แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ศึกษาที่มาของมรดกทางวรรณคดีของชาติ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ในยุคสมัยที่การแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้า ภาวะการเจ็บป่วยของประชาชนมีมากขึ้น แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้แพทย์และประชาชนสามารถศึกษาเรื่องของโรคภัยได้ด้วยตนเอง เป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณคดีของชาติที่สำคัญมาก ๆ อีกเรื่องหนึ่ง บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับวรรณคีเรื่องสำคัญที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ สืบทอดว่ามีที่มาและเนื้อหาอย่างใน คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

 

ความเป็นมา แพทยศาสตร์สงเคราะห์

 

ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ เป็นตำราแพทย์แผนโบราณฉบับหลวง มีที่มาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงเห็นว่า บรรดาคัมภีร์แพทย์แผนโบราณและตำรายาพื้นบ้านของไทยนั้นมีความสำคัญ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การรักษาไว้ จึงมีพระราชปรารภให้จัดทำตำราแพทย์ขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายให้ใช้เป็นตำราเรียนในราชแพทยาลัยและใช้เป็นตำราแพทย์สามัญประจำบ้านสำหรับประชาชนทั่วไป ชื่อ ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์

 

 

ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์แบ่งพิมพ์เป็นเล่มเล็ก ๆ แต่พิมพ์ได้เพียงแค่ 3 เล่มก็ต้องเลิกเพราะขาดทุนในการจัดพิมพ์ ต่อมาผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนราชแพทยาลัยได้ร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนเวชสโมสรขึ้น และได้จัดพิมพ์ตำราแพทยศาสตร์ขึ้นอีกครั้ง เป็นวารสารรายเดือน โดยใช้ชื่อเดียวกันว่า แพทยศาสตร์สงเคราะห์ แต่พิมพ์ได้เพียง 4 ฉบับก็ยกเลิกเพราะขาดแคลนทุนทรัพย์เช่นเดียวกันกับครั้งแรก

 

แพทยศาสตร์สงเคราะห์

 

ต่อมา เนื่องจากตำราหลวงที่ใช้อ้างอิงนั้นใช้เฉพาะแพทย์หลวง พระยาพิศณุประสาทเวช (คง ถาวรเวช) หรือหมอคง อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของราชแพทยาลัยริเริ่มจัดพิมพ์ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ฉบับสมบูรณ์ขึ้นเพื่อให้ประชาชนที่ป่วยสามารถเข้าถึงตำราได้ และเพื่อให้อนุรักษ์ตำราแพทย์แผนไทยไว้ให้คนรุ่นหลัง โดยการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้รับพระอนุญาตและความอนุเคราะห์ของสมเด็จพระเจ้าบรมววงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกสภาหอพระสมุดวชิรญาณ ทำให้ในที่สุดก็ได้รวบรวมและจัดพิมพ์เป็น 2 เล่มจบ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2450

 

แพทยศาสตร์สงเคราะห์

 

ตำรา แพทยศาสตร์สงเคราะห์ 14 คัมภีร์

 

1. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยจรรยาของแพทย์ทับ 8 ประการ

2. คัมภีร์ปฐมจินดาร์ ว่าด้วย ครรภรักษา การคลอด

3. คัมภีร์ธาตุวิภังค์ ว่าด้วยลักษณะธาตุพิการ (ธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และสมุนไพร ที่ใช้รักษา)

4. คัมภีร์สรรพคุณ ว่าด้วยสรรพคุณของสมุนไพรชนิดต่าง ๆ

5. คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย ว่าด้วยความรู้ในการวินิจฉัยโรคและการรักษาสุขภาพ

6. คัมภีร์วรโยคสาร ว่าด้วยคุณลักษณะของแพทย์ ลักษณะของผู้ป่วย การรักษาโรค คุณค่าของยาและอาหาร

7. คัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้วยโรคของสตรี และสมุนไพรที่ใช้รักษา

8. คัมภีร์ชวดาร ว่าด้วยโรคลมและโรคเลือด และสมุนไพรที่ใช้รักษา

9. คัมภีร์โรคนิทาน ว่าด้วยสาเหตุของโรค และสมุนไพรที่ใช้รักษา

10. คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ ว่าด้วยลักษณะธาตุพิการ และสมุนไพรที่ใช้รักษา

11. คัมภีร์ธาตุบรรจบ ว่าด้วยเรื่องอุจจาระที่เป็นสาเหตุของโรค และสมุนไพรที่ใช้รักษา

12. คัมภีร์มุจฉาปักขันธิกา ว่าด้วยโรคของบุรุษและโรคของสตรี และสมุนไพรที่ใช้รักษา

13. คัมภีร์ตักกะศิลา ว่าด้วยอาการโรคระบาดชนิดต่าง ๆ

14. คัมภีร์ไกษย ว่าด้วยโรคกษัยชนิดต่าง ๆ และสมุนไพรที่ใช้รักษา

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

เนื้อหาตอนเปิดเรื่องใช้คำประพันธ์ประเภท กาพย์ยานี 11 แต่ในตอนลักษณะทับ 8 ประการ จะใช้ฉันทลักษณะเป็นร่าย

 

คัมภีร์ฉันทศาสตร์

 

คัมภีร์ฉันทศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของแพทยศาสตร์สงเคราะห์ เนื้อหาที่นำมาเป็นบทเรียนเริ่มจากบทไหว้ครู ไหว้พระรัตนตรัย ไหว้เทพ เจ้าของพราหมณ์ ไหว้หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์หลวงของพระเจ้าพิมพิสาร) และกล่าวถึงจรรยาบรรณแพทย์ เพื่อไม่ให้เป็นแพทย์ที่ไม่ดี

 

ลักษณะแพทย์ที่ไม่ดี

1. มุสา

2. ยกตน

3. มารยา (เขาเจ็บน้อยว่าเจ็บมาก)

4. หวังลาภ

5. ไปเยี่ยมไข้โดยไม่มีคนเชิญ

6. กาเม (รักษาโรคด้วยโลภะ)

7. ถือตน (ไม่ยอมรักษาคนไข้อนาถา)

8. ถือว่าเป็นหมอเก่าชำนาญกว่าผู้อื่น

9. แก่กายไม่แก่รู้

10. ประมาทผู้มีความรู้

11. ดูหมิ่นผู้มีความรู้แม้เป็นเด็ก

12. ไม่เรียนรู้คัมภีร์แพทย์ต่างๆ ให้เจนจัด

13. ไม่ประพฤติตนอยู่ในศีลแปดและศีลห้า

14. ไม่ตัดบาป ๑๔ ประการ

 

แพทยศาสตร์สงเคราะห์

 

ลักษณะของแพทย์ที่ไม่ดีนี้ทำให้เห็นว่าควรประพฤติอย่างไรเพื่อให้เป็นแพทย์ที่ดี ต่อมามีการเปรียบข้าศึกเป็นโรคภัย หัวใจเป็นกษัตริย์ และร่างกายเปรียบเหมือนนคร ดังนั้นแพทย์ที่เปรียบเหมือนทหารควรจะมีความรู้ความเชี่ยวชาญที่จะช่วยต่อสู้กับข้าศึกหรือก็คือโรคภัย นอกจากทหารแล้วเรามีวังหน้า คือน้ำดีคอยป้องกันข้าศึกมิให้เข้ามาตีบ้านเมืองได้ มีอาหารเป็นเสมือนหนึ่งกองเสบียงเลี้ยงไพร่พล แพทย์จึงมีหน้าที่รักษาหัวใจ น้ำดี และอาหารไว้มิให้โรคร้ายต่าง ๆ มาจู่โจมร่างกายได้

 

ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์นั้นคือเป็นหนึ่งในตำราที่มีความสำคัญต่อทั้งประชาชนและประเทศ เพราะความรู้มากมายที่ถูกรวบรวมไว้นั้นสามารถช่วยชีวิตคนได้มาอย่างยาวนานนับร้อยปี ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการแพทย์จะก้าวหน้าขึ้นมาก แต่ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ก็สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความสามารถของแพทย์ในอดีตรวมไปถึงภาพวิถีชีวิตของคนในยุคสมัยก่อนที่อยู่ในช่วงการพัฒนาประเทศอีกด้วยค่ะ ก่อนจะไปเรียนรู้ในส่วนของตัวบทเด่น ๆ เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียน น้อง ๆ อย่าลืมไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มย้อนหลังนะคะ ในคลิปครูอุ้มได้อธิบายเรื่องกายนครและลักษณะของแพทย์ที่ดีเอาไว้อย่างละเอียดและสนุกมาก ๆ ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_Profile ม2 มารู้จักกับ (Connective Words)

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words)

Getting Started! มาเริ่มกันเลย   สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไป ทบทวนงานเรื่อง  การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) ที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อมในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay

เมทริกซ์

เมทริกซ์ และเมทริกซ์สลับเปลี่ยน

เมทริกซ์ เมทริกซ์ (Matrix) คือตารางสี่เหลี่ยมที่บรรจุตัวเลขหรือตัวแปร สามารถนำมาบวก ลบ คูณกันได้ เราสามารถใช้เมทริกซ์ในการการแก้ระบบสมการเชิงเส้นได้ซึ่งจะสะดวกกว่าการแก้แบบกำจัดตัวแปรสำหรับสมการที่มากกว่า 2 ตัวแปร ตัวอย่างการเขียนเมทริกซ์ เรียกว่าเมทริกซ์มิติ 3×3 ซึ่ง 3 ตัวหน้าคือ จำนวนแถว 3 ตัวหลังคือ จำนวนหลัก ซึ่งเราจะเรียกแถวในแนวนอนว่า แถว และเรียกแถวในแนวตั้งว่า หลัก และจากเมทริกซ์ข้างต้นจะได้ว่า

การบรรยายลักษณะ และ ความรู้สึก โดยใช้คำคุณศัพท์

การบรรยายลักษณะและความรู้สึก โดยใช้คำคุณศัพท์ Adjective

ทบทวนความหมายและหน้าที่ของคำคุณศัพท์   คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ นั่นเองค่า นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ขยายในที่นี้เพื่อบอกให้รู้ว่าคำนามหรือสรรพนามเหล่านั้นมีลักษณะยังไง  และในบทนี้ครูจะพาไปดูการใช้คำคุณศัพท์บอกลักษณะและความรู้สึก (Descriptive Adjective) กันนะคะ ไปลุยกันเลย   การใช้คำคุณศัพท์ (Adjective)

NokAcademy_ ม.6 Modlas in the Past

Modals in the Past

  สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modals in the Past “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า   ทบทวน Modal Verbs  Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ 

wh- question

Wh- Question ใน Past Simple และ Future Tense

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ Wh- Question ในประโยคที่เป็น Past Simple และ Future Tense จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1