Contrast Words : คำที่ใช้แสดงความขัดแย้งในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคำเชื่อมที่ใช้บอกสิ่งที่ตรงข้ามกัน (Contrast Words) กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Contrast Words

คำที่แสดงความตรงกันข้าม (Contrast words) นั้นเป็นคำสันธาน หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำเชื่อม ซึ่งเป็นคำประเภทหนึ่งที่เอาไว้ใช้แสดงให้เห็นถึงความหมายที่ขัดแย้งกันในประโยคนั่นเองครับ ซึ่งคำเชื่อมที่น้องๆ มักจะเจอบ่อยๆ ได้แก่

contrast words

 

การใช้ “but”

คำว่า ‘but’ นั้นจัดอยู่ในกลุ่ม Coordinating Conjunctions (กลุ่มเดียวกันกับ for, and, nor, or, yet, so) ซึ่งคำว่า ‘but’ นี้มีไว้เชื่อมคำหรือประโยคที่มีความหมายตรงข้ามกันเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า ‘แต่’ เช่น

 

Pizza is delicious but unhealthy.
(พิซซ่าอร่อยแต่แพง)
‘but’ ในประโยคนี้เชื่อมคำคุณศัพท์ 2 คำเข้าด้วยกันนั่นคือ ‘delicious’ และ ‘unhealthy’

 

My mom wants to travel abroad but she doesn’t have a passport.
(แม่ของฉันต้องการไปเที่ยวต่างประเทศ แต่เธอไม่มีพาสปอร์ต)
‘but’ ในประโยคนี้เชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกันคือ
My mom wants to travel abroad. และ She doesn’t have a passport.

example

 

การใช้ “although” และ “though”

คำว่า ‘although’ และ ‘though’ นั้นจัดอยู่ในกลุ่ม Subordinating Conjunctions (กลุ่มเดียวกันกับ since, because, while, whereas, after, etc.) ซึ่งคำว่า ‘although’ นี้มีไว้เชื่อมประโยคที่มีความหมายตรงข้ามกัน มีความหมายว่า ‘แม้ว่า’ เช่น

 

I don’t want to sleep although I’m tired.
(ฉันไม่ต้องการนอนแม้ว่าฉันจะเหนื่อย)

Though people say France is dangerous, I still want to visit this country.
(แม้ว่าผู้คนบอกว่าฝรั่งเศสนั้นอันตราย ฉันก็ยังอยากไปเยี่ยมประเทศนี้)

Although he is very rich, he doesn’t have a girlfriend.
(แม้ว่าเขาจะรวยมาก เขาก็ไม่มีแฟน)

 

ข้อสังเกตและข้อควรระวัง

  • ‘although’ และ ‘though’ นั้นสามารถใช้ตรงกลาง หรือขึ้นต้นประโยคก็ได้ หากขึ้นต้นประโยคจะต้องใส่คอมม่า (,) คั่นระหว่างประโยคด้วย
  • ‘although’ และ ‘though’ ใช้เชื่อมประโยคเท่านั้น ไม่สามารถใช้เชื่อมคำเหมือนกับ ‘but’ ได้
    1. She is beautiful although lazy. ประโยคนี้ต้องใช้ ‘but’ แทน
  • หากใช้ ‘although’ และ ‘though’ ขึ้นต้นประโยคแล้ว ไม่ต้องเชื่อมประโยคด้วย ‘but’ อีก
    1. Although Sara studies very hard, but she failed the English exam.

example 2

 

การใช้ “even though” และ “even if”

คำว่า ‘even though’ และ ‘even if’ นั้นจัดอยู่ในกลุ่ม Subordinating Conjunctions เช่นเดียวกับ ‘although’ และ ‘though’ และมีความหมายคล้ายกัน จึงมีหลักการใช้เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น

 

Even though I regularly exercise, I still always get sick.
(แม้ว่าฉันออกกำลังกายเป็นประจำ ฉันก็ยังป่วยอยู่บ่อยๆ)

I feel very tired even if I go to bed early.
(ฉันรู้สึกเหนื่อยมาก แม้ว่าฉันจะเข้านอนเร็ว)

 

การใช้ “however”, “nevertheless” และ “nonetheless”

คำว่า ‘however’, ‘nevertheless’ และ ‘nonetheless’ นั้นมีความหมายว่า “อย่างไรก็ตาม” จัดอยู่ในประเภทคำวิเศษณ์ (Adverb) มักใช้ในการเชื่อมใจความ ความคิด หรือไอเดีย ที่ตรงข้ามกัน เช่น

 

I understand that you really need financial support. However, I cannot lend you my money.
(ผมเข้าใจว่าคุณต้องการความช่วยเหลือด้านการเงินจริงๆ อย่างไรก็ตามผมไม่สามารถให้คุณยืมเงินได้)

Patrick has lived in Thailand for ten years. Nevertheless, he cannot speak Thai at all.
(แพทริกอาศัยอยู่ที่ประเทศไทยมาเป็นเวลาสิบปีแล้ว อย่างไรก็ตามเขาพูดภาษาไทยไม่ได้เลย)

Our company is facing a big economic crisis. I, however, insist on opening our new branches nationwide.
(บริษัทของเรากำลังประสบวิกฤตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามผมก็ยังยืนยันการเปิดสาขาใหม่ทั่วประเทศ)

example 3

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ สำหรับการใช้ Contrast Words เพื่อแสดงถึงเหตุผลที่ขัดแย้งกัน เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากๆ ทั้งในการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษ ฉะนั้นอย่าลืมทบทวนกันด้วยนะครับ และหากน้องๆ ต้องการศึกษาเพิ่มเติมก็สามารถรับชมวิดีโอจากช่อง Nock Academy ด้านล่างนี้ได้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ที่มาของขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

​ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณกรรมที่เชื่อว่ามีเค้าเรื่องจริงในสมัยอยุธยา มีมากมายหลายตอน แต่ตอนที่ถูกนำมาให้เด็กได้เรียนกันมีด้วยกันสองตอนคือกำเนิดพลายงามและขุนช้างถวายฎีกา สำหรับตอนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือตอน กำเนิดพลายงาม ซึ่งคือว่าเป็นตอนที่สำคัญอย่างมากเพราะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดของเรื่อง ตอนนี้จะมีความเป็นมา เรื่องย่อ และมีความดีเด่นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ชำระเสภาขุนช้างขุนแผน ได้ทรงประชุมกวีเอกสมัยนั้น ช่วยกันแต่งคนละตอนสองตอน สุนทรภู่ก็ได้รับมอบหมายให้ร่วมแต่งด้วย และท่านคงต้องแต่งอย่างสุดฝีมือทำให้ตอน

เพลงพื้นบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนในอดีตผ่านบทเพลง

ในอดีตประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประชาชนมีชีวิตที่สุขสบาย เมื่อมีเวลาว่างก็มักรวมตัวกันในชุมชนเพื่อร้องรำทำเพลง เล่นกันสนุกสนาน หรือในงานเทศกาลต่าง ๆ บทเพลงที่ใช้ร้องเล่นกันนั้นเรียกว่า เพลงพื้นบ้าน ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บทเรียนในวันนี้เราจะไปพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของเพลงพื้นบ้านในแต่ละถิ่นของประเทศไทยกันว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   เพลงพื้นบ้าน   เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีการร้องเล่นที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ นิยามเล่นกันในเทศกาลต่าง ๆ หรืองานที่มาร่วมรื่นเริงกัน

ลบไม่ได้ช่วยให้ลืม เช่นเดียวกับการลบเศษส่วนและจำนวนคละ!

บทความที่แล้วเราได้กล่าวถึงการบวกเศษส่วนและจำนวนคละไปแล้ว บทต่อมาก็จะเป็นเรื่องของการลบเศษส่วนและจำนวนคละ ทั้งสองเรื่องนี้มีหลักการคล้ายกันต่างกันที่เครื่องหมายที่บ่งบอกว่าโจทย์ต้องการทราบอะไร ดังนั้นบทความนี้จะอธิบายถึงหลักการลบเศษส่วนและจำนวนคละอย่างละเอียดและยกตัวอย่างให้น้อง ๆเข้าใจอย่างเห็นภาพและสามารถนำไปปรับใช้กับแบบฝึกหัดเรื่องการลบเศษส่วนและจำนวนคละได้

Direct Object

Direct and Indirect Objects

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง Direct และ Indirect Objects กันครับว่าคืออะไร ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

โคลนติดล้อ บทความปลุกใจในรัชกาลที่ 6

เป็นที่รู้กันดีกว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ของเรานั้น ทรงโปรดงานด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่ยังเยาว์ และเริ่มงานวรรณกรรมตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ทำให้มีผลงานในพระราชนิพนธ์มากมายหลายเรื่อง และแตกต่างกันออกไป ที่ผ่านมาน้อง ๆ คงจะได้เรียนมาหลายเรื่องแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับผลงานของพระองค์อีกเรื่องหนึ่ง แตกต่างจากเรื่องก่อน ๆ ที่เคยเรียนมาอย่างแน่นอน เพราะเรากำลังพูดถึงโคลนติดล้อ ผลงานในพระราชนิพนธ์ที่อยู่ในรูปแบบของบทความ จะมีที่มา มีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น เราไปติดตามกันเลยค่ะ   ที่มาของ โคลนติดล้อ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1