การวัดและความเป็นมาของการวัด

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ความเป็นมาของการวัดในหลายๆมิติ จนกระทั่งวิวัฒนาการที่ทำให้ได้ความแม่นยำในการวัดอย่างเป็นมาตรฐานมากขึ้นเรื่อยๆ
การวัด

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เนื่องจากในสมัยโบราณยังไม่มีเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานในการวัดจึงได้มีการสื่อสารกันโดยอาศัยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติการสื่อความหมายต่างๆ และได้มีวิวัฒนาการเครื่องมือและหลักการของการวัดอย่างเป็นมาตรฐานมาเรื่อยๆ

ความหมายของการวัด

เนื่องจากในสมัยโบราณยังไม่มีเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานในการวัดไม่ว่าจะเป็นระยะทาง เวลาพื้นที่ หรือปริมาตร จึงได้มีการสื่อสารกันโดยอาศัยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติการสื่อความหมายต่างๆ หลังจากนั้นได้มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ ตามยุคสมัย สำหรับการวัดความยาวมีวิวัฒนาการดังนี้ การวัดระยะทางจะใช้การบอกทางใกล้-ไกลโดยเปรียบเทียบกับธรรมชาติเช่น ไปอีกประมาณคุ้งน้ำ ต่อมาก็พัฒนามาเรื่อยๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้นโดยใช้ส่วนของร่างกายเป็นเกณฑ์ เช่น นิ้ว ศอก คืบ วา แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเพราะคืบ วา ศอก ของแต่ละคน แต่ละชุมชนนั้นมีความยาวไม่เท่ากัน

ความเป็นมาของการวัด

วิวัฒนาการการวัดและเครื่องมือวัดเป็นมาตรฐานสากล

 

2.1 ระบบอังกฤษ กำหนดหน่วยความยาวเป็น นิ้ว ฟุต หลา และไมล์

2.2 ระบบเมตริก กำเนิดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสกำหนดความยาวเป็นเซนติเมตร เมตร กิโลเมตรเป็นต้น

ประเทศไทยก็ได้ประกาศพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2466 โดยใช้ระบบเมตริกร่วมกับการวัดของไทยโดยเทียบเข้าหาระบบเมตริกดังนี้

 2 ศอก = 1 เมตร

1วา      =  2 เมตร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้กำหนดระบบวัดขึ้นมาใหม่เรียกว่าระบบหน่วยระหว่างประเทศหรือเรียกย่อ ๆ ว่าหน่วย SI เพื่อใช้ในการวัดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหน่วย SI ได้กำหนดหน่วยรากฐานที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน 7 หน่วยคือ

เมตร (m) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความยาว

กิโลกรัม (kg) เป็นหน่วยที่ใช้วัดมวล

วินาที (s) เป็นหน่วยที่ใช้วัดเวลา

แอมแปร์ (A) เป็นหน่วยที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า

เคลวิน (K) เป็นหน่วยที่ใช้วัดอุณหภูมิ

แคนเดลา (d) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง

โมล (mol) เป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาตรของสาร

สำหรับหน่วยวัดความยาวจากหน่วยรากฐานคือ เมตร จะสามารถเพิ่มหน่วยการวัดได้โดยการนำคำมาเพิ่มข้างหน้าเพื่อเพิ่มหน่วยวัดให้มากขึ้นเช่น เซนติเมตร (cm) กิโลเมตร (km) เท่ากับ 1,000 เมตรเป็นต้น นอกจากการมีหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานแล้วในการวัดยังมีสิ่งสำคัญอีก 2 อย่างคือเครื่องมือที่ใช้วัดและคนวัด กล่าวคือถ้าเครื่องมือวัดได้มาตรฐานและคนวัดมีความแม่นยำ ค่าที่วัดได้ทุกครั้งก็มีความเที่ยงตรง

อย่างไรก็ตามในชีวิตประจำวันของเราไม่อาจนำเครื่องมือวัดติดตามไปได้ทุกที่เมื่อมีความจำเป็นต้องการทราบความยาวหรือปริมาณของสิ่งต่างๆก็ต้องใช้การคาดคะเน การคาดคะเน คือการบอกประมาณของปริมาณของสิ่งต่างๆโดยไม่ได้วัดจริงค่าที่ได้จากการคาดคะเนจะใกล้เคียงความเป็นจริมมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และทักษะของผู้คาดคะเน

คลิปตัวอย่างการวัดและความเป็นมาของการวัด

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เตรียมสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสตรีวิทยา

เตรียมสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสตรีวิทยากันเถอะ   สวัสดีค่ะ มาพบกับแอดมินและ Nock Academy กับบทความเตรียมสอบเข้าม.1 กันอีกแล้วแต่วันนี้เรามาในบทความการสอบเข้าของโรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนหญิงล้วนที่มีชื่อเสียงโด่งดังมานานกว่า 118 ปี อีกทั้งยังเคยเป็นสถานศึกษาของสมเด็จย่าและเคยได้รับเสด็จสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กล่าวได้ว่าเป็นโรงเรียนที่มีความผูกพันธ์กับราชวงศ์ของไทยและเป็นสถานที่ที่เคยต้อนรับราชวงศ์ชั้นสูงมาแล้วอีกด้วย นับเป็นความภาคภูมิใจแก่ผู้ที่ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนแห่งนี้เป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่เรื่องของความเก่าแก่และยาวนานของโรงเรียนที่ทำให้โรงเรียนสตรีวิทยานั้นเป็นที่รู้จัก แต่ในด้านของวิชาการก็มีความเข้มข้นและการแข่งขันที่สูงด้วยเช่นเดียวกัน โรงเรียนสตรีวิทยาในปัจจุบันมีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ถือได้ว่าเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ มีอัตราการสอบเข้าศึกษาที่สูงมากในแต่ละปี

แผนภูมิแท่ง และการเปรียบเทียบข้อมูล

บทความนี้จะพูดถึงการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิแท่งไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูล 2 จำนวน และ 3 จำนวน น้องๆจะสามารถนำข้อมูลที่สำรวจมาเขียนเป็นแผนภูมิแท่งได้และจะง่ายต่อการนำเสนอมากยิ่งขึ้น

รู้ไว้ไม่พลาด! คำที่มักเขียนผิด ในภาษาไทย มีคำว่าอะไรบ้าง?

ปัจจุบัน ปัญหาเรื่องการสะกดคำในภาษาไทยถือเป็นปัญหาใหญ่หลัก ๆ ของเด็กทุกคนในสมัยนื้ เนื่องจากว่าโลกของเรามีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ภาษามีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพื่อให้สะดวกต่อการใช้ในโซเชี่ยลมีเดียพูดคุยกับเพื่อน โดยการจะตัดคำให้สั้นลงหรือเปลี่ยนตัวสะกด ลดการใช้ตัวการันต์ ทำให้เมื่อต้องมาเขียนคำที่ถูกต้องกันจริง ๆ ก็มีเด็ก ๆ หลายคนที่สะกดผิด ไม่รู้ว่าคำที่ถูกต้องเป็นอย่างไร น้อง ๆ อยากลองสำรวจตัวเองดูกันไหมคะว่าคำในภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เราเขียนถูกกันมากน้อยแค่ไหน อยากถามรู้แล้วเราไปดูเรื่อง คำที่มักเขียนผิด พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนสะกดคำ  

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ปก

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธีการเขียน กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ซึ่งทำได้โดยการหาความสัมพันธ์ของจำนวนสองจำนวน เขียนให้อยู่ในรูปคู่อันดับ และเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ข้างต้น ซึ่งน้องๆสามารถศึกษาการเขียนกราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้นเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ⇐⇐ คู่อันดับ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น เขียนแสดงความเกี่ยวข้องของปริมาณสองปริมาณที่กำหนดให้ โดยความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น ปริมาณของน้ำประปาที่ใช้กับค่าน้ำ ปริมาณเวลาในการใช้โทรศัพท์กับค่าโทรศัพท์ ระยะทางที่โดยสารรถประจำทางปรับอากาศกับค่าโดยสาร ปริมาณของกระแสไฟฟ้ากับค่าไฟฟ้า เป็นต้น เราสามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์เหล่านี้ในรูปตาราง แผนภาพ คู่อันดับ รวมทั้งแสดงในรูปของกราฟได้ ซึ่งในหัวข้อนี้ เราจะทำความรู้จักกับคู่อันดับกันก่อนนะคะ

Suggesting Profile

การใช้ Imperative for Advice

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ “การใช้ Imperative for Advice หรือ การใช้ประโยคแนะนำในภาษาอังกฤษ”กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า ประโยคแนะนำที่เจอบ่อย (Imperative for advice) คำศัพท์น่าสนใจ Advice (Noun): คำแนะนำ Advise (Verb): แนะนำ ประโยคคำแนะนำ ส่วนใหญ่แล้วจะเจอในรูปแบบของประโยคบอกเล่า ซึ่งจะมีความหมายในทางเสนอแนะ

ประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่รักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูตัวอย่างประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions กันค่ะ ไปลุยกันเลย ตารางเปรียบเทียบประโยคก่อนเข้าสู่บทเรียน: คำถาม Wh-questions VS Yes-no Questions ประโยคคำถามแบบ Wh-question “what” ประโยคคำถามที่ใช้ would + Subject +like…

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1