดับผิดตำแหน่งนั่นหมายความว่า ความหมายของมันจะเปลี่ยนไปทันที เช่น คู่อันดับ (x, y) โดย x

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ การแยกตัวประกอบ ของจำนวนนับใด หมายถึง การเขียนจำนวนนับนั้นในรูปการคูณของ ตัวประกอบเฉพาะ  ซึ่งในบทความนี้ได้นำเสนอวิธีการ รวมถึง โจทย์การแยกตัวประกอบ ไว้มากมาย น้องๆสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ดวยตนเองโดยที่มีวิธีการแยกตัวประกอบ 2 วิธี ดังนี้ การแยกตัวประกอบ  โดยการคูณ  การแยกตัวประกอบ  โดยการหาร (หารสั้น)         ก่อนอื่นน้องๆมาทบทวน ความหมายของตัวประกอบและจำนวนเฉพาะ

Daily Conversation P6

บทสนทนาในชีวิตประจำวันที่ควรรู้

  สวัสดีค่ะนักเรียนป. 6 ที่รักทุกคน เมื่อก่อนการคุยกันผ่านออนไลน์ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าในปัจจุบันที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในสถานการณ์ยุคโควิด เป็นเรื่องที่น่าเศร้าเวลาที่เราออกไปไหนไม่ได้ บทสนทนาออนไลน์จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากแต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงสักเท่าไหร่ วันนี้ครูจะพาไปดูบทสนทนาที่อัพเดทแล้วในปัจจุบันรวมทั้งประโยคและวลีที่เราเจอบ่อยในชีวิตประจำวันทั้งชีวิตจริงและบนโลกออนไลน์กันค่ะ ไปลุยกันเลยค่า      การเริ่มบทสนทนากับคนที่เราไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย     Hi/ Hello/ Is that …? = สวัสดี ที่นั่น ..(เบอร์/ สถานที่)… ใช่ไหม

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1