การตั้งคำถามโดยใช้ Can และ Could

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการใช้กริยาช่วยคือ Can และ Could กันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย
can could

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Can และ Could คืออะไร?

ถ้าเรียกตามหลักภาษาแล้ว Can และ Could จะอยู่ในกลุ่มกริยาที่มีชื่อว่า Modals เป็นกริยาช่วยประเภทหนึ่ง ซึ่งก็จะมีกริยาอีกหลายๆ ตัวที่เป็น Modals เช่น will, would, should, เป็นต้น

Can และ Could นั้นปกติแล้วจะแปลว่า “สามารถ” โดยจะมีหลักการใช้เบื้องต้นดังนี้

1) ใช้ถามเกี่ยวกับความสามารถ (ask about ability)
2) ใช้เพื่อขออนุญาต (ask for permission)

 

การใช้ถามเกี่ยวกับความสามารถ

เราสามารถใช้ Can/Could เพื่อบอกความสามารถ (ability) ของเราได้ ตัวอย่างเช่น

I can swim.

(ฉันว่ายน้ำได้)

 

Tony can dance.

(โทนี่เต้นได้)

 

หรือถ้าเป็นความสามารถที่เราทำได้ในอดีต (ปัจจุบันทำไม่ได้แล้ว) ให้ใช้คำว่า could เช่น

She could swim.

(เธอเคยว่ายน้ำได้) *ปัจจุบันว่ายน้ำไม่ได้แล้ว

 

I could speak French.

(ฉันพูดภาษาฝรั่งเศสได้) *ปัจจุบันพูดไม่ได้แล้ว

 

ดังนั้นหากเราต้องการถามใครสักคนว่า “คุณสามารถ…ได้ไหม?” เราจะทำได้ดังนี้

can could

 

ตัวอย่าง

Can you speak Thai?

(คุณพูดภาษาไทยได้ไหม?)

ตอบ: Yes, I can./No, I can’t.

 

Can Tony dance?

(โทนี่เต้นได้ไหม?)

ตอบ: Yes, he can./No, he can’t.

 

Can she roll her tongue?

(เธอม้วนลิ้นได้ไหม?)

ตอบ: Yes, she can./No, she can’t.

can you?

 

การใช้เพื่อขออนุญาต

นอกจากจะใช้ถามเกี่ยวกับความสามารถแล้ว เรามักจะใช้ can/could ในการขออนุญาตได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น

Can I borrow your rubber?

(ฉันขอยืมยางลบของคุณได้ไหม?)

 

Can I use your computer?

(ฉันขอใช้คอมพิวเตอร์ของคุณได้ไหม?)

 

Can I bring my girlfriend with me?

(ผมสามารถพาแฟนสาวไปกับผมด้วยได้ไหม?)

can I?

 

การใช้ Could นั้นมีความหมายเหมือนกับ Can แต่จะมีความเป็นทางการและสุภาพมากกว่า เรามักใช้กับการขออนุญาตผู้ที่อาวุโสกว่า หรือคนที่เราเพิ่งรู้จัก และมักลงท้ายด้วยคำว่า please ตัวอย่างเช่น

Could you pass me some sugar, please?

(คุณช่วยส่งน้ำตาลมาให้หน่อยได้ไหม?

 

Could you give us a moment, please?

(คุณช่วยให้เวลาเราสักครู่ได้ไหม?)

 

Could you explain that topic for me, please?

(คุณช่วยอธิบายหัวข้อนั้นให้ฉันทีได้ไหม?)

could you?

 

นี่ก็เป็นหลักในการใช้ Can และ Could ในการตั้งคำถามแบบเข้าใจง่ายๆ หวังว่าน้องๆ จะเอาไปลองใช้ในชีวิตประจำวันกันนะครับ โดยน้องๆ สามารถชมวิดีโอเกี่ยวกับการใช้ Can และ Could เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นด้านล่างนี้ได้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ดีเทอร์มิแนนต์

ดีเทอร์มิแนนต์ ดีเทอร์มิแนนต์ (Determinant) คือ ค่าของตัวเลขที่สอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส จะเขียนแทนดีเทอร์มิแนนต์ของ A ด้วย det(A) หรือ โดยทั่วไปการหาค่าดีเทอร์มิแนนต์ที่เจอในข้อสอบจะไม่เกินเมทริกซ์ 3×3 เพราะถ้ามากกว่า 3 แล้ว จะเริ่มมีความยุ่งยาก **ค่าของดีเทอร์มิแนนต์จะเป็นจำนวนจริงและมีเพียงค่าเดียวเท่านั้นที่จะสอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส เช่น เมทริกซ์ B ก็จะมีค่าดีเทอร์มิแนนต์เพียงค่าเดียวเท่านั้น**  

บวกเศษส่วนและจำนวนคละให้ถูกต้องตามหลักการ

การบวกคือพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ต้องเจอมาตั้งแต่ระดับอนุบาล แต่นั่นคือการบวกจำนวนเต็มโดยหลักการคือการนับรวมกัน แต่การบวกเศษส่วนและจำนวนคละนั้นเราไม่สามารถนับได้เพราะเศษส่วนไม่ใช่จำนวนนับ บทความนี้จึงจะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการบวกเศษส่วนและจำนวนคละ อ่านบทความนี้จบรับรองว่าน้อง ๆจะเข้าใจและสามารถบวกเศษส่วนจำนวนคละได้เหมือนกับที่เราสามารถหาคำตอบของ 1+1 ได้เลยทีเดียว

passive modals

Passive Modals: It can be done!

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง Passive Voice ในกริยาจำพวก Modals กันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย

กราฟของความสัมพันธ์

กราฟของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ r คือเซตของจุดในระนาบx, y โดยที่แต่ละจุดคือสมาชิกของความสัมพันธ์ r นั่นเอง อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ เมื่อเราได้เซตของความสัมพันธ์ r ที่มีสมาชิกในเซตคือคู่อันดับแล้ว เราก็นำคู่อันดับแต่ละคู่มาเขียนกราฟนั่นเอง เช่น r = {(1, 1), (1, 2), (2, 2), (3, 4)} นำมาเขียนกราฟของความสัมพันธ์

รากที่สาม

รากที่สาม

ในบทตวามนี้เราจะได้เรียนรู้การหารากที่สามของจำนวนจริงใดๆ ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่นเดียวกับการหารากที่สอง อาจใช้การแยกตัวประกอบ การประมาณ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ แต่เนื่องจากการประมาณเป็นวิธีที่ยุ่งยาก ในที่นี้จึงจะกล่าวเฉพาะการหารากที่สามโดยการแยกตัวประกอบ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1