I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ
should have

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Should Have + Past Participle

ในภาษาอังกฤษเราจะใช้โครงสร้าง should have + past participle (กริยาช่อง 3) ในการพูดถึงเรื่องราวในอดีตที่ “ไม่ได้เกิดขึ้นจริง” บางที่อาจจะบอกว่า “ใช้เล่าถึงอดีตที่ตรงข้ามกับความจริงในปัจจุบัน” ซึ่งโครงสร้างนี้มีความหมายว่า “ควรจะ” หรือ “น่าจะ” ใช้แสดงอารมณ์เสียดาย หรือผิดหวังที่เราไม่ได้ทำสิ่งนั้นๆ นั่นเองครับ ซึ่งโครงสร้างของมันก็คือ

should have done

ซึ่งเราสามารถเขียนแบบย่อได้เป็น should’ve

 

ตัวอย่างการใช้ในประโยคบอกเล่า

I should’ve done that.
= (ในตอนนั้น)ฉันน่าจะทำมัน

I should’ve called you last night.
(ฉันน่าจะโทรหาเธอเมื่อคืนนี้)
= ความจริงคือไม่ได้โทรและรู้สึกผิด

You should’ve told me beforehand.
(คุณน่าจะบอกฉันก่อนหน้านี้นะ)
= ความจริงคือไม่ได้บอก

 

Shouldn’t Have + Past Participle

หากเราต้องการทำเป็นประโยคปฏิเสธ เราสามารถเติม not ไว้ข้างหลัง should ได้เลยครับ และสามารถเขียนย่อได้เป็น shouldn’t ซึ่งจะแปลว่า “ไม่น่า…เลย” และเราสามารถเขียนโครงสร้างของมันได้ดังนี้

shouldn't have done

 

ตัวอย่างการใช้แบบประโยคปฏิเสธ

I shouldn’t have done that.
(ฉันไม่น่าทำมันเลย)
= ความจริงคือทำลงไปแล้ว

You shouldn’t have called me. I was in an important meeting.
(คุณไม่ควรโทรหาฉันเลย ตอนนั้นฉันกำลังมีประชุมสำคัญ)
= สามารถอนุมานได้ว่าเขาโทรมาตอนที่เธอกำลังอยู่ในที่ประชุม

She shouldn’t have bought that bag. It’s on sale for 90% today.
(เธอไม่น่าซื้อกระเป๋าใบนั้นเลย ตอนนี้มันกำลังเซลล์ 90%)
= ความจริงคือเธอซื้อกระเป๋ามาแล้วในราคาเต็ม

Mike shouldn’t have left you alone in the cinema.
(ไมค์ไม่ควรทิ้งเธอไว้ในโรงภาพยนตร์คนเดียวเลย)
= ความจริงคือเขาทิ้งเธอไว้ในโรงภาพยนตร์คนเดียว

 

น้องๆ จะเห็นว่าเรื่อง Should Have + Past Participle นั้นเป็นไวยากรณ์เรื่องเล็กๆ แต่สำคัญและได้ใช้บ่อยๆ มากในชีวิตประจำวัน เพราะบางครั้งเราก็เผลอทำอะไรลงไปแล้วค่อยมานึกเสียดาย หรือรู้สึกผิดทีหลังอยู่บ่อยๆ เลยล่ะครับ แต่ถ้าไม่อยากรู้สึกเสียดายทีหลังน้องๆ สามารถตั้งใจดูวิดีโอเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ด้านล่างนี้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ศัพท์บัญญัติ

ศัพท์บัญญัติ เรียนรู้การยืมคำและบัญญัติขึ้นใหม่

น้อง ๆ หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่า ศัพท์บัญญัติ สักเท่าไหร่ บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับศัพท์บัญญัติที่ว่านั่นกันค่ะว่าคืออะไร มีที่มาและมีหลักเกณฑ์ในการสร้างอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้กันแล้ว ก็ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การบัญญัติศัพท์คืออะไร     การบัญญัติศัพท์ คือการกำหนดคำศัพท์จากภาษาต่างประเทศขึ้นมาใหม่ในภาษาไทย เพื่อใช้สื่อความหมายบางอย่างโดยเฉพาะในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่ง หรือเพื่อใช้ในการเขียนเอกสารของงานราชการ ตามเจตนาของผู้บัญญัติ ซึ่งคำศัพท์ที่เกิดจากวิธีการเช่นนี้จะเรียกว่า ศัพท์บัญญัติ โดยทั่วแล้วศัพท์บัญญัติมักจะมาจากภาษาอังกฤษ

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆ จำนวน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้หลักการเขียนอัตราส่วนแทนการเปรียบเทียบปริมาณของสิ่งต่างๆที่มากกว่า 2 สิ่งขึ้นไปได้ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนของจํานวนหลายๆจํานวนในการแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆได้

Passive Voice ในปัจจุบัน

Passive Voice ในรูปปัจจุบัน

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูการใช้ Passive Voice ในรูปปัจจุบัน กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมาย   Passive Voice (แพ็ซซิฝ ว็อยซ) หมายถึงประโยคที่เน้นกรรม โดยการนำโครงสร้างผู้ถูกกระทำขึ้นต้นประโยค และหากว่าต้องการเน้นผู้กระทำให้เติม  “by + ผู้กระทำ” ท้ายประโยค แต่ว่าเราสามารถละ by ไว้ได้น๊า ในบทนี้เราจะไปดูรูปประโยคในปัจจุบันกันจร้า

Present Cont

Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง” Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และเทคนิคการจำและนำ Tense ไปใช้กันจร้า หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย การใช้ Present Continuous Tense     อธิบายสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น เช่น Danniel is playing a football at

สมมูลและนิเสธ

สมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ

“สมมูลและนิเสธ” ของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สมมูลและนิเสธ เราเคยเรียนกันไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่เป็นของประพจน์ p, q, r แต่ในบทความนี้จะเป็นสมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ซึ่งก็จะเอาเนื้อหาก่อนหน้ามาปรับใช้กับประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ สิ่งที่เราจะต้องรู้และจำให้ได้ก็คือ การสมมูลกันของประพจน์ เพราะจะได้ใช้ในบทนี้แน่นอนน ใครที่ยังไม่แม่นสามารถไปอ่านได้ที่ บทความรูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน  นิเสธของตัวบ่งปริมาณ เมื่อเราเติมนิเสธลงไปในประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ ข้อความต่อไปนี้จะสมมูลกัน กรณี 1 ตัวแปร ∼∀x[P(x)] ≡ ∃x[∼P(x)] ∼∃x[P(x)]

should have

I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1