ศึกษาตัวบทในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีเค้าจากเรื่องจริงในสมัยอยุธยา จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนักตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ในตอน ขุนข้างถวายฎีกา เป็นหนึ่งในตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดีที่สุด จากที่เราได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่อยู่ในเรื่องนี้เพื่อถอดความกันค่ะ รวมไปถึงคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจ

 

ตัวบทที่ 1

 

ขุนช้างถวายฎีกา

 

ถอดความ มาจากตอนที่จมื่นไวยบุกมาหานางวันทองผู้เป็นแม่ที่เรือนขุนช้างแล้วพยายามจะพานางกลับไปอยู่ด้วยกัน แต่นางวันทองก็ได้เตือนสติลูกว่าการพาหนีไปทางนู้นทีทางนี้ทีจะทำให้เดือดร้อนแต่ถ้าลูกเห็นว่ามันดี จะไม่มีปัญหา นางก็จะยอมตามไป

 

ตัวบทที่ 2

 

ขุนช้างถวายฎีกา

 

ถอดความ เป็นตอนที่นางวันทองมาอยู่ที่บ้านแล้วขุนแผนแอบมาหากลางดึกเพราะต้องการหลับนอนกับนาง แต่นางวันทองพูดให้สติขุนแผนว่าตอนนี้ไม่ใช่เด็ก ๆ แล้ว จะทำอะใรให้คิดดี ๆ ถ้าขุนแผนรักนางจริงต้องไปทูลพระพันวษาให้ถูกต้องว่าให้นางมาอยู่ในฐานะเมียแล้ว มิเช่นนั้นจะไม่ให้ขุนแผนแตะต้องตัวนาง เพราะถ้าหากนางใจง่ายก็จะทำให้ผู้ชายอย่างขุนแผนเคยตัว

 

ตัวบทที่ 3

 

ขุนช้างถวายฎีกา

 

ถอดความ เป็นตอนที่นางวันทองกำลังตัดสินใจว่าจะเลือกใครระหว่างขุนช้างกับขุนแผน จึงทูลพระพันวษาออกไปว่าขุนแผนนั้นก็แสนรักร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกันมานาน ขุนช้างอยู่ด้วยกันมาก็ไม่เคยทำเรื่องให้ขุ่นเคืองใจและมีเงินทองบ่าวไพร่ใช้ไม่ขัดสน ส่วนจมื่นไวยที่เป็นลูกชายก็เป็นเหมือนเลือดในอก ย่อมรักเท่ากับรักผัวอยู่แล้ว ทูลเสร็จนางวันทองก็สั่นด้วยความกลัวความผิดทางอาญา

 

ตัวบทที่ 4

 

ขุนช้างถวายฎีกา

 

ถอดความ กล่าวถึงพระพันวษาหลังได้ยินคำตอบที่ลังเลของนางวันทอง ก็ทรงกริ้วอย่างมากเหมือนดินประสิวที่โดนไฟแล้วปะทุที่นางไม่อาจตัดสินใจได้ว่าจะเลือกใครจะเอาไว้สำรองทั้งสองยิ่งว่าความลึกของทะเลทอดสมอลึกเกินจะหยั่งถึงได้

 

ตัวบทที่ 5

 

 

ถอดความ เป็นคำบริภาษต่อเนื่องจากบทก่อนหน้า พระพันวษาทรงกริ้วนางวันทองเป็นอย่างมากจึงต่อว่าด้วยคำหยาบว่าเป็นผู้หญิงถ่อย โลภมาก ต่อให้มีสักร้อยคนก็ไม่พอใจ

 

คุณค่าที่อยู่ในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

 

 

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

เสภาขุนช้างขุนแผนได้ชื่อว่าเป็นยอดแห่งเสภาเพราะบทประพันธ์สะท้อนอารมณ์ของตัวละครได้อย่างลึกซึ้ง โดยในตอนขุนช้างถวายฎีกานี้ก็มีทั้งการสะท้อนถึงอารมณ์โกรธแค้น เศร้าและสะเทือนใจของตัวละคร การใช้โวหารเปรียบเทียบอย่างในตอนที่พระพันวษาเปรียบนางวันทองเหมือนกับรากแก้วถ้าตัดโคนได้แล้วใบก็จะเหี่ยวไปเองเพื่อให้นางวันทองเลือกว่าจะไปอยู่กับขุนช้างหรือขุนแผน

คุณค่าด้านสังคม

สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของคนในสมัยนั้นทั้งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุดและความลำบากของผู้หญิงสมัยก่อนที่เป็นรองผู้ชายและมักจะไม่ได้รับความยุติธรรมอย่างที่นางวันทองไม่อาจปฏิเสธทั้งสามีเก่าของขุนแผน คนที่ดูแลนางอย่างขุนช้าง และลูกแท้ ๆ อย่างจมื่นไวย ทำให้นางตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออกจนสุดท้ายก็เป็นภัยถึงชีวิต

แม้ว่ายุคสมัยที่เปลี่ยนไปจะทำให้มุมมองที่มีต่อขุนช้างขุนแผนเปลี่ยนไปในแง่ของศีลธรรมและความคิด ความเชื่อของคนในอดีตที่มีค่านิยมแตกต่างจากคนในสมัยนี้ แต่วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังทรงคุณค่าในฐานะงานประพันธ์ที่สำคัญของไทยทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ การดำรงชีวิตของคนในอดีต วัฒนธรรม ความเชื่อและประเพณีเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้กันต่อไป สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมชมคลิปการสอนของครูอุ้มที่ได้สรุปความรู้ทั้งหมดและทำแบบฝึกหัดเพื่อทดสอบความเข้าใจของตัวเองกันด้วยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรียนรู้เรื่อง ภาษาบาลี สันสกฤต ที่อยู่ในภาษาไทย

​  ภาษาบาลี สันสกฤต เป็นภาษาอินเดียโบราณ คำบาลี สันสกฤตที่นำมาใช้ในไทยจึงมักจะอยู่ในบทสวดเป็นส่วนใหญ่ แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้วนอกจากจะอยู่ในบทสวดมนต์ ภาษาไทยก็ยังมีอีกหลายคำเลยค่ะที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต เรียกได้ว่าถูกใช้ปนกันจนบางครั้งก็อาจทำให้เราสับสนไปได้ว่าสรุปนี่คือคำจากบาลี สันสกฤตหรือไทยแท้กันแน่ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความเข้าใจ เจาะลึกลักษณะภาษาพร้อมบอกทริคการสังเกตง่าย ๆ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของภาษาบาลี สันสกฤตในประเทศไทย     การยืมภาษา

เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญอย่างไร

  เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญไม่แพ้เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์เลยค่ะ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยเรานั้นเป็นเหมือนตัวกำหนดความหมายของคำเลยก็ว่าได้ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น วันนี้เรามีคำตอบให้แล้วค่ะ เราไปเรียนรู้เกี่ยวเสียงวรรณยุกต์พร้อมๆ กันเลยค่ะว่าทำไมถึงมีความสำคัญ   เสียงวรรณยุกต์คืออะไร   เสียงวรรณยุกต์ หมายถึง เสียงที่ใช้บอกระดับสูงต่ำของคำ มี 4 รูป 5 เสียง   รูปวรรณยุกต์   รูปวรรณยุกต์มี 4

nokAcademy Profile_Asking and telling time by

การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling time in English)

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ หรือ Telling time in English กันค่ะ” ไปลุยกันเลย   บทนำ   ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษานะคะ 

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

             ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปนั้น  เป็นการหาตัวหารร่วมหรือตัวประกอบร่วมที่มีค่ามากที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น ในบทความนี้ได้รวบรวมวิธี การหา ห.ร.ม. ไว้ทั้งหมด 3 วิธี น้องๆอาจคุ้นชินกับ การหา ห.ร.ม. โดยวิธีตั้งหาร แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่าวิธีการหา ห.ร.ม. มีวิธีการดังต่อไปนี้ การหา ห.ร.ม. โดยการหาผลคูณร่วม การหา ห.ร.ม.

สำนวนไทยสัตว์น้ำ

สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ เรียนรู้ความหมายและที่มา

สำนวนไทย เกี่ยวกับสัตว์น้ำ   สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ มีมากมายหลายสำนวน เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงจะเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่คะว่าทำไมสัตว์น้ำต่าง ๆ ถึงมาอยู่ในสำนวนไทยได้ และสำนวนเหล่านั้นมีที่มาอย่างไร ใช้ในโอกาสใดได้บ้าง วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงความหมายและที่มาของสำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำกันค่ะ   ความหมายของสำนวน     สำนวน หมายถึง ถ้อยคำ การพูดหรือเขียนที่มีความหมายไม่ตรงกับรากศัพท์หรือตรงไปตรงมาตามพจนานุกรม แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ขึ้นอยู่กับเรื่องที่กล่าวถึง โดยมีชั้นเชิงของถ้อยคำชวนให้คิดหรือตีความ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1