ฟังอย่างไรให้ได้สาระประโยชน์ดี ๆ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟัง

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้อนรับเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยกันอีกครั้ง สำหรับบทเรียนในวันนี้ต้องบอกว่ามีประโยชน์มาก ๆ และเราควรจะต้องศึกษาไว้เพื่อนำไปใช้ในการฟัง หรือคัดกรองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เรารับฟังมาให้มากขึ้น ซึ่งเราจะพาน้อง ๆ มาฝึกฝนการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟังกัน เพราะในปัจจุบันเราสามารถรับสารได้หลากหลายรูปแบบมีทั้งประโยชน์
และโทษ ดังนั้น เราจึงต้องมีทักษะนี้ติดตัวไว้แยกแยะว่าสื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนกันเลย

 

ความหมายของความน่าเชื่อถือ และสื่อ

ความน่าเชื่อถือ หมายถึง สิ่งที่แม่นยำ ทำซ้ำได้อย่างถูกต้องในทำนองเดียวกัน สิ่งที่ทำได้คงเส้นคงวาไม่ผิดพลาดไปจากเดิมซึ่งจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ

สื่อ คือ ช่องทางที่ใช้ติดต่อ หรือเชื่อมต่อถึงกัน เป็นตัวกลางในการส่งสาร ส่งเนื้อหาไปยังผู้รับสาร

 

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

ประเภทของสื่อที่ฟัง

1.สื่อประเภทข่าว คือ สื่อที่มีการถ่ายทอด หรือนำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ เรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจ ณ ขณะนั้น เรื่องที่ได้ยินมาทั้งที่เป็นข้อเท็จจริง หรือข่าวลือ 

2.สื่อบันเทิง คือ สื่อที่เน้นนำเสนอความบันเทิงเป็นหลัก ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องข้อเท็จจริง หรือข้อมูลมาก เราจะเห็นการผลิตสื่อบันเทิงในรูปแบบ รายการ ละคร ซีรีส์ หรือภาพยนตร์ ให้คนที่รับชมได้ความสนุก เพลิดเพลินใจ

3. สื่อโฆษณา คือ สื่อที่ใช้เพื่อการนำเสนอสินค้า โปรโมตสินค้า และบริการ มุ่งเน้นการโน้มน้าวใจ หรือชักจูงใจ เพื่อกระตุ้นให้คนมีความต้องการซื้อมากขึ้น

4. สื่อออนไลน์ คือ สื่อที่ใช้รูปแบบการนำเสนอบนโลกออนไลน์ ใช้การเข้าถึงด้วยอินเทอร์เน็ต ผ่านเว็บไซต์ เบราว์เซอร์ หรือแอปพลิเคชัน เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย รวดเร็ว และมีเนื้อหาหลากหลาย

 

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

 

วิเคราะห์ลักษณะของสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ

  • มีเนื้อหาที่สมเหตุสมผล มีแหล่งอ้างอิงชัดเจนสามารถตรวจสอบได้
  • เป็นสื่อที่มีความทันสมัย ควรระบุว่ามีการเผยแพร่เมื่อใด มีการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่
  • สำนวนภาษาที่ใช้ต้องมีความเข้าใจง่าย ให้ข้อมูลชัดเจนไม่ได้มีลักษณะไปในทางชวนเชื่อหรือ ทำให้ผู้รับสารเข้าใจคลาดเคลื่อน
  • ถ้าหากเป็นเนื้อหา หรือสื่อประเภทข่าวต้องมีการลำดับเนื้อเรื่องอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เรียงลำดับตั้วแต่ต้นจนจบได้อย่างเข้าใจ ไม่ปิดบัง อำพราง หรือบิดเบือนข้อมูลข่าว ต้องสามารถบอกเวลา และสถานที่ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
  • หากเรื่องนั้นมีการแสดงความคิดเห็นประกอบให้เราพิจารณา ไตร่ตรองตามความเป็นจริง และไม่เอนเอียง
    ไปทางใดทางหนึ่ง เชื่อตามหลัก และเหตุผลอันเป็นที่ยอมรับ และน่าเชื่อถือจริง ๆ
  • แยกแยะให้ได้ว่าจุดประสงค์ของสื่อนั้นสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร เป็นสื่อประเภทใด โฆษณา หรือข่าวสาร

บทส่งท้าย

ปัจจุบันสื่อมีหลายช่องทาง สารมีหลากหลายรูปแบบมาก ๆ ดังนั้น น้อง ๆ ทุกคนควรเรียนรู้ที่จะวิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาจากสื่อที่ฟังให้ได้ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เป็นไปในทางชักจูงใจ หรือเป็นความจริง ซึ่งเรามักจะต้องใช้ทักษะนี้ในการฟังข่าวสาร หรือฟังโฆษณา ถ้าเราสามารถวิเคราะห์ได้ก็จะช่วยให้เราได้รับสาระประโยชน์จากสื่อที่เราฟังได้อย่างแท้จริง สามารถนำไปใช้ หรือปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องไม่เป็นภัยกับตัวเอง ถ้าหากน้อง ๆ คนไหนยังมีข้อสงสัย หรืออยากเรียนรู้เรื่องนี้เพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูครูอุ้มสอนได้ที่คลิปด้านล่างนี้ได้เลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด สามารถตรวจสอบได้จากกราฟและนิยาม สมการหนึ่งสมการอาจจะเป็นทั้งฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลดขึ้นอยู่กับรูปแบบของกราฟและสมการ บทนิยาม ให้ f เป็นฟังก์ชันที่ส่งจากโดเมนของฟังก์ชันไปยังจำนวนจริง โดยที่ A เป็นสับเซตของจำนวนจริง และ A เป็นสับเซตของโดเมน จะบอกว่า  f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนเซตเซต A ก็ต่อเมื่อ สำหรับ และ ใดๆใน A ถ้า  < 

สามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีเภทคำฉันท์ วรรณคดีขนาดสั้นที่ว่าด้วยความสามัคคี

สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นนิทานสุภาษิตขนาดสั้นว่าด้วยเรื่องความสามัคคี เป็นอีกหนึ่งวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ทั้งด้านการประพันธ์และเนื้อหา เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกับวรรณคดีเรื่องดังกล่าวเพื่อศึกษาที่มา จุดประสงค์ รวมไปถึงเรื่องย่อ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   ที่มาของเรื่องและจุดประสงค์ในการแต่ง   สามัคคีเภทคำฉันท์ ดำเนินเรื่องโดยอิงประวัติศาสตร์ครั้งพุทธกาล เป็นนิทานสุภาษิตในมหาปรินิพพานสูตรและอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี     ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

ป.5เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่างๆ

เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่างๆ

สวัสดีนักเรียนชั้นมป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการบอกข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ  “เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่างๆ” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัวกันค่ะ ไปลุยกันเลยค่า Let’s go! ความหมาย   Present แปลว่า ปัจจุบัน  Simple แปลว่า ธรรมดา ส่วน Tense นั้น แปลว่ากาล ดังนั้น

ประพจน์และการเชื่อมประพจน์

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประพจน์ การเชื่อมประพจน์ และการหาค่าความจริง ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้เป็นภาษาของคณิตศาสตร์ เราจะเห็นตัวเชื่อมประพจน์ในทฤษฎีบทต่างๆในคณิตศาสตร์ หลังจากอ่านบทความนี้ น้องๆจะสามารถบอกได้ว่าข้อความไหนเป็นหรือไม่เป็นประพจน์ และน้องๆจะสามารถทำข้อสอบเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ได้

โคลนติดล้อ บทความปลุกใจในรัชกาลที่ 6

เป็นที่รู้กันดีกว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ของเรานั้น ทรงโปรดงานด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่ยังเยาว์ และเริ่มงานวรรณกรรมตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ทำให้มีผลงานในพระราชนิพนธ์มากมายหลายเรื่อง และแตกต่างกันออกไป ที่ผ่านมาน้อง ๆ คงจะได้เรียนมาหลายเรื่องแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับผลงานของพระองค์อีกเรื่องหนึ่ง แตกต่างจากเรื่องก่อน ๆ ที่เคยเรียนมาอย่างแน่นอน เพราะเรากำลังพูดถึงโคลนติดล้อ ผลงานในพระราชนิพนธ์ที่อยู่ในรูปแบบของบทความ จะมีที่มา มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น เราไปติดตามกันเลยค่ะ   ที่มาของ โคลนติดล้อ

เสภาขุนช้างขุนแผน

เสภาขุนช้างขุนแผน จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนัก

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนเสภาและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวรรณคดีว่าเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อเรื่องและการประพันธ์ มีมากมายหลายตอน หลายสำนวนและหลายผู้แต่ง แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้ศึกษากันในวันนี้เป็น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ เสภาขุนช้างขุนแผน   ขุนช้างขุนแผนสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากพงศาวดารทำให้ทราบว่าขุนแผนรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระพันวษา หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2034-พ.ศ 2072 ต่อมามีการนำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนสุภาพและบทเสภาโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1