การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความหมายของการพูดอภิปราย

 

การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา
การอภิปรายจึงเป็นการจัดเพื่อให้ส่วนรวมได้แสดงออกอย่างมีเหตุผลและหาข้อสรุปเพื่อตัดสินใจร่วมกัน

 

การพูดอภิปราย

 

ความสำคัญของการอภิปราย

 

การพูดอภิปราย

 

องค์ประกอบของการอภิปราย

 

การพูดอภิปราย

 

ประเภทของการอภิปราย

 

 

  1. การอภิปรายกลุ่ม

การอภิปรายกลุ่มจะมีผู้ร่วมอภิปรายประมาณ 4-20 คน ผู้เข้าร่วมอภิปรายมีส่วนร่วมในการพูดแสดงความคิดเห็น ปรึกษาหารือและหาข้อสรุปร่วมกัน การอภิปรายกลุ่มจะไม่มีบุคคลภายนอกมาร่วมด้วย เพราะโดยส่วนมากการอภิปรายกลุ่มมักจะเป็นการประชุมอภิปรายกันเฉพาะแค่ในกลุ่มของหน่วยงานเท่านั้น

  1. การอภิปรายในที่ประชุมชน

ประชุมชน หมายถึง สาธารณชน ดังนั้นการอภิปรายในที่ประชุมชน หมายถึง การพูดอภิปรายต่อหน้าสาธารณชนโดยมีกลุ่มผู้อภิปรายและกลุ่มผู้ฟังอยู่ในที่ประชุมชนนั้นด้วย โดยทุกคนมีสิทธิในการแสดงออกความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน และกลุ่มผู้ฟังสามารถซักถามผู้อิปรายในช่วงท้ายของการอภิปรายได้ ซึ่งการอภิปรายในที่ประชุมชน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

2.1 การอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion)

เป็นการอภิปรายที่มีคณะผู้อภิปรายประมาณ 3-5 คน แยกจากกลุ่มผู้ฟัง อาจจะนั่งบนเวทีและหันหน้าไปทางผู้ฟัง และมีผู้ดำเนินการอภิปรายทำหน้าที่ดำเนินตลอดการอภิปราย โดยในการอภิปรายเป็นคณะนี้ จะต้องกำหนดหัวข้อให้ชัดเจน ผู้อภิปรายจะต้องแสดงความคิดเห็นในหัวข้อของตนทีละคนภายในช่วงเวลาที่กำหนด ดังนั้น ผู้อภิปรายจะต้องศึกษาหาความรู้ ค้นคว้า เรื่องราวและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหัวข้อที่ตนจะพูดอภิปรายเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในที่ประชุมชน

2.2 การอภิปรายแบบซิมโพเซียม (Symposium)

เป็นการอภิปรายของกลุ่มผู้อภิปรายที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะต้องอภิปรายกันเป็นคณะประมาณ 3-5 คน โดยมีผู้ดำเนินการอภิปรายเป็นผู้ประสานการอภิปรายเช่นเดียวกับการอภิปรายเป็นคณะ การอภิปรายแบบซิมโพเซียม มีความแตกต่างจากการอภิปรายเป็นคณะในส่วนที่เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่จะอภิปราย ซึ่งผู้อภิปรายแต่ละคนจ้องมีความรู้และเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่จะอภิปรายอย่างลึกซึ้ง

2.3 การอภิปรายซักถาม (Colloquy)

เป็นการอภิปรายที่มีคณะบุคคลสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะอภิปราย ทำหน้าที่เป็นผู้อภิปราย มีกลุ่มหนึ่งจะเป็นผู้ซักถาม โดยตลอดการดำเนินการอภิปรายจะมีผู้ประสานให้การถามและการตอบเป็นไปอย่างราบรื่น

 

หน้าที่ของผู้อภิปราย

 

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ สำหรับบทเรียนเรื่องนี้ การพูดอภิปรายเป็นพูดเพื่อแสดงความรู้ ถึงแม้จะต้องเตรียมตัวเพื่อหาข้อมูลมาพูด แต่ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลยนะคะ ถ้าน้อง ๆ ได้ลองฝึกพูดบ่อย ๆ รับรองว่าจะต้องพูดได้คล่อง และได้แลกเปลี่ยนความเห็น เพิ่มพูนความรู้ให้ตัวเองมากขึ้นอีกแน่นอนค่ะ สุดท้ายนี้อย่าลืมติดตามคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายเพิ่มเติมนะคะ จะได้เข้าใจถึงความหมายและประเภทของการพูดอภิปรายมากขึ้นอีกด้วยค่ะ ไปชมกันเลย

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โวหารภาพพจน์ กลวิธีการสร้างจินตภาพที่ลึกซึ้งและสวยงาม

การสร้างจินตภาพอย่างการใช้ โวหารภาพพจน์ เป็นกลวิธีในการใช้ภาษาอีกอย่างหนึ่ง เลือกใช้ถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพ หรืออาจเรียกว่าเป็นการแทนภาพนั่นเอง น้อง ๆ คงจะพบเรื่องของโวหารภาพพจน์ได้บ่อย ๆ เวลาเรียนเรื่องวรรณคดี บทเรียนในวันนี้เลยจะพาไปทำความรู้จักกับภาพพจน์ต่าง ๆ ให้มากขึ้นว่ามีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของภาพพจน์     ภาพพจน์ คือถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นภาพ ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด เป็นกลวิธีทางภาษาที่มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจจินตนาการ เน้นให้เกิดอรรถรสและสุนทรีย์ในการสื่อสารที่ลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าแบบตรงไปตรงมา  

ม.1 หลักการใช้ Past Simple

หลักการใช้ Past Simple Tense

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง หลักการใช้ Past Simple   ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Past Simple Tense     หลักการใช้ง่ายๆ ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นและจบลงในอดีต มักมีคำหรือกลุ่มคำของอดีตมากำกับ ตัวอย่างประโยคทั่วไปที่มักเจอบ่อยๆ   บอกเล่า I saw Jack yesterday.

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า 3 วิธีที่จะช่วยพัฒนาความคิดให้เป็นระบบ

การคิด คือ กระบวนการทำงานของสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยประสบการณ์ความรู้และสภาพแวดล้อมมาพัฒนาการคิดและแสดงออกมาอย่างมีระบบ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงวิธีการคิดทั้ง 3 แบบคือ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประเมินค่า ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การพัฒนาและแสดงความคิด   มนุษย์สามารถแสดงความคิดออกมาได้โดยการใช้ภาษา ซึ่งการใช้ภาษานั้นก็คือวิธีการถ่ายทอดความคิดที่อยู่ในหัวของเราออกมาให้คนอื่นเข้าใจและรู้ว่าเรามีความคิดต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างไรบ้างไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน ดังนั้นการพัฒนาความคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีการคิดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

verb to be

Verb to be ใน Present Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ป. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Simple Simple อย่าง Verb to be ใน Present Simple Tense กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

บทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้กี่ยวกับการพิสูจน์ที่ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือในแง่ของพื้นที่

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง อัตราส่วนที่เท่ากัน โดยการที่จะหาอัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวนหรือเรียกอีกอย่างว่า อัตราส่วนต่อเนื่อง ได้นั้น น้องๆ จำเป็นต้องหา ค.ร.น. ของตัวร่วม ดังนั้นเรามาทบทวนวิธีการหา ค.ร.น. กันก่อนนะคะ จงหา ค.ร.น. ของ 3, 6 และ 12 3) 3     

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1