นิทานเวตาล เรื่องเล่าที่สอดแทรกคติธรรมไว้มากมาย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

นิทานเวตาล เป็นวรรณคดีอินเดียโบราณที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับพันปี มีเนื้อหาที่บันเทิงแต่ก็สอดแทรกปริศนาธรรมและคติธรรมคำสอนไว้เพื่อเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อจากวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะว่าจะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของนิทานเวตาล

 

นิทานเวตาล

 

นิทานเวตาล หรือ เวตาลปัญจวิงศติ เป็นวรรณกรรมอินเดียโบราณ กวีคนแรกที่เป็นคนแต่งคือ ศิวทาส เมื่อ 2.500 ปี ต่อมาโสมเทวะ กวีชาวแคว้นกัษมีระได้นํามา เรียบเรียง
ขึ้นใหม่และรวบรวมไว้ในหนังสือรวมนิทานโบราณของอินเดียเล่มสําคัญคือกถาสริตสาคร ก่อนจะถูกแปลไปอยู่ในภาษาต่าง ๆ ส่วนของไทยนั้นแปลมาจากภาษาอังกฤษ มีทั้งหมด 4 สำนวนที่แพร่หลายคือ เวตาลปกรณัม ลิลิตเพชรมงกุฎ นิทานเวตาล และเวตาลปัญจวิงศติ แต่ที่นิยมและเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือฉบับที่แปลโดย พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือ น.ม.ส โดยพระองค์ทรงแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษของ เซอร์ ริชาร์ด เบอร์ตัน (Sir Richard Francis Burton) มาแปล จำนวน 9 เรื่อง และของ ซี.เอช.ทอนว์นีย์ (C.H Tawney) มาแปลอีก 1 เรื่อง รวมทั้งสิ้น 10 เรื่อง

 

นิทานเวตาล

 

เรื่องย่อ

 

 

ต้นเรื่อง

พระวิกรมาทิตย์ เป็นกษัตริย์ครองกรุงอุชชยินี ในตอนที่พระองค์ไปสู้กับยักษ์เพื่อแย่งเมืองตัวเองคืน ยักษ์ก็ได้เตือนว่าพระองค์จะสิ้นชีพเร็ว ๆ นี้ด้วยฝีมือของโยคีที่มีความแค้นต่อพระบิดาของพระองค์ เวลาผ่านไป บ้านเมืองสงบ พระวิกรมาทิตย์ ออกเยี่ยมประชาชนอยู่เสมอ แต่ในทุก ๆ วัน จะมีพ่อค้า หรือตัวจริงก็คือโยคีชื่อศานติศีลมาขอเข้าเฝ้าและถวายผลไม้ โดยปกติแล้วพระวิกรมาทิตย์จะไม่สนใจ กระทั่งวันหนึ่งพระองค์ได้ผลไม้มาแล้วให้ลิงที่เลี้ยงไว้กิน เมื่อกัดเข้าไปก็ทำให้รู้ว่าข้างในคือทับทิม เมื่อโยคีศานติศีลมาเข้าเฝ้าอีกครั้ง พระองค์จึงถามว่าจะตอบแทนได้อย่างไรบ้าง โยคีศานติศีลจึงให้พระวิกรมาทิตย์ไปจับเวตาลซึ่งห้อยหัวอยู่กับต้นอโศกมาให้เพื่อใช้ในพิธี พระองค์จึงออกไปจับเวตาล และเมื่อจับได้ เวตาลก็จะพยายามเล่านิทานอุทาหรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้พระวิกรมาทิตย์ตอบกลับมา เพราะทุกครั้งที่ตอบคำถาม เวตาลจะลอยกลับไปอยู่ที่ต้นอโศกดังเดิม ทำให้พระวิกรมาทิตย์ต้องเดินกลับและเริ่มพาเวตาลแบกขึ้นใหม่ทุกครั้ง

ฉบับพระนิพนธ์ใน กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ มีด้วยกัน 10 เรื่อง ส่วนเรื่องที่เราจะได้เรียนกันคือ เรื่องที่ 10

 

นิทานเวตาล เรื่องที่ 10

 

เวตาลเบื่อที่จะต้องโดนแบกไปมาแล้ว จึงจะเล่าเรื่องยาก ๆ ให้พระองค์ตอบไม่ได้ โดยเรื่องที่ 10 ที่เวตาลเล่าให้พระวิกรมาทิตย์ฟังนั้น มีอยู่ว่า

ท้าวจันทรเสน เข้าป่าล่าสัตว์ไปพร้อมกับพระราชบุตร และได้พบรอยเท้าของคนสองคนในป่า ทั้งสององค์ทรงพิจารณาและแน่พระทัยจากขนาดของรอยเท้าว่าเป็นรอยเท้าของผู้หญิง เมื่อรู้ว่ามีผู้หญิงอยู่ในป่าก็เกิดความสนใจ เพราะเชื่อว่าผู้หญิงที่เจอในป่ามักจะสวยกว่าผู้หญิงที่อยู่ในเมือง ท้าวจันทรเสนเองก็เพิ่งจะสูญเสียพระมเหสีไป เมื่อเห็นว่ามี 2 รอยเท้าพอดี จึงทำสัญญาแบ่งนางกับพระราชบุตร โดยพระองค์นั้นเลือกรอยเท้าใหญ่ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นคนมีอายุมากกว่าเจ้าของรอยเท้าเล็ก จึงให้นางเจ้าของรอยเท้าเล็กกับพระราชบุตรเป็นพระชายา โดยที่ไม่รู้ว่านางทั้งสองนั้น นางหนึ่งเป็นมเหสีของท้าวมหาพลพระราชาแห่งกรุงธรรมปุระ อีกนางหนึ่งคือพระธิดาของนางทั้งสององค์ติดตามท้าวมหาพลที่ลี้ภัยทางการเมือง ขณะที่อยู่ในป่า ท้าวมหาพลถูกโจรฆ่า ทั้งสองนางต้องหนีต่อจนกระทั่งได้พบกับท้าวจันทรเสนและพระราชบุตร โดยเจ้าของรอยเท้าใหญ่ แท้จริงคือพรระธิดา ส่วนเจ้าของรอยเท้าเล็ก เป็นของพระมเหสีที่รูปร่างเล็กกว่าพระธิดา

จากนั้นเวตาลจึงถามพระวิกรมาทิตย์ว่า “ลูกของท้าวจันทรเสนที่เกิดกับธิดาท้าวมหาพล และลูกของมเหสีท้าวมหาพลที่เกิดกับพระราชบุตรของท้าวจันทรเสนจะนับญาติกันอย่างไร” เมื่อพระวิกรมาทิตย์ไม่ตอบคำถามนั้น เวตาลจึงไม่ได้ลอยกลับไปอยู่ที่ต้นอโศกและชี้แนะพระวิกรมาทิตย์ว่าแท้จริงแล้วโยคีประสงค์ร้าย หวังจะห่าและยึดเมือง ให้พระองค์ทำทีเป็นเชื่อแล้วชิงสังหารโยคีก่อน เมื่อมาถึงพระวิกรมาทิตย์ก็ทำตามที่เวตาลบอก ทำให้จัดการโยคีได้สำเร็จ

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ สำหรับวรรณคดีอินเดียโบราณเรื่องนี้ นิทานเวตาลไม่เพียงแต่จะให้ความสนุกสนานและเพลิดเพลิน แต่ยังให้ข้อคิด และมีคติธรรมคำสอน เรียกได้ว่าเป็นนิทานแห่งปัญญาที่มีปริศนาธรรมให้คนอ่านได้ฝึกคิดวิเคราะห์ไปพร้อม ๆ กับพระวิกรมาทิตย์เลยทีเดียว สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมไปดูคลิปครูอุ้มระหว่างทำแบบฝึกหัดกันนะคะเพื่อให้ได้เข้าใจถึงเรื่องราวของเวตาลมากขึ้น ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม

ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม

 ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม จะเกี่ยวข้องกับมุมที่มีหน่วยเป็นองศา (degree) และมุมที่มัหน่วยเป็นเรเดียน (radian) ในบทความนี้จะกล่าวถึงมุมทั้งหน่วยองศาและเรเดียน มุมฉาก การเปลี่ยนหน่วยของมุม สมบัติของฟังก์ชันตรีโกณมิติ และสามเหลี่ยมมุมฉาก ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่เนื้อหา พี่อยากให้น้องๆได้รู้พื้นฐานเกี่ยวกับฟังก์ชันตรีโกณมิติเพื่อที่จะได้เข้าใจเนื้อหาในบทความนี้มากขึ้น การวัดความยาวส่วนโค้ง ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ หลังจากที่ไปทบทวนความรู้มาแล้วเรามาเริ่มเนื้อหาใหม่กันเลยค่ะ หน่วยของมุม 1.) องศา (degree) คือหน่วยของมุมในระนาบ 2 มิติ โดยที่

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์ ตัวผกผันของความสัมพันธ์ r คือความสัมพันธ์ใหม่ที่เกิดจากการสลับตำแหน่งของสมาชิกตัวหน้ากับสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับทุกคู่ในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   ซึ่ง = {(y, x) : (x, y ) ∈ r} เช่น r = {(1, 2), (3, 4), (5,

NokAcademy_ ม.4Gerund

Gerund

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund   อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม

สามก๊ก ความเป็นมาของวรรณกรรมจีนเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนที่มีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย โดยฉบับแปลที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีคือฉบับที่แปลโดยเจ้าพระยาคลัง (หน) และด้วยเนื้อหาที่เต็มไปด้วยเล่ห์กลเพทุบาย กลศึกในการรบ การชิงรักหักเหลี่ยม ความเคียดแค้นชิงชัง ทำให้เนื้อเรื่องมีความยาวสมกับเป็นกับเป็นวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะเรียนคือตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปเรียนรู้พร้อมกันค่ะ   ความเป็นมาของ สามก๊ก   สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน (ค.ศ.

Comparison of Adjectives

การใช้ประโยค Comparative Adjectives

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่บทเรียนเรื่องคำคุณศัพท์กันนะคะ วันนี้ครูได้ สรุปเรื่อง การใช้ ประโยค ประโยค Comparative Adjectives หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ Comparison of Adjectives: การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ มาฝาก ไปลุยกันเลยจร้า   คำศัพท์สำคัญ: Comparative VS Comparison comparative (Adj.)

เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค

​ประโยค คือถ้อยคำต่าง ๆ ที่นำมาเรียงกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ว่าใครกำลังทำอะไร ที่ไหน และเมื่อไหร่ บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าประโยคที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ส่วนประกอบของประโยค   โดยทั่วไปประโยคจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ภาค คือ ภาคประธานและภาคแสดง     ภาคประธาน คือ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1