ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ราชาธิราช เป็นวรรณคดีประเภท พงศาวดาร ที่มีการแปลมาจากพงศาวดารมอญ น้อง ๆ หลายคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าพงศาวดารก็คือเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ แต่ทราบกันหรือไม่คะว่าทำไมในแบบเรียนภาษาไทยของเรานั้นถึงต้องเรียนเรื่องราชาธิราช ที่เป็นพงศาวดารมอญด้วย วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องราชาธิราชรวมไปถึงเรื่องย่อ ซึ่งในบทที่เราจะเรียนนี้คือตอน สมิงพระรามอาสา เรื่องราวจะเป็นอย่างไรบ้าง ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ราชาธิราช

 

ประวัติความเป็นมา

 

 

ราชาธิราชเป็นวรรณคดีร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ร่วมด้วยพระยาอินทรอัคคราช พระภิรมรัศมี และพระศรีภูริปรีชา แปลและเรียบเรียงเรื่องราวของพระเจ้าราชาธิราชซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดารมอญให้เป็นภาษาไทยเมื่อปี พ.ศ.2328

 

ผู้เรียบเรียง

 

เจ้าพระยาพระคลังเป็นกวีเอกที่ได้รับการยกย่อง  มีผลงานกวีนิพนธ์มาตั้งแต่สมัยธนบุรี  แต่เรื่องที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักแพร่หลายนั้นแต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1  เช่น  สามก๊ก  กากีคำกลอน  ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก* กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี ฯลฯ

 

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

 

เป็นวรรณคดีร้อยแก้ว ใช้บรรยายโวหารในการเล่าเรื่อง การประพันธ์ร้อยแก้วของไทย ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์นิยมใช้ในงานเขียนประเภท ตำนาน พงศาวดาร การจดบันทึกเกี่ยวกับพระราชพิธี ตำราต่าง ๆ กฎหมาย เป็นต้น จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเพณีการเขียนร้อยแก้วก็เริ่มมีการสร้างโครงเรื่อง แก่นเรื่อง มีวิธีเล่าเรื่องแบบบันเทิงคดี

 

 

ตัวละครและเรื่องย่อ

ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา 

ราชาธิราช

 

ตัวละคร

ราชาธิราช

เกร็ดน่ารู้ สมิงเป็นชื่อเรียกตำแหน่งขุนนางใหญ่ของมอญ สมองพระรามเป็นทหารเอกของพระเจ้าราชาธิราชแห่งกรุงหงสาวดี

 

เรื่องย่อ

พระเจ้ากรุงจีน มีทหารเอกชื่อกามะนี เป็นทหารฝีมือดีที่ยากจะใครเทียบ พระเจ้ากรุงจีนนึกอยากเห็นว่าจะมีใครที่พอจะมีฝีมือมาสู้กับกามะนีได้ จึงปรึกษากับเสนาบดี ได้ความว่าทหารที่พอจะมีฝีมือทัดเทียมกับกามะนีได้คือกรุงรัตนบุระอังวะกับกรุงหงสาวดี พระเจ้ากรุงจีนจึงยกทัพมาที่เมืองอังวะแล้วแต่งพระราชสาสน์ จัดเครื่องบรรณาการนำไปถวายพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง โดยเนื้อความในพระราชสาส์นกล่าวว่าต้องการให้พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องออกมาถวายบังคมและต้องการทหารขี่ม้ารำทวนมาสู้กัน โดยที่หากฝ่ายอังวะแพ้จะต้องยกเมืองให้ แต่หากฝ่ายพระเจ้ากรุงจีนแพ้จะยกทัพกลับ เจ้าฝรั่งมังฆ้องจึงประกาศหาคนที่จะมาสู้กับกามะนี แต่ก็ไม่มีผู้ใดอาสา ด้านสมิงพระรามที่รู้ข่าวก็มีความคิดว่าหากอังวะแพ้และเสียเมือง พระเจ้ากรุงจีนจะต้องยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีต่อแน่ สมิงพระรามที่ไม่กลัวทหารจีนจึงออกอาสาไปสู้กับกามะนี โดยไม่ได้หวังรับลาภยศ แต่ไม่อยากให้บ้านเมืองเดือดร้อน โดยสมิงพระรามทูลขอม้าฝีเท้าดี และได้เลือกม้าของหญิงม่ายคนหนึ่งมาฝึกหัดจนคล่องแคล่ว ก่อนจะทูลขอตะกรวยกับขอเหล็กมาผูกข้างม้า สำหรับใส่ศีรษะกามะนี

 

ราชาธิราช

 

เมื่อถึงวันท้าทวน สมิงพระรามเห็นว่า กามะนีมีความชำนาญด้านการรบเพลงทวนมาก อีกทั้งยังสวมหุ้มเกราะไว้แน่นหนา สมิงพระรามจึงออกอุบายว่าให้แต่ละฝ่ายแสดงท่ารำให้อีกฝ่ายรำตามก่อนที่จะต่อสู้กัน เพื่อหาช่องทางที่จะแทงทวนให้ถูกตัวกามะนีได้ เมื่อได้หลอกล่อให้กามะนีรำตามในท่าต่าง ๆ จึงเห็นช่องว่างใต้รักแร้กับบริเวณเกราะซ้อนท้ายหมวกที่เปิดออกได้ สมิงพระรามจึงหยุดรำให้ต่อสู้กันโดยทำทีว่าสู้ไม่ได้ เมื่อได้ทีก็สอดทวนแทงซอกใต้รักแร้ แล้วฟันย้อนกลับ ตัดศีรษะของกามะนีขาด ใส่ตะกรวยโดยไม่ให้ตกดิน แล้วนำมาถวายพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง เมื่อฝ่ายจีนแพ้ พระเจ้ากรุงจีนก็สั่งให้ยกทัพกลับตามสัญญา พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องพระราชทานตำแหน่งมหาอุปราชและพระราชธิดาให้แก่สมิงพระรามตามที่ได้รับสั่งไว้

 

ราชาธิราช

 

จบไปแล้วนะคะสำหรับประวัติความเป็นมารวมถึงเรื่องย่อของราชาธิราชตอนสมิงพระรามอาสา น้อง ๆ พอจะเข้าใจเนื้อเรื่องหลัก ๆ ที่สำคัญของตอนนี้กันมากขึ้นไหมคะ ราชาธิราชเป็นวรรณคดีที่มีความยาวมาก ตอนสมิงพระรามอาสาเป็นอีกหนึ่งตอนที่มีความสำคัญ แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญและความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมืองแม้จะถูกจับเป็นเชลยอยู่ของสมิงพระราม สุดท้ายนี้ ถ้าหากน้อง ๆ คนไหนอยากฟังคำอธิบายเพิ่มเติมที่ทั้งสนุกและได้ความรู้ด้วยกันแล้วนั้น ก็ตามไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มได้เลยค่ะ ในคลิปจะมีการอธิบายที่สนุก ฟังเพลิน ๆ ระหว่างทำแบบฝึกหัดไปด้วยได้ แล้วมาเจอกันต่อในบทต่อไป เรื่องการศึกษาตัวบทเด่น ๆ ในราชาธิราชกันนะคะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คติธรรมในสำนวนไทย

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง   สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม   สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย

ตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณและค่าความจริงของตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณ ตัวบ่งปริมาณ คือ สัญลักษณ์หรือข้อความที่เมื่อเราเอาไปเติมใน “ประโยคเปิด” แล้วจะทำให้ประโยคนั้นกลายเป็นประพจน์ ประโยคเปิด คือประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่ติดค่าตัวแปรที่ยัง “ไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ” โดยตัวแปรนั้นเป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ (Universe : U) ประโยคเปิด ยังไม่ใช่ประพจน์ (แต่เกือบเป็นแล้ว) เพราะเรายังไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ เช่น  “x มากกว่า 3” จะเห็นว่าตัวแปร คือ x ซึ่งเราไม่รู้ว่า x

การออกเสียงพยัญชนะไทย-01

เสียงพยัญชนะไทย ออกเสียงอย่างไรให้ถูกต้อง

  เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคงเคยสงสัยเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทยกันไม่มากก็น้อย เพราะพยัญชนะในภาษาไทยของเรานั้นมีด้วยกัน 44 ตัว แต่กลับมีหน่วยเสียงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ทำไมการออกเสียงพยัญชนะไทยถึงไม่สามารถออกเสียงตามรูปอักษรทั้ง 44 รูปได้? ไหนจะพยัญชนะท้ายที่เขียนอีกอย่างแต่ดันออกเสียงไปอีกอย่าง บทเรียนในวันนี้จะช่วยไขข้อข้องใจให้กับน้อง ๆ หรือคนที่กำลังสับสนเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทย ให้กระจ่างและสามารถออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     เสียงพยัญชนะไทย เสียงพยัญชนะ คือ

ข้อสอบO-Net เรื่องจำนวนจริง

ข้อสอบO-Net ข้อสอบO-Net ในบทความนี้จะคัดเฉพาะเรื่องจำนวนจริงมาให้น้องๆทุกคนได้ดูว่าที่ผ่านมาแต่ละปีข้อสอบเรื่องจำนวนจริงออกแนวไหนบ้าง โดยบทความนี้พี่ได้นำข้อสอบย้อนหลังของปี 49 ถึงปี 52 มาให้น้องๆได้ดูพร้อมเฉลยอย่างละเอียด เมื่อน้องๆได้ศึกษาโจทย์ทั้งหมดและลองฝึกทำด้วยตัวเองแล้ว น้องๆจะสามารถทำข้อสอบทั้งของในโรงเรียนและข้อสอบO-Net ได้แน่นอนค่ะ ข้อสอบO-Net เรื่องจำนวนจริง ปี 49   1.   มีค่าเท่ากับข้อในต่อไปนี้     60      

การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์

การใช้คำคุณศัพท์และการเรียงคำคุณศัพท์ คำคุณศัพท์ (Adjective) คืออะไร? ก่อนเราจะเริ่มเข้าเนื้อหา ทางผู้เขียนก็อยากจะพูดถึงความหมายและความสำคัญของคำคุณศัพท์ (Adjective) กันก่อน คำคุณศัพท์ (Adjectives) มักจะุถูกใช้ในการอธิบายลักษณะรูปร่างทางกายภาพของทั้งสิ่งของและสิ่งมีชีวิตที่รวมถึงตัวของมนุษย์เอง โดยที่เราจะมาเรียนกันวันนี้คือการที่บางครั้ง คำคุณศัพท์ (Adjective) นั้นจะมีลักษณะที่ถูกใช้อธิบายลักษณะทางกายภาพที่มากกว่าหนึ่งอย่าง ในภาษาไทยของเรา ก็มีการเรียกคำคุณศัพท์ หรือที่เรียกว่า order of adjective ด้วยเหมือนกัน จากศึกษาและพูดคุยกับนักศึกษาศาสตร์ พบว่า การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันไม่ได้มีการกำหนดการเรียงลำดับคำคุณศัพท์แบบภาษาอังกฤษที่ชัดเจน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1