เรียนรู้หลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิ

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

คำสมาส และคำสนธิ ถือว่าเป็นหนึ่งบทเรียนในหลักภาษาไทยของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่หลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องยาก และปราบเซียนในการสอบสุด ๆ เนื่องจากว่าเราจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง คำบาลี สันสกฤตเพื่อให้สามารถแยกแยะคำ หรือสร้างคำใหม่ได้ รวมไปถึงต้องจำหลักการอ่านเชื่อมเสียงแบบต่าง ๆ จึงทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่ามันยากมาก แต่จริง ๆ แล้วน้อง ๆ หลายคนอาจเคยได้ยินหลักการจำที่ว่า “คำสมาสนำมาชน สนธินำมาเชื่อม” ซึ่งเป็นวิธีที่น้อง ๆ ควรจะใช้เป็นแนวทางในการจำอย่างเข้าใจ ดังนั้น เพื่อเป็นการเรียนรู้เรื่องคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิให้เข้าใจมากขึ้น วันนี้เราจะมาสอนหลักการง่าย ๆ ที่จะเป็นเคล็ดลับให้น้อง ๆ นำไปใช้ในการเรียน หรือการสอบเรื่องนี้ได้ดียิ่งขึ้น

 

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

 

คำสมาสแบบสมาส คืออะไร?

เป็นการสร้างคำจากการยืมคำในภาษาบาลีสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปแล้วนำมาชนต่อกัน ซึ่งอาจจะเป็นการชนกันระหว่างคำบาลีกับบาลี สันสกฤตกับสันสกฤต หรือคำบาลีกับสันสฤตก็ได้ โดยมีหลักการดังต่อไปนี้

หลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส

1. นำคำบาลีสันสกฤตมาชนกัน

     – วีระ + บุรุษ (สันสกฤต + สันสกฤต)

     – วาตะ + ภัย (บาลี + บาลี)

     – นาฏ + ศิลป์ (บาลี + สันสกฤต)

2.  นำคำที่ใช้ขยายมาวางไว้ข้างหน้าคำหลัก

       – คณิต (การคิดคำนวณ) + ศาสตร์ (วิชา) มีความหมายว่า วิชาเกี่ยวกับการคิดคำนวณ

       – หัตถ (มือ) + กรรม (การงาน) มีความหมายว่า งานที่ทำจากมือ หรืองานฝีมือ

3.  ไม่ใส่สระ อะ (- ะ ) หรือเครื่องหมายการันต์ (-์) ระหว่างคำ

      –  ศิลป์ + กรรม = ศิลปกรรม

      –  ธุระ + กิจ = ธุรกิจ

      –  มนุษย์ + นิยม = มนุษยนิยม

4. ให้อ่านออกเสียงเชื่อมกันระหว่างคำด้วย

       –  สุขภาพ (สุก – ขะ – พาบ) ‘สุข’ คำเดียวจะไม่ออกเสียง ‘ขะ’ แต่ถ้านำมาสมาสแล้วให้ออกเสียงเชื่อมกัน

       –  ประวัติศาสตร์ ( ประ – หวัด – ติ – สาด) ‘ประวัติ ‘ คำเดียวจะไม่ออกเสียง ‘ติ’ แต่ถ้านำมาสมาสแล้วให้ออกเสียงเชื่อมกัน

        –  อุทกภัย (อุ – ทก – กะ – พัย) อุทก’ คำเดียวไม่ออกเสียง ‘กะ’ แต่ถ้านำมาสมาสแล้วให้ออกเสียงเชื่อมกัน

 

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

 

ข้อสังเกต

  • มีคำสมาสบางคำเมื่อรวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำเลย แต่คำเหล่านี้ยังคำออกเสียง อะ อิ อุ เชื่อมระหว่างคำ เช่น วัฒนธรรม (วัฒน + ธรรม) เสรีภาพ (เสรี + ภาพ) สารคดี (สาร + คดี) เป็นต้น
  • คำใดที่มีสระอะ (- ะ ) หรือเครื่องหมายการันต์ (-์) ระหว่างคำให้มั่นใจเลยว่าไม่ใช่คำสมาส เช่น กิจจะลักษณะ วิพากษ์วิจารณ์ ประสิทธิ์ประสาท เป็นต้น
  • คำสมาสมักจะต่อท้ายด้วยคำว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย เช่น คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิศวกรรม ศิลปกรรม สุขภาพ เสรีภาพ วาตภัย อุทกภัย

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

 

คำสมาสแบบสนธิ คืออะไร?

เป็นคำสมาสอีกประเภทหนึ่งที่ใช้วิธีการนำคำในภาษาบาลีสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาเชื่อมกัน ทำให้สองคำนั้นกลมกลืนจนกลายเป็นคำเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการสร้างคำที่ดูมีชั้นเชิงขึ้นมาจากการสมาสคำในแบบแรก โดยจะมีหลักในการดังต่อไปนี้

หลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส

1.  ตัดสระท้ายของคำหน้าออกแล้วนำสระตัวแรกของคำหลังมาเชื่อม 

               หิมะ + อาลัย เมื่อตัดสระอะ (- ะ) จะกลายเป็น หิมาลัย

               วิทยา + อากร เมื่อตัดสระอะ (- า) จะกลายเป็น วิทยากร

               ศิลปะ + อากร เมื่อตัดสระอะ (- ะ) จะกลายเป็น ศิลปากร

2. ตัดสระท้ายคำหน้าออก และใช้สระตัวแรกของคำหลังมาเชื่อม แต่จะมีการเปลี่ยนสระของคำหลังก่อน เช่น

  • เปลี่ยนสระอะ (- ะ) เป็นสระอา (- า)

ประชา + อธิปไตย เปลี่ยนเสียง อะ ของอธิปไตยเป็นเสียง อา เมื่อรวมกันจึงกลายเป็นคำว่า ประชาธิปไตย

            เทศ + อภิบาล เปลี่ยนเสียง อะ ของอภิบาลเป็นเสียง อา เมื่อรวมกันจึงกลายเป็นคำว่า เทศาภิบาล

  • เปลี่ยนสระอุ (- ุ) เป็นสระอู (- ู) หรือสระโอ (- โ )

            ราช + อุปถัมม์ เปลี่ยนเสียง อุ ของอุปถัมม์เป็นเสียง อู เมื่อรวมกันจึงกลายเป็นคำว่า ราชูปถัมม์

            ราช + อุบาย เปลี่ยนเสียง อุ ของ อุบาย เป็นเสียง โอ เมื่อรวมกันจึงกลายเป็นคำว่า ราโชบาย

  • เปลี่ยนสระอิ ( -ิ ) เป็นสระเอ ( เ- )

             มหา + อิสี เปลี่ยนเสียง อิ ของ อิสี เป็นเสียง เอ เมื่อรวมกันจึงกลายเป็นคำว่า มเหสี

             นร + อิศวร เปลี่ยนเสียง อิ ของ อิศวร เป็นเสียง เอ เมื่อรวมกันจึงกลายเป็นคำว่า นเรศวร

  • เปลี่ยนสระอิ ( -ิ ) สระอี ( – ี ) เป็นพยัญชนะตัว ย.

            อธิ + อาศัย เปลี่ยนสระอิ เป็น ย. กลายเป็น อธย+อาศัย เมื่อรวมกันจะได้คำว่า อธยาศัย หรืออัธยาศัย

  • เปลี่ยนสระอุ ( -ุ ) สระอู ( -ู ) เป็นพยัญชนะตัว ว.

            ธนู+อาคม เปลี่ยนสระอู เป็น ว. กลายเป็น ธนว + อาคม เมื่อรวมกันจะได้คำว่า ธนวาคม หรือธันวาคม

3. ให้ใช้การสนธิพยัญชนะ หรือการเชื่อมด้วยพยัญชนะ

  • ตัดพยัญชนะตัว ส. ท้ายคำแล้วเชื่อมด้วยคำด้านหลัง

            ทุรส + กันดาร ตัดตัว ส. ของคำว่า ทุรส รวมกันจะกลาย เป็นคำว่า ทุรกันดาร

            นิรส + ภัย ตัดตัว ส. ของคำว่า นิรส รวมกันจะกลาย เป็นคำว่า นิรภัย

  • ตัดพยัญชนะตัว ส. ท้ายคำหน้าออก แล้วเปลี่ยนเป็น สระโอ ( โ-) เพื่อเชื่อมกับคำหลัง

             มนัส + คติ ตัดตัว ส. ของคำว่า มนัส รวมกันจะกลายเป็น คำว่า มโนคติ

             รหส + ฐาน ตัดตัว ส. ของคำว่า รหส รวมกันจะกลายเป็น คำว่า รโหฐาน

  • ตัดพยัญชนะตัว ส. ท้ายคำหน้าออก แล้วเปลี่ยนเป็น พยัญชนะตัว ร. เพื่อเชื่อมกับคำหลัง

             นิส + คุณ ตัดตัว ส. ของคำว่า นิส แล้วเปลี่ยนเป็นตัว ร. รวมกันจะกลายเป็นคำว่า นิรคุณ

             ทุส + ชน ตัดตัว ส. ของคำว่า ทุส แล้วเปลี่ยนเป็นตัว ร. รวมกันจะกลายเป็นคำว่า ทุรชน หรือทรชน

 

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

นฤคหิตสนธิ คืออะไร? 

เป็นการสนธิของคำที่มีตัวนฤคหิต (๐) กับคำมูล โดยจะใช้การเปลี่ยนพยัญชนะท้ายของคำด้านหน้าตาม   2 หลักการดังต่อไปนี้

หลักการสร้างคำแบบนฤคหิตสนธิ

(1) เปลี่ยนนฤคหิตตัวท้ายของคำแรกเป็นตัว ม. แล้วสนธิกับคำหลัง เช่น

       สํ + อาคม กลายเป็น สม + อาคม = สมาคม 

       สํ + อุทัย  กลายเป็น สม + อุทัย  = สมุทัย

(2) เปลี่ยนนฤคหิตของคำหน้าตามพยัญชนะตัวแรกของคำหลัง โดยให้ดูว่าพยัญชนะตัวแรกของคำหลังขึ้นต้นด้วยตัวอะไร แล้วเปลี่ยนตามหลักพยัญชนะวรรค ดังนี้

        ถ้าพยัญชนะตัวแรกของคำหลังขึ้นต้นด้วยวรรคกะ หรือตัว ก/ ข/ ค/ ฆ/ ง ให้เปลี่ยนให้เป็นตัว ง.

        ถ้าพยัญชนะตัวแรกของคำหลังขึ้นต้นด้วยวรรคจะ หรือตัว จ/ ฉ/ ช/ ฌ/ ญ ให้เปลี่ยนให้เป็นตัว ญ.

        ถ้าพยัญชนะตัวแรกของคำหลังขึ้นต้นด้วยวรรคฏะ หรือตัว ฏ/ ฐ/ ฑ/ ฒ/ ณ ให้เปลี่ยนให้เป็นตัว ณ.

        ถ้าพยัญชนะตัวแรกของคำหลังขึ้นต้นด้วยวรรคตะ หรือตัว ต/ ถ/ ท/ ธ/ น ให้เปลี่ยนให้เป็นตัว น.

        ถ้าพยัญชนะตัวแรกของคำหลังขึ้นต้นด้วยวรรคปะ หรือตัว ป/ ผ/ พ/ ภ/ ม ให้เปลี่ยนให้เป็นตัว ป.

ตัวอย่าง

       สํ + กร คำว่า กร มีพยัญชนะตัวแรกเป็นตัว ก. ก็จะเปลี่ยนตัวนฤคหิตตัวหน้าให้กลายเป็น ง.

      = สงกร หรือ สังกร 

      สํ + จร คำว่า จร มีพยัญชนะตัวแรกเป็นตัว จ. ก็จะเปลี่ยนตัวนฤคหิตตัวหน้าให้กลายเป็นตัว ญ.

       = สญจร หรือ สัญจร

       สํ + นิวาส คำว่า นิวาส มีพยัญชนะตัวแรกเป็นตัว น. ก็จะเปลี่ยนตัวนฤคหิตของตัวหน้าให้กลายเป็น น.

       = สนนิวาส หรือ สันนิวาส

       สํ + ฐาน คำว่า ฐาน มีพยัญชนะตัวแรกเป็นตัว ฐ. ก็จะเปลี่ยนตัวนฤคหิตของตัวหน้าให้กลายเป็น ณ.

       = สณฐานหรือ สัณฐาน

เป็นอย่างไรกันบ้างน้อง ๆ ม. 2 ทุกคน หลังจากที่ได้ดูหลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิที่เราได้สรุปมาให้น้อง ๆ อย่างละเอียดแล้ว ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาของเรื่องนี้มากขึ้นหรือเปล่า จะเห็นว่าวันนี้นอกจากหลักการสร้างคำสมาส – สนธิแล้วก็ยังมีหลักการสร้างคำตามแบบนฤคหิตสนธิมาให้น้อง ๆ ได้ศึกษาเพิ่มเติมกันด้วย โดยเนื้อหาเรื่องนี้ทุกคนจะได้เรียนทั้งในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย เพราะฉะนั้นอย่าลืมไปทำความเข้าใจกันมาให้ดี แนะนำว่าให้น้อง ๆ ดูวิดีโอการสอนจากครูพี่อุ้มที่เราแนบมาให้ด้านล่างประกอบไปด้วยก็จะยิ่งช่วยให้เราเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน มีความเกี่ยวข้องกันเนื่องจากฟังก์ชันที่เราเขียนในรูป y = f(x) สามารถนำไปเขียนกราฟในระบบพิกัดฉากได้ ซึ่งกราฟในระบบพิกัดฉากก็คือ กราฟที่ประกอบไปด้วยแกน x และ แกน y   ก่อนที่เราจะเริ่มบทเรียนของฟังก์ชัน อยากให้น้องๆได้ศึกษารูปต่อไปนี้ก่อนนะคะ จากรูป คือการส่งสมาชิกในเซต A ไปยังสมาชิกในเซต B เซต A จะถูกเรียกว่า โดเมน

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ประเมินคุณค่าและสรุปความรู้

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   โคลงภาพพระราชพงศาวดาร เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ จากบทเรียนครั้งก่อนที่เราได้ศึกษาที่มาและเนื้อเรื่องอย่างคร่าว ๆ กันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตกลับไปอีกครั้งเพื่อศึกษาคุณค่าด้านต่าง ๆ ในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ไปเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทัยขาดคอช้าง     คุณค่าด้านเนื้อหา เนื้อหาในตอนพระสุริโยทัยขาดคอช้าง กล่าวถึงตอนที่พระสุริโยทัยแต่งตัวเป็นชายแล้วออกไปรบกับกองทัพของพระเจ้าบุเรนอง และตัดสินใจเข้าไปช่วยพระมหาจักรพรรดิหรือพระสวามีในตอนที่กำลังเสียทีให้กับพระเจ้าแปรจนสิ้นพระชนม์คาคอช้าง

การออกเสียงพยัญชนะไทย-01

เสียงพยัญชนะไทย ออกเสียงอย่างไรให้ถูกต้อง

  เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคงเคยสงสัยเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทยกันไม่มากก็น้อย เพราะพยัญชนะในภาษาไทยของเรานั้นมีด้วยกัน 44 ตัว แต่กลับมีหน่วยเสียงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ทำไมการออกเสียงพยัญชนะไทยถึงไม่สามารถออกเสียงตามรูปอักษรทั้ง 44 รูปได้? ไหนจะพยัญชนะท้ายที่เขียนอีกอย่างแต่ดันออกเสียงไปอีกอย่าง บทเรียนในวันนี้จะช่วยไขข้อข้องใจให้กับน้อง ๆ หรือคนที่กำลังสับสนเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทย ให้กระจ่างและสามารถออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     เสียงพยัญชนะไทย เสียงพยัญชนะ คือ

should have

I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

การวัดปริมาตรและน้ำหนัก

การวัดปริมาตรและน้ำหนัก

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้หน่วยที่ใช้ในการวัดปริมาตร และน้ำหนักที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งยังมีมาตรฐาน ซึ่งแต่ละหน่วยล้วนแต่มีความสัมพันธ์กัน

การถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English

สวัสดีค่ะนักเรียนป.6 ที่น่ารักทุกคน เคยมั้ยที่เราเจอฝรั่งถามทางแล้วตอบไม่ได้ ทำได้แค่ชี้ๆ แล้วก็บ๊ายบาย หากทุกคนเคยเจอปัญหานี้ ต้องท่องศัพท์และรู้โครงสร้างประโยคที่สำคัญในการถามทางแล้วล่ะ ไปลุยกันเลย   การถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English   การถามทิศทางจะต้องมีประโยคเกริ่นก่อนเพื่อให้คนที่เราถาม ตั้งตัวได้ว่า กำลังจะโดนถามอะไร ยังไง ซึ่งเราสามารถถามได้ทั้ง คำถามแบบสุภาพเมื่อพูดกับคนที่เราไม่คุ้นเคย หรือ คำถามทั่วไปเมื่อพูดกับคนใกล้ตัว  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1