การใช้กริยา V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้กริยา be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ กันนะคะ
พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go!

รู้จักกับ V. to be

 

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ (2)

V. to be

แปลว่า เป็น อยู่ คือ หลัง verb to be เป็นสถานที่ จะแปลว่า อยู่ และหากหลัง verb to be เป็นคำนามทั่วไป แปลว่า เป็น/คือ และถ้าหากหลัง verb to be เป็นคำคุณศัพท์ ตรงนี้ V. to be จะไม่มีความหมายเลยจ้า

 

ชนิดของ Verb to be

 

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ (3)

เจ้า Verb to be สามารถแปลงร่างออกได้เป็น 7 คำด้วยกันนะคะ
ได้แก่

 

be, is, am, are

was, were

been

Verb to be ทั้ง 7 ตัวนี้ แปลว่า เป็นอยู่คือเหมือนกัน แต่หลักการใช้ไม่เหมือนกันนะคะ
ลองดูประโยคต่อไปนี้

 

× Lisa be an artist.

√ Lisa is an artist.

ลิซ่าเป็นศิลปิน

 

 การใช้ is/ am/ are

 

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ (4)

นักเรียนสามารถใช้ is/ am/ are ในประโยค Present simple tense และ Present continuous tense (ปัจจุบันกาล) ได้เลยค่ะ
แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องใช้ให้สอดคล้องกับประธานของประโยคด้วยนะคะ

ตัวอย่างเช่น

I am a girl.
ฉันเป็นเด็กผู้หญิง

Mike is a boy.
ไมค์เป็นเด็กผู้ชาย
They are swimming.
พวกเขากำลังว่ายน้ำ

We like her.
พวกเราชอบเธอ

การใช้ was/ were

 

นักเรียนสารมารถใช้ กริยา was และ were ในประโยค Past simple tense และ Past continuous tense (อดีตกาล)  ได้เลยค่า โดยต้องคำนึงถึงความสอดคล้องของประธานกับกริยาด้วยนะคะ เช่น

I was a fat girl before.
ฉันเป็นเด็กผู้หญิงตัวอ้วนๆมาก่อน

He was washing dishes when I called him.
เขากำลังล้างจานอยู่ตอนที่ฉันโทรหา

They were at home.
เขาอยู่ที่บ้าน (ตอนนี้ไม่อยู่แล้ว)

โครงสร้างประโยคคำถามที่เราต้องรู้ คือ

Verb to be + Subject + Object/ Complement….?

 

ตัวอย่างประโยค

ประโยคบอกเล่า: Emily is going to the zoo.
แปล เอมมิลี่กำลังจะไปสวนสัตว์
ประโยคคำถาม: Is Emily going to the zoo?
แปลว่า เอมมิลี่จะไปสวนสัตว์มั้ย
อธิบายเพิ่มเติม: เอมมิลี่เป็นประธาน, is เป็น V. to be, going มาจาก go + .ing แปลว่า กำลังไป

คำนามเอกพจน์และพหูพจน์คืออะไร

 

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ (5)

คำนามในภาษาอังกฤษจะมี 2 รูป คือเอกพจน์และพหูพจน์

คำนามเอกพจน์ (singular noun) คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนหนึ่งหน่วย ซึ่งก็คือคำนามรูปปกติทั่วไป
เช่น a book, a pencil, a girl ส่วนคำนามพหูพจน์ (plural noun) คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนมากกว่าหนึ่งหน่วย หรือพูดอีกแบบก็คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไปนั่นเองค่ะ ด้วยการเติม s หรือ es ต่อท้าย อย่างเช่น cats, tables, pens หรือบางคำก็ใช้การเปลี่ยนตัวอักษรแทน เช่น จาก foot เป็น feet

 

A child – children  เด็ก

A tooth – teeth ฟัน

A goose – geese ห่าน

A mouse – mice หนู

 

ตัวอย่างคำนามเอกพจน์และพหูพจน์

 

A cat   – แมวหนึ่งตัว
Two cats –  แมวสองตัว

A table–โต๊ะหนึ่งตัว
Four tables– โต๊ะสี่ตัว

A woman–ผู้หญิงหนึ่งคน
Many women–ผู้หญิงหลายคน
car – cars รถ

bag – bags กระเป๋า

table – tables โต๊ะ

house – houses บ้าน

dog – dogs สุนัข

 

คำนามนับได้และนับไม่ได้

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ (6)

ในภาษาอังกฤษ คำนามจะแบ่งออกเป็นคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้

คำนามนับได้ (countable noun) คือคำนามที่นับจำนวนเป็นชิ้นเป็นอันได้
ตัวอย่างเช่น

Bird (นก) – นับได้ว่ากี่ตัว

คำนามนับไม่ได้ (uncountable noun) คือคำนามที่เรามักจะมองเป็นภาพรวมหรือเป็นกลุ่มก้อนมากกว่า
ตัวอย่างเช่น

Sugar (น้ำตาล) – เราจะไม่นับน้ำว่ามีกี่เม็ดเพราะมันคงยากมากๆ

Hair (เส้นผม) – เราจะไม่นับข้าวว่ามีกี่เส้น

 

ในภาษาอังกฤษ เมื่อไม่ได้ระบุปริมาณชัดเจน ผู้ฟัง/ผู้อ่านอาจอาศัยการดูพจน์ของคำนาม เพื่อให้รู้ว่าผู้พูด/ผู้เขียนหมายถึงปริมาณหนึ่งหน่วย หรือมากกว่าหนึ่งหน่วย ยกตัวอย่างเช่น

คำนามเอกพจน์ คำนามพหูพจน์
Rat Rats
Girl Girls
Boy Boys
Book Books
Town Towns
Dream Dreams

 

นอกจากนี้คำนามที่เป็นพหูพจน์อื่นๆ เช่น คำที่ลงท้ายด้วย ves
เกิดจากการที่เราเปลี่ยน f เป็น ve แล้วเติม s

  • half – halves ครึ่ง
  • hoof – hooves เท้าสัตว์
  • calf – calves ลูกวัว
  • elf – elves เอลฟ์
  • shelf – shelves ชั้นวาง
  • leaf – leaves ใบไม้
  • thief – thieves ขโมย
  • wolf – wolves หมาป่า
  • knife – knives มีด
  • scarf – scarves ผ้าพันคอ
  • wife – wives ภรรยา

 

ถ้านักเรียนเจอคำนามที่ลงท้ายด้วย y ตามหลังสระ ให้นักเรียนเติม s ได้เลยจะทำให้คำนามนั้นเป็นพหูพจน์นะคะ

  • day – days วัน
  • holiday – holidays วันหยุด
  • toy – toys ของเล่น
  • key – keys กุญแจ
  • donkey – donkeys ลา

คำนามที่ลงท้ายด้วย y ที่ตามหลังพยางค์ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es
ได้เลยจะทำให้คำนามนั้นเป็นพหูพจน์นะคะ ตัวอย่างเช่น

  • city – cities เมือง
  • candy – candies ลูกกวาด
  • country – countries ประเทศ
  • family – families ครอบครัว
  • cherry – cherries ลูกเชอร์ลี่
  • lady – ladies สุภาพสตรี
  • puppy – puppies ลูกสุนัข
  • party – parties ปาร์ตี้

ถ้าเจอพยางค์ที่ตามด้วย o ให้นักเรียนเติม es ที่ท้ายคำได้เลยค่ะจะทำให้นามนั้นเป็นพหูพจน์
ตัวอย่างเช่น คำต่อไปนี้

  • potato – potatoes มันฝรั่ง
  • tomato – tomatoes มะเขือเทศ
  • hero – heroes ฮีโร่
  • domino – dominoes โดมิโน
  • mosquito – mosquitoes ยุง
  • volcano – volcanoes ภูเขาไฟ

ยกเว้นคำเหล่านี้นะคะ ให้นักเรียนเติม s ได้เลย:

  • piano – pianos เปียโน
  • photo – photos ภาพถ่าย
  • halo – halos  รัศมี
  • soprano – sopranos  นักร้องเสียงโซปราโน

 

เป็นยังไงกันบ้างคะทุกคน พอจะเข้าใจ การใช้กริยา V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ ขึ้นมาบ้างหรือยังเอ่ย นักเรียนสามารถย้อนดูบทเรียนย้อนหลังฟรีๆได้บนยูทูปเลยนะคะ

คลิกปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนให้สนุกกันจ้า

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่รักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูตัวอย่างประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions กันค่ะ ไปลุยกันเลย ตารางเปรียบเทียบประโยคก่อนเข้าสู่บทเรียน: คำถาม Wh-questions VS Yes-no Questions ประโยคคำถามแบบ Wh-question “what” ประโยคคำถามที่ใช้ would + Subject +like…

ดีเทอร์มิแนนต์

ดีเทอร์มิแนนต์ ดีเทอร์มิแนนต์ (Determinant) คือ ค่าของตัวเลขที่สอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส จะเขียนแทนดีเทอร์มิแนนต์ของ A ด้วย det(A) หรือ โดยทั่วไปการหาค่าดีเทอร์มิแนนต์ที่เจอในข้อสอบจะไม่เกินเมทริกซ์ 3×3 เพราะถ้ามากกว่า 3 แล้ว จะเริ่มมีความยุ่งยาก **ค่าของดีเทอร์มิแนนต์จะเป็นจำนวนจริงและมีเพียงค่าเดียวเท่านั้นที่จะสอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส เช่น เมทริกซ์ B ก็จะมีค่าดีเทอร์มิแนนต์เพียงค่าเดียวเท่านั้น**  

การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม

การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม

ทบทวนจำนวนเต็ม บทความนี้จะทำให้น้องๆ เข้าใจ การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย น้องๆรู้จัก จำนวนเต็ม กันแล้ว แต่หลายคนยังไม่สามาถเปรียบเทียบความมากน้อยของจำนวนเต็มเหล่านั้นได้ ซึ่งถ้าน้องๆ เคยเรียนเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละมาแล้ว เรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องง่ายดาย ซึ่งได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ทบทวนเรื่องจำนวนเต็ม  เช่น                                                                                                     25 ,  9  , -5 , 5.5 ,

คำซ้ำคืออะไร เรียนรู้และเข้าใจหลักการสร้างคำอย่างง่าย

  จากที่ได้เรียนเรื่องการสร้างคำประสมและคำซ้อนไปแล้ว บทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำอีกหนึ่งชนิดที่สำคัญไม่แพ้สองคำก่อนหน้า นั่นก็คือ คำซ้ำ นั่นเองค่ะ คำซ้ำคืออะไร มีวิธีสร้างคำได้อย่างไรบ้าง วันนี้เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำซ้ำ     คำซ้ำคืออะไร?   คำซ้ำ หมายถึง การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกันแล้วมีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น หรือเบาลง

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ การแยกตัวประกอบ ของจำนวนนับใด หมายถึง การเขียนจำนวนนับนั้นในรูปการคูณของ ตัวประกอบเฉพาะ  ซึ่งในบทความนี้ได้นำเสนอวิธีการ รวมถึง โจทย์การแยกตัวประกอบ ไว้มากมาย น้องๆสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ดวยตนเองโดยที่มีวิธีการแยกตัวประกอบ 2 วิธี ดังนี้ การแยกตัวประกอบ  โดยการคูณ  การแยกตัวประกอบ  โดยการหาร (หารสั้น)         ก่อนอื่นน้องๆมาทบทวน ความหมายของตัวประกอบและจำนวนเฉพาะ

การอ่านบทร้อยกรอง

การอ่านบทร้อยกรอง กาพย์และโคลงอ่านอย่างไรให้ไพเราะ

น้อง ๆ คงจะรู้การคำประพันธ์อย่างกาพย์และโคลงกันอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะวรรณคดีไทยหลาย ๆ เรื่องที่เราเรียนกันมา ก็ใช้กาพย์และโคลงแต่งกันเสียส่วนใหญ่ และหลังจากที่ได้เรียนลักษณะการแต่งกาพย์กับโคลงสี่สุภาพ ให้ไพเราะกันไปแล้ว จะแต่งอย่างเดียวโดยไม่อ่านให้ถูกต้องก็ไม่ได้ใช่ไหมล่ะคะ ดังนั้นบทเรียนวันนี้จะพาร้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การอ่านบทร้อยกรอง กันบ้าง ว่ามีวิธีอ่านอย่างไรให้ถูกต้องและไพเราะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การอ่านบทร้อยกรอง     การอ่านบทร้องกรอง ประเภทกาพย์

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1