เรียนรู้การใช้คำสันธาน (Conjunctions) ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Conjuctions หรือคำสันธานในภาษาอังกฤษ พร้อมวิธีการใช้คำสันธานในประโยคแบบเข้าใจง่ายๆ กันครับ
conjunctions

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Conjunctions คืออะไร?

ในภาษาอังกฤษจะมีคำประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Conjunctions หรือแปลเป็นไทยว่าคำสันธานครับ ซึ่งคำเหล่านี้จะมีหน้าที่เชื่อมไอเดียของคำหรือประโยคเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เราเข้าใจสิ่งที่กำลังอ่านหรือฟังได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

หากไม่มีคำเชื่อมแล้ว เราก็จะเหมือนถูกบังคับให้สื่อสารผ่านประโยคที่เป็นประโยคความเดียวเท่านั้น เช่น หากเราต้องการบอกว่าผู้ชายคนนี้สูงและขยันมาก เราอาจพูดได้ว่า

He is tall. He is diligent.

แต่ถ้าเราใช้คำเชื่อมมาช่วยจะช่วยให้ประโยคกระชับ และไม่ฟุ่มเฟือยซึ่งจะสื่อความได้เข้าใจมากขึ้น

He is tall and diligent.

“and” คือตัวอย่างของ Conjunctions

 

Coordinating Conjunctions

คำสันธานประเภทแรกเรียกว่า Coordinating Conjuntions ครับ เป็นคำเดี่ยวๆ ทีมีหน้าที่เชื่อมคำ วลี และอนุประโยค (clause) เข้ากับประโยค ซึ่งกลุ่มคำสันธายเหล่านี้ได้แก่ for (เพราะ), and (และ), nor (ไม่ทั้ง…), but (แต่), or (หรือ), yet (แต่,ยัง), so (เพื่อที่) หรือจำง่ายๆ ว่า FANBOYS นั่นเอง

fanboys

 

ตัวอย่าง

I love reading fantasy novels for they take me to a different world.

(ฉันชอบอ่านนิยายแฟนตาซีเพราะเหมือนว่าได้ไปอยู่อีกโลกหนึ่ง)

Peter is an exceptional and intelligent student.

(ปีเตอร์เป็นนักเรียนที่โดดเด่นและฉลาด)

I don’t like talking with your mom nor your dad.

(ฉันไม่ชอบการพูดคุยกับแม่ของคุณไม่แม้กระทั่งพ่อของคุณ)

His essay is acceptable but there are still some grammatical mistakes.

(เรียงความของเราพอใช้ได้แต่ก็ยังมีข้อผิดพลาดเรื่องไวยากรณ์อยู่บ้าง)

You must choose between going out or staying home.

(คุณต้องเลือกระหว่างการออกไปข้างนอกหรือการอยู่ที่บ้าน)

He has been practised really hard, yet his performance is still not satisfying.

(เขาฝึกฝนหนักมากแต่การแสดงของเขาก็ยังไม่ค่อยน่าพอใจ)

Could you give me a hand so I can finish this in time?

(คุณพอจะช่วยฉันหน่อยได้มั้ยเพื่อที่ฉันจะได้เสร็จทันเวลา?)

 

*ข้อควรระวัง คำ วลี หรืออนุประโยคที่ถูกเชื่อมด้วยคำสันธานต้องมีลักษณะทางไวยากรณ์เหมือนกัน (parallel) เช่น

She works quickly and neat.

ประโยคนี้ผิดหลักไวยากรณ์เพราะว่าคำที่อยู่หน้าและหลัง “and” จะต้องเป็น Part of Speech เดียวกัน

She works quickly and neatly.

แบบนี้จึงจะเป็นประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

 

Correlative Conjunctions

ประเภทต่อมาเป็นคำสันธานที่อยู่กันเป็นคู่และใช้คู่กันเสมอ ได้แก่ either…or (ไม่…ก็…), neither…or (ไม่ทั้ง…และ…), not only…but also (ไม่เพียงแต่…แต่ยัง…)

correlative conjunctions

 

ตัวอย่าง

It was either John or Peter who received the email.

(ไม่จอห์นก็ปีเตอร์ที่ได้รับอีเมล)

Margaret likes neither London nor Paris. She prefers Asian countries.

(มาร์กาเร็ตไม่ชอบทั้งลอนดอนและปารีส เธอชอบประเทศแถบเอเชียมากกว่า)

Bangkok is not only a capital city of Thailand but also a popular travel destination.

(กรุงเทพไม่เพียงแต่เป็นเมืองหลวงของไทยแต่ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอีกด้วย)

 

Subordinating Conjunctions

คำสันธานกลุ่มสุดท้ายมีหน้าจะเชื่อมประโยคเข้าด้วยกันเพื่อบอกลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผล หรือการเปรียบเทียบ คำสันธานที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ because (เพราะ), since (ตั้งแต่,เพราะ), as(เพราะ,เนื่องจาก), as though (ราวกับว่า), although(แม้ว่า), though(แม้ว่า), while(ขณะที่), whereas(ในขณะที่) เป็นต้น

subordinating conjunctions

 

ตัวอย่าง

They are angry because the football match has been cancelled.

(พวกเขาโกรธเพราะว่าการแข่งขันฟุตบอลถูกยกเลิก)

I’m going to buy him a present since today is his birthday.

(ฉันจะซื้อของขวัญให้เขาเพราะวันนี้เป็นวันเกิดของเขา)

As she failed the final exam, she needs to study harder.

(เพราะเธอสอบตก เธอจึงต้องเรียนหนักขึ้น)

He spends a month travelling in Japan as though he has no job to do.

(เขาใช้เวลาหนึ่งเดือนท่องเที่ยวในญี่ปุ่นราวกับว่าเขาไม่มีงานต้องทำ)

He keeps reading for the exam though it is 3 a.m.

(เขายังคงอ่านหนังสือสอบต่อไปแม้ว่าจะตีสามแล้ว)

Dogs are considered loyal whereas cats are considered lazy.

(สุนัขถูกจัดว่าซื่อสัตย์ในขณะที่แมวถูกจัดว่าขี้เกียจ)

 

นี่ก็เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับ Conjunctions ที่น้องๆ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในการเขียนและการสนทนาในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะทำให้เราสามารถเชื่อมโยงหรือบอกเหตุและผลความคิดที่เราต้องการได้นั่นเองครับ น้องสามารถดูวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ในบทความนี้จะกล่าวถึงฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ และฟังก์ชันที่เกิดจากการดำเนินการของค่า cosθ sinθ ซึ่งก็คือ tanθ และ cotθ นอกจากนี้ยังจะกล่าวถึงโคฟังก์ชันของฟังก์ชันตรีโกณมิติอีกด้วย ในบทความนี้สิ่งที่น้องๆต้องรู้ก็คือ วิธีการหาค่า cosθ และ sinθ จตุภาคของพิกัดจุดปลายส่วนโค้ง ซึ่งสามารถอ่านได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยค่ะ การวัดความยาวส่วนโค้ง ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ หลังจากที่น้องๆมีพื้นฐาน 2 เรื่องที่กล่าวมาแล้วเราจะเริ่มทำความรู้จักกับฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆกันค่ะ   ฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องประโยคซับซ้อนอย่างง่าย

น้อง ๆ หลายคนคงจะรู้โครงสร้างของประโยคกันอยู่แล้ว คือจะมีประธาน กริยา กรรม เป็นส่วนประกอบ แต่ในชีวิตจริงเราไม่ได้พูดกันตามโครงสร้างเสมอไป เพราะจะมีส่วนขยายมาเพิ่มความมากขึ้นเพื่อให้ผู้พูดและผู้รับฟังสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจมากขึ้นจนบางครั้งก็อาจทำให้ดูซับซ้อนจนไม่รู้ว่าเป็นประโยคแบบไหนและอะไรคือใจความสำคัญของประโยค บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับเรื่อง ประโยคซับซ้อน ทั้งประโยคความเดียวซับซ้อน ประโยคความรวมซับซ้อน และประโยคความซ้อนซับซ้อน ประโยคแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประโยคเอย จงซับซ้อนยิ่งขึ้น !   ประโยคซับซ้อน

เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา     ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า

เตรียมสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

เตรียมสอบเข้าม.1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สวัสดีค่ะน้อง ๆ วันนี้มาพบกับพี่แอดมินและ Nock Academy อีกเช่นเคย ซึ่งเรายังคงอยู่กับหัวข้อของการเตรียมสอบเข้าม.1กันนะคะ วันนี้แอดมินจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาและการเตรียมตัวสอบเข้าในระดับชั้นม.1ของโรงเรียนแห่งนี้กันค่ะ ก่อนอื่นแอดมินต้องขอกล่าวประวัติคร่าว ๆ ของโรงเรียนให้ทุกคนได้รู้จักกันก่อนนะคะ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาเป็นโรงเรียนชายล้วนที่ก่อตั้งขึ้นมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ถือเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของวิชาการ ภาษาและความเป็นผู้นำ โดยศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษามาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยแห่งนี้หลายคนเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงและประสบความเร็จจึงทำให้ชื่อเสียงของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนั้นเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน หลักสูตรสวนกุหลาบวิทยาลัย ม.ต้น ในปัจจุบันโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยได้มีการปรังปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความเท่าทันสังคมไทยในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง เป็นการส่งสมาชิกจากของเซตหนึ่งเรียกเซตนั้นว่าโดเมน ส่งไปให้สมาชิกอีกเซตหนึ่งเซตนั้นเรียกว่าเรนจ์ จากบทความก่อนหน้าเราได้พูดถึงฟังก์ชันและการส่งสมาชิกในเซตไปแล้วบางส่วน ในบทความนี้เราจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งมากขึ้น จากที่เรารู้ว่าเซตของคู่อันดับเซตหนึ่งจะเป็นฟังก์ชันได้นั้น สมาชิกตัวหน้าต้องไปเหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตให้ฟังก์ชันนั้นแคปลงกว่าเดิม เช่น {(1, a), (2, b), (3, a), (4, c)}  จากเซตของคู่อันดับเราสมารถตอบได้เลยว่าเป็นฟังก์ชัน เพราะสมาชิกตัวหน้าไม่เหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง คือการที่เรามีเซต 2 เซต แล้วเราส่งสมาชิกในเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

ราชาธิราช เป็นวรรณคดีประเภท พงศาวดาร ที่มีการแปลมาจากพงศาวดารมอญ น้อง ๆ หลายคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าพงศาวดารก็คือเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ แต่ทราบกันหรือไม่คะว่าทำไมในแบบเรียนภาษาไทยของเรานั้นถึงต้องเรียนเรื่องราชาธิราช ที่เป็นพงศาวดารมอญด้วย วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องราชาธิราชรวมไปถึงเรื่องย่อ ซึ่งในบทที่เราจะเรียนนี้คือตอน สมิงพระรามอาสา เรื่องราวจะเป็นอย่างไรบ้าง ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ราชาธิราช   ประวัติความเป็นมา     ราชาธิราชเป็นวรรณคดีร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1