ทริคสังเกต ประโยคในภาษาไทย รู้ไว้ไม่สับสน

ประโยคในภาษาไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยสับสนและมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประโยคในภาษาไทยกันมาไม่มากก็น้อย ทำไมอยู่ดี ๆ เราถึงไม่เข้าใจประโยคภาษาไทยที่พูดกันอยู่ทุกวันไปได้นะ? แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ กลับไปทบทวนเกี่ยวกับเรื่องประโยคอีกครั้ง พร้อมเรียนรู้เคล็ดลับการสังเกตประโยคง่าย ๆ จะเป็นอย่างไร ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

ความหมายของประโยค

 

ประโยค เป็นหน่วยทางภาษาที่เกิดจากการนำคำหลาย ๆ คำ หรือกลุ่มคำ มาเรียงต่อกันอย่างเป็นระบบ มีความสัมพันธ์กัน มีหน้าที่สื่อความหมายให้สมบูรณ์

 

โครงสร้างของประโยคในภาษาไทย

 

ประโยคที่สมบูรณ์ จะประกอบไปด้วยภาคประธานและภาคแสดง โดยที่ภาคประธาน จะหมายถึงผู้กระทำเป็นส่วนสำคัญของประโยค อาจมีบทขยายมาทำให้มีความชัดเจนมากขึ้น ส่วนภาคแสดงจะประกอบไปด้วยกริยา  กรรม และส่วนเติมเต็ม ทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือผู้ถูกกระทำของภาคประธาน ทำให้ประโยคมีความสมบูรณ์มากขึ้น

 

ประโยคในภาษาไทย

 

วิธีสังเกต ประโยคในภาษาไทย

 

 

ประโยคความเดียว

 

ประโยคความเดียว  เป็นประโยคที่มุ่งกล่าวถึงประโยคใดประโยคหนึ่ง มีใจความสำคัญเพียงแค่หนึ่งใจความ โดยที่ภาคประธานอาจจะเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของก็ได้ แต่สิ่งนั้นจะต้องแดงกิริยาอาการอยู่ในสภาพเดียว

 

ประโยคในภาษาไทย

 

แต่ทั้งนี้ ไม่ได้ความหมายประโยคความเดียวจะต้องมีกริยาเพียงแค่ 1 เท่านั้นนะคะ เพราะในความเป็นจริง ก็มีประโยคความเดียวที่มีกริยา 2 ตัวเช่นกัน เพียงแต่ว่าหลักสำคัญของประโยคความเดียวคือต้องมีใจความเพียง 1 ใจความ ดังนั้นประโยคนั้นจะต้องมีกริยาหลัก 1 ตัว แต่จะมีกริยารองกี่ตัวก็ได้

ตัวอย่าง มานีชอบไปโรงเรียน ประโยคความเดียวนี้มีกริยาหลัก 1 ตัว คือ คำว่า ชอบ ส่วนกริยาคำว่า ไป เป็นกริยารอง เพราะใจความสำคัญของประโยคนี้คือมานีชอบไปโรงเรียน ไม่ใช่ไปโรงเรียนเฉย ๆ

 

ประโยคความรวม

 

ประโยคความรวม  หมายถึงประโยคที่เอาประโยคความเดียวมารวมกันจนเกิดเป็นประโยคความรวมโดยมีคำสันธานเป็นตัวเชื่อมประโยค

สังเกตประโยคความรวมผ่านความหมาย

ประโยคที่มีเนื้อหาคล้อยตามกัน – จะใช้คำสันธานเชื่อมประโยคดังนี้ และ กับ ทั้ง…แล ถ้า..จึง พอ…ก็ เมื่อ…ก็ แล้ว…จึง แล้ว…ก็

ประโยคที่มีเนื้อหาขัดแย้งกัน – จะใช้คำสันธานเชื่อมประโยคดังนี้ แต่ แต่ทว่า ถึง..ก็ ทั้งที่…ก็ กว่า…ก็ แม้ว่า…ก็ แม้…ก็

ประโยคที่มีใจความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง – จะใช้คำสันธานเชื่อมประโยคดังนี้ หรือ มิฉะนั้น ไม่เช่นนั้น มิฉะนั้น…ก็ ไม่…ก็ หรือไม่อย่างนั้น…ก็

ประโยคที่มีข้อความเป็นเหตุเป็นผลกัน จะใช้คำสันธานเชื่อมประโยคดังนี้ เพราะ…จึง เพราะฉะนั้น เพราะฉะนั้น…จึง เพราะว่า ดังนั้น…จึง

 

 

ประโยคความซ้อน

 

ประโยคความซ้อน คือประโยคที่มีข้อความหลายประโยคซ้อนกันอยู่ในประโยคเดียวกัน ประโยคหลักเรียกว่า มุขยประโยค และมีประโยคย่อย เรียกว่า อนุประโยค โดยประย่อยนี้จะต้องอาศัยประโยคหลักเพื่อให้มีใจความสมบูรณ์

 

 

ข้อแตกต่างของประโยคในภาษาไทย

 

การสังเกตประโยคอย่างง่าย คือต้องมองข้อแตกต่างให้ออก เมื่อรู้แล้วว่าแต่ละประโยคแตกต่างกันอย่างไรก็จะทำให้แยกประโยคออกและเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น มาดูข้อแตกต่างของประโยคต่าง ๆ กันค่ะว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

1. ประโยคความเดียวมี 1 ประธาน แต่ประโยคความรวมมี 2 ประธาน

2. ประโยคความเดียวมี 1 กริยาหลัก แต่ประโยคความรวมมีกริยามากกว่า 2

3. ประโยคซ้อนและประโยคความรวมมีสองประโยครวมอยู่ในประโยคเดียวเหมือนกัน แต่ประโยคความซ้อนจะมีประโยคหนึ่งไม่สมบูรณ์ทำให้ต้องมีประโยคหลักมาช่วยประโยคย่อย ประโยคจึงจะมีใจความสำคัญ ในขณะที่ประโยความรวมมาจากประโยคความเดียวนำมารวมกัน ทำให้แต่ละประโยคที่ถูกรวมมีความหมายและใจความสำคัญในตัวเอง

 

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับบทเรียนเรื่องการสังเกต ประโยคในภาษาไทย ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ น้อง ๆ คนไหนที่ยังสับสน ถ้าหมั่นทบทวนและทำแบบฝึกหัดบ่อย ๆ รับรองว่าเรื่องประโยคจะกลายเป็นเรื่องหมู ๆ ที่ไม่ทำให้น้อง ๆ ต้องกลัวเวลาเจอในข้อสอบกันอีกต่อไปแล้วค่ะ และเพื่อให้ได้ความรู้ควบคู่ความสนุกเพลิดเพลินไปด้วย อย่าลืมไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มระหว่างทบทวนบทเรียนนะคะ รับรองว่าจะต้องทำให้น้อง ๆ ทุกคนเข้าใจขึ้นอย่างมากเลยค่ะ

 

ประโยคความซ้อน

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ที่มาและเรื่องย่อของวรรณคดียิ่งใหญ่ตลอดกาล รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ

นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีผู้นำรามเกียรติ์มาแต่งมากมายหลายฉบับ ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้นและสนุกเกินบรรยาย แต่ฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดคือฉบับที่ประพันธ์โดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือก็คือรัชกาลที่ 1 นั่นเองค่ะ รามเกียรติ์ฉบับนี้มีความพิเศษและมีจุดประสงค์ที่ต่างจากฉบับก่อนหน้า บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 1 ผ่านความเป็นมาของวรรณคดีรวมไปถึงเรื่องย่อในตอนสำคัญอย่างตอน ศึกไมยราพ กันค่ะ ไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่า รามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ จะสนุกแค่ไหน   ประวัติความเป็นมา     รามเกียรติ์

Passive Voice ในปัจจุบัน

Passive Voice ในรูปปัจจุบัน

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูการใช้ Passive Voice ในรูปปัจจุบัน กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมาย   Passive Voice (แพ็ซซิฝ ว็อยซ) หมายถึงประโยคที่เน้นกรรม โดยการนำโครงสร้างผู้ถูกกระทำขึ้นต้นประโยค และหากว่าต้องการเน้นผู้กระทำให้เติม  “by + ผู้กระทำ” ท้ายประโยค แต่ว่าเราสามารถละ by ไว้ได้น๊า ในบทนี้เราจะไปดูรูปประโยคในปัจจุบันกันจร้า

M1 This, That, These, Those

การใช้ This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง การใช้ This, That, These, Those ในภาษาอังกฤษ กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   บทนำ ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ

ความหมายและความสำคัญของ คำราชาศัพท์

  คำราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับระดับของผู้พูดและผู้ฟัง น้อง ๆ หลายคนคงคุ้นเคยกันมาบ้างแล้วเวลาฟังข่าวในพระราชสำนัก แต่รู้หรือไม่คะว่าความหมายจริง ๆ ของคำราชาศัพท์คืออะไร มีใครบ้างที่เราต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนเรื่องคำราชาศัพท์พร้อมเรียนรู้คำราชาศัพท์ในหมวดร่างกายที่ใช้กับพระมหากษัตริย์กันค่ะ   ความหมายของคำราชาศัพท์     คำราชาศัพท์ หมายถึง คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงพระสงฆ์ โดยที่มีคำศัพท์และลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามระดับภาษา ฐานะของบุคคลในสังคมไทยแบ่งตามวัยวุฒิและชาติวุฒิได้ดังนี้ 1.

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย(ค.ร.น.) ของจำนวนนับตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป หมายถึง ตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น

ตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณและค่าความจริงของตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณ ตัวบ่งปริมาณ คือ สัญลักษณ์หรือข้อความที่เมื่อเราเอาไปเติมใน “ประโยคเปิด” แล้วจะทำให้ประโยคนั้นกลายเป็นประพจน์ ประโยคเปิด คือประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่ติดค่าตัวแปรที่ยัง “ไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ” โดยตัวแปรนั้นเป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ (Universe : U) ประโยคเปิด ยังไม่ใช่ประพจน์ (แต่เกือบเป็นแล้ว) เพราะเรายังไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ เช่น  “x มากกว่า 3” จะเห็นว่าตัวแปร คือ x ซึ่งเราไม่รู้ว่า x

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1