สำนวนไทยที่เราควรรู้ และตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ เคยเป็นกันหรือเปล่าคะ เวลาที่อยากจะพูดอะไรสักอย่างแต่มันช่างยาวเหลือเกิน กว่าจะพูดออกมาหมดนอกจากคนฟังจะเบื่อแล้วยังอาจทำให้เขาไม่สนใจคำพูดของเราเลยก็เป็นไปได้ เพราะอย่างนั้นแหละค่ะในภาษาไทยของเราจึงต้องมีสิ่งที่เรียกว่าสำนวนขึ้นมาเพื่อใช้บอกเล่าเรื่องราวที่ถูกกลั่นกรองออกมาจนได้คำที่สละสลวย รวมใจความยาว ๆ ให้สั้นลง ทำให้เราไม่ต้องพูดอะไรให้ยืดยาวอีกต่อไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนความรู้เรื่อง สำนวนไทย รวมถึงตัวอย่างสำนวนน่ารู้ในชีวิตประจำวันเพิ่มเติมด้วยค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

 

ความหมายและลักษณะของ สำนวนไทย

 

สำนวน หมายถึง ถ้อยคำหรือสำนวนพูดหรือเขียนที่มีความหมายไม่ตรงกับรากศัพท์หรือตรงไปตรงมาตามพจนานุกรม แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ขึ้นอยู่กับเรื่องที่กล่าวถึง โดยมีชั้นเชิงของถ้อยคำ ชวนให้คิดหรือตีความ จึงถือว่าเป็นภาษาที่มีความลึกซึ้งซับซ้อน การใช้ถ้อยคำใช้ถ้อยคำในสำนวนไทย มักใช้ถ้อยคำสละสลวย มีสัมผัสคล้องจอง เน้นการเล่นเสียงสัมผัสสระ สัมผัสอักษร เกิดความไพเราะน่าฟัง ทั้งสัมผัสภายในวรรค และระหว่างวรรค จดจำได้ง่าย

 

ลักษณะของสำนวนไทย สามารถแบ่งได้ดังนี้

 

สำนวน

 

  1. มีความหมายเพื่อให้ตีความ มีลักษณะติชมหรือแสดงความเห็นอยู่ในตัว เช่น เกลือเป็นหนอน หรือ กินปูนร้องท้อง เป็นต้น
  2. ลักษณะเป็นคำคมหรือคำกล่าว เช่น ตีหน้าตาย หน้าซื่อใจคด เป็นต้น
  3. ลักษณะเป็นคำอุปมา เช่น ขมเหมือนบอระเพ็ด ใจดำเหมือนอีกา เป็นต้น
  4. ลักษณะเป็นโวหาร มีเสียงสัมผัสกันหรือบางทีก็ย้ำคำ เช่น ข้าวแดงแกงร้อน ขุ่นข้องหมองใจ กินจุบกินจิบ เป็นต้น

 

ตัวอย่างสำนวน

 

สำนวน

 

ที่มาของสำนวน : 

ยกเมฆ มาจากความเชื่อทางไสยศาสตร์ในการดูเมฆ ดูรูปลักษณะของเมฆเพื่อจะดูนิมิตดีร้ายในการกระทำกิจกรรมสำคัญ ๆ เช่น การยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปนารายณ์ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ แต่ถ้าฤกษ์ยกทัพเกิดความเป็นศูนย์ เมรุเผาศพ ทายว่า ถ้ายกทัพไปรบกับข้าศึกก็จะถูกข้าศึกตีแตกพ่าย แต่เมื่อมีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ยกเมฆจึงกลายเป็นสำนวนเสียดสีคนธรรมดาทั่วไป

ตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน : 

อย่าไปยึดติดกับคำทำนายของหมอดูมากนักเลย หมอดูส่วนใหญ่ก็ยกเมฆกันทั้งนั้น

 

สำนวนไทย

 

ที่มาของสำนวน :

มาจากแกะ ซึ่งส่วนมากจะเป็นสีขาว ส่วนแกะสีดำที่เป็นส่วนน้อย เมื่อนำไปขายจะขายไม่ได้ราคา จึงนำมาเรียกคนที่แตกต่างจากคนอื่น

ตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน : 

เพื่อน ๆ ไปอ่านหนังสือเตรียมสอบกันหมด ส่วนฉันมัวแต่ไปเที่ยว เป็นแกะดำอยู่คนเดียว

 

สำนวนไทย

 

ที่มาของสำนวน :

มาจากการสวมหน้ากากเพื่อปิดบังอำพรางใบหน้าทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อปิดบังอำพรางใบหน้าที่แท้จริง โดยส่วนใหญ่หน้ากากที่สวมใส่จะเป็นหน้ากากที่ใช้เฉพาะกิจ เช่น สวมในการแสดงละคร หรือ ลิเก หรือ เป็นหน้ากากที่ป้องกันใบหน้าไม่ให้เป็นอันตรายในการทำงานที่ใบหน้า หรือ ดวงตาอาจจะได้รับอุบัติภัยได้ หรือ เป็นหน้ากากป้องกันไอพิษ ฯลฯ การสวมหน้ากากต้องปกปิดใบหน้าที่แท้จริงทำให้ถูกยกมาเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ยอมแสดงด้านที่แท้จริงให้คนอื่นเห็นเหมือนคนที่ใส่หน้ากากอยู่ตลอดเวลา

ตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน :

ที่นี่มีแต่เพื่อน ๆ คนกันเองทั้งนั้น ไม่ต้องใส่หน้ากากเข้าหากันก็ได้

 

สำนวนไทย

 

ที่มาของสำนวน: 

มาจากการชนไก่ ในอดีตก่อนที่จะเอาไก่ไปชน จะต้องเอาถุงคลุมไปจากบ้านเพื่อกันไก่ตื่น เมื่อถึงเวลาก็เปิดถุงปล่อยเข้าสังเวียนชนกันเลยโดยต่างฝ่ายไม่เคยเห็นไก่ก่อน จึงนำมาเปรียบเทียบกับการแต่งงานที่พ่อ-แม่จัดการหาคู่อย่างไรโดยที่ต่างฝ่ายต่างไม่เคยเห็นกันมาก่อน

ตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน :

สมัยนี้คงไม่มีพ่อแม่ที่ไหนจับลูกคลุมถุงชนหรอก เธอสบายใจได้เลย

 

 

 

ที่มาของสำนวน :

เป็นการนำคำสองคำมารวมกันคำแรกคือ คอขาด มีความหมายชัดเจนในตัวเองว่าหมายถึงตาย ส่วนคำว่า บาดตาย เป็นคำสร้อยเติมมาให้ดูสละสลวยและเน้นถึงความตายมากขึ้น

ตัวอย่างการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน :

นี่มันเรื่องคอขาดบาดตายนะ เธออย่าทำเป็นเล่นไป

 

 

 

ที่มาของสำนวน :

ขมิ้นกับปูนเมื่อผสม มันจะออกฤทธิ์ทางเคมีหักล้างกัน โดยขมิ้นจะออกฤทธิ์ลดความเป็นด่างของปูนขาวลง จึงถูกนำมาใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ไม่ถูกกัน

ตัวอย่างการนำไปใช้ :

แม่กับป้าเจอกันทีไรต้องมีเรื่องทุกที เหมือนขมิ้นกับปูน

 

จากตัวอย่างที่ยกมา น้อง ๆ จะเห็นเลยใช่ไหมคะว่าสำนวนไทยไม่เพียงแต่มีไว้เพื่อเพิ่มความเข้าใจในการสื่อสารหรือเพื่อความสละสลวยทางภาษาเท่านั้น แต่ยังแฝงไปด้วยคติ ความเชื่อ รวมไปถึงวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าทึ่งมากเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้สำนวนไทยจึงถือเป็นมรดกทางภาษาอย่างหนึ่งที่น่าสนใจควรค่าแก่การศึกษาอย่างยิ่ง ด้วยสำนวนที่มีมากมาย น้อง ๆ ทุกคนจะได้เรียนสำนวนไทยเพิ่มเติมกันอีกหลายสำนวนล่ะคะ ดังนั้นอย่าลืมหมั่นทบทวนเพื่อไม่ให้ลืมสำนวนที่เรียนผ่านไปแล้วโดยการชมคลิปการสอนของครูอุ้มที่ได้อธิบายความหมายของสำนวนไว้ ทั้งภาพ ทั้งการสอนที่สนุกของครู รับรองว่าจะทำให้น้อง ๆ ทุกคนจำสำนวนไทยและความหมายได้ไม่ลืมแน่นอนค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ม5 การใช้ Modal Auxiliaries

Modal Auxiliaries ที่สำคัญ

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modal Auxiliaries หรือ Modal verbs “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Modal Auxiliaries   Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ 

หลักการใช้คำราชาศัพท์ รู้ไว้ไม่สับสน

เมื่อได้รู้ความหมาย ที่มาและความสำคัญของคำราชาศัพท์ รวมถึงคำศัพท์หมวดร่างกายไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะสงสัยใช่ไหมคะ ว่าหลักการใช้คำราชาศัพท์ มีอะไรบ้าง และใช้อย่างไร ต้องใช้แบบไหนถึงจะถูก บทเรียนในวันนี้เราจะมาเรียนรู้หลักการใช้คำราชาศัพท์ที่ถูกต้องกันค่ะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันแลย   หลักการใช้คำราชาศัพท์ กับราชวงศ์ไทย     ลำดับพระอิสริยศักดิ์ของพระบรมราชวงศ์สามารถลำดับอย่างคร่าว ๆ ได้ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชินี,

M5 การใช้ Phrasal Verbs

การใช้ Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง ” การใช้ Phrasal Verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Phrasal Verbs คืออะไร   Phrasal Verbs คือ คำกริยา โดยเป็นกริยาที่มีคำอื่นๆ อย่างเช่น คำบุพบท (Preposition) ร่วมกันส่วนใหญ่แล้ว Phrasal Verbs จะบอกถึงการกระทำ มักจะเจอในชีวิตประจำวันในสถานการณ์ทั่วไป

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเซต

เซตคืออะไร? เซต คือ คำที่ใช้เรียกกลุ่มของสิ่งต่างๆ ทำไมต้องเรียนเซต เซตมีประโยชน์ในเรื่องของการจำแนกสิ่งต่างๆออกเป็นกลุ่มๆ อีกทั้งยังแทรกอยู่ในเนื้อหาบทอื่นๆของคณิตศาสตร์ เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเซต เพื่อที่จะเรียนเนื้อหาบทอื่นๆได้ง่ายขึ้น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเซต เซต คือคำที่ใช้เรียกกลุ่มของสิ่งต่างๆ เช่น เซตของสระในภาษาอังกฤษ คือ กลุ่มของสระในภาษาอังกฤษ a,e,i,o,u เป็นต้น สมาชิกของเซต คือ สิ่งที่อยู่ในเซต เช่น เซตของสระในภาษาอังกฤษ สมาชิกของเซต คือ

นิราศภูเขาทอง ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง

  นิราศภูเขาทองเป็นหนึ่งในนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีของสุนทรภู่ เป็นงานอันทรงคุณค่าที่ใช้เป็นแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน เรามาถอดคำประพันธ์ตัวบทที่น่าสนใจในนิราศภูเขาทองกันดีกว่าค่ะว่ามีบทไหนที่เด่น ๆ ควรศึกษาและจดจำไว้เพื่อไม่ให้พลาดในการทำข้อสอบ ถอดคำประพันธ์ นิราศภูเขาทอง   เนื่องจากนิราศภูเขาทองมีหลายบท ในที่นี้จะเลือกเฉพาะบทที่เด่น ๆ มาศึกษากันนะคะ เราไปดูกันที่บทแรกเลยค่ะ   ถอดคำประพันธ์ บทนี้เป็นการเปรียบเทียบการดื่มเหล้ากับความรัก เหล้าเป็นอบายมุข เมื่อดื่มเข้าไปจะทำให้มีอาการมึนเมา สติสัมปชัญญะไม่ครบถ้วน แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการมึนเมาเหล่านั้นก็จะหายไป แต่หากหลงมัวเมาอยู่กับความรัก ไม่ว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ก็หายไปง่าย ๆ  

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1