เห็นแก่ลูก ศึกษาความเป็นมาบทละครพูดเรื่องแรกของไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่น้อง ๆ ม.3 ทุกคนจะได้เรียน ความพิเศษของวรรณคดีไทยเรื่องนี้คือเป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยอีกทั้งยังได้รับการแปลไปยันต่างประเทศอีก 13 ภาษา วรรณคดีเรื่องนี้มีความสำคัญและมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ถึงโด่งดัง เป็นที่รู้จัก และได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องนี้กันเลยค่ะ

 

ความเป็นมา บทละครพูด เห็นแก่ลูก

 

บทละครพูด

 

บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระนามแฝงว่าพระขรรค์เพชร บทละครพูดที่มาจากตะวันตกแต่เป็นผลงานพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ไม่ใช่การแปล มีที่มาจากที่พระองค์ทรงชอบบทละครพูด และตั้งคณะละครขึ้นเพื่อช่วยอบรมจิตใจของประชาชน วรรณคดีเรื่องนี้เป็นบทละครพูดขนาดสั้น ปมเรื่องไม่ซับซ้อน แฝงด้วยข้อคิด

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

บทละครพูด

บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดขนาดสั้นเพียงองก์เดียวและเป็นร้อยแก้ว ละครพูดเริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่นิยมมากขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นลักษณะคำประพันธ์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก

 

บทละครพูด

 

บทละครพูด เป็นละครที่แสดงโดยให้ตัวละครสนทนาโต้ตอบกันเหมือนในชีวิตจริง ไม่มีดนตรี การรำ หรือการขับร้อง ตรงกับการแสดงที่เรียกว่า play ของตะวันตก ผู้แต่งจะเป็นผู้กำหนดชื่อเรื่อง ตัวละคร และฉากว่ามีลักษณะอย่างไร มีการกำหนดลำดับการแสดงของตัวละครพร้อมกับบทพูดและอารมณ์กิริยาของตัวละครเพื่อให้นักแสดงสามารถถ่ายทอดบทบาทตามที่ผู้แต่งต้องการได้

 

เนื้อเรื่องย่อ

 

 

พระยาภักดีนฤนาถและนายล้ำ เคยเป็นอดีตเพื่อนรักกัน รับราชการรุ่นเดียวกัน แต่หลงรักผู้หญิงคนเดียวกันคือแม่นวล ซึ่งเป็นมารดาของแม่ลออ แม่นวลได้นำลูกสาวมาฝากไว้ที่พระยาภักดีนฤนาถให้เลี้ยงดู ก่อนที่จะสิ้นใจ ซึ่งพระยาภักดีนฤนาถก็เลี้ยงดูเหมือนเป็นลูกแท้ ๆ และคอยอบรมสั่งสอนให้แม่ลออรักบิดาแท้ ๆ แต่บอกว่าบิดาเสียชีวิตไปแล้ว ด้านบิดาที่แท้จริงอย่างนายล้ำ เป็นคนติดเหล้าจัดและเคยต้องโทษจำคุก เมื่อพ้นโทษและได้ข่าวว่าลูกสาวของตนที่อยู่กับพระยาภักดีนฤนาถกำลังจะแต่งคนฐานะดีจึงมาแสดงตัวว่าเป็นบิดา หวังอาศัยผลประโยชน์ แม้พระยาภักดีนฤนาถจะให้เงิน นายล้ำก็ยังยืนยันที่จะพบลูกสาว กระทั่งได้พบกับแม่ลออจริง ๆ แต่แม่ลออกลับไม่รู้ว่านายล้ำเป็นบิดาที่แท้จริง เมื่อได้ฟังลูกสาวพูดถึงตัวเองในแง่ดีอย่างภาคภูมิใจโดยที่ไม่รู้เรื่อง นายล้ำเกิดความละอายแก่ใจ จึงไม่บอกความจริงเพื่อปล่อยให้แม่ลออได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขต่อไป ก่อนจากไป นายล้ำได้ฝากแหวนไว้วงหนึ่งให้พระยาภักดีนฤนาถมอบให้แก่แม่ลออ เป็นของรับไหว้ในวันแต่งงาน

 

สรุปเนื้อเรื่อง

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะหลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องนี้ไปแล้ว บทละครพูดเป็นลักษณะคำประพันธ์ที่แพร่หลายในไทยช่วงรัชกาลที่ 5 และเป็นที่นิยมในรัชกาลที่ 6 ถึงแม้จะไม่ได้มีทั้งตั้งแต่โบราณ และก็มีคุณค่าและมีการใช้ภาษาที่ดี มีความเป็นธรรม มีความเพลิดเพลิน และถ้าน้อง ๆ อยากรู้ว่าตัวบทเด่นพร้อมทั้งเจาะลึกคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องมีอะไรบ้าง เราจะไปเรียนกันในบทต่อไปนะคะ สำหรับวันนี้ ก่อนจากไปอย่าลืมชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนความรู้และเข้าใจเนื้อหาให้ได้มากขึ้น ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

หลักการใช้คำราชาศัพท์ รู้ไว้ไม่สับสน

เมื่อได้รู้ความหมาย ที่มาและความสำคัญของคำราชาศัพท์ รวมถึงคำศัพท์หมวดร่างกายไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะสงสัยใช่ไหมคะ ว่าหลักการใช้คำราชาศัพท์ มีอะไรบ้าง และใช้อย่างไร ต้องใช้แบบไหนถึงจะถูก บทเรียนในวันนี้เราจะมาเรียนรู้หลักการใช้คำราชาศัพท์ที่ถูกต้องกันค่ะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันแลย   หลักการใช้คำราชาศัพท์ กับราชวงศ์ไทย     ลำดับพระอิสริยศักดิ์ของพระบรมราชวงศ์สามารถลำดับอย่างคร่าว ๆ ได้ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชินี,

สมการเอกซ์โพเนนเชียล

สมการเอกซ์โพเนนเชียล

สมการเอกซ์โพเนนเชียล สมการเอกซ์โพเนนเชียล เป็นสมการที่จะมีเลขชี้กำลังเป็นตัวแปร เช่น ,   จากบทความที่ผ่านมาเราได้พูดถึงฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลไปแล้ว ในบทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแก้สมการเอกซ์โพเนนเชียลซึ่งมีหลายวิธี  ซึ่งเรื่องสมการเอกซ์โพเนนเชียลนี้มักจะออกสอบบ่อยเรียกได้ว่าทุกปีเลย ดังนั้นวันนี้เราเลยยจะมาสอนน้องๆแก้สมการ และให้เทคนิคการแก้สมการเอกซ์โพเนนเชียล สำหรับใครที่ยังไม่ได้ทำความรู้จักกับฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลสามารถเข้าไปดูตามลิงค์นี้เลยค่ะ !!!ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล!!! การแก้สมการเอกซ์โพเนนเชียล วิธีที่ 1 : ทำฐานให้เหมือนกัน เมื่อฐานเท่ากันแล้ว เราก็จะได้ว่าเลขชี้กำลังก็จะเท่ากันด้วย ตัวอย่าง    วิธีที่ 2 : ทำเลขชี้กำลังให้เหมือนกัน

การอ่านจับใจความ

การอ่านจับใจความ เทคนิคที่จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยเวลาที่เราอ่านหนังสือเรียนจบแต่เมื่อถึงเวลาไปสอนกลับจำเนื้อหาที่อ่านมาไม่ได้เลย เพราะแท้จริงการอ่านเฉย ๆ ไม่ได้ช่วยให้เราจำเนื้อหาได้ แต่สิ่งที่จะช่วยให้เราได้เข้าใจแก่นของเรื่องที่อ่านจริง ๆ ก็คือการจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้นั่นเองค่ะ บทเรียนในวันนี้จะพาน้องไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง การอ่านจับใจความ เพื่อช่วยให้สามารถจับประเด็นของเนื้อหาได้ โดยที่ไม่ต้องท่องจำให้เสียเวลาเลยค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   การอ่านจับใจความ   เป็นการอ่านเพื่อจับใจความหรือข้อคิด ความคิดสำคัญหลักของข้อความ หรือเรื่องที่อ่าน เป็นข้อความที่คลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้าหนึ่ง ๆ ไว้ทั้งหมด  

ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนไทยมาอย่างยาวนาน น้อง ๆ หลายคนก็คงจะรู้จักและเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ แต่ทราบไหมคะว่าวรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาอย่างไร และทำไมถึงมาเป็นบทละคร มีความสำคัญอย่างไรจึงมาอยู่ในบทเรียนวิชาภาษาไทย เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์     รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลและมีเค้าโครงเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดียเป็นคนแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต แม้จะไม่ปรากฏปีที่วรรณคดีเรื่องดังกล่าวเข้ามาเผยแผ่ในไทยอย่างแน่ชัด แต่ด้วยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ทำให้นักวิชาการคาดการณ์ว่าเป็นช่วงสมัยอยุธยา และในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินได้ทรงประพันธ์เพื่อให้ละครหลวงเล่น ก่อนที่ต่อมาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่

โจทย์ปัญหาสัดส่วน 2

บทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้หลักการที่ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาสัดส่วนด้วยวิธีการที่หลากหลายและเข้าใจง่าย สามารถนำไปช่วยในแก้โจทย์ปัญหาในห้องเรียนของน้องๆได้

ฟังก์ชันลอการิทึม

ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันลอการิทึม คือฟังก์ชันผกผันของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จากที่ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ส่งจากจำนวนจริงไปยังจำนวนจริงบวก โดยที่ ดังนั้นฟังก์ชันดังกล่าวซึ่งเป็นฟังก์ชันผกผันของเอกซ์โพเนนเชียล ก็คือ คู่อันดับ (y, x)  หรืออาจจะบอกได้อีกแบบคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์จากจำนวนจริงบวกไปยังจำนวนจริง โดยที่ จัดรูปใหม่ ได้เป็น (อ่านว่าล็อก x ฐาน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1