การเขียนประกาศ เขียนเชิงกิจธุระได้อย่างไรบ้าง?

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การเขียนเชิงกิจธุระหมายถึงหน้าที่ที่พึงกระทำ การเขียนเชิงกิจธุระมีมากมายหลายแบบ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ การเขียนประกาศ ซึ่งเป็นการเขียนเชิงกิจธุระรูปแบบหนึ่ง เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่าการเขียนประเภทนี้จะมีวิธีการอย่างไรบ้าง

 

การเขียนเชิงกิจธุระ

 

การเขียนประกาศ

 

ประกาศ เป็นการสื่อสารที่ใช้เผยแพร่โดยกว้าง ให้บุคคลทุกระดับในหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกได้อ่านและมีความเข้าใจที่ตรงกัน โดยอาศัยสื่อสาธารณะชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นการแจ้งให้ทราบและปฏิบัติตาม อย่างเช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ป้ายประกาศต่าง ๆ การใช้ภาษาในการประกาศนั้นจะไม่ใช้ข้อความยาว ๆ หรือละเอียดซับซ้อนเกินกว่าการทำความเข้าใจของผู้อ่าน โดยเฉพาะส่วนที่สำคัญ ๆ ที่จะต้องเขียนให้ชัดเจน ซึ่งการเขียนประกาศนั้นจะสามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท ดังนี้

 

การเขียนประกาศ

 

การเขียนประกาศอย่างเป็นทางการ

 

การเขียนประกาศ

 

การประกาศอย่างเป็นทางการจะยาวและละเอียดเพราะมักเกี่ยวเนื่องกับตัวบทกฎหมาย แต่ไม่ใช่ข้อความที่อ่านยาก หรือวกไปวนมา เพราะเป็นประกาศที่มีจุดมุ่งหมายในการแจ้งให้บุคคลทั่วไปได้ทราบและปฏิบัติตาม ภาษาที่ใช้จะเป็นทางการตามลักษณะของประกาศ กระชับ มีลักษณะที่คล้ายกับหนังสือราชการ มักเป็นประกาศขององค์การและหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในประกาศนั้นจะประกอบไปด้วยชื่อหน่วยงานหรือองค์การที่ออกประกาศ เรื่องที่ประกาศ เนื้อหาของเรื่องที่ประกาศและในเนื้อความก็จะประกอบไปด้วยเหตุผลความเป็นมาเพื่อเกริ่นนำเล็กน้อยก่อนจะบอกจุดประสงค์และรายละเอียด ตามตัววันเดือนปีขณะที่ออกประกาศ สุดท้ายเป็นการลงนามผู้ออกประกาศ

 

การเขียนประกาศ

 

การเขียนประกาศอย่างไม่เป็นทางการ

 

การเขียนประกาศ

 

ประกาศอย่างไม่เป็นทางการเป็นประกาศทั่ว ๆ ไป ที่ออกจากหน่วยงาน บุคคลหรือองค์การ เพื่อแจ้งข้อมูลให้ประชาชนทั่วไปทราบ เช่น ประกาศรับสมัครงาน ประกาศร่วมอบรมทักษะต่าง ๆ ประกาศเชิญให้เข้าร่วมประกวดเขียนนิยาย เป็นต้น ในเนื้อหาของการประกาศประเภทนี้ก็จะแตกต่างจากประกาศอย่างเป็นทางการ คือยังมีชื่อหน่วยงาน หรือองค์กร เรื่องที่ประกาศ เนื้อความอันประกอบไปด้วยเหตุผล ความเป็นมา จุดประสงค์ รายละเอียด ปิดท้ายด้วยลงวันที่ของวันที่ประกาศ แต่ภาษาที่ใช้จะไม่ได้เป็นทางการเท่าหนังสือราชการ มีเนื้อหากระชับ ไม่ซับซ้อน

 

 

ข้อจำกัดของการเขียนประกาศ

 

เมื่อประกาศถูกประกาศออกไปแล้ว ผู้รับสารจะไม่สามารถซักถามใด ๆ เกี่ยวกับประกาศได้หากมีข้อสงสัย ทำไมการเขียนประกาศนั้นจะต้องคำนึงถึงผู้รับสารเป็นอันดับแรกว่าการเขียน เขียนไปแล้วคนจะเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าหากเขียนไม่เข้าใจ ไม่ชัดเจน ก็จะทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อน ทำให้การประกาศที่เขียนออกไปนั้นไม่เกิดประโยชน์

 

ประกาศที่ดีจะต้องมีลักษณะอย่างไร?

 

การเขียนประกาศ เป็นสิ่งที่เราได้ใช้และได้เห็นกันอยู่ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นบทเรียนในเรื่องการเขียนเรื่องนี้จึงมีความสำคัญมาก น้อง ๆ จะต้องได้ใช้ในอนาคตอย่างแน่นอนค่ะ ก่อนจากกัน ถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากฟังคำอธิบายเพิ่มเติมให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ก็อย่าลืมตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มนะคะ รับรองว่าจะเข้าใจการเขียนในลักษณะนี้และสามารถเขียนกันได้ทุกคนแน่นอนค่ะ ไปดูกันเลยนะคะ

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Imperative Sentence: เรียนรู้การใช้ประโยคคำสั่ง ขอร้องในชีวิตประจำวัน

เชื่อว่าชีวิตประจำวันของน้องๆ ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือเวลาออกไปเที่ยว น้องๆ อาจจะเคยได้ยินประโยคประมาณนี้กันมาบ้าง

Turn off the computer! (จงปิดคอมพิวเตอร์!)

Please pass me the sugar (ช่วยส่งน้ำตาลมาให้ที)

Drink a lot of water (ดื่มน้ำเยอะๆ)

ประโยคเหล่านี้ภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกว่า Imperative Sentence วันนี้เราจะมาดูกันว่า Imperative Sentence คืออะไร และสามารถใช้ในสถานการณ์ไหนได้บ้าง

Profile- WH Questions

ประโยคคำถาม Wh-Questions ที่ต้องการคำตอบ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.  6 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างวิธีการแต่งประโยคคำถามด้วย Wh- Questions ที่ใช้กับเวลาในอดีตและคำถามทั่วไปที่ต้องการคำตอบแบบไม่ใช่ Yes หรือ No กันค่ะ ไปดูกันเลย อะไรคือ Wh-Questions     เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบทื่อๆ เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า Question  word หรืออีกชื่อในวงการคือ

E6 This, That, These, Those

This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง This, That, These, Those กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   เข้าสู่บทเรียน   ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ This,

การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธี การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งสามารถทำได้โดยการจัดรูปของตัวแปรให้อยู่ด้านเดียวกันและตัวเลขอยู่อีกด้าน เพื่อหาค่าของตัวแปรนั้นๆ แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้การแก้อสมการนั้น น้องๆสามารถทบทวน อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ⇐⇐ หลักการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ในการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะทำคล้ายๆกับการแก้สมการ โดยมีหลักการ ดังนี้ จัดตัวแปรให้อยู่ข้างเดียวกัน และจัดตัวเลขไว้อีกฝั่ง (นิยมจัดตัวแปรไว้ด้านซ้ายของสัญลักษณ์อสมการ และจัดตัวเลขไว้ด้านขวาของสัญลักษณ์อสมการ) ถ้านำจำนวนลบ มาคูณ หรือ หาร สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ตรงกันข้าม ดังนี้

ปก short answer questions

Short question and Short answer

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างและวิธีการแต่งประโยคคำถาม ของเรื่อง “Short question and Short answer“ การถามตอบคำถามแบบสั้น หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   ความหมาย Short question and Sho rt answer คือการถามตอบแบบสั้นหรือส่วนใหญ่แล้วมักขึ้นต้นคำถามด้วยกริยาช่วย และได้คำตอบขนาดสั้น เช่น Yes, I

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ประพันธ์ โดยมุ่งหวังให้ละครเป็นตัวช่วยกล่อมเกลาจิตใจประชาชน แต่นอกจากตัวบทจะมีความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างมากแล้ว ยังแฝงแนวคิดมากมายไว้ในเรื่อง จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้เรื่องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก     ตัวบทที่ 1    พระยาภักดี : ใครวะ อ้ายคำ : อ้างว่าเป็นเกลอเก่าของใต้เท้า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1